สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 7
ในสมัยอยุทธยา ภาษากลางที่ใช้ติดต่อกับชาติตะวันตกคือภาษาโปรตุเกสครับ (สมัยสมเด็จพระนารายณ์เรียก ปัตุกกรร สมัย ร.๑ เรียก ฝารังปัศตุกัน) สันนิษฐานว่าเพราะโปรตุเกสเป็นชาติแรกที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงศรีอยุทธยาและเป็นชาติที่เข้ามานานกว่าชาติอื่นๆ มีตัวอย่างเช่นตอนทำหนังสือสัญญากับฝรั่งเศสใน พ.ศ.๒๒๓๑(นับศักราชแบบลังกา) ยังทำหนังสือสัญญาเป็นสามภาษาคือภาษาไทย ฝรั่งเศส และโปรตุเกสครับ
พิจารณาจากสนธิสัญญาที่ว่ากับหลักฐานอย่างบันทึกของออกพระวิสุทสุนธร(ปาน)ตอนไปฝรั่งเศส ก็มีคำหลายคำที่ทับศัพท์จากภาษาโปรตุเกส อย่างในสนธิสัญญาที่ทำกับฝรั่งเศส เมื่อแปลภาษาไทยไม่ได้ออกเสียงตามภาษาฝรั่งเศส แต่ออกเสียงแบบโปรตุเกส อย่างเช่นที่ไทยเรียกตำแหน่งของราชทูตลา ลูแบร์ว่า 'อิงวิยาโดรเอกโตรวิยารี' ซึ่งมาจากภาษาโปรตุเกสคือ enviado extraordinário ไม่ได้แปลจากฝรั่งเศสที่เป็น envoyé extraordinaire จึงแสดงว่าในการแปลภาษาฝรั่งเศส น่าจะแปลเป็นภาษาโปรตุเกสก่อนแล้วแปลเป็นภาษาไทยอีกต่อหนึ่ง
ในหลักฐานสมัยอยุทธยาหลายชิ้นเช่นบันทึกของออกพระวิสุทสุนธร(ปาน) ราชทูตที่ไปฝรั่งเศส พบว่าคำในบันทึกหลายคำเรียกตามภาษาโปรตุเกสเช่น
-คำว่า ambassador ไทยเรียก อีงบาศโคร มาจาก embaixador
-คำว่าผู้ดีหรือชนชั้นสูงของตะวันตก(noble) ไทยเรียก ฝีดาวู มาจาก fidalgo(ฟิดาลกู) ซึ่งคือคำว่า hidalgo ในภาษาสเปนครับ
-คำว่า España(สเปน) ไทยออกเสียงว่า 'อีศปาญะ' ตามโปรตุเกสคือ Espanha
-ออกพระวิสุทสุนธรกล่าวว่าท่านเป็น 'ซัวเอศเลนเซีย' ซึ่งมาจากภาษาโปรตุเกสคือ Suá Excellencia แปลว่า ฯพณฯ
จึงพอสันนิษฐานว่าออกพระวิสุทสุนธรน่าจะพอพูดภาษาโปรตุเกสได้อยู่ครับ
นอกจากนี้คำหลายคำในภาษาฝรั่งเศสสมัยอยุทธยา คนไทยน่าจะออกเสียงตามสำเนียงโปรตุเกส อย่างคำว่า 'ฝรั่งเศส' ผมสันนิษฐานว่าน่าจะมาจาก francês ในภาษาโปรตุเกส มากกว่ามาจาก française หรืออย่างในบันทึกของออกพระวิสุทสุนธรมีคำว่า 'วีเลรัวเดฝรังษ' ซึ่งเข้าใจว่ามาจากภาษาฝรั่งเศสคือ 'Vive le Roi de France(พระเจ้ากรุงฝรังษทรงพระเจริญ)' แต่ดูแล้วสำเนียงจะใกล้กับการออกเสียงคำฝรั่งเศสตามเสียงโปรตุเกสมากกว่าครับ (ฝรังษ น่าจะมาจาก França)
มีบันทึกของพระอธิกรณ์ เดอ ชัวซี(abbé de Choisy) ชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาอยุทธยาใน พ.ศ.๒๒๒๘ สมัยสมเด็จพระนารายณ์ระบุว่าขุนนางไทยตอนนั้นสามารถพูดภาษาโปรตุเกสได้ทุกคน เรื่องนี้อาจฟังดูเกินจริงไปบ้าง จริงๆน่าจะพูดได้แค่ขุนนางกรมพระคลังที่มีหน้าที่ติดต่อกับชาวต่างประเทศโดยตรงมากกว่า แต่ก็สะท้อนให้เห็นได้ดีว่าภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาหลักที่สำคัญ และถึงแม้ว่าโปรตุเกสจะเสื่อมอำนาจในแถบนี้ไปแล้วก็ปรากฏว่าไทยยังคงใช้ภาษาโปรตุเกสมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น อย่างที่ปรากฏว่าสนธิสัญญาเบอร์นีในสมัยรัชกาลที่ ๒ ยังทำเป็น ๔ ภาษาคือไทย อังกฤษ โปรตุเกส มลายู เข้าใจว่าไทยเพิ่งเริ่มใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักในสมัยรัตนโกสินทร์เมื่ออังกฤษเริ่มแผ่ขยายอิทธิพลมาในแถบนี้ในยุคล่าอาณานิคมครับ
ถ้าจำไม่ผิดรู้สึกว่าในสมัยแรกๆที่ยังไม่รู้ภาษาโปรตุเกส จะแปลเอกสารจากภาษาโปรตุเกสเป็นมลายูก่อนแล้วค่อยแปลเป็นไทยอีกต่อครับ
ส่วนเรื่องออกพระวิสุทสุนธร(ปาน)ขอเสริมคุณ arawadee ว่าแม้จะมีหลักฐานว่าท่านพอรู้ภาษาฝรั่งเศส ดูจากบันทึกของท่านที่มีการตั้งคำสำคัญ(รหัสลับไว้ป้องกันข้าศึก)เป็นภาษาฝรั่งเศสเวลาไปเมืองต่างๆ และจากหลักฐานของบาทหลวง เดอ ชัวซีที่ระบุว่าระหว่างการเดินทางมาฝรั่งเศสได้รับปากว่าจะสอนภาษาฝรั่งเศสให้ราชทูตวันละ ๖ คำ แต่ก็มีหลักฐานว่าท่านไม่สามารถสนทนาภาษาฝรั่งเศสได้ถ้าไม่มีล่ามครับ ดังที่มีในจดหมายเหตุเรื่องคณะทูตไทยที่ไปฝรั่งเศส(Voyage des ambassadeurs de Siam en France)ของฌ็อง ด็องโน เดอ วีเซ(Jean Donneau de Visé) ซึ่งแปลเป็นภาษาไทย(โดย ฟ. ฮีแลร์)ในชื่อ 'โกศาปานไปฝรั่งเศส' ระบุว่าในประมาณต้น พ.ศ.๒๒๓๐ ก่อนจะกลับไทย ดัสเชสแห่งเนอร์มูร์ส์(Duchess of Nemours)มาขอพบท่าน เผอิญวันนั้นล่ามไม่อยู่ ทั้งสองจึงต้องสนทนากันด้วยภาษามือครับ
"ยังมีเรื่องของกำนัลอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งน่ารู้ถึงบ้าง คือท่านเจ้าหญิงเดอเนอมูร์ส์ ซึ่งเป็นคนค่อนข้างบูชาผู้มีปัญญาอยู่ ค่าที่พระองค์เองมีเชื้อปราชญ์ ๆ อยู่ในพระองค์ วันหนึ่งท่านได้เสด็จมาเยี่ยมราชทูตไทย โดยไม่แพร่งพรายบอกให้ใครรู้เลย
ครั้นพระองค์เสด็จมาถึงสำนักราชทูตซึ่งเผอิญวันนั้นในสถานทูตไม่มีล่ามเหลืออยู่สักคนเดียว เพราะจวนเจียนที่ท่านจะกลับไปเมืองไทยแล้ว ต่างคนต่างกำลังวิ่งไปซื้อนี่ซื้อโน่นกันออกวุ่น ตอนนี้ออกจะขลุกขลักกันหน่อย คือท่านหญิงก็พูดไทยไม่เป็น ส่วนข้างราชทูตก็พูดฝรั่งเศสกร็อกแกร็กไม่เป็นศัพท์เป็นแสงจะสนทนาปราศัยแลกความเห็นกันด้วยวิธีใด อย่ากลัวเลยคนเฉลียวฉลาดถึงที่อับจนก็ยังพอแก้ไขไปได้บ้าง ไม่ให้เสียการทีเดียว
ข้างฝ่ายท่านหญิงและราชทูตเมื่อเห็นว่า ใช้ปากพูดจาปราศรัยกันไม่สำเร็จแน่แล้ว ก็เกณฑ์เอามือเอาตามาช่วยปาก ชี้โบ้ชี้เบ๊ กลับตาไป ๆ มา ๆ พลางทำท่าทางยักย้ายไปตามเรื่อง ถึงไม่ค่อยรู้ความละเอียดละออก็จริง ก็ยังพอเข้าใจกันได้บ้าง เป็นงู ๆ ปลา ๆ ดีกว่าไม่รู้เรื่องเลย แต่สิ่งที่ต่างคนต่างรู้ดีนั้น คือต่างฝ่ายต่างนับถือกันว่าเป็นเจ้าปัญญา ไล่ให้จนไม่ค่อยง่าย
สิ่งที่ทำให้รู้ว่าเขาเข้าใจความกันนั้นคือ ภายหลังวันที่ท่านหญิงเสด็จไปเยี่ยมนั้น ท่านหญิงได้ส่งถุงมือทำด้วยหนังนกมีขนติดอยู่ ซึ่งท่านทรงเมื่อคราวเสด็จไปเยี่ยมนั้นไปประทานอัครราชทูต และบนกระดาษที่ห่อถุงมือนั้น ท่านทรงสลักหลังด้วยลายพระหัตถ์ของพระองค์เองว่า
-- " ของกำนัลของเจ้าหญิงเดอเนอมูร์ส์ ให้แก่ท่านอัครราชทูตสยาม ไว้เป็นที่ระลึกแห่งการสนทนาชี้โบ๊ชี้เบ๊ ซึ่งเจ้าหญิงเดอเนอมูร์ส์เดาแปลเอาเองว่า " ถุงมือนี้สวยงามมาก ถ้าได้ไว้เป็นที่ระลึกก็จะเป็นเกียรติยศยิ่ง " ผิดไม่ผิดจึงค่อยว่ากันคราวหลัง แต่โปรดรับไว้เถิด "
( ลงพระนาม ) เจ้าหญิง เดอเนอมูร์ส์." - ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๕๙ โกศาปานไปฝรั่งเศส ภาค ๓
หน้าสุดท้ายของสนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศส ระบุว่าทำหนังสือสัญญา ๓ ภาษา
พิจารณาจากสนธิสัญญาที่ว่ากับหลักฐานอย่างบันทึกของออกพระวิสุทสุนธร(ปาน)ตอนไปฝรั่งเศส ก็มีคำหลายคำที่ทับศัพท์จากภาษาโปรตุเกส อย่างในสนธิสัญญาที่ทำกับฝรั่งเศส เมื่อแปลภาษาไทยไม่ได้ออกเสียงตามภาษาฝรั่งเศส แต่ออกเสียงแบบโปรตุเกส อย่างเช่นที่ไทยเรียกตำแหน่งของราชทูตลา ลูแบร์ว่า 'อิงวิยาโดรเอกโตรวิยารี' ซึ่งมาจากภาษาโปรตุเกสคือ enviado extraordinário ไม่ได้แปลจากฝรั่งเศสที่เป็น envoyé extraordinaire จึงแสดงว่าในการแปลภาษาฝรั่งเศส น่าจะแปลเป็นภาษาโปรตุเกสก่อนแล้วแปลเป็นภาษาไทยอีกต่อหนึ่ง
ในหลักฐานสมัยอยุทธยาหลายชิ้นเช่นบันทึกของออกพระวิสุทสุนธร(ปาน) ราชทูตที่ไปฝรั่งเศส พบว่าคำในบันทึกหลายคำเรียกตามภาษาโปรตุเกสเช่น
-คำว่า ambassador ไทยเรียก อีงบาศโคร มาจาก embaixador
-คำว่าผู้ดีหรือชนชั้นสูงของตะวันตก(noble) ไทยเรียก ฝีดาวู มาจาก fidalgo(ฟิดาลกู) ซึ่งคือคำว่า hidalgo ในภาษาสเปนครับ
-คำว่า España(สเปน) ไทยออกเสียงว่า 'อีศปาญะ' ตามโปรตุเกสคือ Espanha
-ออกพระวิสุทสุนธรกล่าวว่าท่านเป็น 'ซัวเอศเลนเซีย' ซึ่งมาจากภาษาโปรตุเกสคือ Suá Excellencia แปลว่า ฯพณฯ
จึงพอสันนิษฐานว่าออกพระวิสุทสุนธรน่าจะพอพูดภาษาโปรตุเกสได้อยู่ครับ
นอกจากนี้คำหลายคำในภาษาฝรั่งเศสสมัยอยุทธยา คนไทยน่าจะออกเสียงตามสำเนียงโปรตุเกส อย่างคำว่า 'ฝรั่งเศส' ผมสันนิษฐานว่าน่าจะมาจาก francês ในภาษาโปรตุเกส มากกว่ามาจาก française หรืออย่างในบันทึกของออกพระวิสุทสุนธรมีคำว่า 'วีเลรัวเดฝรังษ' ซึ่งเข้าใจว่ามาจากภาษาฝรั่งเศสคือ 'Vive le Roi de France(พระเจ้ากรุงฝรังษทรงพระเจริญ)' แต่ดูแล้วสำเนียงจะใกล้กับการออกเสียงคำฝรั่งเศสตามเสียงโปรตุเกสมากกว่าครับ (ฝรังษ น่าจะมาจาก França)
มีบันทึกของพระอธิกรณ์ เดอ ชัวซี(abbé de Choisy) ชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาอยุทธยาใน พ.ศ.๒๒๒๘ สมัยสมเด็จพระนารายณ์ระบุว่าขุนนางไทยตอนนั้นสามารถพูดภาษาโปรตุเกสได้ทุกคน เรื่องนี้อาจฟังดูเกินจริงไปบ้าง จริงๆน่าจะพูดได้แค่ขุนนางกรมพระคลังที่มีหน้าที่ติดต่อกับชาวต่างประเทศโดยตรงมากกว่า แต่ก็สะท้อนให้เห็นได้ดีว่าภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาหลักที่สำคัญ และถึงแม้ว่าโปรตุเกสจะเสื่อมอำนาจในแถบนี้ไปแล้วก็ปรากฏว่าไทยยังคงใช้ภาษาโปรตุเกสมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น อย่างที่ปรากฏว่าสนธิสัญญาเบอร์นีในสมัยรัชกาลที่ ๒ ยังทำเป็น ๔ ภาษาคือไทย อังกฤษ โปรตุเกส มลายู เข้าใจว่าไทยเพิ่งเริ่มใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักในสมัยรัตนโกสินทร์เมื่ออังกฤษเริ่มแผ่ขยายอิทธิพลมาในแถบนี้ในยุคล่าอาณานิคมครับ
ถ้าจำไม่ผิดรู้สึกว่าในสมัยแรกๆที่ยังไม่รู้ภาษาโปรตุเกส จะแปลเอกสารจากภาษาโปรตุเกสเป็นมลายูก่อนแล้วค่อยแปลเป็นไทยอีกต่อครับ
ส่วนเรื่องออกพระวิสุทสุนธร(ปาน)ขอเสริมคุณ arawadee ว่าแม้จะมีหลักฐานว่าท่านพอรู้ภาษาฝรั่งเศส ดูจากบันทึกของท่านที่มีการตั้งคำสำคัญ(รหัสลับไว้ป้องกันข้าศึก)เป็นภาษาฝรั่งเศสเวลาไปเมืองต่างๆ และจากหลักฐานของบาทหลวง เดอ ชัวซีที่ระบุว่าระหว่างการเดินทางมาฝรั่งเศสได้รับปากว่าจะสอนภาษาฝรั่งเศสให้ราชทูตวันละ ๖ คำ แต่ก็มีหลักฐานว่าท่านไม่สามารถสนทนาภาษาฝรั่งเศสได้ถ้าไม่มีล่ามครับ ดังที่มีในจดหมายเหตุเรื่องคณะทูตไทยที่ไปฝรั่งเศส(Voyage des ambassadeurs de Siam en France)ของฌ็อง ด็องโน เดอ วีเซ(Jean Donneau de Visé) ซึ่งแปลเป็นภาษาไทย(โดย ฟ. ฮีแลร์)ในชื่อ 'โกศาปานไปฝรั่งเศส' ระบุว่าในประมาณต้น พ.ศ.๒๒๓๐ ก่อนจะกลับไทย ดัสเชสแห่งเนอร์มูร์ส์(Duchess of Nemours)มาขอพบท่าน เผอิญวันนั้นล่ามไม่อยู่ ทั้งสองจึงต้องสนทนากันด้วยภาษามือครับ
"ยังมีเรื่องของกำนัลอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งน่ารู้ถึงบ้าง คือท่านเจ้าหญิงเดอเนอมูร์ส์ ซึ่งเป็นคนค่อนข้างบูชาผู้มีปัญญาอยู่ ค่าที่พระองค์เองมีเชื้อปราชญ์ ๆ อยู่ในพระองค์ วันหนึ่งท่านได้เสด็จมาเยี่ยมราชทูตไทย โดยไม่แพร่งพรายบอกให้ใครรู้เลย
ครั้นพระองค์เสด็จมาถึงสำนักราชทูตซึ่งเผอิญวันนั้นในสถานทูตไม่มีล่ามเหลืออยู่สักคนเดียว เพราะจวนเจียนที่ท่านจะกลับไปเมืองไทยแล้ว ต่างคนต่างกำลังวิ่งไปซื้อนี่ซื้อโน่นกันออกวุ่น ตอนนี้ออกจะขลุกขลักกันหน่อย คือท่านหญิงก็พูดไทยไม่เป็น ส่วนข้างราชทูตก็พูดฝรั่งเศสกร็อกแกร็กไม่เป็นศัพท์เป็นแสงจะสนทนาปราศัยแลกความเห็นกันด้วยวิธีใด อย่ากลัวเลยคนเฉลียวฉลาดถึงที่อับจนก็ยังพอแก้ไขไปได้บ้าง ไม่ให้เสียการทีเดียว
ข้างฝ่ายท่านหญิงและราชทูตเมื่อเห็นว่า ใช้ปากพูดจาปราศรัยกันไม่สำเร็จแน่แล้ว ก็เกณฑ์เอามือเอาตามาช่วยปาก ชี้โบ้ชี้เบ๊ กลับตาไป ๆ มา ๆ พลางทำท่าทางยักย้ายไปตามเรื่อง ถึงไม่ค่อยรู้ความละเอียดละออก็จริง ก็ยังพอเข้าใจกันได้บ้าง เป็นงู ๆ ปลา ๆ ดีกว่าไม่รู้เรื่องเลย แต่สิ่งที่ต่างคนต่างรู้ดีนั้น คือต่างฝ่ายต่างนับถือกันว่าเป็นเจ้าปัญญา ไล่ให้จนไม่ค่อยง่าย
สิ่งที่ทำให้รู้ว่าเขาเข้าใจความกันนั้นคือ ภายหลังวันที่ท่านหญิงเสด็จไปเยี่ยมนั้น ท่านหญิงได้ส่งถุงมือทำด้วยหนังนกมีขนติดอยู่ ซึ่งท่านทรงเมื่อคราวเสด็จไปเยี่ยมนั้นไปประทานอัครราชทูต และบนกระดาษที่ห่อถุงมือนั้น ท่านทรงสลักหลังด้วยลายพระหัตถ์ของพระองค์เองว่า
-- " ของกำนัลของเจ้าหญิงเดอเนอมูร์ส์ ให้แก่ท่านอัครราชทูตสยาม ไว้เป็นที่ระลึกแห่งการสนทนาชี้โบ๊ชี้เบ๊ ซึ่งเจ้าหญิงเดอเนอมูร์ส์เดาแปลเอาเองว่า " ถุงมือนี้สวยงามมาก ถ้าได้ไว้เป็นที่ระลึกก็จะเป็นเกียรติยศยิ่ง " ผิดไม่ผิดจึงค่อยว่ากันคราวหลัง แต่โปรดรับไว้เถิด "
( ลงพระนาม ) เจ้าหญิง เดอเนอมูร์ส์." - ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๕๙ โกศาปานไปฝรั่งเศส ภาค ๓
แสดงความคิดเห็น
ภาษาอังกฤษมีฐานะเป็นภาษาสากลตั้งเเต่เมื่อไหร่ครับ เเล้วสมัยโบราณราชทูตหรือพระยาโกษาธิบดีติดต่อกับชาวต่างชาติด้วยภาษาอะไร