เนื่องด้วยวันนี้ เป็นวันรำลึกเหตุการณ์ 6 ตุลา
เลยอยากมาแชร์ประการณ์การเรียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การเมืองไทย
อาจจะคิดไปเอง อคติ หรือ เอนเอียงก็ได้
แต่ ตั้งแต่เรียนมา รู้สึกได้ว่า การเรียนเกี่ยวกับเหตุการณ์ 14 ตุลา หรือ 6 ตุลา เป็นเรื่องที่พูดถึงน้อยมากในคลาสเรียน
แทบจะไม่ลงลึกรายละเอียดอะไรเลย
คุณครูที่มีหน้าที่สอนก็พยายามเลี่ยงๆที่จะสอนเลี่ยงที่จะพูด คอนเซปของคลาสในชั่วโมงนั้นๆ มีแค่
ใคร ทำอะไร ที่ไหน ทำไม ผลคืออะไร
ใช้เวลาเรียนไม่ถึงสองคาบ ก็จบ
ซึ่ง จขกท ประหลาดใจมากทำไมสองเหตุการณ์นี้ถึงได้มีเวลาในการเรียนการสอนน้อยนัก
ทั้งๆที่เป็นเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองไทยเป็นอันดับต้นๆก็ว่าได้
ผิดกับเหตุการณ์ ปฏิวัติ รัฐประหาร ที่ใช้เวลาเรียนหลายคาบลงลึกรายละเอียดมากถึงขนาดมีการท่องจำชื่อบุคคลในเหตุการณ์นั้นๆมีใครบ้าง
เกิดเหตุการณ์เวลากี่โมง ไล่สเต็ปเห็นกันเป็นฉากๆได้เลยทีเดียว
ถ้าจะแบ่งเวลาเรียน ก็จะหมดไปกับการเรียนการท่อง เหตุการณ์ การปฎิวัติ 24 มิย รัฐประหารปี 34 รัฐประหาร 49
ซึ่งค่อนข้างให้ความสำคัญและลงลึงรายละเอียดอย่างมาก
แต่ เหตุการณ์ 6 ตุลา 14 ตุลา สิ่งเรียน สิ่งที่รู้และได้จากห้องเรียน คือ แค่ ใครเป็นนายกสมัยนั้น สถานที่เกิดคือ บลาๆ
และที่สังเกตมาตั้งแต่ชั้นประถมจนตอนนี้ก็เลยวัยนั้นมานานมากแล้ว(ฮา)
คือ การกล่าวถึงวันครบรอบเหตุการณ์ต่างๆในคลาสเรียนเมื่อมีวันเรียนตรงกับวันนั้นๆ ก็จะมีแค่ วันที่ 24 มิย วันครบรอบ รปห ต่างๆ
แต่ไม่มีการกล่าวถึงเหตุการณ์ 6 ตุลา หรือ 14 ตุลา แต่อย่างใด
หรืออาจจะเป็นเพราะ เนื้อหาค่อนข้างรุนแรงเกินไปหรือเปล่าเลยไม่ได้อยากที่จะเน้นหนักให้ความสำคัญมาก
เพื่อนๆ มีประสบการณ์การเรียนเป็นแบบไหนบ้างครับช่วยแชร์กันหน่อย
อยากถามความรู้สึกของคุณครูที่มีหน้าที่ต้องสอนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การเมืองด้วยครับ ว่าพอถึงเนื้อหานี้จะสอนยังไงดี
ประสบการณ์เรียนประวัติศาสตร์การเมืองไทยในห้องเรียน เป็นยังไงบ้างครับมาแชร์กันหน่อย
เลยอยากมาแชร์ประการณ์การเรียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การเมืองไทย
อาจจะคิดไปเอง อคติ หรือ เอนเอียงก็ได้
แต่ ตั้งแต่เรียนมา รู้สึกได้ว่า การเรียนเกี่ยวกับเหตุการณ์ 14 ตุลา หรือ 6 ตุลา เป็นเรื่องที่พูดถึงน้อยมากในคลาสเรียน
แทบจะไม่ลงลึกรายละเอียดอะไรเลย
คุณครูที่มีหน้าที่สอนก็พยายามเลี่ยงๆที่จะสอนเลี่ยงที่จะพูด คอนเซปของคลาสในชั่วโมงนั้นๆ มีแค่ ใคร ทำอะไร ที่ไหน ทำไม ผลคืออะไร
ใช้เวลาเรียนไม่ถึงสองคาบ ก็จบ
ซึ่ง จขกท ประหลาดใจมากทำไมสองเหตุการณ์นี้ถึงได้มีเวลาในการเรียนการสอนน้อยนัก
ทั้งๆที่เป็นเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองไทยเป็นอันดับต้นๆก็ว่าได้
ผิดกับเหตุการณ์ ปฏิวัติ รัฐประหาร ที่ใช้เวลาเรียนหลายคาบลงลึกรายละเอียดมากถึงขนาดมีการท่องจำชื่อบุคคลในเหตุการณ์นั้นๆมีใครบ้าง
เกิดเหตุการณ์เวลากี่โมง ไล่สเต็ปเห็นกันเป็นฉากๆได้เลยทีเดียว
ถ้าจะแบ่งเวลาเรียน ก็จะหมดไปกับการเรียนการท่อง เหตุการณ์ การปฎิวัติ 24 มิย รัฐประหารปี 34 รัฐประหาร 49
ซึ่งค่อนข้างให้ความสำคัญและลงลึงรายละเอียดอย่างมาก
แต่ เหตุการณ์ 6 ตุลา 14 ตุลา สิ่งเรียน สิ่งที่รู้และได้จากห้องเรียน คือ แค่ ใครเป็นนายกสมัยนั้น สถานที่เกิดคือ บลาๆ
และที่สังเกตมาตั้งแต่ชั้นประถมจนตอนนี้ก็เลยวัยนั้นมานานมากแล้ว(ฮา)
คือ การกล่าวถึงวันครบรอบเหตุการณ์ต่างๆในคลาสเรียนเมื่อมีวันเรียนตรงกับวันนั้นๆ ก็จะมีแค่ วันที่ 24 มิย วันครบรอบ รปห ต่างๆ
แต่ไม่มีการกล่าวถึงเหตุการณ์ 6 ตุลา หรือ 14 ตุลา แต่อย่างใด
หรืออาจจะเป็นเพราะ เนื้อหาค่อนข้างรุนแรงเกินไปหรือเปล่าเลยไม่ได้อยากที่จะเน้นหนักให้ความสำคัญมาก
เพื่อนๆ มีประสบการณ์การเรียนเป็นแบบไหนบ้างครับช่วยแชร์กันหน่อย
อยากถามความรู้สึกของคุณครูที่มีหน้าที่ต้องสอนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การเมืองด้วยครับ ว่าพอถึงเนื้อหานี้จะสอนยังไงดี