[Loser Voice] จากดราม่าคนท้องสู่ดราม่านางงาม : ทำไมสังคมไทยถึงอ่อนไหวกับคำว่าความจน?
.
.
By : TonyMao_NK51
E-Mail : tonymao_nk51@hotmail.com , tonymao.nk@gmail.com
Facebook Page : TonyMao_NK51
.
ตุลาคมช่วงครึ่งเดือนหลัง มีประเด็นที่เรียกกันสนุกปากว่า
"ดราม่า" เกี่ยวกับฐานะทางสังคมเกิดขึ้น 2 เรื่องติดกัน เรื่องแรกคือกรณีการทะเลาะกันระหว่างหญิงสาวตั้งครรภ์กับสาวใหญ่ที่ตอนหลังทราบว่าเป็นภรรยาทหารยศนายพล กับเรื่องที่สอง กรณีสาวน้อยคนหนึ่งชีวิตรันทด บ้านยากจนแม่มีอาชีพเก็บขยะขาย เธอชนะเลิศการประกวดนางงาม กระทั่งมารู้ภายหลังว่าเธอไม่ได้จบ ม.6 จริงตามคุณสมบัติที่กองประกวดตั้งไว้ แน่นอนทั้ง 2 เรื่องดูเหมือนจะจบได้ด้วยดี เรื่องแรกกลายเป็นว่าสาวท้องเองก็ไม่เบา ไม่ได้เป็นผู้ถูกกระทำฝ่ายเดียว ส่วนเรื่องหลังท้ายสุดกองประกวดไม่ยึดรางวัลคืน ทุกอย่างเข้าสู่ภาวะคลี่คลาย
.
ทว่าก็มีประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ ในช่วงที่ดราม่าทั้ง 2 เรื่องดำเนินไปอย่างดุเดือด ระหว่างฝ่ายหนึ่งซึ่งน่าจะเป็นคนกลุ่มใหญ่ ค่อนข้างให้
"แต้มต่อ" กับบุคคลที่มีฐานะยากจน ชนชั้นล่าง รากหญ้าอะไรก็ว่าไป ทำนองว่าคนจนควรจะได้รับความเห็นใจ ได้รับการปกป้องเป็นพิเศษ ถึงผิดก็ควรให้อภัย หรืออย่างมากที่สุดคือลงโทษสถานเบา กับอีกฝ่ายซึ่งน่าจะเป็นคนกลุ่มน้อย มองว่าไม่ควรมี
"ข้อยกเว้น" ใดๆ ไม่ว่าจะเป็นคนยากจนด้อยโอกาสแค่ไหนก็ตาม และความน่าสนใจมันอยู่ที่ว่าคนกลุ่มหลังมักตั้งคำถามว่าเกิดอะไรขึ้นกับสังคมไทย? ทำไมเราไม่ยึดความถูกต้องเป็นหลัก แต่ยึดฐานะทางสังคมเป็นหลัก?
.
ผมอยากจะบอกว่าถ้าคุณเป็น
"คนไทยตัวจริง" ก็ไม่น่าตั้งคำถามนี้ ผมเชื่อว่าคนไทยทุกคนรู้อยู่เต็มอกว่าเราอยู่ในสังคมที่
"ห่างไกลความเท่าเทียม" มาเป็นเวลาช้านาน ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และคงจะเป็นเป็นแบบนี้ต่อไปในอนาคต สังคมที่คนรวยไม่ใช่แค่ใช้ชีวิตหรูหราสะดวกสบาย แต่ยังได้สิทธิพิเศษมากมาย เช่น เมื่อคนรวยมีคดีความ เกือบร้อยละร้อยได้รับการประกันตัวเสมอ ตรงข้ามกับคนจนที่ส่วนมากต้องนอนคุกไปก่อน ถ้าท้ายที่สุดศาลยกฟ้อง ไม่มีความผิดคนจนคนนั้นก็ติดคุกฟรีไป หรือคนรวยสามารถหาทนายเทพๆ มาว่าความให้กับตนเต็มที่ ขณะที่คนจนต้องฝากชีวิตไว้กับทนายกากๆ ที่เตร็ดเตร่แถวๆ ใต้ถุนศาล ซึ่งไม่ค่อยจะมีจิตใจทำงานให้เต็มร้อยนัก ยังไม่นับเรื่องเล่ามากมายหลังกำแพงเรือนจำ ถ้าใครมีคนรู้จักเคยติดคุก ลองถามๆ ดูว่าในนั้นเป็นยังไง เชื่อเถอะหลายคนจะเล่าว่าอยู่ในนั้นถ้าใครมีเงิน ความเป็นอยู่จะค่อนข้างสบายน้องๆ อยู่บ้าน ส่วนนักโทษจนๆ ก็ดิ้นรนเอาตัวรอดกันเองแล้วกัน
.
"คุกมีไว้ขังหมากับคนจน" หรือ
"ขึ้นโรงขึ้นศาลเป็นเคราะห์ร้าย" นี่เป็นคำสอนที่บอกเล่าปากต่อปากกันมารุ่นต่อรุ่น และทุกวันนี้ก็ยังพูดกันอยู่ เป็นการตอกย้ำว่าความเหลื่อมล้ำยังมีและมีมากด้วยในสังคมเรา เอาง่ายๆ มันมีสักกี่ครั้งกันที่คนร่ำรวยมีอำนาจบารมีติดคุกตะราง ถ้าคู่พิพาทอีกฝ่ายไม่ใช่คนใหญ่คนโตระดับเดียวกันหรือใหญ่กว่า ส่วนใหญ่ก็แค่รอลงอาญา หรือไม่ก็หอบสมบัติหนีไปเสวยสุขในต่างแดนก่อนคำพิพากษาออก ท่ามกลางคำถามจากสาธารณชนว่าคนเหล่านี้รู้ได้ยังไงว่าตนเองจะไม่รอดคดี เหมือนมี
"อำนาจลึกลับบางอย่าง" มาเตือนล่วงหน้าเพื่อให้เผ่นไปก่อนเสมอ
.
นี่ยังไม่นับเรื่องอื่นๆ เช่น การศึกษา ที่คนไทยทุกคนต่างก็ทราบดีว่าคุณภาพโรงเรียนต่างกันราวฟ้ากับเหวระหว่างโรงเรียนทั่วไปกับโรงเรียนชั้นนำ ตรงข้ามกับประเทศที่เจริญแล้ว แม้จะมีโรงเรียนทั่วไปกับโรงเรียนชั้นนำเช่นกัน แต่โรงเรียนทั่วไปก็ไม่ได้ย่ำแย่อย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับโรงเรียนชั้นนำเหมือนกับสิ่งที่เป็นอยู่ในบ้านเรา บางประเทศนี่ถึงกับเรียกได้ว่า
"เรียนที่ไหนก็ได้" เสียด้วยซ้ำ เพราะคุณภาพได้มาตรฐานทั้งหมด หรือการไปติดต่อราชการ เอาละถึงไม่มีการให้สินบนเพื่อกลับผิดเป็นถุก กลับดำเป็นชาว แต่อย่างน้อยที่สุด ถ้าคุณมี
"ค่าหล่อลื่น" หรือ
"รู้จักคนข้างใน" หรือ
"ผู้หลักผู้ใหญ่ฝากฝังมา" คุณก็จะได้รับบริการที่สะดวกรวดเร็วกว่าคนทั่วไป หรือการก่อสร้างต่างๆ ของรัฐ ที่ถ้าไม่มีเสียงคัดค้าน ไม่มีการประท้วง ไม่มีจลาจลบาดเจ็บล้มตาย ภาครัฐมักจะฟังแต่เสียงของกลุ่มทุน ให้น้ำหนักกับนักลงทุนมากกว่าประชาชนคนตัวเล็กตัวน้อยเสมอ บ่อยครั้งวิถีท้องถิ่นได้รับผลกระทบจากโครงการใหญ่ๆ ที่ไม่ทำตามมาตรการรักษาสิ่งแวดล้อม
.
เอาง่ายๆ ไม่กี่ปีก่อน ว่าที่ผู้ว่าการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ( IMF ) ถูกจับในคดีลวนลามแม่บ้านโรงแรมแห่งหนึ่งในนครนิวยอร์ค เรื่องนี้กลายเป็นข่าวใหญ่ระดับโลก เป็นคดีความ และท้ายที่สุดคือนายคนนี้อนาคตดับทันที อดเป็นผู้ว่าฯ IMF ทั้งที่เป็นตัวเต็ง ถามว่าสังคมไทยเคยมีเรื่องแบบนี้ไหม? เชื่อเถอะมี แต่วิธีแบบบ้านเรา คือการปิดข่าวแล้วจ่ายค่าทำขวัญให้ก่อนหนึ่ง แล้วก็ปล่อยให้เรื่องมันเงียบๆ ไป น้อยครั้งที่จะฟ้องจนคดีถึงที่สุด หากเหยื่ออยู่ในสถานะด้อยกว่า เพราะอีกฝ่ายมีฐานะสูงกว่า คงเล่นเกมยาวถึงศาลฎีกา แน่นอนหลายกรณีมักต่อสู้กันมากกว่าสิบปี แบบนี้คนที่ฐานะด้อยกว่า สายป่านสั้นกว่า ส่วนใหญ่ก็ยอมๆ รับสภาพไปเถอะ สู้คดีค่าใช้จ่ายเยอะครับ
.
นี่คือสิ่งที่สังคมไทย
"ชินชา" ไปแล้ว คนไทยไม่เชื่อว่าจะมีวันหนึ่งที่สามารถลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ ให้คนรวยและคนจน รากหญ้าและผู้ดี ไพร่และอำมาตย์ที่แม้ฐานะทางเศรษฐกิจจะไม่เท่ากัน แต่ได้รับการปฏิบัติด้านสิทธิอันพึงมีพึงได้ในฐานะมนุษย์อย่างเท่าเทียมกันเฉกเช่นนานาอารยประเทศ คนไทยทราบดีว่าเราอยู่กับความไม่เท่ากันตั้งแต่เกิดยันตาย เรื่องเล่าทำนองคนรวย คนมีอำนาจบารมีรังแกคนจน ถูกเล่าส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น และเมื่อโตขึ้นยังได้ประสบกับตัวเองไม่มากก็น้อย นั่นทำให้เราเชื่อจนฝังหัวว่ามันคงจะดำรงอยู่ต่อไป สังคมไทยจึงหันไปใช้วิธี
"แบบไทยๆ" เพื่อมิให้สังคมมันบีบรัดเกินไป ด้วยการสร้างบรรทัดฐานทางสังคมขึ้นมาอย่างหนึ่ง นั่นคืออนุญาตให่คนจนใช้
"ความสงสาร" เป็นแต้มต่อให้สังคมต้องเข้ามาช่วยเหลือโอบอุ้ม และละเว้นหรือลดหย่อนความผิดให้ เช่นเดียวกับที่คนรวยใช้
"อำนาจเงินและบรรดาศักดิ์" เป็นแต้มต่อให้ตนเองมีอภิสิทธิ์เหนือกว่าคนอื่นในสังคม
.
ดูเอาเถิด..ถ้าคนรวยใช้อำนาจ ใช้เส้นสาย คนจนก็ใช้ความสงสาร ใช้ความเห็นใจ เพื่อให้ได้มาซึ่ง
"ทางลัด" ในการใช้ชีวิต ทั้ง 2 ชนชั้นไม่แตกต่างกัน และคนไทยส่วนใหญ่ก็พร้อมจะยอมรับวิธีการแบบนี้ เพราะเราต่างก็รู้อยู่เต็มอก ว่าไม่มีปัญญาดึงคนรวยให้ลงมามีมาตรฐานเดียวกับคนทั่วไปได้ จึงสนับสนุนและส่งเสริมให้คนจนได้ใช้อภิสิทธิ์ในทำนองเดียวกัน เพราะอย่างน้อยมันก็เป็นการทำให้จิตใจของเราๆ ท่านๆ รู้สึกว่าอย่างน้อยวันนี้เรายังได้ทำความดี ได้ช่วยเหลือคนที่ด้อยกว่า ที่สำคัญเชื่อว่าคงมีไม่น้อยที่แอบคิดว่า ถ้าวันหนึ่งเราตกที่นั่งลำบาก ก็คงจะขอใช้สิทธิพิเศษเช่นนี้บ้าง
.
นี่จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมคนไทยส่วนใหญ่ยอมได้กับคนจน ดังที่ปรากฏในดราม่าทั้ง 2 เรื่อง รวมถึงเรื่องอื่นๆ ไล่ตั้งแต่แผงลอยบนทางเท้า ไปจนถึงระบบภาษีสังคมที่ถ้าคุณรวยมากคุณจะถูกขอให้บริจาคมากๆ ถ้าไม่บริจาคก็จะถุกสังคมคว่ำบาตรเอาได้
.
ก่อนจะจบคอลัมน์ในสัปดาห์นี้ มีเรื่องขำๆ ที่คนรู้จักกันเล่ามา เขาว่าถ้าคุณไปถามมุมมองของคนในประเทศพัฒนาแล้วในเรื่องของ Anti-Hero ประเภททำตัวเป็นศาลเตี้ยหรือพวกที่ปล้นคนรวยช่วยคนจน คนในประเทศพัฒนาแล้วจะบอกว่าคนพวกนี้เป็นได้แค่
"โจรคนหนึ่ง" แต่ถ้าไปถามมุมมองของคนในประเทศกำลังพัฒนาหรือด้อยพัฒนา บรรดาโรบินฮู้ด หรือขุนโจรแนวๆ เสือทั้งหลาย อาจจะได้เป็น
"วีรชน" ในสายตาคนในประเทศกำลังพัฒนาหรือด้อยพัฒนา อะไรทำให้มุมมองต่างกันได้ขนาดนี้? คำตอบคือคนในประเทศที่พัฒนาแล้ว จะรวยจะจนได้รับการเคารพดูแลอย่างมีศักดิ์ศรี แม้จะไม่เท่าเทียมร้อยเปอร์เซ็นต์แต่ก็ไม่ได้ห่างกันราวฟ้ากับเหว กฎหมายเชื่อถือได้ว่าใช้กับคนทุกชนชั้นได้จริงๆ จึงไม่ต้องพึ่งพาวิถีนอกระบบเหมือนคนในประเทศกำลังพัฒนาหรือด้อยพัฒนา ที่เกิดมาก็เห็นแต่ปัญหาคอรัปชั่น เส้นสาย ระบบอุปถัมภ์ แล้วพอโตขึ้น ดิ้นรนจนมีฐานะร่ำรวย มีอำนาจบารมี ก็ทำแบบนั้นบ้าง วนเวียนเป็นวัฏจักรไม่จบสิ้น จึงมองว่าวิถีนอกระบบทั้งหลายคือความชอบธรรม
.
สรุปง่ายๆ ก็คือถ้าอยากให้คนไทยหลุดพ้นจากวิธีคิดแบบนี้ ก็ต้องทำให้ความเหลื่อมล้ำมันลดลงอย่างชัดเจนให้ได้เสียก่อน เมื่อนั้นวิถีแบบโจร วิถีที่ไม่เป็นอารยะก็จะค่อยๆ เสื่อมไปเอง แต่คำถามคือเราจะทำได้หรือ?
.
แล้วพบกันใหม่ สวัสดีครับ!!!
.
------------------------------
[Loser Voice] จากดราม่าคนท้องสู่ดราม่านางงาม : ทำไมสังคมไทยถึงอ่อนไหวกับคำว่าความจน?
.
.
By : TonyMao_NK51
E-Mail : tonymao_nk51@hotmail.com , tonymao.nk@gmail.com
Facebook Page : TonyMao_NK51
.
ตุลาคมช่วงครึ่งเดือนหลัง มีประเด็นที่เรียกกันสนุกปากว่า "ดราม่า" เกี่ยวกับฐานะทางสังคมเกิดขึ้น 2 เรื่องติดกัน เรื่องแรกคือกรณีการทะเลาะกันระหว่างหญิงสาวตั้งครรภ์กับสาวใหญ่ที่ตอนหลังทราบว่าเป็นภรรยาทหารยศนายพล กับเรื่องที่สอง กรณีสาวน้อยคนหนึ่งชีวิตรันทด บ้านยากจนแม่มีอาชีพเก็บขยะขาย เธอชนะเลิศการประกวดนางงาม กระทั่งมารู้ภายหลังว่าเธอไม่ได้จบ ม.6 จริงตามคุณสมบัติที่กองประกวดตั้งไว้ แน่นอนทั้ง 2 เรื่องดูเหมือนจะจบได้ด้วยดี เรื่องแรกกลายเป็นว่าสาวท้องเองก็ไม่เบา ไม่ได้เป็นผู้ถูกกระทำฝ่ายเดียว ส่วนเรื่องหลังท้ายสุดกองประกวดไม่ยึดรางวัลคืน ทุกอย่างเข้าสู่ภาวะคลี่คลาย
.
ทว่าก็มีประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ ในช่วงที่ดราม่าทั้ง 2 เรื่องดำเนินไปอย่างดุเดือด ระหว่างฝ่ายหนึ่งซึ่งน่าจะเป็นคนกลุ่มใหญ่ ค่อนข้างให้ "แต้มต่อ" กับบุคคลที่มีฐานะยากจน ชนชั้นล่าง รากหญ้าอะไรก็ว่าไป ทำนองว่าคนจนควรจะได้รับความเห็นใจ ได้รับการปกป้องเป็นพิเศษ ถึงผิดก็ควรให้อภัย หรืออย่างมากที่สุดคือลงโทษสถานเบา กับอีกฝ่ายซึ่งน่าจะเป็นคนกลุ่มน้อย มองว่าไม่ควรมี "ข้อยกเว้น" ใดๆ ไม่ว่าจะเป็นคนยากจนด้อยโอกาสแค่ไหนก็ตาม และความน่าสนใจมันอยู่ที่ว่าคนกลุ่มหลังมักตั้งคำถามว่าเกิดอะไรขึ้นกับสังคมไทย? ทำไมเราไม่ยึดความถูกต้องเป็นหลัก แต่ยึดฐานะทางสังคมเป็นหลัก?
.
ผมอยากจะบอกว่าถ้าคุณเป็น "คนไทยตัวจริง" ก็ไม่น่าตั้งคำถามนี้ ผมเชื่อว่าคนไทยทุกคนรู้อยู่เต็มอกว่าเราอยู่ในสังคมที่ "ห่างไกลความเท่าเทียม" มาเป็นเวลาช้านาน ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และคงจะเป็นเป็นแบบนี้ต่อไปในอนาคต สังคมที่คนรวยไม่ใช่แค่ใช้ชีวิตหรูหราสะดวกสบาย แต่ยังได้สิทธิพิเศษมากมาย เช่น เมื่อคนรวยมีคดีความ เกือบร้อยละร้อยได้รับการประกันตัวเสมอ ตรงข้ามกับคนจนที่ส่วนมากต้องนอนคุกไปก่อน ถ้าท้ายที่สุดศาลยกฟ้อง ไม่มีความผิดคนจนคนนั้นก็ติดคุกฟรีไป หรือคนรวยสามารถหาทนายเทพๆ มาว่าความให้กับตนเต็มที่ ขณะที่คนจนต้องฝากชีวิตไว้กับทนายกากๆ ที่เตร็ดเตร่แถวๆ ใต้ถุนศาล ซึ่งไม่ค่อยจะมีจิตใจทำงานให้เต็มร้อยนัก ยังไม่นับเรื่องเล่ามากมายหลังกำแพงเรือนจำ ถ้าใครมีคนรู้จักเคยติดคุก ลองถามๆ ดูว่าในนั้นเป็นยังไง เชื่อเถอะหลายคนจะเล่าว่าอยู่ในนั้นถ้าใครมีเงิน ความเป็นอยู่จะค่อนข้างสบายน้องๆ อยู่บ้าน ส่วนนักโทษจนๆ ก็ดิ้นรนเอาตัวรอดกันเองแล้วกัน
.
"คุกมีไว้ขังหมากับคนจน" หรือ "ขึ้นโรงขึ้นศาลเป็นเคราะห์ร้าย" นี่เป็นคำสอนที่บอกเล่าปากต่อปากกันมารุ่นต่อรุ่น และทุกวันนี้ก็ยังพูดกันอยู่ เป็นการตอกย้ำว่าความเหลื่อมล้ำยังมีและมีมากด้วยในสังคมเรา เอาง่ายๆ มันมีสักกี่ครั้งกันที่คนร่ำรวยมีอำนาจบารมีติดคุกตะราง ถ้าคู่พิพาทอีกฝ่ายไม่ใช่คนใหญ่คนโตระดับเดียวกันหรือใหญ่กว่า ส่วนใหญ่ก็แค่รอลงอาญา หรือไม่ก็หอบสมบัติหนีไปเสวยสุขในต่างแดนก่อนคำพิพากษาออก ท่ามกลางคำถามจากสาธารณชนว่าคนเหล่านี้รู้ได้ยังไงว่าตนเองจะไม่รอดคดี เหมือนมี "อำนาจลึกลับบางอย่าง" มาเตือนล่วงหน้าเพื่อให้เผ่นไปก่อนเสมอ
.
นี่ยังไม่นับเรื่องอื่นๆ เช่น การศึกษา ที่คนไทยทุกคนต่างก็ทราบดีว่าคุณภาพโรงเรียนต่างกันราวฟ้ากับเหวระหว่างโรงเรียนทั่วไปกับโรงเรียนชั้นนำ ตรงข้ามกับประเทศที่เจริญแล้ว แม้จะมีโรงเรียนทั่วไปกับโรงเรียนชั้นนำเช่นกัน แต่โรงเรียนทั่วไปก็ไม่ได้ย่ำแย่อย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับโรงเรียนชั้นนำเหมือนกับสิ่งที่เป็นอยู่ในบ้านเรา บางประเทศนี่ถึงกับเรียกได้ว่า "เรียนที่ไหนก็ได้" เสียด้วยซ้ำ เพราะคุณภาพได้มาตรฐานทั้งหมด หรือการไปติดต่อราชการ เอาละถึงไม่มีการให้สินบนเพื่อกลับผิดเป็นถุก กลับดำเป็นชาว แต่อย่างน้อยที่สุด ถ้าคุณมี "ค่าหล่อลื่น" หรือ "รู้จักคนข้างใน" หรือ "ผู้หลักผู้ใหญ่ฝากฝังมา" คุณก็จะได้รับบริการที่สะดวกรวดเร็วกว่าคนทั่วไป หรือการก่อสร้างต่างๆ ของรัฐ ที่ถ้าไม่มีเสียงคัดค้าน ไม่มีการประท้วง ไม่มีจลาจลบาดเจ็บล้มตาย ภาครัฐมักจะฟังแต่เสียงของกลุ่มทุน ให้น้ำหนักกับนักลงทุนมากกว่าประชาชนคนตัวเล็กตัวน้อยเสมอ บ่อยครั้งวิถีท้องถิ่นได้รับผลกระทบจากโครงการใหญ่ๆ ที่ไม่ทำตามมาตรการรักษาสิ่งแวดล้อม
.
เอาง่ายๆ ไม่กี่ปีก่อน ว่าที่ผู้ว่าการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ( IMF ) ถูกจับในคดีลวนลามแม่บ้านโรงแรมแห่งหนึ่งในนครนิวยอร์ค เรื่องนี้กลายเป็นข่าวใหญ่ระดับโลก เป็นคดีความ และท้ายที่สุดคือนายคนนี้อนาคตดับทันที อดเป็นผู้ว่าฯ IMF ทั้งที่เป็นตัวเต็ง ถามว่าสังคมไทยเคยมีเรื่องแบบนี้ไหม? เชื่อเถอะมี แต่วิธีแบบบ้านเรา คือการปิดข่าวแล้วจ่ายค่าทำขวัญให้ก่อนหนึ่ง แล้วก็ปล่อยให้เรื่องมันเงียบๆ ไป น้อยครั้งที่จะฟ้องจนคดีถึงที่สุด หากเหยื่ออยู่ในสถานะด้อยกว่า เพราะอีกฝ่ายมีฐานะสูงกว่า คงเล่นเกมยาวถึงศาลฎีกา แน่นอนหลายกรณีมักต่อสู้กันมากกว่าสิบปี แบบนี้คนที่ฐานะด้อยกว่า สายป่านสั้นกว่า ส่วนใหญ่ก็ยอมๆ รับสภาพไปเถอะ สู้คดีค่าใช้จ่ายเยอะครับ
.
นี่คือสิ่งที่สังคมไทย "ชินชา" ไปแล้ว คนไทยไม่เชื่อว่าจะมีวันหนึ่งที่สามารถลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ ให้คนรวยและคนจน รากหญ้าและผู้ดี ไพร่และอำมาตย์ที่แม้ฐานะทางเศรษฐกิจจะไม่เท่ากัน แต่ได้รับการปฏิบัติด้านสิทธิอันพึงมีพึงได้ในฐานะมนุษย์อย่างเท่าเทียมกันเฉกเช่นนานาอารยประเทศ คนไทยทราบดีว่าเราอยู่กับความไม่เท่ากันตั้งแต่เกิดยันตาย เรื่องเล่าทำนองคนรวย คนมีอำนาจบารมีรังแกคนจน ถูกเล่าส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น และเมื่อโตขึ้นยังได้ประสบกับตัวเองไม่มากก็น้อย นั่นทำให้เราเชื่อจนฝังหัวว่ามันคงจะดำรงอยู่ต่อไป สังคมไทยจึงหันไปใช้วิธี "แบบไทยๆ" เพื่อมิให้สังคมมันบีบรัดเกินไป ด้วยการสร้างบรรทัดฐานทางสังคมขึ้นมาอย่างหนึ่ง นั่นคืออนุญาตให่คนจนใช้ "ความสงสาร" เป็นแต้มต่อให้สังคมต้องเข้ามาช่วยเหลือโอบอุ้ม และละเว้นหรือลดหย่อนความผิดให้ เช่นเดียวกับที่คนรวยใช้ "อำนาจเงินและบรรดาศักดิ์" เป็นแต้มต่อให้ตนเองมีอภิสิทธิ์เหนือกว่าคนอื่นในสังคม
.
ดูเอาเถิด..ถ้าคนรวยใช้อำนาจ ใช้เส้นสาย คนจนก็ใช้ความสงสาร ใช้ความเห็นใจ เพื่อให้ได้มาซึ่ง "ทางลัด" ในการใช้ชีวิต ทั้ง 2 ชนชั้นไม่แตกต่างกัน และคนไทยส่วนใหญ่ก็พร้อมจะยอมรับวิธีการแบบนี้ เพราะเราต่างก็รู้อยู่เต็มอก ว่าไม่มีปัญญาดึงคนรวยให้ลงมามีมาตรฐานเดียวกับคนทั่วไปได้ จึงสนับสนุนและส่งเสริมให้คนจนได้ใช้อภิสิทธิ์ในทำนองเดียวกัน เพราะอย่างน้อยมันก็เป็นการทำให้จิตใจของเราๆ ท่านๆ รู้สึกว่าอย่างน้อยวันนี้เรายังได้ทำความดี ได้ช่วยเหลือคนที่ด้อยกว่า ที่สำคัญเชื่อว่าคงมีไม่น้อยที่แอบคิดว่า ถ้าวันหนึ่งเราตกที่นั่งลำบาก ก็คงจะขอใช้สิทธิพิเศษเช่นนี้บ้าง
.
นี่จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมคนไทยส่วนใหญ่ยอมได้กับคนจน ดังที่ปรากฏในดราม่าทั้ง 2 เรื่อง รวมถึงเรื่องอื่นๆ ไล่ตั้งแต่แผงลอยบนทางเท้า ไปจนถึงระบบภาษีสังคมที่ถ้าคุณรวยมากคุณจะถูกขอให้บริจาคมากๆ ถ้าไม่บริจาคก็จะถุกสังคมคว่ำบาตรเอาได้
.
ก่อนจะจบคอลัมน์ในสัปดาห์นี้ มีเรื่องขำๆ ที่คนรู้จักกันเล่ามา เขาว่าถ้าคุณไปถามมุมมองของคนในประเทศพัฒนาแล้วในเรื่องของ Anti-Hero ประเภททำตัวเป็นศาลเตี้ยหรือพวกที่ปล้นคนรวยช่วยคนจน คนในประเทศพัฒนาแล้วจะบอกว่าคนพวกนี้เป็นได้แค่ "โจรคนหนึ่ง" แต่ถ้าไปถามมุมมองของคนในประเทศกำลังพัฒนาหรือด้อยพัฒนา บรรดาโรบินฮู้ด หรือขุนโจรแนวๆ เสือทั้งหลาย อาจจะได้เป็น "วีรชน" ในสายตาคนในประเทศกำลังพัฒนาหรือด้อยพัฒนา อะไรทำให้มุมมองต่างกันได้ขนาดนี้? คำตอบคือคนในประเทศที่พัฒนาแล้ว จะรวยจะจนได้รับการเคารพดูแลอย่างมีศักดิ์ศรี แม้จะไม่เท่าเทียมร้อยเปอร์เซ็นต์แต่ก็ไม่ได้ห่างกันราวฟ้ากับเหว กฎหมายเชื่อถือได้ว่าใช้กับคนทุกชนชั้นได้จริงๆ จึงไม่ต้องพึ่งพาวิถีนอกระบบเหมือนคนในประเทศกำลังพัฒนาหรือด้อยพัฒนา ที่เกิดมาก็เห็นแต่ปัญหาคอรัปชั่น เส้นสาย ระบบอุปถัมภ์ แล้วพอโตขึ้น ดิ้นรนจนมีฐานะร่ำรวย มีอำนาจบารมี ก็ทำแบบนั้นบ้าง วนเวียนเป็นวัฏจักรไม่จบสิ้น จึงมองว่าวิถีนอกระบบทั้งหลายคือความชอบธรรม
.
สรุปง่ายๆ ก็คือถ้าอยากให้คนไทยหลุดพ้นจากวิธีคิดแบบนี้ ก็ต้องทำให้ความเหลื่อมล้ำมันลดลงอย่างชัดเจนให้ได้เสียก่อน เมื่อนั้นวิถีแบบโจร วิถีที่ไม่เป็นอารยะก็จะค่อยๆ เสื่อมไปเอง แต่คำถามคือเราจะทำได้หรือ?
.
แล้วพบกันใหม่ สวัสดีครับ!!!
.
------------------------------