หลายๆท่านคงเคยตั้งคำถามกันอยู่ว่า จะเป็นอย่างไรถ้ามีการเปิดเสรีทางการบินเกิดขึ้น วันนี้ จึงขอนำหัวข้อดังกล่าวมานำเสนอนะคะ ทั้งนี้ในปีพ.ศ. 2558 อาเซียนมีกำหนดจะรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจที่มุ่งจะเชื่อมโยงตลาดการเงิน ลดกำแพงกีดขวางการค้า และผ่อนคลายข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวแรงงานในหมู่ชาติภาคอาเซียนด้วยกันทั้งหมด
อุตสาหกรรมการบินจึงเป็นอีกหนึ่งนโยบายหนึ่งที่ภาคีอาเซียนตกลงกัน และจะมีผลบังคับใช้ในปีเดียวกันนี้ด้วย คือนโยบาย Open Skies ซึ่งอนุญาตให้สายการบินของชาติภาคีอาเซียนเพิ่มเที่ยวบินระหว่างกันได้ เท่าที่จะมีที่ให้ลงจอดได้ที่สนามบิน ทั้งนี้มีการประมาณการกันว่าสนามบินที่เราเรียกกันว่า Sub-airport จะเป็นที่ได้รับความนิยมมากที่สุดกับเหล่าบรรดาสายการบิน Low Cost ทั้งนี้บทความใน Wall Street Journal กล่าวว่า อินโดนีเซียยังไม่อยากจะเปิดน่านฟ้าของตนรับเที่ยวบินเพิ่มจากประเทศอื่นๆในสมาคมอาเซียน เนื่องจากเกรงจะมีผลกระทบกับอุตสาหกรรมการบินภายในประเทศของตน อย่างที่เราทราบนะคะว่า อินโดนีเซีย เป็นหมู่เกาะ การเดินทางโดยเครื่องการบินจึงเป็นหนึ่งในวิถีชีวิตที่สะดวกสบายของเหล่าชนชั้นกลางถึงชนชั้นสูงของอินโดฯ
ทั้งนี้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เมื่อรวมตัวกันอย่างเป็นทางการซึ่งจะเกิดในปี 2015 นี้จะมีประชากรมากกว่า 600 ล้านคน และขนาดของเศรษฐกิจโดยรวมจะใหญ่กว่าและโตเร็วกว่าของอินเดีย ซึ่งมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นศูนย์กลางการเดินทางทางอากาศที่มีนักเดินทางหนาแน่นมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ท่าอากาศยานทั้งที่กรุงเทพฯและสิงคโปร์มีผู้โดยสารระหว่างประเทศมากกว่าท่าอากาศยานที่ลอนดอน โตเกียวและนิวยอร์ค
อาเซียนเริ่มดำเนินการตามขั้นตอนของนโยบาย Open Skies มาตั้งแต่ปี 2552 แล้ว และในขณะที่ชาติภาคีอาเซียนอื่นๆกำลังเตรียมตัวกันอย่างแข็งขัน รวมทั้งการสร้างอาคารสถานที่ ทางวิ่ง และสั่งซื้อเครื่องบินเพิ่ม อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นตลาดการบินใหญ่ที่สุด และมีประชากรมากกว่าใครเพื่อน บอกว่าต้องการเวลาเตรียมตัวนานกว่านี้
ข่าวแว่วๆมาว่า รมต. กระทรวงการท่องเที่ยวของอินโดนีเซีย บอกว่า สิงคโปร์มีท่าอากาศยานเพียงแห่งเดียวที่ต้องปรับปรุงสำหรับปี 2558 แต่อินโดนีเซียมีท่าอากาศยานมากกว่า 20 แห่งที่จะต้องปรับปรุง เพราะฉะนั้นจะต้องใช้เวลานานกว่า แต่ให้คำมั่นว่าจะพยายามปรับปรุงท่าอากาศยานใหญ่ๆให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ สำหรับประเทศไทยของเรานั้นในหัวเมืองใหญ่อย่าง กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ภูเก็ต เชียงราย กระบี่ อุดรธานี ก็ล้วนแล้วแต่เตรียมพร้อมสนองนโยบาย Open Skies นี้ แม้แต่ประเทศเพื่อบ้านเราอย่าง สปป.ลาว ก็มีการเตรียมพร้อมสนองนโยบาย Open Skies นี้ โดยมีข่าวว่ามีการให้สัมปทานกับกลุ่มบริษัท TAGS เดิมในการเข้าไปดูแลสนามบินนานาชาติ
นักวิเคราะห์อย่าง ศาสตราจารย์ Alan Tan ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายการบินของ National University of Singapore บอกว่า สายการบินใหญ่ๆในอินโดนีเซีย อย่างเช่น Garuda ใช้อิทธิพลกดดันรัฐบาลให้จำกัดตลาดการบินในประเทศให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในขณะที่ผู้บริหาร Garuda กล่าวว่า อินโดนีเซียจะเปิดตลาดต้อนรับเที่ยวบินจากประเทศอาเซียนอื่นๆเพิ่มขึ้น ถ้าประเทศเหล่านั้นรับรองว่าจะไม่ใช้กฎเกณฑ์อื่นๆมาจำกัดสายการบินของอินโดนีเซีย
แต่อินโดนีเซียไม่ได้อยู่นิ่งเฉย กำลังมีการก่อสร้างท่าอากาศยานเพิ่มขึ้น รวมทั้งการปรับปรุงท่าอากาศยานที่มีอยู่แล้ว โดยเฉพาะการขยายและปรับปรุงท่าอากาศยานกรุงจาการ์ต้ามูลค่ากว่าสองพันล้านดอลล่าร์ ทุกวันนี้ท่าอากาศยานกรุงจาการ์ต้ามีผู้โดยสารมากเป็นสองเท่าของขีดความสามารถที่กำหนดไว้ที่ 22 ล้านคนต่อปี
ขณะเดียวกัน Garuda และสายการบินราคาประหยัด Citilink ซึ่งเป็นสาขา ได้สั่งซื้อเครื่องบินเพิ่มเป็นมูลค่าหลายร้อยล้านดอลล่าร์ ส่วน Lion Air ซึ่งเป็นสายการบินราคาประหยัดใหญ่ที่สุดของประเทศสั่งซื้อเครื่องบินโบอิ้งเพิ่มอีกมากกว่า 200 ลำในปีที่แล้ว ชาติภาคอื่นๆก็เร่งรุดปรับปรุงและขยายท่าอากาศยานของตน สิงคโปร์กำลังสร้าง Terminal ใหม่ที่จะรับผู้โดยสารเพิ่มขึ้นได้อีก 30% ในปี 2560 ในขณะที่ ฮานอย มนิลา กรุงเทพฯ เสียมเรียบ และเวียงจันทน์กำลังใช้จ่ายเงินแห่งละไม่น้อยกว่าหนึ่งพันล้านดอลล่าร์เพื่อปรับปรุงท่าอากาศยานของตน
ด้าน Air Asia สายการบินราคาประหยัดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคกำลังจัดตั้งสำนักงานใหญ่ในกรุงจาการ์ต้า CEO Tony Fernandes ยอมโยกย้ายจากมาเลย์เซียไปอยู่กรุงจาการ์ต้า เพื่อผลักดันและเตรียมรับนโยบาย Open Skies ทั้งนี้แม้ Open Skies จะเพิ่มเที่ยวบินระหว่างชาติภาคีอาเซียนด้วยกันมากขึ้น บรรดาผู้บริหารสายการบินอยากเห็นการเปิดเสรี รวมไปถึงการเปิดเที่ยวบินภายในประเทศให้กับสายการบินต่างประเทศ และการอนุมัติให้สายการบินจัดตั้งศูนย์กลางการบินนอกประเทศของตนได้ด้วย ทั้งนี้ในครั้งต่อไปจะนำบทความผลดีและผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมการบินในประเทศของเราในอนาคตหากมีการเปิดเสรีทางการบินมาฝาก
#ณัฐกรานต์ ไชยหาวงศ์
ครูวิชาภาคพื้นสถาบันการบินพลเรือน
#CATC
#tciap
การเปิดเสรีทางการบิน นโยบาย Open Skies กับอุตสาหกรรมการบินในอาเซียน
อุตสาหกรรมการบินจึงเป็นอีกหนึ่งนโยบายหนึ่งที่ภาคีอาเซียนตกลงกัน และจะมีผลบังคับใช้ในปีเดียวกันนี้ด้วย คือนโยบาย Open Skies ซึ่งอนุญาตให้สายการบินของชาติภาคีอาเซียนเพิ่มเที่ยวบินระหว่างกันได้ เท่าที่จะมีที่ให้ลงจอดได้ที่สนามบิน ทั้งนี้มีการประมาณการกันว่าสนามบินที่เราเรียกกันว่า Sub-airport จะเป็นที่ได้รับความนิยมมากที่สุดกับเหล่าบรรดาสายการบิน Low Cost ทั้งนี้บทความใน Wall Street Journal กล่าวว่า อินโดนีเซียยังไม่อยากจะเปิดน่านฟ้าของตนรับเที่ยวบินเพิ่มจากประเทศอื่นๆในสมาคมอาเซียน เนื่องจากเกรงจะมีผลกระทบกับอุตสาหกรรมการบินภายในประเทศของตน อย่างที่เราทราบนะคะว่า อินโดนีเซีย เป็นหมู่เกาะ การเดินทางโดยเครื่องการบินจึงเป็นหนึ่งในวิถีชีวิตที่สะดวกสบายของเหล่าชนชั้นกลางถึงชนชั้นสูงของอินโดฯ
ทั้งนี้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เมื่อรวมตัวกันอย่างเป็นทางการซึ่งจะเกิดในปี 2015 นี้จะมีประชากรมากกว่า 600 ล้านคน และขนาดของเศรษฐกิจโดยรวมจะใหญ่กว่าและโตเร็วกว่าของอินเดีย ซึ่งมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นศูนย์กลางการเดินทางทางอากาศที่มีนักเดินทางหนาแน่นมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ท่าอากาศยานทั้งที่กรุงเทพฯและสิงคโปร์มีผู้โดยสารระหว่างประเทศมากกว่าท่าอากาศยานที่ลอนดอน โตเกียวและนิวยอร์ค
อาเซียนเริ่มดำเนินการตามขั้นตอนของนโยบาย Open Skies มาตั้งแต่ปี 2552 แล้ว และในขณะที่ชาติภาคีอาเซียนอื่นๆกำลังเตรียมตัวกันอย่างแข็งขัน รวมทั้งการสร้างอาคารสถานที่ ทางวิ่ง และสั่งซื้อเครื่องบินเพิ่ม อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นตลาดการบินใหญ่ที่สุด และมีประชากรมากกว่าใครเพื่อน บอกว่าต้องการเวลาเตรียมตัวนานกว่านี้
ข่าวแว่วๆมาว่า รมต. กระทรวงการท่องเที่ยวของอินโดนีเซีย บอกว่า สิงคโปร์มีท่าอากาศยานเพียงแห่งเดียวที่ต้องปรับปรุงสำหรับปี 2558 แต่อินโดนีเซียมีท่าอากาศยานมากกว่า 20 แห่งที่จะต้องปรับปรุง เพราะฉะนั้นจะต้องใช้เวลานานกว่า แต่ให้คำมั่นว่าจะพยายามปรับปรุงท่าอากาศยานใหญ่ๆให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ สำหรับประเทศไทยของเรานั้นในหัวเมืองใหญ่อย่าง กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ภูเก็ต เชียงราย กระบี่ อุดรธานี ก็ล้วนแล้วแต่เตรียมพร้อมสนองนโยบาย Open Skies นี้ แม้แต่ประเทศเพื่อบ้านเราอย่าง สปป.ลาว ก็มีการเตรียมพร้อมสนองนโยบาย Open Skies นี้ โดยมีข่าวว่ามีการให้สัมปทานกับกลุ่มบริษัท TAGS เดิมในการเข้าไปดูแลสนามบินนานาชาติ
นักวิเคราะห์อย่าง ศาสตราจารย์ Alan Tan ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายการบินของ National University of Singapore บอกว่า สายการบินใหญ่ๆในอินโดนีเซีย อย่างเช่น Garuda ใช้อิทธิพลกดดันรัฐบาลให้จำกัดตลาดการบินในประเทศให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในขณะที่ผู้บริหาร Garuda กล่าวว่า อินโดนีเซียจะเปิดตลาดต้อนรับเที่ยวบินจากประเทศอาเซียนอื่นๆเพิ่มขึ้น ถ้าประเทศเหล่านั้นรับรองว่าจะไม่ใช้กฎเกณฑ์อื่นๆมาจำกัดสายการบินของอินโดนีเซีย
แต่อินโดนีเซียไม่ได้อยู่นิ่งเฉย กำลังมีการก่อสร้างท่าอากาศยานเพิ่มขึ้น รวมทั้งการปรับปรุงท่าอากาศยานที่มีอยู่แล้ว โดยเฉพาะการขยายและปรับปรุงท่าอากาศยานกรุงจาการ์ต้ามูลค่ากว่าสองพันล้านดอลล่าร์ ทุกวันนี้ท่าอากาศยานกรุงจาการ์ต้ามีผู้โดยสารมากเป็นสองเท่าของขีดความสามารถที่กำหนดไว้ที่ 22 ล้านคนต่อปี
ขณะเดียวกัน Garuda และสายการบินราคาประหยัด Citilink ซึ่งเป็นสาขา ได้สั่งซื้อเครื่องบินเพิ่มเป็นมูลค่าหลายร้อยล้านดอลล่าร์ ส่วน Lion Air ซึ่งเป็นสายการบินราคาประหยัดใหญ่ที่สุดของประเทศสั่งซื้อเครื่องบินโบอิ้งเพิ่มอีกมากกว่า 200 ลำในปีที่แล้ว ชาติภาคอื่นๆก็เร่งรุดปรับปรุงและขยายท่าอากาศยานของตน สิงคโปร์กำลังสร้าง Terminal ใหม่ที่จะรับผู้โดยสารเพิ่มขึ้นได้อีก 30% ในปี 2560 ในขณะที่ ฮานอย มนิลา กรุงเทพฯ เสียมเรียบ และเวียงจันทน์กำลังใช้จ่ายเงินแห่งละไม่น้อยกว่าหนึ่งพันล้านดอลล่าร์เพื่อปรับปรุงท่าอากาศยานของตน
ด้าน Air Asia สายการบินราคาประหยัดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคกำลังจัดตั้งสำนักงานใหญ่ในกรุงจาการ์ต้า CEO Tony Fernandes ยอมโยกย้ายจากมาเลย์เซียไปอยู่กรุงจาการ์ต้า เพื่อผลักดันและเตรียมรับนโยบาย Open Skies ทั้งนี้แม้ Open Skies จะเพิ่มเที่ยวบินระหว่างชาติภาคีอาเซียนด้วยกันมากขึ้น บรรดาผู้บริหารสายการบินอยากเห็นการเปิดเสรี รวมไปถึงการเปิดเที่ยวบินภายในประเทศให้กับสายการบินต่างประเทศ และการอนุมัติให้สายการบินจัดตั้งศูนย์กลางการบินนอกประเทศของตนได้ด้วย ทั้งนี้ในครั้งต่อไปจะนำบทความผลดีและผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมการบินในประเทศของเราในอนาคตหากมีการเปิดเสรีทางการบินมาฝาก
#ณัฐกรานต์ ไชยหาวงศ์
ครูวิชาภาคพื้นสถาบันการบินพลเรือน
#CATC
#tciap