พาหิรกา , สาวกภาสิตา ใน อาณิสูตร

พาหิรกะ แปลว่า ภายนอก
                                                พาหิรก  กระผมเข้าใจว่า(กรณีหมายถึงบุคคล) หมายถึง บุรุษ มีสถานะความเป็นบุคคลภายนอก

                                                พาหิรกา กระผมเข้าใจว่า (กรณีหมายถึงบุคคล)  หมายถึง สตรี มีสถานะความเป็นบุคคลภายนอก

                       พระบาลี       เย   ปน   เต   สุตฺตนฺตา   กวิกตา
           กาเวยฺยา   จิตฺตกฺขรา   จิตฺตพฺยญฺชนา   พาหิรกา   สาวกภาสิตา  

           แต่ว่าเมื่อเขากล่าวพระสูตรอันนักปราชญ์รจนาไว้ อันนักปราชญ์ร้อยกรองไว้ มี
อักษรอันวิจิตร มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นของภายนอก เป็นสาวกภาษิต

                   โดยที่แสดงเส้นใต้ไว้  โดย พระบาลี  แสดงคำว่า   พาหิรกา   คือหมายความว่า  ถ้าในพระบาลี แสดง เป็น พาหิรก
                   ก็จะหมายถึง  บรุษเพศ ไม่ครอบคลุม  ถึง สตรีเพศ    แต่เมื่อ พระบาลี  แสดงถึง  พาหิรกา  ก็ หมายความว่า รวม
                   ทั้ง บรุษเพศ และ สตรีเพศ  โดยนัยของ พหุพจน์  คือ ความหมาย คำรวม

                     พาหิรกา ใน บทนี้   มี สถานะ  คือ ธรรมภายนอกที่ ถูกกล่าว  เพราะ ประธาน ของประโยคคือ  สุตฺตนฺตา  หมายถึง ผู้กล่าวพระสูตร(บุคคลทั่วไปที่ศึกษาสนใจพระสูตร)
                   คือ พระธรรม    ดังนั้น ธรรมภายนอกที่ ถูกกล่าว คือ  ธรรมที่ ไม่สามารถ อ้างอิง ได้โดยหลัก ของ เหตุ และ ผล ใน  อริยสัจสี่
                  
                     ดังนั้น พาหิรกา  ใน ประโยค  คือ สถานะ ของธรรมภายนอกที่ถูกกล่าว เป็น ความหมายหลัก  แต่ ด้วย  พาหิรกา แสดงสถานะ
                 โดย  พหุพจน์ โดยทั่วไป ด้วย  ก็หมาย ถึง บุคคลภายนอกโดยทั่วไป    
                    นั้นคือสภาวะของคำว่า พาหิรกะ และ สถานะบุคคลของคำว่า พาหิรกา ดังนั้น จึง มี สาวกภาสิตา แยกระบุลักษณะ บุคคล อีกชั้น ในตอน ท้ายของ ประโยค                              
                          
                           พาหิรกา ยัง แสดง ลักษณะของ รูปประโยค ที่กล่าว มาข้างต้น ด้วย คือ                สุตฺตนฺตา   กวิกตา
                                                                                                                 กาเวยฺยา   จิตฺตกฺขรา   จิตฺตพฺยญฺชนา  พาหิรกา
  
                    นั้นคือ  พระสูตร คือ  พระธรรม ที่มีความเป็น ปราชญ์ ร้อยกรอง ด้วย อักษรพยัญชนะอันวิจิตร  และ เป็นธรรมภายนอก  โดยสถานะ ของพาหิรกา ที่  ขยายรูป คำใน ประโยค

                    ดังนั้น พาหิรกา  คือ  ผู้กล่าวพระสูตร(พระธรรม) มีลักษณะเป็นปราชญ์  ใช้คำอักษรพยัญชนะที่วิจิตร อธิบายเป็นธรรมนอกอริยสัจสี่   แต่ไม่มีสถานะเป็น สาวกภาสิตา ในพระพุทธศาสนา ( โดยพุทธบัญญัติตามพระธรรมวินัย )              
                                                                 =====================

เย   ปน   เต   สุตฺตนฺตา   กวิกตา
           กาเวยฺยา   จิตฺตกฺขรา   จิตฺตพฺยญฺชนา   พาหิรกา   สาวกภาสิตา


สาวกภาสิตา  ใน อาณิสูตร   เป็น เรื่องราวที่กล่าวถึง อนาคต  ไม่ได้หมายความถึงพระอริยบุคคล เพราะ พระอริยะบุคคล ในสมัยพุทธกาล และ ปัจจุบัน(อนาคต) มีคุณสมบัติในการบรรลุธรรม คือ คุณสมบัติ ในการละสังโยชน์10 อย่างเดียวกัน  จึง ไม่ใช่ สาวกภาสิตา  ตามความหมาย ใน อาณิสูตร
                 แต่หมายถึง ภิกษุสามเณร(ปัจจุบัน) ที่มีความเป็น ปุถุชน ที่ กล่าวพระธรรม ที่ไม่สามารถอ้างอิง โดยหลักของ เหตุ และ ผล ใน อริยสัจสี่ได้   หรือ อุบาสก,อุบาสิก  ที่มีความเป็น ปุถุชน ที่ กล่าวพระธรรม ที่ไม่สามารถอ้างอิง โดยหลักของ เหตุ และ ผล ใน อริยสัจสี่ได้

                                                                 =====================
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่