เอเจนซีส์ - นิตยสาร ฟอร์บส์ เอเชีย เผย 50 อันดับตระกูลมหาเศรษฐีร่ำรวยที่สุดในเอเชียในปี 2015 โดยตระกูล “ลี” แห่งอาณาจักรอิเล็กทรอนิกส์ยักษ์ใหญ่ “ซัมซุง” ครองแชมป์อันดับหนึ่ง ขณะที่ตระกูลเจียรวนนท์ ของ “เจ้าสัวธนินท์” แห่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ ติดอันดับที่ 4 ด้วยมูลค่าทรัพย์สิน 19,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 718,000 ล้านบาท) นอกจากนั้น ยังมีตระกูลจิราธิวัฒน์ แห่งกลุ่มเซ็นทรัล ติดอันดับ 14 และตระกูลรัตนรักษ์ ผู้ดำเนินการช่อง 7 สี อยู่อันดับ 45
ผลการจัดอันดับของ ฟอร์บส์ ซึ่งเผยแพร่ในวันนี้ (8 ต.ค.) ระบุว่า ครอบครัวประธาน ลี คุน-ฮี แห่งซัมซุงมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 26,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงปลายเดือนกันยายน โดยบรรดาทายาทรุ่นที่ 2 และ 3 ต่างมีกิจการในครอบครองรวมกันมากกว่า 50 บริษัท
หลังจากที่เริ่มก่อตั้งด้วยน้ำพักน้ำแรงของ ลี บยุง-ชุล ในปี 1938 อาณาจักรซัมซุงได้ขยายเติบโตอย่างต่อเนื่อง และกลายมาเป็นผู้นำธุรกิจทั้งในด้านโทรศัพท์มือถือ การก่อสร้าง และอู่ต่อเรือ
ฟอร์บส์เอเชีย ระบุว่า ครอบครัว ลี ถือเป็น “แชโบล” หรือตระกูลนักธุรกิจที่ทรงอิทธิพลอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจของแดนโสมขาว โดยมีผลประกอบการคิดเป็นร้อยละ 22 ของมูลค่าจีดีพีเกาหลีใต้ในปี 2014
“ตระกูลมหาเศรษฐีที่ร่ำรวยที่สุดในเอเชียเกือบครึ่งหนึ่งเป็นลูกหลานชาวจีน แต่ถึงกระนั้นกลับไม่มีครอบครัวเศรษฐีในจีนแผ่นดินใหญ่ติด 1 ใน 50 อันดับของภูมิภาคเลยแม้แต่คนเดียว ทั้งนี้ เนื่องจากกลุ่มบริษัทในจีนเพิ่งจะเกิดได้ไม่นาน และยังดำเนินกิจการโดยเจ้าของรุ่นแรก” รายงานของฟอร์บส์ ระบุ
ตระกูลเศรษฐีอันดับที่ 2 ของภูมิภาค ได้แก่ ครอบครัวของ “ลี เชา กี” มหาเศรษฐีชาวฮ่องกง ซึ่งเป็นประธานบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ แฮนเดอร์สัน ดีเวลลอปเมนต์ ด้วยมูลค่าทรัพย์สินประมาณ 24,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
อันดับที่ 3 ตกเป็นของตระกูล “อัมบานี” จากกลุ่มบริษัท รีไลแอนซ์ กรุ๊ป ในอินเดีย ซึ่งมีมูลค่าทรัพย์สินรวม 21,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และอันดับ 4 ได้แก่ ตระกูล “เจียรวนนท์” ของเจ้าสัวธนินท์แห่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ ด้วยมูลค่าทรัพย์สินประมาณ 19,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ข้อมูลของฟอร์บส์ ระบุว่า เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ ผู้ก่อตั้งกลุ่มซีพี ซึ่งประกอบธุรกิจทางด้านการเกษตรและอาหาร สามารถทวงบัลลังก์เศรษฐีอันดับ 1 ของไทยกลับคืนมาได้ด้วยมูลค่าทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าราว 9.73 หมื่นล้านบาท และเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ซีพีก็ได้ร่วมกับ อิโตชู (ITOCHU) บริษัทการค้าของญี่ปุ่น ทุ่มเงินลงทุน 10,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซื้อหุ้น 20% ในบริษัท CITIC Limited หนึ่งในกลุ่มธุรกิจใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของจีน ซึ่งประกอบธุรกิจหลากหลายประเภท อาทิ การให้บริการทางการเงิน ทรัพยากร และพลังงาน การผลิต อสังหาริมทรัพย์ และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การก่อสร้าง และอื่น ๆ
เจ้าสัวธนินท์ ยังสนใจซื้อกิจการ “เทสโก้ โลตัส” ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เงินถึง 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
เมื่อไม่นานมานี้ กลุ่มซีพีถูกวิพากษ์วิจารณ์เรื่องพฤติกรรมผูกขาดการค้า จนเกิดกระแสบอยคอตสินค้า “เซเวนอีเลฟเวน” อยู่พักใหญ่ และแม้ว่าการเคลื่อนไหวดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อยอดขาย แต่ซีพีก็ยืนยันว่าจะนำความคิดเห็นของสาธารณชนไปปรับปรุงการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้สอดคล้องกับความคาดหวังของสังคม
ลี คุน-ฮี ประธานกลุ่มบริษัท ซัมซุง กรุ๊ป
นิตยสารฉบับนี้บอกว่า เฉพาะตระกูลที่มีสมาชิกเกี่ยวข้องกับธุรกิจตั้งแต่ 3 ชั่วคนขึ้นไปเท่านั้น จึงจะได้รับการสำรวจและจัดอันดับในคราวนี้ ดังนั้น ตระกูลของอภิมหาเศรษฐีฮ่องกง “ลี กาชิง” ถึงแม้มีมูลค่าทรัพย์สินราว 25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ไม่ได้ถูกนำมาจัดอันดับในลิสต์ โดยทาง ฟอร์บส์ ให้เหตุผลว่า ลี ยังไม่มีทายาทรุ่นหลานที่เข้ามาบริหารกิจการของครอบครัวอย่างจริงจัง
ฟอร์บส์ จัดอันดับมูลค่าทรัพย์สินโดยประเมินจากราคาหุ้นและอัตราแลกเปลี่ยน ในช่วงปิดตลาดของวันที่ 25 กันยายน
นอกเหนือจากตระกูลเจียรวนนท์ติดอันดับ 4 แล้ว ตระกูลดังในเมืองไทยอื่น ๆ ซึ่งติดในรายชื่อ 50 อันดับตระกูลมหาเศรษฐีร่ำรวยที่สุดในเอเชียปี 2015 นี้ด้วย ยังมี :
ตระกูลจิราธิวัฒน์ แห่งกลุ่มเซ็นทรัล ซึ่งอยู่ในอันดับ 14 ด้วยจำนวนทรัพย์สิน 11,700 ล้านดอลลาร์
ตระกูลรัตนรักษ์ ซึ่งสมาชิกคนสำคัญที่สุด คือ กฤตย์ รัตนรักษ์ ประธานกรรมการบริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุจำกัด ที่เป็นผู้ดำเนินการสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 โดยนิตยสารนี้จัดให้ตระกูลนี้อยู่ในอันดับ 45 มีความมั่งคั่ง 3,500 ล้านดอลลาร์
นอกจากนั้น ยังมีตระกูลโลเฮีย แห่งบริษัท อินโดรามา ติดอันดับ 31 ด้วยจำนวนทรัพย์สิน 5,400 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ ฟอร์บส์ ระบุว่า โมหัน ลัล โลเฮีย พ่อค้าสิ่งทอซึ่งเกิดในอินเดีย และบุตรชายของเขา คือ ศรี ปรากาซ โลเฮีย ได้ย้ายเข้าไปอยู่ในอินโดนีเซียเมื่อปี 1973 และเริ่มต้นกิจการบริษัท อินโดรามา ซินเธติกส์ โรงงานผลิตด้ายจากเส้นใยสั้น ในปี 1975 จากนั้นก็แตกตัวออกไปสู่กิจการด้านปิโตรเคมี ในเวลาต่อมา โมหัน ให้บุตรชายคนเล็กสุด คือ อาลก โลเฮีย เข้ามาดำเนินกิจการในไทย โดยเวลานี้ตระกูลนี้มีบริษัทจดทะเบียนในเมืองไทย คือ อินโดรามา เวนเจอร์ส ผู้ผลิตสารปิโตรเคมีรายใหญ่ ในปี 2008 ศรี ปรากาซ ได้ย้ายไปอยู่ลอนดอน ขณะที่ อามิต บุตรชายของเขาอยู่ที่สิงคโปร์ ทำหน้าที่เป็นกรรมการผู้จัดการของทั้งกลุ่ม รับผิดชอบด้านโครงการใหม่ ๆ และการผนวกควบรวมกิจการ
ที่มา
http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000113114
ฟอร์บส์ยกตระกูล “เจ้าสัวซีพี” รวยสุดอันดับ 4 ในเอเชีย ส่วน “ซัมซุง” รั้งแชมป์
เอเจนซีส์ - นิตยสาร ฟอร์บส์ เอเชีย เผย 50 อันดับตระกูลมหาเศรษฐีร่ำรวยที่สุดในเอเชียในปี 2015 โดยตระกูล “ลี” แห่งอาณาจักรอิเล็กทรอนิกส์ยักษ์ใหญ่ “ซัมซุง” ครองแชมป์อันดับหนึ่ง ขณะที่ตระกูลเจียรวนนท์ ของ “เจ้าสัวธนินท์” แห่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ ติดอันดับที่ 4 ด้วยมูลค่าทรัพย์สิน 19,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 718,000 ล้านบาท) นอกจากนั้น ยังมีตระกูลจิราธิวัฒน์ แห่งกลุ่มเซ็นทรัล ติดอันดับ 14 และตระกูลรัตนรักษ์ ผู้ดำเนินการช่อง 7 สี อยู่อันดับ 45
ผลการจัดอันดับของ ฟอร์บส์ ซึ่งเผยแพร่ในวันนี้ (8 ต.ค.) ระบุว่า ครอบครัวประธาน ลี คุน-ฮี แห่งซัมซุงมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 26,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงปลายเดือนกันยายน โดยบรรดาทายาทรุ่นที่ 2 และ 3 ต่างมีกิจการในครอบครองรวมกันมากกว่า 50 บริษัท
หลังจากที่เริ่มก่อตั้งด้วยน้ำพักน้ำแรงของ ลี บยุง-ชุล ในปี 1938 อาณาจักรซัมซุงได้ขยายเติบโตอย่างต่อเนื่อง และกลายมาเป็นผู้นำธุรกิจทั้งในด้านโทรศัพท์มือถือ การก่อสร้าง และอู่ต่อเรือ
ฟอร์บส์เอเชีย ระบุว่า ครอบครัว ลี ถือเป็น “แชโบล” หรือตระกูลนักธุรกิจที่ทรงอิทธิพลอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจของแดนโสมขาว โดยมีผลประกอบการคิดเป็นร้อยละ 22 ของมูลค่าจีดีพีเกาหลีใต้ในปี 2014
“ตระกูลมหาเศรษฐีที่ร่ำรวยที่สุดในเอเชียเกือบครึ่งหนึ่งเป็นลูกหลานชาวจีน แต่ถึงกระนั้นกลับไม่มีครอบครัวเศรษฐีในจีนแผ่นดินใหญ่ติด 1 ใน 50 อันดับของภูมิภาคเลยแม้แต่คนเดียว ทั้งนี้ เนื่องจากกลุ่มบริษัทในจีนเพิ่งจะเกิดได้ไม่นาน และยังดำเนินกิจการโดยเจ้าของรุ่นแรก” รายงานของฟอร์บส์ ระบุ
ตระกูลเศรษฐีอันดับที่ 2 ของภูมิภาค ได้แก่ ครอบครัวของ “ลี เชา กี” มหาเศรษฐีชาวฮ่องกง ซึ่งเป็นประธานบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ แฮนเดอร์สัน ดีเวลลอปเมนต์ ด้วยมูลค่าทรัพย์สินประมาณ 24,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
อันดับที่ 3 ตกเป็นของตระกูล “อัมบานี” จากกลุ่มบริษัท รีไลแอนซ์ กรุ๊ป ในอินเดีย ซึ่งมีมูลค่าทรัพย์สินรวม 21,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และอันดับ 4 ได้แก่ ตระกูล “เจียรวนนท์” ของเจ้าสัวธนินท์แห่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ ด้วยมูลค่าทรัพย์สินประมาณ 19,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ข้อมูลของฟอร์บส์ ระบุว่า เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ ผู้ก่อตั้งกลุ่มซีพี ซึ่งประกอบธุรกิจทางด้านการเกษตรและอาหาร สามารถทวงบัลลังก์เศรษฐีอันดับ 1 ของไทยกลับคืนมาได้ด้วยมูลค่าทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าราว 9.73 หมื่นล้านบาท และเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ซีพีก็ได้ร่วมกับ อิโตชู (ITOCHU) บริษัทการค้าของญี่ปุ่น ทุ่มเงินลงทุน 10,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซื้อหุ้น 20% ในบริษัท CITIC Limited หนึ่งในกลุ่มธุรกิจใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของจีน ซึ่งประกอบธุรกิจหลากหลายประเภท อาทิ การให้บริการทางการเงิน ทรัพยากร และพลังงาน การผลิต อสังหาริมทรัพย์ และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การก่อสร้าง และอื่น ๆ
เจ้าสัวธนินท์ ยังสนใจซื้อกิจการ “เทสโก้ โลตัส” ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เงินถึง 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
เมื่อไม่นานมานี้ กลุ่มซีพีถูกวิพากษ์วิจารณ์เรื่องพฤติกรรมผูกขาดการค้า จนเกิดกระแสบอยคอตสินค้า “เซเวนอีเลฟเวน” อยู่พักใหญ่ และแม้ว่าการเคลื่อนไหวดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อยอดขาย แต่ซีพีก็ยืนยันว่าจะนำความคิดเห็นของสาธารณชนไปปรับปรุงการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้สอดคล้องกับความคาดหวังของสังคม
ลี คุน-ฮี ประธานกลุ่มบริษัท ซัมซุง กรุ๊ป
นิตยสารฉบับนี้บอกว่า เฉพาะตระกูลที่มีสมาชิกเกี่ยวข้องกับธุรกิจตั้งแต่ 3 ชั่วคนขึ้นไปเท่านั้น จึงจะได้รับการสำรวจและจัดอันดับในคราวนี้ ดังนั้น ตระกูลของอภิมหาเศรษฐีฮ่องกง “ลี กาชิง” ถึงแม้มีมูลค่าทรัพย์สินราว 25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ไม่ได้ถูกนำมาจัดอันดับในลิสต์ โดยทาง ฟอร์บส์ ให้เหตุผลว่า ลี ยังไม่มีทายาทรุ่นหลานที่เข้ามาบริหารกิจการของครอบครัวอย่างจริงจัง
ฟอร์บส์ จัดอันดับมูลค่าทรัพย์สินโดยประเมินจากราคาหุ้นและอัตราแลกเปลี่ยน ในช่วงปิดตลาดของวันที่ 25 กันยายน
นอกเหนือจากตระกูลเจียรวนนท์ติดอันดับ 4 แล้ว ตระกูลดังในเมืองไทยอื่น ๆ ซึ่งติดในรายชื่อ 50 อันดับตระกูลมหาเศรษฐีร่ำรวยที่สุดในเอเชียปี 2015 นี้ด้วย ยังมี :
ตระกูลจิราธิวัฒน์ แห่งกลุ่มเซ็นทรัล ซึ่งอยู่ในอันดับ 14 ด้วยจำนวนทรัพย์สิน 11,700 ล้านดอลลาร์
ตระกูลรัตนรักษ์ ซึ่งสมาชิกคนสำคัญที่สุด คือ กฤตย์ รัตนรักษ์ ประธานกรรมการบริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุจำกัด ที่เป็นผู้ดำเนินการสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 โดยนิตยสารนี้จัดให้ตระกูลนี้อยู่ในอันดับ 45 มีความมั่งคั่ง 3,500 ล้านดอลลาร์
นอกจากนั้น ยังมีตระกูลโลเฮีย แห่งบริษัท อินโดรามา ติดอันดับ 31 ด้วยจำนวนทรัพย์สิน 5,400 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ ฟอร์บส์ ระบุว่า โมหัน ลัล โลเฮีย พ่อค้าสิ่งทอซึ่งเกิดในอินเดีย และบุตรชายของเขา คือ ศรี ปรากาซ โลเฮีย ได้ย้ายเข้าไปอยู่ในอินโดนีเซียเมื่อปี 1973 และเริ่มต้นกิจการบริษัท อินโดรามา ซินเธติกส์ โรงงานผลิตด้ายจากเส้นใยสั้น ในปี 1975 จากนั้นก็แตกตัวออกไปสู่กิจการด้านปิโตรเคมี ในเวลาต่อมา โมหัน ให้บุตรชายคนเล็กสุด คือ อาลก โลเฮีย เข้ามาดำเนินกิจการในไทย โดยเวลานี้ตระกูลนี้มีบริษัทจดทะเบียนในเมืองไทย คือ อินโดรามา เวนเจอร์ส ผู้ผลิตสารปิโตรเคมีรายใหญ่ ในปี 2008 ศรี ปรากาซ ได้ย้ายไปอยู่ลอนดอน ขณะที่ อามิต บุตรชายของเขาอยู่ที่สิงคโปร์ ทำหน้าที่เป็นกรรมการผู้จัดการของทั้งกลุ่ม รับผิดชอบด้านโครงการใหม่ ๆ และการผนวกควบรวมกิจการ
ที่มา http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000113114