หลายครั้ง ที่เราจะเคยได้ยินผู้หลักผู้ใหญ่ออกมาเตือนเสมอๆว่า
"คุยกับเพื่อน อย่าคุยเรื่องการเมือง เพื่อนฆ่าเพื่อนก็เพราะการเมือง จำไว้"
ผมเอง ยังสงสัยมาจนทุกวันนี้ว่า เหตุใด "การเมือง" จึงมีฤทธิ์เดชถึงขนาดทำให้เพื่อนพ้องต้องฆ่าแกงกันได้
คำว่า "เพื่อน" ในอดีตของวงการทหาร ใช่ว่าจะเรียกหรือนับใครเป็นเพื่อนได้ง่ายๆ
เพื่อน ต้องยอมสละบางอย่างเพื่อเพื่อนได้ บางครั้งถึงขนาดตายแทนกันได้ จึงนับว่าเป็นเพื่อนกัน
ย้อนอดีต จุดเริ่มต้นของกงล้อแห่งประวัติศาสตร์นี้
นักเรียนหทารไทยจากเยอรมัน 3 คน เป็นเพื่อนร่วมน้ำสาบานกัน ได้สมญา "ทแกล้วทหารสามเกลอ"
"หากเกิดเหตุการณ์ร้ายใดขึ้น ขออย่าประหัตประหารกัน เพียงเนรเทศก็สาสมแล้ว"
คำร่วมสาบานที่ให้ไว้แก่กัน
พระยาทรงสุรเดช (ซ้าย) พระยาพหลพลพยุหเสนา (กลาง) พระยาศรีสิทธิสงคราม
(ภาพ : พิพิธภัณฑ์ ฯพณฯ พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ค่ายพหลโยธิน จ.ลพบุรี)
ครั้นต่อมา วิถีอำนาจ การเมือง ความเห็นต่าง ทำให้เหตุการณ์ผลิกผัน
พระยาทรงสุรเดช ถูกเนรเทศ ตกระกำลำบากและเสียชีวิตบนเตียงไม้ที่ไม่มีแม้แต่เสื่อ ในบ้านเช่าที่กรุงพนมเปญ (กบฏพระยาทรงสุรเดช)
พระยาพหลพลพยุหเสนา (ต่อมาได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ของประเทศไทย) เสียชีวิตโดยไร้ทรัพย์สมบัติใดๆ แม้แต่บ้านของตนเอง
พระยาศรีสิทธิสงคราม ถูกจับตายในฐานะผู้ร่วมก่อกบฎ โดยคำสั่งของเพื่อนรัก ที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น (กบฏบวรเดช)
พระยาศรีสิทธิสงคราม เสียชีวิตอย่าน่าอนาถ ริมทางรถไฟใกล้สถานีหินลับ จ. สระบุรี
โดยหลังจากถูกยิงบาดเจ็บ แต่ยังไม่เสียชีวิต ... และผู้ที่จัดการรัวกระสุนใส่อย่างโหดเหี้ยมจนท่านเสียชีวิตคือ ตุ๊(ประภาส) จารุเสถียร
".........ในที่สุดมันผลัดกันเอากิโยตีนเฉือนคอกันทีละคน ......นี่แกเป็นกบฏแม้จะรอดจากอาญาแผ่นดินไม่ถูกตัดหัว
แต่แกจะต้องถูกพวกเดียวกันฆ่าตาย แกจำไว้ .............."
(พระดำรัสสมเด็จฯกรมพระนครสวรรค์วรพินิต คราวทรงถูกควบคุมเป็นองค์ประกัน ณ พระที่นั่งอนัตสมาคม)
กงล้อประวัติศาสตร์นี้ จะหมุนต่อไปอีกกี่รอบ และเราจะหยุดมันได้อย่างไร
"ใครก่อกรรมใดไว้ ผลกรรมนั้นก็จะกลับมาสนองแก่ผู้ก่อเสมอ"
หรือนี่คงเป็นเหตุผลที่ กงล้อนี้ ไม่มีวันหยุดหมุน
เพื่อนฆ่าเพื่อนเพราะการเมือง กงล้อประวัติศาตร์ที่ต้องช่วยกันหยุด
"คุยกับเพื่อน อย่าคุยเรื่องการเมือง เพื่อนฆ่าเพื่อนก็เพราะการเมือง จำไว้"
ผมเอง ยังสงสัยมาจนทุกวันนี้ว่า เหตุใด "การเมือง" จึงมีฤทธิ์เดชถึงขนาดทำให้เพื่อนพ้องต้องฆ่าแกงกันได้
คำว่า "เพื่อน" ในอดีตของวงการทหาร ใช่ว่าจะเรียกหรือนับใครเป็นเพื่อนได้ง่ายๆ
เพื่อน ต้องยอมสละบางอย่างเพื่อเพื่อนได้ บางครั้งถึงขนาดตายแทนกันได้ จึงนับว่าเป็นเพื่อนกัน
ย้อนอดีต จุดเริ่มต้นของกงล้อแห่งประวัติศาสตร์นี้
นักเรียนหทารไทยจากเยอรมัน 3 คน เป็นเพื่อนร่วมน้ำสาบานกัน ได้สมญา "ทแกล้วทหารสามเกลอ"
"หากเกิดเหตุการณ์ร้ายใดขึ้น ขออย่าประหัตประหารกัน เพียงเนรเทศก็สาสมแล้ว"
คำร่วมสาบานที่ให้ไว้แก่กัน
พระยาทรงสุรเดช (ซ้าย) พระยาพหลพลพยุหเสนา (กลาง) พระยาศรีสิทธิสงคราม
(ภาพ : พิพิธภัณฑ์ ฯพณฯ พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ค่ายพหลโยธิน จ.ลพบุรี)
ครั้นต่อมา วิถีอำนาจ การเมือง ความเห็นต่าง ทำให้เหตุการณ์ผลิกผัน
พระยาทรงสุรเดช ถูกเนรเทศ ตกระกำลำบากและเสียชีวิตบนเตียงไม้ที่ไม่มีแม้แต่เสื่อ ในบ้านเช่าที่กรุงพนมเปญ (กบฏพระยาทรงสุรเดช)
พระยาพหลพลพยุหเสนา (ต่อมาได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ของประเทศไทย) เสียชีวิตโดยไร้ทรัพย์สมบัติใดๆ แม้แต่บ้านของตนเอง
พระยาศรีสิทธิสงคราม ถูกจับตายในฐานะผู้ร่วมก่อกบฎ โดยคำสั่งของเพื่อนรัก ที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น (กบฏบวรเดช)
พระยาศรีสิทธิสงคราม เสียชีวิตอย่าน่าอนาถ ริมทางรถไฟใกล้สถานีหินลับ จ. สระบุรี
โดยหลังจากถูกยิงบาดเจ็บ แต่ยังไม่เสียชีวิต ... และผู้ที่จัดการรัวกระสุนใส่อย่างโหดเหี้ยมจนท่านเสียชีวิตคือ ตุ๊(ประภาส) จารุเสถียร
".........ในที่สุดมันผลัดกันเอากิโยตีนเฉือนคอกันทีละคน ......นี่แกเป็นกบฏแม้จะรอดจากอาญาแผ่นดินไม่ถูกตัดหัว
แต่แกจะต้องถูกพวกเดียวกันฆ่าตาย แกจำไว้ .............."
(พระดำรัสสมเด็จฯกรมพระนครสวรรค์วรพินิต คราวทรงถูกควบคุมเป็นองค์ประกัน ณ พระที่นั่งอนัตสมาคม)
กงล้อประวัติศาสตร์นี้ จะหมุนต่อไปอีกกี่รอบ และเราจะหยุดมันได้อย่างไร
"ใครก่อกรรมใดไว้ ผลกรรมนั้นก็จะกลับมาสนองแก่ผู้ก่อเสมอ"
หรือนี่คงเป็นเหตุผลที่ กงล้อนี้ ไม่มีวันหยุดหมุน