คือโรคที่เกิดจากร่างกายติดเชื้อไวรัสชนิดที่เรียกว่า ไวรัสเอชพีวี (HPV หรือ Human papillomavirus) ซึ่งเป็นไวรัสสายพันธุ์ในตระกูล (Family) Papillomavirus ซึ่งมีมาก กว่า 130 สายพันธุ์ย่อย
เอชพีวี ส่วนใหญ่ไม่ก่อการติดเชื้อในคน มีเพียงประมาณ 40 สายพันธุ์ย่อยเท่านั้นที่ก่อการติดเชื้อในคน โดยมีคนเป็นรังโรค
เอชพีวี ที่ก่อการติดเชื้อในคน จะก่อการติดเชื้อเฉพาะในเซลล์ผิวหนัง และเซลล์เยื่อเมือก (Mucosa,เซลล์บุผนังของอวัยวะ) เท่านั้น และจะเกิดการติดต่อได้เฉพาะจากการสัมผัสโดยตรงกับเชื้อ (Skin to skin contact) ดังนั้นจึงเป็นการติดเชื้อเฉพาะที่ เฉพาะบางอวัยวะที่สัมผัสกับเชื้อได้โดยตรง เช่น อวัยวะเพศ ไม่มีการแพร่ กระจายทางโลหิต/เลือดหรือทางระบบน้ำเหลือง
การติดเชื้อเอชพีวี พบได้ในทุกอายุ ตั้งแต่ทารกแรกเกิดไปจนถึงผู้สูงอายุ โดยโอกาสเกิดโรคใกล้เคียงกันทั้งในผู้หญิงและในผู้ชาย
การติดเชื้อเอชพีวี พบได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
• การติดเชื้อของอวัยวะเพศ รอบปากทวารหนัก และในเซลล์เยื่อเมือก (Anogenital or muco sal HPV)
• การติดเชื้อกับผิวหนังที่ไม่ใช่อวัยวะเพศ (Non genital cutaneous HPV)
• และการติดเชื้อในโรค Epidermodysplasia verruciformis
- การติดเชื้อของอวัยวะเพศ รอบปากทวารหนัก และในเซลล์เยื่อเมือก (Anoge nital or mucosal HPV) เป็นการติดเชื้อเอชพีวีที่พบได้บ่อย ซึ่งสามารถติดเชื้อได้จาก ทางเพศสัมพันธ์ ทั้งทาง ช่องคลอด ปากมดลูก (การติดเชื้อเอชพีวีในอวัยวะเพศสตรี) ทางทวารหนัก และทางปาก การติดเชื้อผ่านทางมือ (มือสัมผัสกับเชื้ออาจที่อวัยวะเพศ แล้วไปสัมผัสผิว หนังส่วนอื่น หรือ อวัยวะเพศผู้อื่น) การใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน และการติดเชื้อจากการคลอด
อนึ่ง มีการศึกษาในผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว พบเชื้อเอชพีวีที่ปลายนิ้วได้ 26% พบเชื้อเอชพีวีที่ปลายนิ้วในผู้หญิงที่เป็นคู่นอนได้ 14% และ 10% เมื่อเป็นคู่ที่สัมผัสกันเพียงภายนอก ส่วนในผู้หญิงที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์พบเชื้อนี้ที่ปลายนิ้วได้ 1%
การติดเชื้อผ่านทางเพศสัมพันธ์ พบว่า เอชพีวี เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้สูงที่สุด สูงกว่าโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทุกๆโรค พบว่า ประมาณมากกว่า 50% ของผู้ที่มีเพศ สัมพันธ์จะเคยติดเชื้อนี้อย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต ส่วนผู้ที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ มีโอกาสติดเชื้อได้น้อยมากๆ จากทางมือ หรือจากการใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน
การติดเชื้อของอวัยวะเพศ รอบปากทวารหนัก และในเซลล์เยื่อเมือก พบมีการติดเชื้อได้ที่อวัยวะเพศภายนอกส่วนผิวหนังทั้งของหญิงและชาย (โรคหูดอวัยวะเพศ) ที่เยื่อเมือกของอวัยวะเพศ ทั้งหญิง เช่น ช่องคลอด ปากมดลูก (อ่านเพิ่มเติมในการติดเชื้อเอชพีวีอวัยวะเพศหญิง) และชาย (ส่วนหัวของอวัยวะเพศชาย) และผิวหนังรอบปากทวารหนัก (โรคหูด) และเนื้อในบริเวณใกล้เคียงปากทวารหนัก
การติดเชื้อเอชพีวีของเยื่อเมือก ยังพบเกิดได้กับเนื้อเยื่อของช่องปาก และช่องคอ เช่น เพดานอ่อน ลิ้นไก่ และทอนซิล/ต่อมทอนซิล ทั้งนี้มักเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ทางปาก
การติดเชื้อทางการคลอด พบได้น้อย จากลูกกลืนน้ำเมือกจากช่องคลอดมารดาช่วงการคลอด และอาจก่อให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินหายใจและในกล่องเสียงของทารกได้
ส่วนการติดต่อทางมือ เป็นสาเหตุติดเชื้อได้กับผิวหนังทุกส่วน อวัยวะเพศ และเยื่อเมือก จากสัมผัสนิ้วที่มีเชื้อ
เชื้อเอชพีวีที่เป็นสาเหตุให้เกิด
• โรคหูดรอบปากทวารหนัก เช่น HPV สายพันธุ์ 6,11,42,44
• HPV สายพันธุ์ที่เป็นสาเหตุโรคมะเร็งทวารหนัก เช่น สายพันธุ์ 6,16,18,31,53,58
• HPV สายพันธุ์ที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งของอวัยวะเพศ เช่น สายพันธุ์ 16,18,31,45,33, 335,39,51,52,56,58,59 และที่ยังไม่แน่ชัด เช่น สายพันธุ์ 26,53,66,68,73,82
• เอชพีวีสายพันธุ์ที่เป็นสาเหตุโรคมะเร็งช่องปากและลำคอ เช่น สายพันธุ์ 16
• เอชพีวีสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดก้อนเนื้อในช่องปาก (Oral papilloma) เช่น 6,7,11,16,32
• และเอชพีวีสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดก้อนเนื้อในกล่องเสียง (Laryngeal papilloma) เช่น สายพันธุ์ 6,11
- การติดเชื้อกับผิวหนังที่ไม่ใช่อวัยวะเพศ (Non genital cutaneous HPV) คือ การติดเชื้อที่ผิวหนังส่วนอื่นๆที่ไม่ใช่ที่อวัยวะเพศ เช่น โรคหูดผิวหนัง โดยเอชพีวีสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคหูดที่ผิวหนัง เช่น 1,2,3,4,6,8,10,11,42,44,68
- การติดเชื้อในโรค Epidermodysplasia verruciformis โรคนี้เป็นโรคผิวหนังผิด ปกติทางพันธุกรรมที่พบได้น้อยมากๆ โดยผิวหนังขึ้นตุ่ม และผื่นเรื้อรัง และกลายเป็นโรคมะเร็งผิวหนังได้ง่าย ซึ่งในโรคนี้มักพบผิวหนังในส่วนที่เกิดโรค มีการติดเชื้อเอชพีวีเสมอ เนื่องจากเป็นโรคที่พบได้น้อยมากๆ จึงไม่มีข้อมูลที่จะเขียน ดังนั้นในบทความนี้ จึงจะไม่กล่าวถึงการติดเชื้อเอชพีวีในโรคนี้
ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงในการติดเชื้อเอชพีวี คือ
• สูบบุหรี่
• หญิงตั้งครรภ์
• ขาดวิตามิน บี 9 (Folic acid)
• ติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
• มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ โดยเฉพาะการติดเชื้อเอชพีวีที่อวัยวะเพศและรอบปากทวารหนัก
• ใช้ยาฮอร์โมนคุมกำเนิดติดต่อกันนานเกิน 5 ปี แต่ปัจจัยเสี่ยงจะหมดไปเมื่อหยุดใช้ยา
การติดเชื้อเอชพีวี โดยเฉพาะการติดเชื้อที่อวัยวะเพศ (เช่น การติดเชื้อเอชพีวีอวัยวะเพศสตรี) และรอบปากทวารหนักเป็นการติดเชื้อที่ไม่รุนแรง โดยทั่วไปร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันต้านทานและกำจัดเชื้อได้เอง โดยประมาณ 70% ของผู้ติดเชื้อ โรคจะหายได้เองภายในระยะ เวลาประมาณ 1 ปี และประมาณ 90-95% ของผู้ติดเชื้อ โรคจะหายไปเองภายในระยะเวลาประ มาณ 2 ปี แต่อย่างไรก็ตาม ประมาณ 5-10% ของโรค ร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสเอชพีวีนี้ได้ ผู้ป่วยยังคงติดเชื้ออยู่ต่อเนื่อง (Persisted disease) ซึ่งการที่ร่างกายกำจัดเชื้อไม่ได้ เชื้อจะสร้างสารโปรตีนบางชนิดต่อเนื่องซึ่งสารเหล่านี้จะค่อยๆก่อให้เซลล์ปกติที่มีเชื้อไวรัสนี้อยู่เกิดการเปลี่ยนแปลงกลายพันธุ์เป็นเซลล์ที่จะกลายเป็นเซลล์มะเร็ง(Precancerous lesion) และจะกลายเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด ซึ่งระยะเวลาตั้งแต่ติดเชื้อจนกลายเป็นเซลล์ก่อนการเป็นมะเร็งและกลายเป็นเซลล์มะเร็งจะประมาณ 10-15 ปี ซึ่งนานพอที่แพทย์จะตรวจพบ และให้การรักษาได้ก่อนที่จะกลายเป็นโรคมะเร็ง ถ้าผู้ติดเชื้อพบแพทย์ต่อเนื่องสม่ำเสมอ ซึ่งก็คือ การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกนั่นเอง
อีกประการหนึ่งก็คือ การเกิดโรคหูด ซึ่งมีโอกาสเปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็งได้ แต่ตัวโรคหูดเองก็ส่งผลให้เกิดการลดคุณภาพชีวิต จากความรำคาญ ภาพลักษณ์ และอาจมีการติดเชื้อแบค ทีเรียซ้ำซ้อน นอกจากนั้น หูดเอง ก็อาจกลายเป็นมะเร็งได้เช่นกันถึงแม้โอกาสจะไม่สูงมากนักก็ตาม
เอชพีวีสายพันธุ์ที่จะทำให้เซลล์เกิดการเปลี่ยนแปลงไปเป็นมะเร็งได้ เรียกว่า High risk HPV หรือ Oncogenic HPV เช่นHPV สายพันธุ์ 16,18,31,33,35,39,45,51,52,56,58,59, 68,73,และ 82
เอชพีวีสายพันธุ์ที่ยังไม่มีรายงานว่าก่อให้เกิดมะเร็งได้ เรียกว่า Low risk HPV เช่น สายพันธุ์ 6,11,42,43,44,54,61,70,72,และ 81
เอชพีวีที่พบเป็นสาเหตุของโรคหูด (90%ของโรคหูด) คือสายพันธุ์ 6,และ 11
เอชพีวีสายพันธุ์ที่พบบ่อยที่อวัยวะเพศสตรี คือ สายพันธุ์ 16
เอชพีวีที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูก 70% เกิดจากสายพันธุ์ 16,และ18 ที่เหลือนอกนั้นเป็นสายพันธุ์อื่นๆ เช่น 31,และ 45 เป็นต้น
อนึ่งพบว่า ประมาณ 95% ของผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกมีสาเหตุสัมพันธ์กับปากมดลูกติดเชื้อเอชพีวี และพบว่า
• ประมาณ 90% ของโรคมะเร็งทวารหนัก
• 40% ของโรคมะเร็งอวัยวะเพศภายนอกของสตรี
• 40% ของโรคมะเร็งช่องคลอด
• 12% ของโรคมะเร็ง ต่อมทอนซิล/มะเร็งทอนซิล เพดานอ่อนและโคนลิ้น
• และ 3% ของโรคมะเร็งช่องปาก
มีสาเหตุสัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชพีวีของอวัยวะที่เกิดเป็นโรคมะเร็งนั้นๆ
โดยทั่วไป เมื่อติดเชื้อ เอชพีวี ผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วย มักไม่มีอาการ และแพทย์มักไม่สามารถตรวจพบเชื้อ และ/หรือความผิดปกติของเซลล์/เนื้อเยื่อที่ติดเชื้อได้ ซึ่งระยะนี้โอกาสที่จะแพร่เชื้อซึ่งก่อให้เกิดการติดต่อมีน้อยเนื่องจากปริมาณเชื้อยังมีน้อยอยู่ เรียกการติดเชื้อระยะนี้ว่า Latent period (ระยะตรวจไม่พบเชื้อ)
เมื่อเชื้อแบ่งตัวมากขึ้น แต่ไม่มากพอที่จะปรากฏให้เห็นเป็นรอยโรคด้วยตาเปล่า ยังเป็นระยะที่ผู้ติดเชื้อยังไม่มีอาการ เป็นระยะที่ตรวจพบเชื้อได้ รวมทั้งสามารถตรวจพบความผิดปกติของเซลล์และเนื้อเยื่อได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ และเป็นระยะที่โรคสามารถติดต่อได้ทางการสัม ผัส เรียกการติดเชื้อระยะนี้ว่า Subclinical HPV infection
เมื่อเชื้อแบ่งตัวเพิ่มปริมาณมากขึ้นอีก และก่อให้เกิดความผิดปกติในเซลล์และในเนื้อเยื่อมากขึ้นจนปรากฏให้เห็นเป็นรอยโรคด้วยตาแปล่า เช่น ก้อนเนื้อหูด หรือก้อนเนื้อที่ปากมดลูก เรียกการติดเชื้อระยะนี้ว่า Clinical HPV infection
ระยะเวลาตั้งแต่ติดเชื้อจนปรากฏเป็นรอยโรคให้เห็นด้วยตาเปล่า (ระยะฟักตัว) จะแตก ต่างกันไป ขึ้นกับว่าเป็นการติดเชื้อสายพันธุ์ไหน เช่น สายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคหูด ระยะฟักตัวจะประมาณตั้งแต่ 2 สัปดาห์ ไปจนถึง 6-8 เดือน ในสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก อาจใช้เวาลานานถึง 10-15 ปี ส่วนในสายพันธุ์ที่เป็นสาเหตุของมะเร็งในอวัยวะอื่นๆ เช่นมะเร็งอวัยวะเพศชาย มะเร็งทวารหนัก และมะเร็งช่องปากและลำคอ ก็เชื่อว่ามีระยะฟักตัวของโรคนานเป็นปี หรือหลายๆปี ขึ้นกับความรุนแรงของแต่ละสายพันธุ์ย่อยที่เป็นสาเหตุเช่นกัน
ทั้งนี้ เมื่อเกิดเป็นรอยโรคให้เห็นแล้ว อาการของผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยก็จะแตกต่างกันไป ขึ้น กับว่าเกิดรอยโรคกับอวัยวะใด เช่นโรคหูดที่ผิวหนัง หรือโรคมะเร็งปากมดลูก เป็นต้น
แพทย์วินิจฉัยโรคติดเชื้อเอชพีวีได้จาก ประวัติอาการ การตรวจรอยโรค การตรวจย้อมเชื้อไวรัสเอชพีวีจากสารคัดหลั่ง และ/หรือการตรวจชิ้นเนื้อจากรอยโรคเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา
ปัจจุบันยังไม่มียาฆ่าเชื้อไวรัสเอชพีวี การรักษา คือ การจี้รอยโรค อาจด้วยยา ความเย็น เลเซอร์ หรือผ่าตัดรอยโรคด้วยวิธีทั่วไป (ตัดด้วยมีด)
การดูแลตนเองที่สำคัญ คือ การรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคปกติ และโดยเฉพาะในเรื่องของการไม่ส่ำส่อนทางเพศ ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่สุดในการติดเชื้อเอชพีวี
นอกจากนั้น คือ ควรสำรวจตนเองเสมอ เมื่อพบมีก้อนเนื้อผิดปกติเกิดขึ้นกับอวัยวะใด ควรพบแพทย์เสมอ เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาแต่เนิ่นๆ
และในผู้หญิงทุกรายที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว ควรได้รับการตรวจจากแพทย์เพื่อการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกสม่ำเสมอ ทั้งนี้เพราะโรคมะเร็งปากมดลูก เป็นโรคป้องกันได้ โดยเมื่อแพทย์ตรวจพบความผิดปกติของเซลล์ระยะก่อนเป็นมะเร็งจากการตรวจคัดกรอง แพทย์จะให้การรักษาโดยการผ่าตัดปากมดลูก หรือการผ่าตัดมดลูก ซึ่งเป็นการรักษาที่ไม่ยุ่งยาก ไม่ซับ ซ้อน และมีผลข้างเคียงจากการผ่าตัดน้อยมาก
ปัจจุบันกำลังมีการศึกษาอย่างต่อเนื่องในเรื่องของยาฆ่าเชื้อเอชพีวี ซึ่งในช่วงที่ยังไม่มียาที่มีประสิทธิภาพ การป้องกันการติดเชื้อเอชพีวีที่มีประสิทธิภาพในปัจจุบัน คือ
• การรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อให้มีสุขภาพร่างกายแข็ง แรง ลดปัจจัยเสี่ยงในการติดเชื้อ และที่สำคัญคือ การไม่ส่ำส่อนทางเพศ ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการติดเชื้อ
• หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงดังได้กล่าวแล้วในหัวข้อปัจจัยเสี่ยง ที่สามารถหลีกเลี่ยงได้
• ใช้ถุงยางอนามัยในการมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้ง (ลดโอกาสติดเชื้อได้ประมาณ 70%)
• ฉีดวัคซีนเอชพีวี (วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก) แต่อย่างไรก็ตาม วัคซีนยังมีราคาแพงมาก เกินกว่าทุกคนจะเข้าถึงวัคซีนได้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก haamor.com
Report by LIV Capsule
โรคติดเชื้อเอชพีวี หรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV infection หรือ Human papilloma virus infection)
เอชพีวี ส่วนใหญ่ไม่ก่อการติดเชื้อในคน มีเพียงประมาณ 40 สายพันธุ์ย่อยเท่านั้นที่ก่อการติดเชื้อในคน โดยมีคนเป็นรังโรค
เอชพีวี ที่ก่อการติดเชื้อในคน จะก่อการติดเชื้อเฉพาะในเซลล์ผิวหนัง และเซลล์เยื่อเมือก (Mucosa,เซลล์บุผนังของอวัยวะ) เท่านั้น และจะเกิดการติดต่อได้เฉพาะจากการสัมผัสโดยตรงกับเชื้อ (Skin to skin contact) ดังนั้นจึงเป็นการติดเชื้อเฉพาะที่ เฉพาะบางอวัยวะที่สัมผัสกับเชื้อได้โดยตรง เช่น อวัยวะเพศ ไม่มีการแพร่ กระจายทางโลหิต/เลือดหรือทางระบบน้ำเหลือง
การติดเชื้อเอชพีวี พบได้ในทุกอายุ ตั้งแต่ทารกแรกเกิดไปจนถึงผู้สูงอายุ โดยโอกาสเกิดโรคใกล้เคียงกันทั้งในผู้หญิงและในผู้ชาย
การติดเชื้อเอชพีวี พบได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
• การติดเชื้อของอวัยวะเพศ รอบปากทวารหนัก และในเซลล์เยื่อเมือก (Anogenital or muco sal HPV)
• การติดเชื้อกับผิวหนังที่ไม่ใช่อวัยวะเพศ (Non genital cutaneous HPV)
• และการติดเชื้อในโรค Epidermodysplasia verruciformis
- การติดเชื้อของอวัยวะเพศ รอบปากทวารหนัก และในเซลล์เยื่อเมือก (Anoge nital or mucosal HPV) เป็นการติดเชื้อเอชพีวีที่พบได้บ่อย ซึ่งสามารถติดเชื้อได้จาก ทางเพศสัมพันธ์ ทั้งทาง ช่องคลอด ปากมดลูก (การติดเชื้อเอชพีวีในอวัยวะเพศสตรี) ทางทวารหนัก และทางปาก การติดเชื้อผ่านทางมือ (มือสัมผัสกับเชื้ออาจที่อวัยวะเพศ แล้วไปสัมผัสผิว หนังส่วนอื่น หรือ อวัยวะเพศผู้อื่น) การใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน และการติดเชื้อจากการคลอด
อนึ่ง มีการศึกษาในผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว พบเชื้อเอชพีวีที่ปลายนิ้วได้ 26% พบเชื้อเอชพีวีที่ปลายนิ้วในผู้หญิงที่เป็นคู่นอนได้ 14% และ 10% เมื่อเป็นคู่ที่สัมผัสกันเพียงภายนอก ส่วนในผู้หญิงที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์พบเชื้อนี้ที่ปลายนิ้วได้ 1%
การติดเชื้อผ่านทางเพศสัมพันธ์ พบว่า เอชพีวี เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้สูงที่สุด สูงกว่าโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทุกๆโรค พบว่า ประมาณมากกว่า 50% ของผู้ที่มีเพศ สัมพันธ์จะเคยติดเชื้อนี้อย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต ส่วนผู้ที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ มีโอกาสติดเชื้อได้น้อยมากๆ จากทางมือ หรือจากการใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน
การติดเชื้อของอวัยวะเพศ รอบปากทวารหนัก และในเซลล์เยื่อเมือก พบมีการติดเชื้อได้ที่อวัยวะเพศภายนอกส่วนผิวหนังทั้งของหญิงและชาย (โรคหูดอวัยวะเพศ) ที่เยื่อเมือกของอวัยวะเพศ ทั้งหญิง เช่น ช่องคลอด ปากมดลูก (อ่านเพิ่มเติมในการติดเชื้อเอชพีวีอวัยวะเพศหญิง) และชาย (ส่วนหัวของอวัยวะเพศชาย) และผิวหนังรอบปากทวารหนัก (โรคหูด) และเนื้อในบริเวณใกล้เคียงปากทวารหนัก
การติดเชื้อเอชพีวีของเยื่อเมือก ยังพบเกิดได้กับเนื้อเยื่อของช่องปาก และช่องคอ เช่น เพดานอ่อน ลิ้นไก่ และทอนซิล/ต่อมทอนซิล ทั้งนี้มักเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ทางปาก
การติดเชื้อทางการคลอด พบได้น้อย จากลูกกลืนน้ำเมือกจากช่องคลอดมารดาช่วงการคลอด และอาจก่อให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินหายใจและในกล่องเสียงของทารกได้
ส่วนการติดต่อทางมือ เป็นสาเหตุติดเชื้อได้กับผิวหนังทุกส่วน อวัยวะเพศ และเยื่อเมือก จากสัมผัสนิ้วที่มีเชื้อ
เชื้อเอชพีวีที่เป็นสาเหตุให้เกิด
• โรคหูดรอบปากทวารหนัก เช่น HPV สายพันธุ์ 6,11,42,44
• HPV สายพันธุ์ที่เป็นสาเหตุโรคมะเร็งทวารหนัก เช่น สายพันธุ์ 6,16,18,31,53,58
• HPV สายพันธุ์ที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งของอวัยวะเพศ เช่น สายพันธุ์ 16,18,31,45,33, 335,39,51,52,56,58,59 และที่ยังไม่แน่ชัด เช่น สายพันธุ์ 26,53,66,68,73,82
• เอชพีวีสายพันธุ์ที่เป็นสาเหตุโรคมะเร็งช่องปากและลำคอ เช่น สายพันธุ์ 16
• เอชพีวีสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดก้อนเนื้อในช่องปาก (Oral papilloma) เช่น 6,7,11,16,32
• และเอชพีวีสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดก้อนเนื้อในกล่องเสียง (Laryngeal papilloma) เช่น สายพันธุ์ 6,11
- การติดเชื้อกับผิวหนังที่ไม่ใช่อวัยวะเพศ (Non genital cutaneous HPV) คือ การติดเชื้อที่ผิวหนังส่วนอื่นๆที่ไม่ใช่ที่อวัยวะเพศ เช่น โรคหูดผิวหนัง โดยเอชพีวีสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคหูดที่ผิวหนัง เช่น 1,2,3,4,6,8,10,11,42,44,68
- การติดเชื้อในโรค Epidermodysplasia verruciformis โรคนี้เป็นโรคผิวหนังผิด ปกติทางพันธุกรรมที่พบได้น้อยมากๆ โดยผิวหนังขึ้นตุ่ม และผื่นเรื้อรัง และกลายเป็นโรคมะเร็งผิวหนังได้ง่าย ซึ่งในโรคนี้มักพบผิวหนังในส่วนที่เกิดโรค มีการติดเชื้อเอชพีวีเสมอ เนื่องจากเป็นโรคที่พบได้น้อยมากๆ จึงไม่มีข้อมูลที่จะเขียน ดังนั้นในบทความนี้ จึงจะไม่กล่าวถึงการติดเชื้อเอชพีวีในโรคนี้
ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงในการติดเชื้อเอชพีวี คือ
• สูบบุหรี่
• หญิงตั้งครรภ์
• ขาดวิตามิน บี 9 (Folic acid)
• ติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
• มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ โดยเฉพาะการติดเชื้อเอชพีวีที่อวัยวะเพศและรอบปากทวารหนัก
• ใช้ยาฮอร์โมนคุมกำเนิดติดต่อกันนานเกิน 5 ปี แต่ปัจจัยเสี่ยงจะหมดไปเมื่อหยุดใช้ยา
การติดเชื้อเอชพีวี โดยเฉพาะการติดเชื้อที่อวัยวะเพศ (เช่น การติดเชื้อเอชพีวีอวัยวะเพศสตรี) และรอบปากทวารหนักเป็นการติดเชื้อที่ไม่รุนแรง โดยทั่วไปร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันต้านทานและกำจัดเชื้อได้เอง โดยประมาณ 70% ของผู้ติดเชื้อ โรคจะหายได้เองภายในระยะ เวลาประมาณ 1 ปี และประมาณ 90-95% ของผู้ติดเชื้อ โรคจะหายไปเองภายในระยะเวลาประ มาณ 2 ปี แต่อย่างไรก็ตาม ประมาณ 5-10% ของโรค ร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสเอชพีวีนี้ได้ ผู้ป่วยยังคงติดเชื้ออยู่ต่อเนื่อง (Persisted disease) ซึ่งการที่ร่างกายกำจัดเชื้อไม่ได้ เชื้อจะสร้างสารโปรตีนบางชนิดต่อเนื่องซึ่งสารเหล่านี้จะค่อยๆก่อให้เซลล์ปกติที่มีเชื้อไวรัสนี้อยู่เกิดการเปลี่ยนแปลงกลายพันธุ์เป็นเซลล์ที่จะกลายเป็นเซลล์มะเร็ง(Precancerous lesion) และจะกลายเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด ซึ่งระยะเวลาตั้งแต่ติดเชื้อจนกลายเป็นเซลล์ก่อนการเป็นมะเร็งและกลายเป็นเซลล์มะเร็งจะประมาณ 10-15 ปี ซึ่งนานพอที่แพทย์จะตรวจพบ และให้การรักษาได้ก่อนที่จะกลายเป็นโรคมะเร็ง ถ้าผู้ติดเชื้อพบแพทย์ต่อเนื่องสม่ำเสมอ ซึ่งก็คือ การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกนั่นเอง
อีกประการหนึ่งก็คือ การเกิดโรคหูด ซึ่งมีโอกาสเปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็งได้ แต่ตัวโรคหูดเองก็ส่งผลให้เกิดการลดคุณภาพชีวิต จากความรำคาญ ภาพลักษณ์ และอาจมีการติดเชื้อแบค ทีเรียซ้ำซ้อน นอกจากนั้น หูดเอง ก็อาจกลายเป็นมะเร็งได้เช่นกันถึงแม้โอกาสจะไม่สูงมากนักก็ตาม
เอชพีวีสายพันธุ์ที่จะทำให้เซลล์เกิดการเปลี่ยนแปลงไปเป็นมะเร็งได้ เรียกว่า High risk HPV หรือ Oncogenic HPV เช่นHPV สายพันธุ์ 16,18,31,33,35,39,45,51,52,56,58,59, 68,73,และ 82
เอชพีวีสายพันธุ์ที่ยังไม่มีรายงานว่าก่อให้เกิดมะเร็งได้ เรียกว่า Low risk HPV เช่น สายพันธุ์ 6,11,42,43,44,54,61,70,72,และ 81
เอชพีวีที่พบเป็นสาเหตุของโรคหูด (90%ของโรคหูด) คือสายพันธุ์ 6,และ 11
เอชพีวีสายพันธุ์ที่พบบ่อยที่อวัยวะเพศสตรี คือ สายพันธุ์ 16
เอชพีวีที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูก 70% เกิดจากสายพันธุ์ 16,และ18 ที่เหลือนอกนั้นเป็นสายพันธุ์อื่นๆ เช่น 31,และ 45 เป็นต้น
อนึ่งพบว่า ประมาณ 95% ของผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกมีสาเหตุสัมพันธ์กับปากมดลูกติดเชื้อเอชพีวี และพบว่า
• ประมาณ 90% ของโรคมะเร็งทวารหนัก
• 40% ของโรคมะเร็งอวัยวะเพศภายนอกของสตรี
• 40% ของโรคมะเร็งช่องคลอด
• 12% ของโรคมะเร็ง ต่อมทอนซิล/มะเร็งทอนซิล เพดานอ่อนและโคนลิ้น
• และ 3% ของโรคมะเร็งช่องปาก
มีสาเหตุสัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชพีวีของอวัยวะที่เกิดเป็นโรคมะเร็งนั้นๆ
โดยทั่วไป เมื่อติดเชื้อ เอชพีวี ผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วย มักไม่มีอาการ และแพทย์มักไม่สามารถตรวจพบเชื้อ และ/หรือความผิดปกติของเซลล์/เนื้อเยื่อที่ติดเชื้อได้ ซึ่งระยะนี้โอกาสที่จะแพร่เชื้อซึ่งก่อให้เกิดการติดต่อมีน้อยเนื่องจากปริมาณเชื้อยังมีน้อยอยู่ เรียกการติดเชื้อระยะนี้ว่า Latent period (ระยะตรวจไม่พบเชื้อ)
เมื่อเชื้อแบ่งตัวมากขึ้น แต่ไม่มากพอที่จะปรากฏให้เห็นเป็นรอยโรคด้วยตาเปล่า ยังเป็นระยะที่ผู้ติดเชื้อยังไม่มีอาการ เป็นระยะที่ตรวจพบเชื้อได้ รวมทั้งสามารถตรวจพบความผิดปกติของเซลล์และเนื้อเยื่อได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ และเป็นระยะที่โรคสามารถติดต่อได้ทางการสัม ผัส เรียกการติดเชื้อระยะนี้ว่า Subclinical HPV infection
เมื่อเชื้อแบ่งตัวเพิ่มปริมาณมากขึ้นอีก และก่อให้เกิดความผิดปกติในเซลล์และในเนื้อเยื่อมากขึ้นจนปรากฏให้เห็นเป็นรอยโรคด้วยตาแปล่า เช่น ก้อนเนื้อหูด หรือก้อนเนื้อที่ปากมดลูก เรียกการติดเชื้อระยะนี้ว่า Clinical HPV infection
ระยะเวลาตั้งแต่ติดเชื้อจนปรากฏเป็นรอยโรคให้เห็นด้วยตาเปล่า (ระยะฟักตัว) จะแตก ต่างกันไป ขึ้นกับว่าเป็นการติดเชื้อสายพันธุ์ไหน เช่น สายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคหูด ระยะฟักตัวจะประมาณตั้งแต่ 2 สัปดาห์ ไปจนถึง 6-8 เดือน ในสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก อาจใช้เวาลานานถึง 10-15 ปี ส่วนในสายพันธุ์ที่เป็นสาเหตุของมะเร็งในอวัยวะอื่นๆ เช่นมะเร็งอวัยวะเพศชาย มะเร็งทวารหนัก และมะเร็งช่องปากและลำคอ ก็เชื่อว่ามีระยะฟักตัวของโรคนานเป็นปี หรือหลายๆปี ขึ้นกับความรุนแรงของแต่ละสายพันธุ์ย่อยที่เป็นสาเหตุเช่นกัน
ทั้งนี้ เมื่อเกิดเป็นรอยโรคให้เห็นแล้ว อาการของผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยก็จะแตกต่างกันไป ขึ้น กับว่าเกิดรอยโรคกับอวัยวะใด เช่นโรคหูดที่ผิวหนัง หรือโรคมะเร็งปากมดลูก เป็นต้น
แพทย์วินิจฉัยโรคติดเชื้อเอชพีวีได้จาก ประวัติอาการ การตรวจรอยโรค การตรวจย้อมเชื้อไวรัสเอชพีวีจากสารคัดหลั่ง และ/หรือการตรวจชิ้นเนื้อจากรอยโรคเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา
ปัจจุบันยังไม่มียาฆ่าเชื้อไวรัสเอชพีวี การรักษา คือ การจี้รอยโรค อาจด้วยยา ความเย็น เลเซอร์ หรือผ่าตัดรอยโรคด้วยวิธีทั่วไป (ตัดด้วยมีด)
การดูแลตนเองที่สำคัญ คือ การรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคปกติ และโดยเฉพาะในเรื่องของการไม่ส่ำส่อนทางเพศ ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่สุดในการติดเชื้อเอชพีวี
นอกจากนั้น คือ ควรสำรวจตนเองเสมอ เมื่อพบมีก้อนเนื้อผิดปกติเกิดขึ้นกับอวัยวะใด ควรพบแพทย์เสมอ เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาแต่เนิ่นๆ
และในผู้หญิงทุกรายที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว ควรได้รับการตรวจจากแพทย์เพื่อการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกสม่ำเสมอ ทั้งนี้เพราะโรคมะเร็งปากมดลูก เป็นโรคป้องกันได้ โดยเมื่อแพทย์ตรวจพบความผิดปกติของเซลล์ระยะก่อนเป็นมะเร็งจากการตรวจคัดกรอง แพทย์จะให้การรักษาโดยการผ่าตัดปากมดลูก หรือการผ่าตัดมดลูก ซึ่งเป็นการรักษาที่ไม่ยุ่งยาก ไม่ซับ ซ้อน และมีผลข้างเคียงจากการผ่าตัดน้อยมาก
ปัจจุบันกำลังมีการศึกษาอย่างต่อเนื่องในเรื่องของยาฆ่าเชื้อเอชพีวี ซึ่งในช่วงที่ยังไม่มียาที่มีประสิทธิภาพ การป้องกันการติดเชื้อเอชพีวีที่มีประสิทธิภาพในปัจจุบัน คือ
• การรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อให้มีสุขภาพร่างกายแข็ง แรง ลดปัจจัยเสี่ยงในการติดเชื้อ และที่สำคัญคือ การไม่ส่ำส่อนทางเพศ ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการติดเชื้อ
• หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงดังได้กล่าวแล้วในหัวข้อปัจจัยเสี่ยง ที่สามารถหลีกเลี่ยงได้
• ใช้ถุงยางอนามัยในการมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้ง (ลดโอกาสติดเชื้อได้ประมาณ 70%)
• ฉีดวัคซีนเอชพีวี (วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก) แต่อย่างไรก็ตาม วัคซีนยังมีราคาแพงมาก เกินกว่าทุกคนจะเข้าถึงวัคซีนได้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก haamor.com
Report by LIV Capsule