ทำไมต้องเขียนบททำร้ายนักกายภาพบำบัด ?

 พอดีเมื่อคืนดูละครสองหัวใจนี้เพื่อเธอ กำลังซึ้งกับฉากพระเอกตามง้อนางเอก แต่ต้องสะอึกกับฉากนึง ที่ตัวละครเหมือนจะข้อเท้าแพลง ไปทำกายภาพบำบัด บทประมาณว่า   

“อย่าเสียงดังสิอายเขา...บูบู้เขาเป็นนักกายภาพบำบัดที่โรงพยาบาล เขานวดขาให้แพมทุกวันเราก็เลยสนิทกัน” 

รู้สึกเสียใจที่สังคมพยายามบังคับให้นักกายภาพบำบัดนวดคนไข้  ซึ่งในความเป็นจริงข้อเท้าแพลงไม่ควรนวด  อาจจะทำให้อาการแย่ขึ้นด้วยซ้ำ แต่ยอมรับว่านวดเป็นหนึ่งในร้อยวิธีที่ดีที่ใช้รักษาคนไข้ แต่จะให้นวดครบสูตรก็ต้องศึกษาเพิ่มเติม  

นักกายภาพบำบัดส่วนใหญ่รู้สึกไม่ดี เมื่อมีใครมามองว่าตัวเองเป็นหมอนวด จึงได้มีการประชาสัมพันธ์ถึงบทบาทของเราอยู่เรื่อยมา  แต่ฉากในละครเพียงไม่กี่วินาที ก็ทำให้ความคิดคนดูส่วนใหญ่เปลี่ยนไป  

ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่ได้ดราม่าอะไร ไม่ได้รังเกียจการนวดหรือหมอนวดด้วย เพราะก็มีนักกายภาพบำบัดบางส่วนที่ทำงานในสปา เพื่อตรวจประเมินและรักษาโดยเทคนิคพิเศษ  เพียงแต่อยากให้คนไทยได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ยกตัวอย่างเช่น สมมุติว่าท่านข้อเท้าแพลง แล้วท่านไปนวดเหมือนที่ตัวละครกล่าว ท่านอาจจะต้องทนปวดต่อไป แทนที่จะได้รับการรักษาที่ถูกวิธี

ขอเพิ่มเติม *
เขียนจากเรื่องจริงนะครับ
มีเด็กคนนึง ประสบอุบัติเหตุ สมองกระทบกระเทือน กระดูกแขนและขาหัก หมอให้ไปพักฟื้นที่บ้านและทำกายภาพบำบัดที่บ้านเพื่อขยับข้อต่อ ป้องกันข้อติด ฝึกนั่ง เตรียมฝึกยืนและหัดเดินต่อไป แต่ด้วยความเข้าใจผิดคิดว่ากายภาพบำบัดคือนวด คุณแม่ของน้องจึงได้ไปว่าจ้างหมอนวด(หมอนวดที่เรียนนวด 120 ชม.) มานวดให้ที่บ้าน
นี่ไงครับ คือสิ่งที่ผมอยากจะฝาก ให้สื่อถึงวิชาชีพต่างๆ อย่างถูกต้อง มันแสดงถึงความล้มเหลวของระบบสาธารณสุขครับ

ย้ำน่ะครับ ไม่ได้ดูถูกหมอนวด แต่บทบาทเราแตกต่างกัน อยากให้เข้าใจ ไม่ใช่เถียงแค่อยากชนะ


ปล. ความคิดเห็นที่ 36 จากนักกาพภาพบำบัดประจำทีมวอลเลห์บอลทีมชาติไทย อยากให้ลองแวะอ่านครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่