เรารู้จัก
“สุโขทัย” ในวิชาประวัติศาสตร์สมัยเด็กๆ
รู้ว่าที่นี่คือเมืองหลวงเก่าแก่ แต่ก็ไม่เคยได้มาเยี่ยมเมืองนี้เลยสักครั้ง.. จนกระทั่งตอนนี้
ลองดูอินโทรกันก่อนได้นะคะ
เราเดินทางด้วยไฟลท์เช้าตรู่จากกรุงเทพ ลงจอดยังสนามบินสุโขทัยตอนยังไม่ 9 โมงดี
คิดคำนวณดูแล้ว เวลาที่เหมาะกับการเดินทางก็คือไฟลท์เช้าวันเสาร์ แล้วก็ตีตั๋วกลับตอนเช้าวันจันทร์นี่แหละ
(ลางานครึ่งวันเช้า หรือจะยาวเต็มวันสักวันก็คงไม่หงุดหงิดใจนายจนเกินไป)
เมื่อมาถึง เพื่อไม่ให้เสียเวลาเที่ยว เราโยนกระเป๋าใส่รถเช่า แล้วขับไปยัง
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยในทันที
การเริ่มต้นเที่ยวเมืองแห่งประวัติศาสตร์ด้วยอุทยานประวัติศาสตร์นั้นดูจะเหมาะสมดี
เพราะที่นี่ ทำให้เราได้รู้จักกับสุโขทัยมากขึ้น ผ่านเรื่องราวในอดีตของเมืองนี้
เวลาครึ่งชั่วโมงจากสนามบิน พาเรามาถึงจุดบริการข้อมูลของอุทยานฯ
ตอนเราไป (กันยายน 58) ยังสามารถขับรถเข้าไปในอุทยานฯ ได้
แต่ทางอุทยานจะเริ่มรณรงค์ให้ใช้จักรยานตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป
เลยเป็นโอกาสดีที่ทุกคนจะได้จอดรถ และเดินลงไปรับฟังข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ตรงจุดนี้
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย มีวัดเด่นๆ ในเขตกำแพงเมืองด้วยกัน 5 วัด
เราเริ่มจาก
“วัดช้างล้อม” ซึ่งสังเกตได้ง่ายมาก เพราะจะมีช้างเต็มตัวยืนอยู่ที่รอบฐาน
หน้าตาอาจจะไม่เหมือนช้างที่เราจินตนาการสักเท่าไร คงเพราะตากแดดตากฝนทนข้ามเวลามาหลายร้อยปี
วัดนี้สมัยก่อนถือเป็นศูนย์กลางของเมืองศรีสัชนาลัย
ฝั่งตรงข้ามเป็น
“วัดเจดีย์เจ็ดแถว” ก็เดาได้ไม่ยากอีกเหมือนกัน เพราะมีเจดีย์อยู่เต็มไปหมด
และหากเดินไปจนสุดอีกฝั่งก็จะเจอกับ
“วัดนางพญา” ที่มีลวดลายปูนปั้นที่สวยและค่อนข้างสมบูรณ์
เราตั้งใจจะใช้เวลาแค่ครึ่งเช้าอยู่ที่นี่ เลยต้องเผื่อเวลาเดินขึ้นเขาไปดูอีกสองวัด
(อาจจะเรียกว่าเนินก็ได้ เพราะไม่ได้สูงขนาดนั้น)
ข้างบนก็จะมี
“วัดเขาสุวรรณคีรี” และ
“วัดพนมเพลิง”
ไม่ขอเล่าประวัติแต่ละที่ละเอียดมากนัก เพราะเดี๋ยวจะเหมือนเลคเชอร์จนเกินไป
แต่ใครที่แวะไปสามารถขอข้อมูลจากเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ก่อนเข้าชมได้
แถมเดี๋ยวนี้ทางอุทยานฯ มีให้สแกน QR Code ฟังเสียงบรรยายเวลาเดินชมแต่ละจุดอีกด้วย
ไหนๆ ไปถึงที่แล้ว ลองเปิดฟังเรื่องราวที่มาที่ไปกันดู
แล้วจะอินกับการไปเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์ขึ้นอีกเยอะเลยล่ะ
ออกจากอุทยานฯ เราก็ขับขึ้นเหนือไปต่อที่
“บ้านนาต้นจั่น”
ที่นี่มีการท่องเที่ยววิถีชุมชนให้ได้สัมผัส นับตั้งแต่โฮมสเตย์ ทำนา หรือหัตถกรรมพื้นบ้าน
ที่สำคัญคืออาหารแปลกใหม่อย่าง
“ข้าวเปิ๊บยายเครื่อง” ที่เราดั้นด้นไปลอง
“ข้าวเปิ๊บ” มาจากภาษาเหนือที่แปลว่า ข้าวผัด แต่จริงๆ แล้วมันคือเส้นก๋วยเตี๋ยว (อ้าว!)
เมนูนี้เป็นสูตรเฉพาะของยาย ที่เล่าให้ฟังว่าจริงๆ แล้วเกิดจากไม่รู้จะทำอะไรกิน (อ้าว! อีกรอบ)
มีเส้นก็ใส่ ใครเอาไข่ เอาหมูมาให้ก็ใส่ จนค่อยๆ ปรับปรุงสูตรมาเป็นแบบทุกวันนี้
ข้าวเปิ๊บ ใช้เส้นเหมือนเส้นก๋วยเตี๋ยวที่ไม่ได้ตัด นุ่มลิ้น อร่อยดี กินกับเครื่องอย่างหมูและไข่
ก๋วยเตี๋ยวแบ อันนี้ก็คือก๋วยเตี๋ยวแห้งนั่นเอง
หมี่พัน ก็คือแป้งข้าวเปิ๊บเอาปรุงรสเผ็ดนิดๆ แล้วก็พันไม้
ข้าวพันน้ำซุป อันนี้ก็เป็นแป้งข้าวเปิ๊บเหมือนกัน แช่ในน้ำซุปแล้วก็พันไม้ เค็มๆ กินเพลินๆ ดี
ร้านข้าวเปิ๊บยายเครื่อง อยู่ในเขตบ้านคุณยาย ตรงเข้ามาทางวัดบ้านนาต้นจั่นเลย
นั่งกินกันใต้ต้นไม้ ใต้ถุนบ้าน บรรยากาศร่มรื่นและเป็นกันเองมากๆ แถมราคาก็สบายกระเป๋าสุดๆ
อิ่มท้องกันเสร็จ เราก็แวะ
บ้านตาวงษ์ ตรงก่อนออกจากซอยวัด
ที่นี่มีของฝากจากภูมิปัญญาชาวบ้านที่น่ารักมากๆ คือ
ตุ๊กตาบาร์โหน
ตอนไปถึง คุณตากำลังนอนพักผ่อนอยู่ ก็อุตส่าห์ลุกขึ้นมาต้อนรับขับสู้
เล่าถึงตุ๊กตาที่แกคิดทำขึ้นมา แต่ตอนนี้ต้องอาศัยลูกชายแกช่วยทำแล้ว
คุณตายังเล่าเรื่องเก่าๆ ให้เราฟังเหมือนลูกเหมือนหลาน
ก่อนจะหยิบซอมาสีให้เราฟังเพลินๆ (เอ๊ะ.. สีซอให้ฟังนี่ยังไง?)
และแน่นอนว่า เราก็ไม่พลาดที่จะพาตุ๊กตาน่ารักๆ ที่หาที่ไหนไม่ได้ ติดไม้ติดมือกลับบ้านมาด้วย
จบจากบทสนทนากับคุณตาวงษ์ เราก็เขยิบไปที่ศูนย์อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ที่นี่เราได้ไปดูเค้าทำผ้าหมักโคลน ซึ่งเป็นสูตรเฉพาะในการทอผ้าของที่นี่
เหตุผลที่ต้องหมักโคลน ก็เพราะทำให้เนื้อผ้านั้นนิ่มขึ้นนั่นเอง
นอกจากเอามาตัดเสื้อผ้าแล้ว ยังมีกระเป๋าเก๋ๆ ที่ทำจากผ้าหมักโคลนวางขายหลายแบบเลย
--------------------------
FB:
https://www.facebook.com/ggonjourney
IG: ggonjourney
[CR] สุขใดเล่า.. จะเท่า”สุ(ข)โขทัย”
รู้ว่าที่นี่คือเมืองหลวงเก่าแก่ แต่ก็ไม่เคยได้มาเยี่ยมเมืองนี้เลยสักครั้ง.. จนกระทั่งตอนนี้
ลองดูอินโทรกันก่อนได้นะคะ
เราเดินทางด้วยไฟลท์เช้าตรู่จากกรุงเทพ ลงจอดยังสนามบินสุโขทัยตอนยังไม่ 9 โมงดี
คิดคำนวณดูแล้ว เวลาที่เหมาะกับการเดินทางก็คือไฟลท์เช้าวันเสาร์ แล้วก็ตีตั๋วกลับตอนเช้าวันจันทร์นี่แหละ
(ลางานครึ่งวันเช้า หรือจะยาวเต็มวันสักวันก็คงไม่หงุดหงิดใจนายจนเกินไป)
เมื่อมาถึง เพื่อไม่ให้เสียเวลาเที่ยว เราโยนกระเป๋าใส่รถเช่า แล้วขับไปยังอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยในทันที
การเริ่มต้นเที่ยวเมืองแห่งประวัติศาสตร์ด้วยอุทยานประวัติศาสตร์นั้นดูจะเหมาะสมดี
เพราะที่นี่ ทำให้เราได้รู้จักกับสุโขทัยมากขึ้น ผ่านเรื่องราวในอดีตของเมืองนี้
เวลาครึ่งชั่วโมงจากสนามบิน พาเรามาถึงจุดบริการข้อมูลของอุทยานฯ
ตอนเราไป (กันยายน 58) ยังสามารถขับรถเข้าไปในอุทยานฯ ได้
แต่ทางอุทยานจะเริ่มรณรงค์ให้ใช้จักรยานตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป
เลยเป็นโอกาสดีที่ทุกคนจะได้จอดรถ และเดินลงไปรับฟังข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ตรงจุดนี้
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย มีวัดเด่นๆ ในเขตกำแพงเมืองด้วยกัน 5 วัด
เราเริ่มจาก “วัดช้างล้อม” ซึ่งสังเกตได้ง่ายมาก เพราะจะมีช้างเต็มตัวยืนอยู่ที่รอบฐาน
หน้าตาอาจจะไม่เหมือนช้างที่เราจินตนาการสักเท่าไร คงเพราะตากแดดตากฝนทนข้ามเวลามาหลายร้อยปี
วัดนี้สมัยก่อนถือเป็นศูนย์กลางของเมืองศรีสัชนาลัย
ฝั่งตรงข้ามเป็น “วัดเจดีย์เจ็ดแถว” ก็เดาได้ไม่ยากอีกเหมือนกัน เพราะมีเจดีย์อยู่เต็มไปหมด
และหากเดินไปจนสุดอีกฝั่งก็จะเจอกับ “วัดนางพญา” ที่มีลวดลายปูนปั้นที่สวยและค่อนข้างสมบูรณ์
เราตั้งใจจะใช้เวลาแค่ครึ่งเช้าอยู่ที่นี่ เลยต้องเผื่อเวลาเดินขึ้นเขาไปดูอีกสองวัด
(อาจจะเรียกว่าเนินก็ได้ เพราะไม่ได้สูงขนาดนั้น)
ข้างบนก็จะมี “วัดเขาสุวรรณคีรี” และ “วัดพนมเพลิง”
ไม่ขอเล่าประวัติแต่ละที่ละเอียดมากนัก เพราะเดี๋ยวจะเหมือนเลคเชอร์จนเกินไป
แต่ใครที่แวะไปสามารถขอข้อมูลจากเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ก่อนเข้าชมได้
แถมเดี๋ยวนี้ทางอุทยานฯ มีให้สแกน QR Code ฟังเสียงบรรยายเวลาเดินชมแต่ละจุดอีกด้วย
ไหนๆ ไปถึงที่แล้ว ลองเปิดฟังเรื่องราวที่มาที่ไปกันดู
แล้วจะอินกับการไปเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์ขึ้นอีกเยอะเลยล่ะ
ออกจากอุทยานฯ เราก็ขับขึ้นเหนือไปต่อที่ “บ้านนาต้นจั่น”
ที่นี่มีการท่องเที่ยววิถีชุมชนให้ได้สัมผัส นับตั้งแต่โฮมสเตย์ ทำนา หรือหัตถกรรมพื้นบ้าน
ที่สำคัญคืออาหารแปลกใหม่อย่าง “ข้าวเปิ๊บยายเครื่อง” ที่เราดั้นด้นไปลอง
“ข้าวเปิ๊บ” มาจากภาษาเหนือที่แปลว่า ข้าวผัด แต่จริงๆ แล้วมันคือเส้นก๋วยเตี๋ยว (อ้าว!)
เมนูนี้เป็นสูตรเฉพาะของยาย ที่เล่าให้ฟังว่าจริงๆ แล้วเกิดจากไม่รู้จะทำอะไรกิน (อ้าว! อีกรอบ)
มีเส้นก็ใส่ ใครเอาไข่ เอาหมูมาให้ก็ใส่ จนค่อยๆ ปรับปรุงสูตรมาเป็นแบบทุกวันนี้
ข้าวเปิ๊บ ใช้เส้นเหมือนเส้นก๋วยเตี๋ยวที่ไม่ได้ตัด นุ่มลิ้น อร่อยดี กินกับเครื่องอย่างหมูและไข่
ก๋วยเตี๋ยวแบ อันนี้ก็คือก๋วยเตี๋ยวแห้งนั่นเอง
หมี่พัน ก็คือแป้งข้าวเปิ๊บเอาปรุงรสเผ็ดนิดๆ แล้วก็พันไม้
ข้าวพันน้ำซุป อันนี้ก็เป็นแป้งข้าวเปิ๊บเหมือนกัน แช่ในน้ำซุปแล้วก็พันไม้ เค็มๆ กินเพลินๆ ดี
ร้านข้าวเปิ๊บยายเครื่อง อยู่ในเขตบ้านคุณยาย ตรงเข้ามาทางวัดบ้านนาต้นจั่นเลย
นั่งกินกันใต้ต้นไม้ ใต้ถุนบ้าน บรรยากาศร่มรื่นและเป็นกันเองมากๆ แถมราคาก็สบายกระเป๋าสุดๆ
อิ่มท้องกันเสร็จ เราก็แวะบ้านตาวงษ์ ตรงก่อนออกจากซอยวัด
ที่นี่มีของฝากจากภูมิปัญญาชาวบ้านที่น่ารักมากๆ คือ ตุ๊กตาบาร์โหน
ตอนไปถึง คุณตากำลังนอนพักผ่อนอยู่ ก็อุตส่าห์ลุกขึ้นมาต้อนรับขับสู้
เล่าถึงตุ๊กตาที่แกคิดทำขึ้นมา แต่ตอนนี้ต้องอาศัยลูกชายแกช่วยทำแล้ว
คุณตายังเล่าเรื่องเก่าๆ ให้เราฟังเหมือนลูกเหมือนหลาน
ก่อนจะหยิบซอมาสีให้เราฟังเพลินๆ (เอ๊ะ.. สีซอให้ฟังนี่ยังไง?)
และแน่นอนว่า เราก็ไม่พลาดที่จะพาตุ๊กตาน่ารักๆ ที่หาที่ไหนไม่ได้ ติดไม้ติดมือกลับบ้านมาด้วย
จบจากบทสนทนากับคุณตาวงษ์ เราก็เขยิบไปที่ศูนย์อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ที่นี่เราได้ไปดูเค้าทำผ้าหมักโคลน ซึ่งเป็นสูตรเฉพาะในการทอผ้าของที่นี่
เหตุผลที่ต้องหมักโคลน ก็เพราะทำให้เนื้อผ้านั้นนิ่มขึ้นนั่นเอง
นอกจากเอามาตัดเสื้อผ้าแล้ว ยังมีกระเป๋าเก๋ๆ ที่ทำจากผ้าหมักโคลนวางขายหลายแบบเลย
--------------------------
FB: https://www.facebook.com/ggonjourney
IG: ggonjourney