เป็นเรื่อง! ผังเมืองมหาลัยดังร่วมกับภาคีพัฒนาริมน้ำเจ้าพระยาขอให้รัฐบาลประยุทธ์ทบทวนโครงการ ทางจักรยานเลียบแม่น้ำ!

กระทู้คำถาม

วันนี้ 21 พ.ค.2558 ผังเมืองมหาลัยชื่อดัง ร่วมกับภาคีพัฒนาพื้นที่ริมน้ำเจ้าพระยา (พพพ) แถลงข่าวขอให้รัฐบาลประยุทธ์ทบทวนโครงการ ทางจักรยานเลียบแม่น้ำ 14 กิโลเมตร เนื่องจากหวั่นเกรงรูปแบบโครงการที่เป็นแผ่นคอนกรีตกว้างถึง 20 เมตรสองฝั่งรวม 40 เมตร จะทำลายสภาพแวดล้อม ระบบนิเวศน์ริมฝั่ง และชุมชนริมน้ำ


รูปแบบเดิมที่ประยุทธ์และรัฐบาลเตรียมจะก่อสร้าง และภาคีไม่เห็นด้วยอย่างแรง



โดยภาคีฯมีข้อเสนอว่า
1) โครงสร้างทางริมแม่น้ำฯ ควรมีขนาด รูปแบบ และประโยชน์ใช้สอยอย่างหลากหลาย เหมาะสม สอดคล้อง ต่อเนื่องกับประโยชน์การใช้งานของพื้นที่ริมฝั่งด้านใน ไม่ควรเป็นแบบมาตรฐานเดียวกันตลอด
หากผ่านชุมชนเก่า ก็ลดขนาดความกว้างให้พอดีเป็นทางเดินพอใช้สอย / หากผ่านหน้าสถานที่ราชการ ก็ไม่จำเป็นต้องสร้างยื่นไปในน้ำ แต่อาจกินเนื้อที่มาบนบก กระทั่งขยายขนาดกลายเป็นสวนริมน้ำก็ยังได้ หรือ หากเป็นอาคารราชการที่ต้องการรักษาความปลอดภัย เช่น รัฐสภา ทางเดินควรอ้อมหลังแทน / หากผ่านพื้นที่เอกชนก็อาจขอความร่วมมือสร้างเข้ามาเป็นลานกิจกรรมในพื้นที่เป็นต้น

2) โครงสร้างฯ อาจอยู่ริมแม่น้ำ หรือ วกเข้ามาด้านในก็ได้ แต่ต้องบูรณาการกับเส้นทางสัญจร เช่น ตรอก ซอย ถนน รวมทั้งพื้นที่สาธารณะเดิมของชุมชน เพื่อให้พื้นที่ริมน้ำต่อเนื่องกลายเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายการสัญจรของเมืองให้ได้ การนี้ จะทำให้พื้นที่ถูกการันตีว่ามีการเข้าใช้งานตลอดเวลา เพื่อความปลอดภัย หรือ "Eyes on Spaces" สายตาเฝ้าระวังจากคนในพื้นที่เอง

3) โครงสร้างทางริมน้ำฯ ควรถูกออกแบบควบคู่ไปกับโครงสร้างรอยต่อของสัณฐานตลิ่ง อย่าให้สูงจนบังกั้นในลักษณะกำแพง หรือถ้าต้องสูง ควรมีชั้นเชิงถอยร่นอย่างค่อยลาดขึ้นทีละนิด จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ว่า การออกแบบพื้นที่ริมน้ำจะไม่มีประโยชน์อันใดเลย หากขาดแผนการพัฒนาฟื้นฟูพื้นที่ต่อเนื่องด้านในควบคู่ไปด้วยพร้อมกัน

รูปปลากรอบ ตามข้อเสนอของภาคีฯ
ไอโซ


ตัวอย่างจากต่างประเทศ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  รัฐบาล จักรยาน
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่