ละลายแม่น้ำ บทความ posttoday
9 October 2015
โดย...คุณบ๊งเบ๊ง antibodyposttoday@gmail.com
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ แม้จะมีเสียงคัดค้านทั้งจากสถาปนิก วิศวกร นักสิ่งแวดล้อม นักวิชาการ รวมถึงบรรดาชุมชนที่อยู่รายรอบ แต่รัฐบาลชุดนี้ก็ยังเดินหน้าดัน “แลนด์มาร์คทางเลียบริมเจ้าพระยา” มูลค่า 1.4 หมื่นล้านบาท อย่างเต็มสูบ หวังจะให้เสร็จก่อนโรดแมป ที่จะเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลปกติในอีก 2 ปีข้างหน้าให้ได้
ว่ากันว่า 2 นายพลที่เคยจัดซื้อเรือเหาะ และเคยจัดซื้อ GT200 หวังอย่างยิ่งที่จะให้เป็นหน้าเป็นตาของรัฐบาล เพื่อซื้อใจคนกรุง จากที่รักรัฐบาลนี้มากอยู่แล้ว ให้รักมากขึ้นไปอีก
ขณะที่อีก 1 นายพล ที่ดำรงตำแหน่ง “ท่านผู้นำ” ก็พร้อมเอาใจอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะใช้เงินขนาดไหน รัฐบาลนี้สู้ไม่อั้น!
อย่างไรก็ตาม เสียงคัดค้านนั้น มิใช่เสียงนกเสียงกา แต่เป็นเสียงที่น่ารับฟังอย่างยิ่ง เพราะแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่สะพานพระราม 7 จนถึงสะพานปิ่นเกล้านั้น กว้างเพียง 180-220 เมตร ไม่ใช่ช่วงแม่น้ำที่กว้างขวางอย่างในแม่น้ำฮันของเกาหลีใต้ที่รัฐบาลตั้งใจจะเอาเป็นโมเดล
นั่นหมายความว่า แม่น้ำที่กว้าง 180 เมตร จะหายไปทันที 2 ข้าง รวมแล้ว 40 เมตร เพื่อหลีกทางให้เสาเข็มขนาดใหญ่ จนเหลือขนาดเพียง 160 เมตรเท่านั้น
ในช่วงฤดูน้ำหลาก แน่นอนว่าการระบายน้ำจากปิง วัง ยม น่าน ลงอ่าวไทย จำต้องตีบตันลง และหากเกิดน้ำท่วมใหญ่อย่างเมื่อปี 2554 วิกฤตจะหนักขึ้น รุนแรงขึ้นแน่นอน
โดยเฉพาะการระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมขัง เพราะ “เจ้าพระยา” คือทางออกที่สั้นและตรงที่สุดในการเอาน้ำออกจากพื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง ยิ่งหากเกิดปรากฏการณ์ “น้ำทะเลหนุน” เพิ่ม ยิ่งไม่อยากจะนึกภาพ
ทั้งหมดนี้ยังไม่นับรวมการจัดการน้ำผ่าน “คลองซอย” ที่อยู่รอบพื้นที่ก่อสร้าง รวมถึงการจัดการกับคนที่อยู่ริมน้ำแต่เดิม
ต้องไม่ลืมว่า ในบรรดาบ้านเรือนที่อยู่ริมน้ำนั้น ไม่ใช่ตัวปัญหาที่สร้างมลพิษ-ปล่อยขยะลงแม่น้ำ หรือรุกล้ำแม่น้ำเพียงอย่างเดียว แต่หลายคนก็ใช้ชีวิตร่วมกับน้ำตามปกติ ขณะที่อีกหลายคนอยู่ริมแม่น้ำมาตั้งแต่สร้างกรุงรัตนโกสินทร์
การจ่ายเงินเพื่อให้คนเหล่านี้ไปอยู่แฟลต เพื่อแลกกับการเพิ่มลานคอนกรีต ให้คนเมืองมีที่ปั่นจักรยาน-เดินเล่นมากขึ้น จึงเป็นเรื่องที่น่าตั้งคำถามว่า “คุ้มกันแล้วหรือ”
น่าตกใจที่ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ไม่ได้สะทกสะท้านกับวิถีชีวิตริมน้ำ แต่กลับเป็นห่วง “วังบางขุนพรหม” และพื้นที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่จะได้รับผลกระทบเช่นกันมากกว่า
ในเมื่อไม่มีการศึกษาความจำเป็น ไม่มีขั้นตอนรับฟังเสียงทักท้วง รวมถึงเร่งขั้นตอนก่อสร้างอย่างผิดปกติ จึงน่าสนใจอย่างยิ่งว่าโครงการนี้มีประโยชน์อย่างไร
หากโครงการนี้ถูกดันในรัฐบาลปกติ ก็คงจะเรียกเสียงคัดค้านจนสร้าง “แนวร่วม” ต่อต้านได้มากมาย เผลอๆ รัฐอาจต้องกลับไปแก้ใหม่ให้รัดกุมกว่านี้แล้ว
แต่ในยุค “รัฐบาลปฏิรูป” ที่คนดีเป็นผู้ปกครองบ้านเมืองแล้ว เสียงทักท้วงนั้นไม่มีความหมายอะไร เพราะวาจาสิทธิของท่านผู้นำ ถือเป็นคำสั่งที่ต้องทำตาม และต้องทำให้สำเร็จเท่านั้น
---- ถามสมาชิกอีกครั้งว่าเห็นด้วยและเหมาะสมไหม กับโครงการนี้ ทั้งรูปแบบ ราคาประมาณนี้อาจมากกว่านี้ ----
🚲🚲---เดินหน้าทางเลียบเจ้าพระยา ( คิดว่าไงกันครับ )---🚲🚲
9 October 2015
โดย...คุณบ๊งเบ๊ง antibodyposttoday@gmail.com
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ แม้จะมีเสียงคัดค้านทั้งจากสถาปนิก วิศวกร นักสิ่งแวดล้อม นักวิชาการ รวมถึงบรรดาชุมชนที่อยู่รายรอบ แต่รัฐบาลชุดนี้ก็ยังเดินหน้าดัน “แลนด์มาร์คทางเลียบริมเจ้าพระยา” มูลค่า 1.4 หมื่นล้านบาท อย่างเต็มสูบ หวังจะให้เสร็จก่อนโรดแมป ที่จะเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลปกติในอีก 2 ปีข้างหน้าให้ได้
ว่ากันว่า 2 นายพลที่เคยจัดซื้อเรือเหาะ และเคยจัดซื้อ GT200 หวังอย่างยิ่งที่จะให้เป็นหน้าเป็นตาของรัฐบาล เพื่อซื้อใจคนกรุง จากที่รักรัฐบาลนี้มากอยู่แล้ว ให้รักมากขึ้นไปอีก
ขณะที่อีก 1 นายพล ที่ดำรงตำแหน่ง “ท่านผู้นำ” ก็พร้อมเอาใจอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะใช้เงินขนาดไหน รัฐบาลนี้สู้ไม่อั้น!
อย่างไรก็ตาม เสียงคัดค้านนั้น มิใช่เสียงนกเสียงกา แต่เป็นเสียงที่น่ารับฟังอย่างยิ่ง เพราะแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่สะพานพระราม 7 จนถึงสะพานปิ่นเกล้านั้น กว้างเพียง 180-220 เมตร ไม่ใช่ช่วงแม่น้ำที่กว้างขวางอย่างในแม่น้ำฮันของเกาหลีใต้ที่รัฐบาลตั้งใจจะเอาเป็นโมเดล
นั่นหมายความว่า แม่น้ำที่กว้าง 180 เมตร จะหายไปทันที 2 ข้าง รวมแล้ว 40 เมตร เพื่อหลีกทางให้เสาเข็มขนาดใหญ่ จนเหลือขนาดเพียง 160 เมตรเท่านั้น
ในช่วงฤดูน้ำหลาก แน่นอนว่าการระบายน้ำจากปิง วัง ยม น่าน ลงอ่าวไทย จำต้องตีบตันลง และหากเกิดน้ำท่วมใหญ่อย่างเมื่อปี 2554 วิกฤตจะหนักขึ้น รุนแรงขึ้นแน่นอน
โดยเฉพาะการระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมขัง เพราะ “เจ้าพระยา” คือทางออกที่สั้นและตรงที่สุดในการเอาน้ำออกจากพื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง ยิ่งหากเกิดปรากฏการณ์ “น้ำทะเลหนุน” เพิ่ม ยิ่งไม่อยากจะนึกภาพ
ทั้งหมดนี้ยังไม่นับรวมการจัดการน้ำผ่าน “คลองซอย” ที่อยู่รอบพื้นที่ก่อสร้าง รวมถึงการจัดการกับคนที่อยู่ริมน้ำแต่เดิม
ต้องไม่ลืมว่า ในบรรดาบ้านเรือนที่อยู่ริมน้ำนั้น ไม่ใช่ตัวปัญหาที่สร้างมลพิษ-ปล่อยขยะลงแม่น้ำ หรือรุกล้ำแม่น้ำเพียงอย่างเดียว แต่หลายคนก็ใช้ชีวิตร่วมกับน้ำตามปกติ ขณะที่อีกหลายคนอยู่ริมแม่น้ำมาตั้งแต่สร้างกรุงรัตนโกสินทร์
การจ่ายเงินเพื่อให้คนเหล่านี้ไปอยู่แฟลต เพื่อแลกกับการเพิ่มลานคอนกรีต ให้คนเมืองมีที่ปั่นจักรยาน-เดินเล่นมากขึ้น จึงเป็นเรื่องที่น่าตั้งคำถามว่า “คุ้มกันแล้วหรือ”
น่าตกใจที่ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ไม่ได้สะทกสะท้านกับวิถีชีวิตริมน้ำ แต่กลับเป็นห่วง “วังบางขุนพรหม” และพื้นที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่จะได้รับผลกระทบเช่นกันมากกว่า
ในเมื่อไม่มีการศึกษาความจำเป็น ไม่มีขั้นตอนรับฟังเสียงทักท้วง รวมถึงเร่งขั้นตอนก่อสร้างอย่างผิดปกติ จึงน่าสนใจอย่างยิ่งว่าโครงการนี้มีประโยชน์อย่างไร
หากโครงการนี้ถูกดันในรัฐบาลปกติ ก็คงจะเรียกเสียงคัดค้านจนสร้าง “แนวร่วม” ต่อต้านได้มากมาย เผลอๆ รัฐอาจต้องกลับไปแก้ใหม่ให้รัดกุมกว่านี้แล้ว
แต่ในยุค “รัฐบาลปฏิรูป” ที่คนดีเป็นผู้ปกครองบ้านเมืองแล้ว เสียงทักท้วงนั้นไม่มีความหมายอะไร เพราะวาจาสิทธิของท่านผู้นำ ถือเป็นคำสั่งที่ต้องทำตาม และต้องทำให้สำเร็จเท่านั้น
---- ถามสมาชิกอีกครั้งว่าเห็นด้วยและเหมาะสมไหม กับโครงการนี้ ทั้งรูปแบบ ราคาประมาณนี้อาจมากกว่านี้ ----