จีนแพ้ยุโรปเพราะมีคัมภีร์เดียวต่างต่อสู้แย่งชิงกัน ขนาดที่ยุโรปมีกุเตนเบิกทำเครื่องพิมพ์แจกจ่ายให้อ่านกันทุกคนใช่ไหม?

กระทู้คำถาม
ผมชอบอ่านนวนิยายจีนมาก ถึงแม้จะไม่ใช่เรื่องจริงแต่ก็สามารถสะท้อนสังคมได้พอสมควร
อ่านนวนิยายกำลังภายใน แทนที่มีคัมภีร์แล้วจะพิมพ์แจกจ่าย กลับต่อสุ้แย่งชิงเข่นฆ่ากันตายไปเกือบหมด
เคล็ดวิชาต่างๆก็สูญหาย อย่างในจักรวาลของกิมย้ง วิเคราะห์ดูจะรู้ว่า ยิ่งผ่านแต่ละรุ่นไป วรยุทธ์ของตัวละครเอกมาเปรียบเทียบกันยิ่งถอถอย
มีการสูญหาย ไม่สมบูรณ์ของเคล็ดวิชา

จะเห็นว่าจีนเป็นประเทศใหญ่ แต่ในอดีตไม่มีมหาวิทยาลัย แต่จะเป็นวรยุทธ์ประจำตระกูล ทำให้ไม่มีการถ่ายทอดแต่คนนอก
แม้แต่ลูกสะใภ้ก็ยังถูกห้าม ตอนหนึ่งมีหนุ่มสาวสองคนจากขวบนเปาเปียวคือขบวนคุ้มกันสินค้าติดฝนไปขอพักอาศัย แต่กลับไปดูคนในบ้าน
นั้นฝึกวิชา กลับไปเล่าให้บิดาฟัง ถูกบิดาดุด่าว่าอย่างมากและเล่าให้ฟังว่าจำไม่ได้หรือเคยมีคนมาดูเราฝึกวิชา เลยโดนซัดอาวุธไปตาบอดเลย
การแอบดูคนอื่นฝึกวิชาถือเป็นข้อห้ามสำคัญในยุทธจักร



นี่พอจะเห็นว่าวัฒนธรรมจีน ชอบหวงชอบกั๊กวิชาไม่เผยแพร่ แนวคิดนี้จึงทำให้จีนพัฒนาสู้ยุโรปไม่ได้
ยุโรปในอดีตก่อตั้งมหาวิยาลัยมากมาย มีกูเตนเบิกสร้างเครื่องพิมพ์ ตอนแรกอาจจะพิมพ์แต่เรื่องของศาสนา
หลังๆก็พิมพ์วิชาความรู้ต่างๆ หนังสือนี่สำคัญมาก เก็บสะสม สำเนาความรู้ของมนุษย์ ไม่ให้สูญหายและต่อยอดกันไป
มีมหาวิทยาลัย ห้องสมุด หนังสือที่พิมพ์ได้ทีละจำนวนมาก มีการสะสม แลกเปลี่ยนความรู้ของมนุษย์
กันอย่างต่อเนื่อง ทำให้ยุโรปพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว และแซงเอาชนะจีน จนทิ้งห่างไปมาก ในยุคนั้น

จะเห็นว่าจีนมีคัมภีย์เดียวจอมยุทธ์แย่งชิงตายไปกว่า 99% ผู้ที่เหลือก็ถ่ายทอดให้เฉพาะคนในตระกูล
และก็ต่อสู้กับตระกูลอื่น มีการแย่งชิงคัมภีร์กันอีก วนลูปอย่างนี้ไปเรื่อย ทำให้จีนไม่สามารถสะสมความรู้จนสามารถปฎิวัติวิทยาศาสตร์
และอุตสาหกรรมได้

ส่วนยุโรป ไม่ต้องมาต่อสู้แย่งชิงกัน ใครจะอ่านได้เลย พิมพ์แจก ขายให้หมด ใครรู้อะไรก็มาเขียนแบ่งปันกัน แล้วพิมพ์แจก
วนลูปแบบนี้ไปเรื่อย บวกกับมีมหาวิทยาลัยสอนหนังสือ จึงสะสมความรู้ได้จำนวนมาก จนสามารถปฎิวัติวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมได้ก่อนใคร






จีนแพ้ยุโรปเพราะมีคัมภีร์เดียวต่างต่อสู้แย่งชิงกัน ขนาดที่ยุโรปมีกุเตนเบิกทำเครื่องพิมพ์แจกจ่ายให้อ่านกันทุกคนใช่ไหม?
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่