อันนี้เอามาจากเวปไซด์นี้ครับ
http://www.a-lopburiruamyang.com/14670667/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87
หลากหลายคำยืนยัน...
วันที่ผลิตไม่มีผลต่อประสิทธิภาพยาง
เมื่อล้อรถถือเป็นหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อน จึงเป็นความจริงที่ว่าผู้ขับขี่จะให้ความสำคัญกับการเลือกซื้อยางเป็นพิเศษ นอกจากสมรรถนะของยางที่สามารถยึดเกาะถนนได้ดีแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆที่ผู้ขับขี่ให้ความสนใจ อาทิ คุณภาพของยางที่เหมาะสมกับประเภทของรถและการใช้งาน ความสามารถทนต่อความร้อนและแรงเสียดสีกับพื้นถนน เป็นต้น นอกจากนี้ ความเชื่อเรื่องวันเดือนปีที่ผลิตหรือ DOT ที่ติดอยู่บนแก้มยางก็เป็นส่วนสำคัญในการตัดสินใจเลือกซื้อยาง ความเชื่อที่ท่านผู้อ่านและท่านผู้ขับขี่ส่วนใหญ่ได้ยึดถือเสมอมาจะถูกต้องหรือไม่ MICHELIN News ฉบับนี้ จึงมีคำอธิบายถึงความเชื่อที่ถูกต้องมาบอกกัน
จากการศึกษาและวิจัยของหน่วยงานภาครัฐบาลและบริษัทชั้นนำทั้งในไทยและต่างประเทศพบว่าแท้จริงแล้ววันเดือนปีที่ผลิตของยางไม่ได้มีผลกระทบกับสมรรถภาพของยางอย่างที่หลายๆคนเข้าใจเพราะโดยปกติยางที่ผลิตออกมานั้นหากมีการจัดเก็บที่ดี เช่น เก็บรักษาในอุณหภูมิที่เหมาะสม และที่สำคัญยังไม่ได้เริ่มการใช้งาน ก็จะสามารถเก็บยางเส้นนั้นๆได้เป็นเวลานานโดยไม่เสื่อมสภาพ
ข้อมูลดังกล่าวได้มีการทดสอบโดย กรมคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศเกาหลีใต้ เพื่อพิสูจน์ระดับความปลอดภัยในการใช้ยางระหว่างยางที่ผลิตใหม่และยางที่ผลิตย้อนหลังไป 3 ปี ด้วยการทดสอบแบบ KSM6750 ซึ่งเป็นการขับขี่ด้วยความเร็วสูงและการขับขี่แบบหยุดเป็นระยะ ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาพบว่า แม้วันเดือนปีที่ผลิตตะแตกต่างกัน แต่ประสิทธิภาพ และสมรรถนะของยางไม่ต่างกัน
นอกจากนี้ กรมคมนาคมของสหรัฐอเมริกา ยังเคยตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับ “ประสิทธิภาพของยางรถที่มีการเติมลมแล้ว ( The Pneumatic Tier ) ” ในเดือนกุมภาพันธ์ 2549 โดยระบุความร้อนที่เกิดขึ้นขณะที่ยางมีการใช้งาน คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้ยางเสื่อมสภาพ เพราะยางรถยนต์ที่วิ่งด้วยความเร็ว 120 กม./ช.ม. สามารถทำให้เกิดอุณหภูมิที่หน้ายางสูงขึ้นถึง 75 องศาเซลเซียส แต่หากความดันลมยางน้อยกว่าปกติ คือ ยางแบน ก็จะยิ่งทำให้ความร้อนหน้ายางสูงกว่าปกติด้วย ดังนั้น อุณหภูมิในโกดังที่จัดเก็บยางรถยนต์ก่อนการใช้งานจริง จึงมีผลต่อคุณภาพยางเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เมื่อเทียบกับความร้อนที่เกิดจากการเสียดสีเมื่อนำยางไปใช้ในการขับขี่จริง
อีกตัวอย่างที่ได้จากการทดสอบในแถบทวีปยุโรป โดยองค์กร ADAC ซึ่งเป็นหน่วยงานเพื่อผู้ขับรถยนต์ซึ่งใหญ่ที่สุดในประเทศเยอรมนี ได้พิสูจน์เรื่องสมรรถนะของยางไว้ในเดือนมิถุนายน 2553 โดยทดสอบประสิทธิภาพยางรถยนต์ที่ผลิตใน พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2547 ผลิตแตกต่างกัน 3 ปี สำหรับการขับรถยนต์ในช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อน ซึ่งผลการทดสอบก็ไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่ายางที่ผลิตใหม่จะมีสมรรถนะเหนือกว่ายางที่ผลิตมานานกว่า
และในประเทศไทยก็มีหน่วยงานภาควิชาการได้ทำการทดสอบในลักษณะเดียวกัน โดยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยามหิดล ร่วมกับ TUV Rheinland Group Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทรับทำหน้าที่ทดสอบและให้การรับรองคุณภาพแก่ผลิตภัณฑ์หรือสินค้าของบริษัทชั้นนำทั่วโลก มีสำนักงานใหญ่ในประเทศเยอรมนีทำการทดสอบโดยนำยางรถยนต์ที่มีวันผลิตต่างกัน 1 ปี ไปทดสอบในรถยนต์ที่ใช้ความเร็วสูงที่ 230 กม./ช.ม. ในเวลาที่ต่อเนื่องนาน 60นาที ผลจากการทดสอบพบว่า มีประสิทธิภาพแตกต่างกันไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ รวมทั้งมีความสามารถในการบรรทุกหนักและวิ่งเป็นระยะทางไกล ตลอดจนความแข็งแรงของหน้ายางและโครงสร้างยางไม่แตกต่างกัน ทั้งที่วันผลิตยางนั้นห่างกันถึง 1 ปี
นอกจากนั้น TUV Rheinland Group Ltd. ได้ทำการทดสอบว่าวันผลิตยางที่แตกต่างกัน จะมีผลต่อสมรรถนะในด้านการเกาะถนน, การควบคุมการขับขี่และการเบรกของยางหรือไม่ โดย TUV Rheinland Group Ltd. ได้ทำการทดสอบระยะการเบรกที่ความเร็ว 80 กม./ช.ม. จนกระทั้งหยุดนิ่งผลการทดสอบยางที่มีวันผลิตแตกต่างกันแต่ประสิทธิภาพทั้ง 3 ด้านแทบจะไม่แตกต่าง
ยางรถยนต์ ไม่ใช่ยางพารา แม้ใช้วัตถุดิบส่วนหนึ่งมาจากยางพารา แต่เนื้อยางมีส่วนผสมของสารเคมีมากมาย จึงทำให้ยางคงรูป เกาะถนนได้ดี และมีคุณสมบัติที่แตกต่าง และห่างชั้นกับยางพารา หรือหนังยางเป็นอย่างมาก ดังนั้น เนื้อยางรถยนต์จึงถูกออกแบบมาให้มีความทนทาน ทั้งต่อการเก็บและการใช้งานที่ต้องการความปลอดภัยบนท้องถนน
รู้อย่างนี้แล้ว เลือกยางครั้งต่อไปหันไปให้ความสำคัญกับการเลือกซื้อยางให้เหมาะสมกับประเภทการใช้งาน รวมทั้งเลือกขนาดที่ถูกต้อง เพื่อประสิทธิภาพและสมรรถนะของการขับขี่สูงสุด เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ให้มากขึ้นดีกว่านะครับ
อันนี้เชื่อได้มั้ยครับ เค้าพิสูจน์กันมาแล้วว่ายางใหม่ปีเก่าไม่มีผลต่อประสิทธิภาพครับ
http://www.a-lopburiruamyang.com/14670667/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87
หลากหลายคำยืนยัน...
วันที่ผลิตไม่มีผลต่อประสิทธิภาพยาง
เมื่อล้อรถถือเป็นหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อน จึงเป็นความจริงที่ว่าผู้ขับขี่จะให้ความสำคัญกับการเลือกซื้อยางเป็นพิเศษ นอกจากสมรรถนะของยางที่สามารถยึดเกาะถนนได้ดีแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆที่ผู้ขับขี่ให้ความสนใจ อาทิ คุณภาพของยางที่เหมาะสมกับประเภทของรถและการใช้งาน ความสามารถทนต่อความร้อนและแรงเสียดสีกับพื้นถนน เป็นต้น นอกจากนี้ ความเชื่อเรื่องวันเดือนปีที่ผลิตหรือ DOT ที่ติดอยู่บนแก้มยางก็เป็นส่วนสำคัญในการตัดสินใจเลือกซื้อยาง ความเชื่อที่ท่านผู้อ่านและท่านผู้ขับขี่ส่วนใหญ่ได้ยึดถือเสมอมาจะถูกต้องหรือไม่ MICHELIN News ฉบับนี้ จึงมีคำอธิบายถึงความเชื่อที่ถูกต้องมาบอกกัน
จากการศึกษาและวิจัยของหน่วยงานภาครัฐบาลและบริษัทชั้นนำทั้งในไทยและต่างประเทศพบว่าแท้จริงแล้ววันเดือนปีที่ผลิตของยางไม่ได้มีผลกระทบกับสมรรถภาพของยางอย่างที่หลายๆคนเข้าใจเพราะโดยปกติยางที่ผลิตออกมานั้นหากมีการจัดเก็บที่ดี เช่น เก็บรักษาในอุณหภูมิที่เหมาะสม และที่สำคัญยังไม่ได้เริ่มการใช้งาน ก็จะสามารถเก็บยางเส้นนั้นๆได้เป็นเวลานานโดยไม่เสื่อมสภาพ
ข้อมูลดังกล่าวได้มีการทดสอบโดย กรมคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศเกาหลีใต้ เพื่อพิสูจน์ระดับความปลอดภัยในการใช้ยางระหว่างยางที่ผลิตใหม่และยางที่ผลิตย้อนหลังไป 3 ปี ด้วยการทดสอบแบบ KSM6750 ซึ่งเป็นการขับขี่ด้วยความเร็วสูงและการขับขี่แบบหยุดเป็นระยะ ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาพบว่า แม้วันเดือนปีที่ผลิตตะแตกต่างกัน แต่ประสิทธิภาพ และสมรรถนะของยางไม่ต่างกัน
นอกจากนี้ กรมคมนาคมของสหรัฐอเมริกา ยังเคยตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับ “ประสิทธิภาพของยางรถที่มีการเติมลมแล้ว ( The Pneumatic Tier ) ” ในเดือนกุมภาพันธ์ 2549 โดยระบุความร้อนที่เกิดขึ้นขณะที่ยางมีการใช้งาน คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้ยางเสื่อมสภาพ เพราะยางรถยนต์ที่วิ่งด้วยความเร็ว 120 กม./ช.ม. สามารถทำให้เกิดอุณหภูมิที่หน้ายางสูงขึ้นถึง 75 องศาเซลเซียส แต่หากความดันลมยางน้อยกว่าปกติ คือ ยางแบน ก็จะยิ่งทำให้ความร้อนหน้ายางสูงกว่าปกติด้วย ดังนั้น อุณหภูมิในโกดังที่จัดเก็บยางรถยนต์ก่อนการใช้งานจริง จึงมีผลต่อคุณภาพยางเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เมื่อเทียบกับความร้อนที่เกิดจากการเสียดสีเมื่อนำยางไปใช้ในการขับขี่จริง
อีกตัวอย่างที่ได้จากการทดสอบในแถบทวีปยุโรป โดยองค์กร ADAC ซึ่งเป็นหน่วยงานเพื่อผู้ขับรถยนต์ซึ่งใหญ่ที่สุดในประเทศเยอรมนี ได้พิสูจน์เรื่องสมรรถนะของยางไว้ในเดือนมิถุนายน 2553 โดยทดสอบประสิทธิภาพยางรถยนต์ที่ผลิตใน พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2547 ผลิตแตกต่างกัน 3 ปี สำหรับการขับรถยนต์ในช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อน ซึ่งผลการทดสอบก็ไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่ายางที่ผลิตใหม่จะมีสมรรถนะเหนือกว่ายางที่ผลิตมานานกว่า
และในประเทศไทยก็มีหน่วยงานภาควิชาการได้ทำการทดสอบในลักษณะเดียวกัน โดยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยามหิดล ร่วมกับ TUV Rheinland Group Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทรับทำหน้าที่ทดสอบและให้การรับรองคุณภาพแก่ผลิตภัณฑ์หรือสินค้าของบริษัทชั้นนำทั่วโลก มีสำนักงานใหญ่ในประเทศเยอรมนีทำการทดสอบโดยนำยางรถยนต์ที่มีวันผลิตต่างกัน 1 ปี ไปทดสอบในรถยนต์ที่ใช้ความเร็วสูงที่ 230 กม./ช.ม. ในเวลาที่ต่อเนื่องนาน 60นาที ผลจากการทดสอบพบว่า มีประสิทธิภาพแตกต่างกันไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ รวมทั้งมีความสามารถในการบรรทุกหนักและวิ่งเป็นระยะทางไกล ตลอดจนความแข็งแรงของหน้ายางและโครงสร้างยางไม่แตกต่างกัน ทั้งที่วันผลิตยางนั้นห่างกันถึง 1 ปี
นอกจากนั้น TUV Rheinland Group Ltd. ได้ทำการทดสอบว่าวันผลิตยางที่แตกต่างกัน จะมีผลต่อสมรรถนะในด้านการเกาะถนน, การควบคุมการขับขี่และการเบรกของยางหรือไม่ โดย TUV Rheinland Group Ltd. ได้ทำการทดสอบระยะการเบรกที่ความเร็ว 80 กม./ช.ม. จนกระทั้งหยุดนิ่งผลการทดสอบยางที่มีวันผลิตแตกต่างกันแต่ประสิทธิภาพทั้ง 3 ด้านแทบจะไม่แตกต่าง
ยางรถยนต์ ไม่ใช่ยางพารา แม้ใช้วัตถุดิบส่วนหนึ่งมาจากยางพารา แต่เนื้อยางมีส่วนผสมของสารเคมีมากมาย จึงทำให้ยางคงรูป เกาะถนนได้ดี และมีคุณสมบัติที่แตกต่าง และห่างชั้นกับยางพารา หรือหนังยางเป็นอย่างมาก ดังนั้น เนื้อยางรถยนต์จึงถูกออกแบบมาให้มีความทนทาน ทั้งต่อการเก็บและการใช้งานที่ต้องการความปลอดภัยบนท้องถนน
รู้อย่างนี้แล้ว เลือกยางครั้งต่อไปหันไปให้ความสำคัญกับการเลือกซื้อยางให้เหมาะสมกับประเภทการใช้งาน รวมทั้งเลือกขนาดที่ถูกต้อง เพื่อประสิทธิภาพและสมรรถนะของการขับขี่สูงสุด เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ให้มากขึ้นดีกว่านะครับ