ปลายเดือนตุลาคมคงเป็นวันเปิดภาคเรียนที่2ของหลายๆโรงเรียน โรงเรียนของเราก็เป็นหนึ่งในนั้นค่ะ ก่อนหน้านี้เราและเพื่อนๆหลายคนบ่นว่าเบื่อแล้วอยากให้เปิดเทอมเร็วๆ แต่ทำไม๊ทำไมยิ่งใกล้เปิดเทอมเราถึงไม่รู้สึกดีใจ แต่กลับรับรู้ได้ถึงความลำบากที่กำลังคืบคลานเข้ามา ความลำบากที่ว่านี้ ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาความยากง่ายของหนังสือเรียนแต่อย่างใด แต่มันคือ
ความหนักของกระเป๋านักเรียนที่ต้องใส่หนังสือไปนั่นเอง
หลายคนคงเคยได้ยินหรือประสบกับตัวเองมาแล้วกับ
ปัญหากระเป๋านักเรียนหนัก ข้อมูลจากเว็บเด็กดีดอทคอมระบุว่า จากการวิจัยของต่างชาติพบว่า
กระเป๋านักเรียนควรมีน้ำหนักไม่มากไปกว่า10% ของน้ำหนักตัว [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.dek-d.com/education/15847/ แต่คุณรู้ไหมว่า กระเป๋านักเรียนของเรามีน้ำหนักมากถึง
13กิโลกรัม (เราน้ำหนัก45กิโลกรัม) เนื่องจากโรงเรียนของเราไม่มีล็อกเกอร์เก็บของสำหรับนักเรียน และห้ามเอาหนังสือไว้ใต้โต๊ะเพราะห้องเรียนจะมีคนมาเรียนอยู่ตลอด นั่นจึงหมายความว่า...หนังสือทั้งหมดจะต้องอยู่บนหลังของนักเรียนตลอดเวลานั่นเอง
"คุณครูขาา กระเป๋าหนูหนักมากๆ ปวดหลังไปหมดเลยค่ะ"
"หนูจ๋าา หนูก็จัดหนังสือมาให้ถูกต้องตามตารางเรียนสิจ๊ะ"
...หนูจัดมาแล้วนะคะคุณครู
...ใช่แล้วค่ะ ปัญหานี้ไม่ใช่ปัญหาของคุณครู และคุณครูก็คงไม่สามารถจะแนะนำอะไรให้นักเรียนได้มากไปกว่าการจัดตารางเรียนมาให้ถูกต้อง หรือ นำหนังสือมาโรงเรียนให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็นนั่นเอง
แล้วอย่างนี้หนูจะทำยังไง หนูก็ปล่อยๆไปก็แล้วกัน..เนอะ
แต่เดี๋ยวก่อน หนูยังปล่อยผ่านไปไม่ได้..เพราะว่า ถึงเราจะรู้สึกว่าทนได้ในตอนนี้ แต่การสะพายกระเป๋าหนักๆอย่างนี้ทุกวัน ส่งผลให้เกิดโรคต่างๆตามมาได้ในอนาคต และหนักๆเข้าอาจกลายเป็นโรคเรื้อรังได้ ขออนุญาตใส่สปอยล์นะคะ เพราะค่อนข้างยาว
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ นายระพินทร์ พิมลศานติ์ ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ แพทย์ผ่าตัดกระดูกและข้อและอาจารย์ประจำภาควิชาศัลยศาสตร์ ออร์โธปิดิกส์ กายภาพบำบัดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลให้สัมภาษณ์ว่า การแบกกระเป๋าหนักเกินไปส่งผลกระทบต่อร่างกาย โดยลักษณะของกระเป๋าที่ใช้จะส่งผลกระทบที่แตกต่างกันออกไป เช่น กระเป๋าสะพายหลังจะทำให้ส่วนของกล้ามเนื้อทราปิเซียส (Trapezius) หรือกล้ามเนื้อบ่าทำงานหนักเพราะต้องรับน้ำหนักจากการเกร็งและการกดทับของกระเป๋าในส่วนของกระดูกจะเป็นกระดูกสะบักหลังกับไหปลาร้า แต่กระดูกอาจไม่ส่งผลโดยตรงมากนักเนื่องจากกระดูกบริเวณนี้มีกล้ามเนื้อบ่าขนาดใหญ่คลุมอยู่ แต่กรณีในเด็กอายุ 5-10 ปี กล้ามเนื้อของเด็กมีความหยืดหยุ่นค่อนข้างดี แต่จะส่งผลถึงในอนาคตมากกว่า
ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ กล่าวว่า หากเป็นกระเป๋าถือจะส่งผลต่อกล้ามเนื้อแขนไหล่และกล้ามเนื้อบ่าจนถึงคอ เนื่องจากเวลาถือกระเป๋าถือคนส่วนมากจะถือข้างที่ถนัด ทำให้กล้ามเนื้อแขนข้างที่ใช้เป็นหลักทำงานหนักมากกว่า นอกจากนั้นการถือของหนักจะเหมือนตัวถูกดึงไปข้างหนึ่ง คอของเด็กจะเอียงต้านไปทิศตรงข้าม ทำให้ส่งผลกระทบถึงคอเกิดอาการเมื่อยล้า จึงเป็นผลมาจากกล้ามเนื้อมากกว่า ปวดจากตัวกระดูกและข้อโดยตรง ยกเว้นแต่ว่าจะถูกกระตุก กระชาก แต่อาจเป็นเรื่องของกล้ามเนื้ออักเสบชนิดเรื้อรัง หรือทางแพทย์แผนไทยเรียกว่าอาการเส้นจม
ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9560000019380 ค่ะ
แล้วทีนี้ เราก็ต้องขอนำคำถามข้างบนลงมาพิจารณาอีกครั้ง...หนูควรแก้ปัญหานี้ยังไงดีคะ?
ที่เรามาตั้งกระทู้นี้ไม่ได้มีเจตนาจะมาบ่นอะไรทั้งสิ้นนะคะ แต่อยากจะมาถามความคิดเห็นจากเพื่อนๆชาวพันทิป
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้(หลายคนอายุมากกว่าเราเยอะ ไม่รู้ว่าควรจะแทนตัวเองว่าอะไรดี ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะคะ) ว่าเคยมีประสบการณ์แบบนี้หรือเปล่า เมื่อประสบปัญหาแบบนี้คุณมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร กระทรวงศึกษาธิการสามารถออกนโยบายเพื่อแก้ปัญหาเรื่องกระเป๋านักเรียนหนักได้หรือไม่ และถ้าได้ คุณจะมีข้อเสนอแนะอย่างไรต่อกระทรวงศึกษาธิการ มาแชร์กันค่ะ
เพิ่มเติมเล็กน้อยนะคะ..
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ เราพยายามทำตามคำแนะนำของผู้รู้ตามเว็บไซต์ต่างๆแล้ว ก็ไม่ได้ดีขึ้นมากกว่าเดิมเท่าไหร่เลยค่ะ ว่าแล้วก็เหลือบไปมองเพื่อนข้างๆ ทุกคนต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า กระเป๋าหนักมาก(วันๆนึงเราได้เรียนหนังสือ 9 วิชาค่ะ) แต่เห้ยย เพื่อนเราคนนั้น ทำไมกระเป๋าแกเบาจัง เพื่อนหัวเราะแหะๆ แล้วพูดว่า เราไม่เอาหนังสือมาเพราะมันหนัก ยังไงเราก็ดูหนังสือกับแกอยู่ดี..!!
โถ่เพื่อน ถามว่าเพื่อนเอาเปรียบเรามั้ย ก็ไม่ค่ะ เราก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไรเพิ่มขึ้น เราเคยคิดว่า เรากับเพื่อนที่นั่งโต๊ะคู่กัน น่าจะแบ่งหนังสือไปโรงเรียนคนละครึ่ง แบบว่า เธอเอาวิชานี้ไปนะ ฉันจะเอาวิชานี้ไป ..แต่ ทำไม่ได้ค่ะ เพราะคุณครูโรงเรียนเราหลายท่านจะปรับหรือหักคะแนนถ้าไม่ได้เอาหนังสือเรียนวิชาของท่านไป... ก็เศร้าไปอีกค่ะ
ปัญหากระเป๋าหนักเรียนหนักสามารถปรับปรุงได้หรือไม่คะ
หลายคนคงเคยได้ยินหรือประสบกับตัวเองมาแล้วกับปัญหากระเป๋านักเรียนหนัก ข้อมูลจากเว็บเด็กดีดอทคอมระบุว่า จากการวิจัยของต่างชาติพบว่ากระเป๋านักเรียนควรมีน้ำหนักไม่มากไปกว่า10% ของน้ำหนักตัว [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ แต่คุณรู้ไหมว่า กระเป๋านักเรียนของเรามีน้ำหนักมากถึง13กิโลกรัม (เราน้ำหนัก45กิโลกรัม) เนื่องจากโรงเรียนของเราไม่มีล็อกเกอร์เก็บของสำหรับนักเรียน และห้ามเอาหนังสือไว้ใต้โต๊ะเพราะห้องเรียนจะมีคนมาเรียนอยู่ตลอด นั่นจึงหมายความว่า...หนังสือทั้งหมดจะต้องอยู่บนหลังของนักเรียนตลอดเวลานั่นเอง
"คุณครูขาา กระเป๋าหนูหนักมากๆ ปวดหลังไปหมดเลยค่ะ"
"หนูจ๋าา หนูก็จัดหนังสือมาให้ถูกต้องตามตารางเรียนสิจ๊ะ"
...หนูจัดมาแล้วนะคะคุณครู ...ใช่แล้วค่ะ ปัญหานี้ไม่ใช่ปัญหาของคุณครู และคุณครูก็คงไม่สามารถจะแนะนำอะไรให้นักเรียนได้มากไปกว่าการจัดตารางเรียนมาให้ถูกต้อง หรือ นำหนังสือมาโรงเรียนให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็นนั่นเอง
แล้วอย่างนี้หนูจะทำยังไง หนูก็ปล่อยๆไปก็แล้วกัน..เนอะ
แต่เดี๋ยวก่อน หนูยังปล่อยผ่านไปไม่ได้..เพราะว่า ถึงเราจะรู้สึกว่าทนได้ในตอนนี้ แต่การสะพายกระเป๋าหนักๆอย่างนี้ทุกวัน ส่งผลให้เกิดโรคต่างๆตามมาได้ในอนาคต และหนักๆเข้าอาจกลายเป็นโรคเรื้อรังได้ ขออนุญาตใส่สปอยล์นะคะ เพราะค่อนข้างยาว
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แล้วทีนี้ เราก็ต้องขอนำคำถามข้างบนลงมาพิจารณาอีกครั้ง...หนูควรแก้ปัญหานี้ยังไงดีคะ?
ที่เรามาตั้งกระทู้นี้ไม่ได้มีเจตนาจะมาบ่นอะไรทั้งสิ้นนะคะ แต่อยากจะมาถามความคิดเห็นจากเพื่อนๆชาวพันทิป[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ว่าเคยมีประสบการณ์แบบนี้หรือเปล่า เมื่อประสบปัญหาแบบนี้คุณมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร กระทรวงศึกษาธิการสามารถออกนโยบายเพื่อแก้ปัญหาเรื่องกระเป๋านักเรียนหนักได้หรือไม่ และถ้าได้ คุณจะมีข้อเสนอแนะอย่างไรต่อกระทรวงศึกษาธิการ มาแชร์กันค่ะ
เพิ่มเติมเล็กน้อยนะคะ..[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้