สงสัยเกี่ยวกับเรื่อง gateway ในประเทศไทย ว่า มีรูปแบบอย่างไร มี 10 เจ้า จริงมั้ย

อยากทราบว่า รูปแบบการให้บริการ เกตเวย์ ใน ประเทศไทย เป็นอย่างไร (ผลพวงจากข้อถกเถียง single gateway)
   "เหตุที่ถามเพราะ ได้คุยกับพี่ เกี่ยวกับเรื่องนี้  แล้วเขาให้คำตอบว่า  ทาง กสท. ที่ได้มีสายสัญญาณเกตเวย์อยู่แล้ว แล้วพอเปิดการโทรคมนาคมเสรี เพื่อการแข่งขัน เลยได้แบ่งสัญญาณขาย (แบนด์วิส) ให้กับผู้ประกอบการต่าง ๆ ออกไป จนเป็นรูปแบบใช้กันในปัจจุบัน ที่ว่ามีเกตเวย์กว่า 10 จุดให้บริการ ซึ่งไทยเราจะมีทาง เข้า-ออก  จริง ๆ ประมาณ 3 ทางเท่านั้น ซึ่งเป็นของ กสท. 2 เส้นทาง และ tot 1 เส้นทาง"



-- โดยความเข้าใจเดิมของผมเอง หลังจากที่เราเปิดเสรีโทรคมนาคม พวกเอกชน ต่างก็เช่าสายเกตเวย์เป็นของตัวเอง โดย ไม่ได้ผ่านทาง กสท. เลย (เดิม 20 ปีก่อน กสท. เป็นผู้ให้บริการทั้งหมด) ซึ่งมันก็ขัดกับคำตอบของพี่ที่ผมได้คุยกันไป

สิ่งสงสัย คือ ณ ปัจจุบัน รูปแบบเป็นอย่างไร ใช่ว่า กสท. ปล่อยเช่าสัญญาณที่ตัวเองมีให้ผู้ประกอบการรายอื่นใช่หรือไม่ (แบ่งขาย) ซึ่งถ้าเป็นอย่างนี้จริง โครงการ single gateway มันจะมีประโยชน์อะไร ในความหมายทางโครงสร้างระบบ แล้ว iig ในไทยต้องผ่านที่ กสท ใช่มั้ย

--หรือเป็นว่า ผู้ประกอบการต่าง ๆ เช่น true dtac ais และ isp อื่น ๆ มีเป็นของตัวเองเลย โดยไม่เกี่ยวข้องกับ กสท. แต่อย่างใด

แล้วก็อ่านแผนผังแล้ว ไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ ใครอ่าน หรือเข้าใจ บอกผมที่
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

จากรูป ที่เป็นแผนผัง IIG ในไทย วงรีสีฟ้ากลางรูป คือ IIG ที่ต่อต่างประเทศเลย หรือ ต้องไปผ่านที่ไหนในไทยอีกรึป่าว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่