ผู้คนจำนวนมาก ใช้ชีวิตเหมือนปลาที่ถูกเลี้ยงไว้ในตู้
(ผมเองก็คือหนึ่งในนั้น)
ปลาที่ดูเหมือนว่าจะว่ายไปมาอย่างอิสระ
แต่แท้จริงแล้วมีกระจกใสปิดกั้นไว้รอบด้าน กำหนดให้อยู่แค่เพียงในตู้แคบ
เมื่อถึงเวลา ที่มีผู้โปรยอาหารเม็ดลงไป
ปลาทุกตัวก็จะว่ายไปตามทิศทางที่มีอาหาร
ปลาอาจจะหลงเข้าใจและรู้สึกว่าตนเองเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะแหวกว่ายไปทางใด
แต่ความจริง ผู้โปรยอาหารต่างหากที่เป็นผู้ตัดสินใจ
*******
นักวิทยาศาสตร์ทางจิตพบว่า
อุปนิสัยและพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งกำหนดรูปแบบชีวิต
มีผลมาจากจิตสำนึก ซึ่งเป็นสภาวะรู้ตัว 10%
ส่วนอีก 90% ที่เหลือเป็นอิทธิพลของจิตใต้สำนึก ที่เราไม่รู้ตัว
ความรู้สึก เช่น ดีใจ เศร้า หงุดหงิด รัก โลภ โกรธ หลง เกลียด กลัว
มีที่มาจากระดับของสารเคมีในสมอง ซึ่งควบคุมโดยจิตใต้สำนึก
การที่เราตัดสินใจทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดตามอารมณ์ความรู้สึก
จึงไม่ต่างกับปลาในตู้ที่กำลังว่ายไปยังอาหารที่มีผู้อื่นโปรยให้ แล้วเราก็ยินดีปรีดา
ว่าเรากำลังกำหนดชีวิตของตนเอง
*******
หากสังเกตให้ละเอียดเราจะพบว่า
หลักคำสอนของทุกศาสนา ล้วนแล้วแต่สอนให้เราฝึกจิตสำนึกให้หลุดพ้นจากอิทธิพล
ของจิตใต้สำนึก
ไม่ทำตามอารมณ์ที่เกิดจากสารเคมีในสมอง
*******
ลองฝึกเอาชนะสารเคมีในสมองกันดูนะครับ โดยเฉพาะส่วนที่เป็นอารมณ์ด้านลบ
อย่าปล่อยให้มีผลมาบงการจิตสำนึกของเรา
เช่น
ไม่รับประทานเพียงเพราะความอยาก
ถ้าโกรธ หรือ เกลียด ใคร แทนที่จะคิดร้ายกับเขา ให้เปลี่ยนไปคิดดี
เป็นต้น
โดยส่วนตัว ผมฝึกฝนตัวเองมาระยะหนึ่ง
เมื่อไรก็ตามที่เกิดความรู้สึกกระหาย
อยากจะดื่มโค๊ก ผมจะเปลี่ยนไปดื่มเป๊บซี่
ถ้าอยากดื่มเป๊บซี่ ผมก็จะเปลี่ยนไปดื่มโค๊ก
ผมจะไม่ยอมให้สารเคมีในสมองมาบงการชีวิตโดยเด็ดขาด !
ที่มา :
http://www.pisitzhong.com/we-are-fish/
เราคือปลาที่ถูกเลี้ยงไว้ในตู้
(ผมเองก็คือหนึ่งในนั้น)
ปลาที่ดูเหมือนว่าจะว่ายไปมาอย่างอิสระ
แต่แท้จริงแล้วมีกระจกใสปิดกั้นไว้รอบด้าน กำหนดให้อยู่แค่เพียงในตู้แคบ
เมื่อถึงเวลา ที่มีผู้โปรยอาหารเม็ดลงไป
ปลาทุกตัวก็จะว่ายไปตามทิศทางที่มีอาหาร
ปลาอาจจะหลงเข้าใจและรู้สึกว่าตนเองเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะแหวกว่ายไปทางใด
แต่ความจริง ผู้โปรยอาหารต่างหากที่เป็นผู้ตัดสินใจ
*******
นักวิทยาศาสตร์ทางจิตพบว่า
อุปนิสัยและพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งกำหนดรูปแบบชีวิต
มีผลมาจากจิตสำนึก ซึ่งเป็นสภาวะรู้ตัว 10%
ส่วนอีก 90% ที่เหลือเป็นอิทธิพลของจิตใต้สำนึก ที่เราไม่รู้ตัว
ความรู้สึก เช่น ดีใจ เศร้า หงุดหงิด รัก โลภ โกรธ หลง เกลียด กลัว
มีที่มาจากระดับของสารเคมีในสมอง ซึ่งควบคุมโดยจิตใต้สำนึก
การที่เราตัดสินใจทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดตามอารมณ์ความรู้สึก
จึงไม่ต่างกับปลาในตู้ที่กำลังว่ายไปยังอาหารที่มีผู้อื่นโปรยให้ แล้วเราก็ยินดีปรีดา
ว่าเรากำลังกำหนดชีวิตของตนเอง
*******
หากสังเกตให้ละเอียดเราจะพบว่า
หลักคำสอนของทุกศาสนา ล้วนแล้วแต่สอนให้เราฝึกจิตสำนึกให้หลุดพ้นจากอิทธิพล
ของจิตใต้สำนึก
ไม่ทำตามอารมณ์ที่เกิดจากสารเคมีในสมอง
*******
ลองฝึกเอาชนะสารเคมีในสมองกันดูนะครับ โดยเฉพาะส่วนที่เป็นอารมณ์ด้านลบ
อย่าปล่อยให้มีผลมาบงการจิตสำนึกของเรา
เช่น
ไม่รับประทานเพียงเพราะความอยาก
ถ้าโกรธ หรือ เกลียด ใคร แทนที่จะคิดร้ายกับเขา ให้เปลี่ยนไปคิดดี
เป็นต้น
โดยส่วนตัว ผมฝึกฝนตัวเองมาระยะหนึ่ง
เมื่อไรก็ตามที่เกิดความรู้สึกกระหาย
อยากจะดื่มโค๊ก ผมจะเปลี่ยนไปดื่มเป๊บซี่
ถ้าอยากดื่มเป๊บซี่ ผมก็จะเปลี่ยนไปดื่มโค๊ก
ผมจะไม่ยอมให้สารเคมีในสมองมาบงการชีวิตโดยเด็ดขาด !
ที่มา : http://www.pisitzhong.com/we-are-fish/