ช็อค!!! ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญใน กทม. มีใบอนุญาตเพียงร้อยละ 8.24 ขณะที่ สคบ. ไม่สนใจร่วมมือแก้ปัญหา
คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คอบช. ) ด้านอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ แถลง “สถานการณ์ความปลอดภัยของการบริโภคน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญในกรุงเทพมหานคร” พบตู้น้ำดื่นหยอดเหรียญใน กทม. มีใบอนุญาตประกอบกิจการเพียงร้อยละ 8.24 ขณะที่ สคบ. ไม่สนในความร่วมมือแก้ไขปัญหา
วันนี้ (2 พ.ย. 58) คณะอนุกรรมการด้านอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน (คอบช.) ร่วมกับนักวิจัยอิสระ นำเสนอผลการศึกษา “สถานการณ์ความปลอดภัยของการบริโภคน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญในกรุงเทพมหานคร” โดยสำรวจลักษณะทางกายภาพของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ และการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของผู้ประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ
นางสาวมลฤดี โพธิ์อินทร์ นักวิจัยอิสระ กล่าวว่า ปัจจุบันตู้น้ำแบบหยอดเหรียญมีกระจายติดตั้งอยู่ทั่วไปตามแหล่งชุมชนและได้รับความนิยมมาก เพราะมีราคาถูกเพียงลิตรละ 1-2 บาท เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำดื่มบรรจุขวดที่มีราคาลิตรละ 6-10 บาท ซึ่งตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญที่ติดตั้งมีทั้งตู้เก่า ตู้ใหม่ ผู้บริโภคจะแน่ใจได้อย่างไรว่า ได้ดื่มน้ำที่สะอาดและปลอดภัย จากการศึกษาพบว่า มีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างที่อาจทำให้คุณภาพน้ำที่ผลิตจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญไม่เหมาะสมต่อการบริโภค เช่น สถานที่ตั้ง ความสะอาดของเครื่อง แหล่งที่มาของน้ำดิบ การเปลี่ยนไส้กรอง การล้างถังเก็บน้ำ และการตรวจสอบคุณภาพน้ำ
ทางด้าน รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ ประธานอนุกรรมการด้านอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ คอบช. กล่าวว่า การแถลงข่าวในครั้งนี้เพื่อรายงานความก้าวหน้าในการทำงานของคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน ต่อการแก้ไขปัญหาความปลอดภัยของการบริโภคน้ำจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ และติดตามการทำงานของหน่วยงานต่างๆ
“คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน จำเป็นต้องสร้างความเข้มแข็งของผู้บริโภค ผ่านการทำงานร่วมมือกับหน่วยงานรัฐต่างๆ ในการแก้ปัญหาความปลอดภัยจากการบริโภคน้ำดื่ม ซึ่งหน่วยงานรัฐต่างๆ ที่ทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคได้ให้ความร่วมมือในการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคเป็นอย่างดี ยกเว้นสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ดังนั้น จึงขอเรียกร้องให้ สคบ. ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐ ได้ร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ในการแก้ปัญหานี้” ประธานอนุกรรมการด้านอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ กล่าว
ที่มา
http://www.indyconsumers.org/main/index.php/news-articles/press/food-drugs-healthpruduts-152/494-581102001
ช็อค!!! ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญใน กทม. ผลสำรวจ เตือนผู้บริโภค คุณภาพน้ำเสี่ยงต่อการบริโภค
คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คอบช. ) ด้านอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ แถลง “สถานการณ์ความปลอดภัยของการบริโภคน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญในกรุงเทพมหานคร” พบตู้น้ำดื่นหยอดเหรียญใน กทม. มีใบอนุญาตประกอบกิจการเพียงร้อยละ 8.24 ขณะที่ สคบ. ไม่สนในความร่วมมือแก้ไขปัญหา
วันนี้ (2 พ.ย. 58) คณะอนุกรรมการด้านอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน (คอบช.) ร่วมกับนักวิจัยอิสระ นำเสนอผลการศึกษา “สถานการณ์ความปลอดภัยของการบริโภคน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญในกรุงเทพมหานคร” โดยสำรวจลักษณะทางกายภาพของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ และการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของผู้ประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ
นางสาวมลฤดี โพธิ์อินทร์ นักวิจัยอิสระ กล่าวว่า ปัจจุบันตู้น้ำแบบหยอดเหรียญมีกระจายติดตั้งอยู่ทั่วไปตามแหล่งชุมชนและได้รับความนิยมมาก เพราะมีราคาถูกเพียงลิตรละ 1-2 บาท เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำดื่มบรรจุขวดที่มีราคาลิตรละ 6-10 บาท ซึ่งตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญที่ติดตั้งมีทั้งตู้เก่า ตู้ใหม่ ผู้บริโภคจะแน่ใจได้อย่างไรว่า ได้ดื่มน้ำที่สะอาดและปลอดภัย จากการศึกษาพบว่า มีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างที่อาจทำให้คุณภาพน้ำที่ผลิตจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญไม่เหมาะสมต่อการบริโภค เช่น สถานที่ตั้ง ความสะอาดของเครื่อง แหล่งที่มาของน้ำดิบ การเปลี่ยนไส้กรอง การล้างถังเก็บน้ำ และการตรวจสอบคุณภาพน้ำ
ทางด้าน รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ ประธานอนุกรรมการด้านอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ คอบช. กล่าวว่า การแถลงข่าวในครั้งนี้เพื่อรายงานความก้าวหน้าในการทำงานของคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน ต่อการแก้ไขปัญหาความปลอดภัยของการบริโภคน้ำจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ และติดตามการทำงานของหน่วยงานต่างๆ
“คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน จำเป็นต้องสร้างความเข้มแข็งของผู้บริโภค ผ่านการทำงานร่วมมือกับหน่วยงานรัฐต่างๆ ในการแก้ปัญหาความปลอดภัยจากการบริโภคน้ำดื่ม ซึ่งหน่วยงานรัฐต่างๆ ที่ทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคได้ให้ความร่วมมือในการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคเป็นอย่างดี ยกเว้นสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ดังนั้น จึงขอเรียกร้องให้ สคบ. ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐ ได้ร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ในการแก้ปัญหานี้” ประธานอนุกรรมการด้านอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ กล่าว
ที่มา http://www.indyconsumers.org/main/index.php/news-articles/press/food-drugs-healthpruduts-152/494-581102001