สิ่งที่สังคมกำลังถกเถียงกัน และออกมาต่อต้านเชิงสัญลักษณ์เกี่ยวกับแนวคิด "ซิงเกิล เกตเวย์"ว่ารัฐบาลจะบังคับให้รวมช่องทางการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตสู่ต่างประเทศ จากผู้ให้บริการในไทยประมาณ 10 ราย มาใช้เส้นทางเดียวกันนั้น ในภาคธุรกิจเป็นได้ค่อนข้างลำบาก เพราะเอกชนแต่ละรายล้วนมีช่องทางไอไอจีหลายเส้นทาง ทั้งใต้น้ำ และบนดิน
และแม้จะมีผู้ให้บริการมากรายขึ้น แต่ราคาค่าบริการของไทยก็ยังสูงกว่าสิงคโปร์ ทำให้ผู้ผลิตคอนเทนต์ไม่สนใจเข้ามาใช้บริการ จึงไม่สอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลที่กำลังดำเนินการอยู่
:คำนิยามซิงเกิล เกตเวย์
พ.อ.สรรพชัย หุวะนันทน์ รักษาการ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.กสท โทรคมนาคม กล่าวว่า รูปแบบของซิงเกิล เกตเวย์ปัจจุบันยังไม่มีนิยามความหมายที่แน่ชัดว่าจะเป็นการดำเนินงานลักษณะใด และยืนยันว่า ส่วนของ กสท ไม่ได้หารือกับภาครัฐที่จะเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ดังกล่าวตามที่มีหลายฝ่ายเข้าใจ และเกรงว่าอาจจะกระทบ หรือริดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศ
แต่ตามความเห็นของเขานั้น ซิงเกิล เกตเวย์มีอยู่ 2 มิติคือ 1.เชิงกายภาพ คือการรวมเส้นทางเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต หรืออินเตอร์เนชั่นแนล อินเทอร์เน็ต เกตเวย์ (ไอไอจี) จากทุกๆ เส้นทางที่มีอยู่ในประเทศราว 10 เส้นทางออกสู่เกตเวย์เดียว 2. เชิงกำกับดูแล คือการมอนิเตอร์ ตรวจสอบเนื้อหาที่ผ่านเข้ามาในเกตเวย์และรวมให้เป็นช่องทางเดียว ก่อนออกไปเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม หากไทยตั้งใจเดินหน้าไปสู่นโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล ยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน ต้องการให้ผู้ผลิตคอนเทนต์ เช่น กูเกิล ไลน์ เฟซบุ๊ค ที่ใช้งานสูงสุด จำเป็นต้องสร้างความมั่นใจให้นักลงทุน ซึ่งต้องมาจากปัจจัยหลายด้าน ได้แก่ การสร้างความเชื่อมั่นทางการเมือง นโยบายด้านเศรษฐกิจต้องชัดเจน สิทธิพิเศษด้านภาษีสำหรับผู้ที่จะมาลงทุน การเอื้อประโยชน์เกี่ยวกับการจ้างแรงงานต่างชาติเข้ามา
และสิ่งที่สำคัญคือเรื่องการดูแลความปลอดภัยด้านข้อมูล เนื่องจากไทยนับเป็นสวรรค์ของนักแฮคเกอร์ หากไทยต้องการผลักดันให้เกิดเศรษฐกิจดิจิทัล ต้องการันตีด้านความปลอดภัยในการทำธุรกรรมออนไลน์ได้ด้วย แต่การที่รัฐบาลจะมอนิเตอร์ข้อมูลได้ต้องมีกฎหมายรองรับก่อน และการมอนิเตอร์ข้อมูลก็ไม่ได้เป็นการเฝ้าระวังหรือจับผิดทุกข้อมูลที่วิ่งผ่าน แต่จะมอนิเตอร์พฤติกรรมที่น่าสงสัยเท่านั้น
:เกตเวย์ไทยมี10เส้นทาง
เขา อธิบายว่า ตลาดรวมของเกตเวย์ในไทย มีเส้นทางการให้บริการก่อนเชื่อมออกไปต่างประเทศอยู่ 10 เส้นทาง มีผู้ให้บริการรายใหญ่คือ กสท กลุ่มทรู บมจ.ทีโอที และบริษัท ซิมโฟนี่ จำกัด ซึ่งให้บริการแบบเคเบิลใยแก้วนำแสงใต้น้ำ (ซับมารีน) ซึ่งในอดีต กสท ให้บริการมากว่า 20 ปีเป็นเจ้าตลาด ต่อมาพอเปิดแข่งขันเสรีมีเอกชนมาร่วมดำเนินการด้วย
นอกจากนี้ ยังมีเกตเวย์ที่ลากสายบนดินเชื่อมจากชายแดนไปยังจุดไอไอจีด้วย ซึ่งก็มีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายย่อย (ไอเอสพี) ดำเนินการในลักษณะนี้
"ตามความเข้าใจของผม ซิงเกิล เกตเวย์ตอนนี้ก็มีอยู่แล้ว แต่เป็นในลักษณะกายภาพ คือเราเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตออกที่ประเทศเดียวคือมาเลเซีย ซึ่งถามว่าดีหรือไม่ ก็ต้องบอกว่ายังมีความเสี่ยงอยู่บ้างเพราะหากเกิดอุบัติเหตุ หรือภัยธรรมชาติก็อาจส่งผลต่อการใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศได้ ดังนั้น การจะทำให้ไทยขึ้นเป็นซิงเกิล เกตเวย์เองต้องลงทุนทั้งจาก กสท เอง หรือเอกชนที่สนใจ เพราะลักษณะทางภูมิศาสตร์ไทยได้เปรียบประเทศอื่นที่จะเป็นเชื่อมต่อของภูมิภาคก่อนจะออกไปภูมิภาคอื่น"
เขากล่าวว่า ในแง่ของ กสท เองปัจจุบันได้ขยายโครงข่ายสื่อสารข้อมูลให้ครอบคลุมภูมิภาคอินโดจีน ประกอบด้วย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่า ด้วยการเชื่อมโยงโครงข่ายที่มีศักยภาพสามารถรองรับความต้องการการใช้งานที่มีเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง กสท เป็นผู้ให้บริการรายเดียวของประเทศไทยที่เป็นเจ้าของและสมาชิกของกลุ่มผู้ร่วมทุนในการสร้างระบบเคเบิลใยแก้วนำแสงใต้น้ำ (ซับมารีน) ระหว่างประเทศ
ได้แก่ เอเชีย อเมริกา เกตเวย์ (เอเอจี), เซาท์ อีสต์ เอเชีย-มิดเดิล อีสต์- เวสต์เทิร์น ยุโรป 3 (ซีมีวี3), เซาท์ อีสต์ เอเชีย-มิดเดิล อีสต์-เวสต์เทิรน์ ยุโรป 4 (ซีมีวี4), ไทยแลนด์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ (ทีไอเอส) และเอเชีย แปซิฟิก เคเบิล เน็ตเวิร์ค (เอพีซีเอ็น2) ซึ่งการลงทุนในระบบโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงใต้น้ำนี้ช่วยเสริมสร้างศักยภาพและความแข็งแกร่งในการให้บริการของ กสท ที่จะนำเสนอบริการที่สมบูรณ์และน่าเชื่อถือ
ได้แก่ เอเชีย อเมริกา เกตเวย์ (เอเอจี), เซาท์ อีสต์ เอเชีย-มิดเดิล อีสต์- เวสต์เทิร์น ยุโรป 3 (ซีมีวี3), เซาท์ อีสต์ เอเชีย-มิดเดิล อีสต์-เวสต์เทิรน์ ยุโรป 4 (ซีมีวี4), ไทยแลนด์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ (ทีไอเอส) และเอเชีย แปซิฟิก เคเบิล เน็ตเวิร์ค (เอพีซีเอ็น2) ซึ่งการลงทุนในระบบโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงใต้น้ำนี้ช่วยเสริมสร้างศักยภาพและความแข็งแกร่งในการให้บริการของ กสท ที่จะนำเสนอบริการที่สมบูรณ์และน่าเชื่อถือ
:เสนอตัวเป็นฮับเกตเวย์
การเสนอตัวเป็นฮับของ กสท เพื่อให้เป็นซิงเกิล เกตเวย์ในรูปแบบของการเป็นชุดต่อของไอไอจีเพื่อออกไปต่างประเทศนั้น กสท ได้เสนอแผนการดำเนินงานไปยังสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ซึ่งความหมายของซิงเกิล เกตเวย์ในที่นี้คือการรวมของเส้นทางการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมามีจุดเชื่อมที่ กสท เพื่อเป็นการขยายตลาดด้านธุรกิจ และทำให้ประเทศมีโอกาสแข่งขันมากขึ้น
"การขึ้นเป็นฮับในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในลาว กัมพูชา พม่า ซึ่งเป็นเขตการลงทุนใหม่ โดยลงทุนหลากหลายอุตสาหกรรม อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์ เหล็ก สิ่งทอ จึงมีปัจจัยจูงใจนักลงทุนต่างชาติหลายประการ ทั้งความพร้อมด้านแรงงาน การสนับสนุนจากภาครัฐจัดสร้างเส้นทางการขนส่งทางบกเพื่อความสะดวกระหว่างกัน รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมในภูมิภาคนี้"
ปัจจุบัน กสท มีโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงความเร็วสูงครอบคลุมทั่วประเทศด้วยความยาวกว่า 30,000 กิโลเมตร โครงข่ายเชื่อมโยงระหว่างประเทศผ่านภาคพื้นดินและระบบเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ โครงข่ายระหว่างประเทศภาคพื้นดิน ซึ่งเชื่อมโยงกับผู้ให้บริการในประเทศเพื่อนบ้านบริเวณชายแดนทั้ง ลาว กัมพูชา พม่า และมาเลเซีย มีจุดเชื่อมต่อผ่านชายแดน 7 แห่ง ประกอบด้วย แม่สอด และแม่สาย (เพื่อเข้าสู่ประเทศพม่า ), อรัญประเทศและเกาะกง จังหวัดตราด (เพื่อเข้าสู่ประเทศกัมพูชา), เชียงของ และหนองคาย (เพื่อเข้าสู่ประเทศลาว), มุกดาหาร (เข้าสู่ประเทศลาว)
ขอขอบคุณแหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2558 (หน้า 15,16)
รู้จัก 'เกตเวย์' ประเทศไทยผ่านเจ้าตลาด 'กสท'
สิ่งที่สังคมกำลังถกเถียงกัน และออกมาต่อต้านเชิงสัญลักษณ์เกี่ยวกับแนวคิด "ซิงเกิล เกตเวย์"ว่ารัฐบาลจะบังคับให้รวมช่องทางการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตสู่ต่างประเทศ จากผู้ให้บริการในไทยประมาณ 10 ราย มาใช้เส้นทางเดียวกันนั้น ในภาคธุรกิจเป็นได้ค่อนข้างลำบาก เพราะเอกชนแต่ละรายล้วนมีช่องทางไอไอจีหลายเส้นทาง ทั้งใต้น้ำ และบนดิน
และแม้จะมีผู้ให้บริการมากรายขึ้น แต่ราคาค่าบริการของไทยก็ยังสูงกว่าสิงคโปร์ ทำให้ผู้ผลิตคอนเทนต์ไม่สนใจเข้ามาใช้บริการ จึงไม่สอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลที่กำลังดำเนินการอยู่
:คำนิยามซิงเกิล เกตเวย์
พ.อ.สรรพชัย หุวะนันทน์ รักษาการ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.กสท โทรคมนาคม กล่าวว่า รูปแบบของซิงเกิล เกตเวย์ปัจจุบันยังไม่มีนิยามความหมายที่แน่ชัดว่าจะเป็นการดำเนินงานลักษณะใด และยืนยันว่า ส่วนของ กสท ไม่ได้หารือกับภาครัฐที่จะเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ดังกล่าวตามที่มีหลายฝ่ายเข้าใจ และเกรงว่าอาจจะกระทบ หรือริดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศ
แต่ตามความเห็นของเขานั้น ซิงเกิล เกตเวย์มีอยู่ 2 มิติคือ 1.เชิงกายภาพ คือการรวมเส้นทางเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต หรืออินเตอร์เนชั่นแนล อินเทอร์เน็ต เกตเวย์ (ไอไอจี) จากทุกๆ เส้นทางที่มีอยู่ในประเทศราว 10 เส้นทางออกสู่เกตเวย์เดียว 2. เชิงกำกับดูแล คือการมอนิเตอร์ ตรวจสอบเนื้อหาที่ผ่านเข้ามาในเกตเวย์และรวมให้เป็นช่องทางเดียว ก่อนออกไปเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม หากไทยตั้งใจเดินหน้าไปสู่นโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล ยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน ต้องการให้ผู้ผลิตคอนเทนต์ เช่น กูเกิล ไลน์ เฟซบุ๊ค ที่ใช้งานสูงสุด จำเป็นต้องสร้างความมั่นใจให้นักลงทุน ซึ่งต้องมาจากปัจจัยหลายด้าน ได้แก่ การสร้างความเชื่อมั่นทางการเมือง นโยบายด้านเศรษฐกิจต้องชัดเจน สิทธิพิเศษด้านภาษีสำหรับผู้ที่จะมาลงทุน การเอื้อประโยชน์เกี่ยวกับการจ้างแรงงานต่างชาติเข้ามา
และสิ่งที่สำคัญคือเรื่องการดูแลความปลอดภัยด้านข้อมูล เนื่องจากไทยนับเป็นสวรรค์ของนักแฮคเกอร์ หากไทยต้องการผลักดันให้เกิดเศรษฐกิจดิจิทัล ต้องการันตีด้านความปลอดภัยในการทำธุรกรรมออนไลน์ได้ด้วย แต่การที่รัฐบาลจะมอนิเตอร์ข้อมูลได้ต้องมีกฎหมายรองรับก่อน และการมอนิเตอร์ข้อมูลก็ไม่ได้เป็นการเฝ้าระวังหรือจับผิดทุกข้อมูลที่วิ่งผ่าน แต่จะมอนิเตอร์พฤติกรรมที่น่าสงสัยเท่านั้น
:เกตเวย์ไทยมี10เส้นทาง
เขา อธิบายว่า ตลาดรวมของเกตเวย์ในไทย มีเส้นทางการให้บริการก่อนเชื่อมออกไปต่างประเทศอยู่ 10 เส้นทาง มีผู้ให้บริการรายใหญ่คือ กสท กลุ่มทรู บมจ.ทีโอที และบริษัท ซิมโฟนี่ จำกัด ซึ่งให้บริการแบบเคเบิลใยแก้วนำแสงใต้น้ำ (ซับมารีน) ซึ่งในอดีต กสท ให้บริการมากว่า 20 ปีเป็นเจ้าตลาด ต่อมาพอเปิดแข่งขันเสรีมีเอกชนมาร่วมดำเนินการด้วย
นอกจากนี้ ยังมีเกตเวย์ที่ลากสายบนดินเชื่อมจากชายแดนไปยังจุดไอไอจีด้วย ซึ่งก็มีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายย่อย (ไอเอสพี) ดำเนินการในลักษณะนี้
"ตามความเข้าใจของผม ซิงเกิล เกตเวย์ตอนนี้ก็มีอยู่แล้ว แต่เป็นในลักษณะกายภาพ คือเราเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตออกที่ประเทศเดียวคือมาเลเซีย ซึ่งถามว่าดีหรือไม่ ก็ต้องบอกว่ายังมีความเสี่ยงอยู่บ้างเพราะหากเกิดอุบัติเหตุ หรือภัยธรรมชาติก็อาจส่งผลต่อการใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศได้ ดังนั้น การจะทำให้ไทยขึ้นเป็นซิงเกิล เกตเวย์เองต้องลงทุนทั้งจาก กสท เอง หรือเอกชนที่สนใจ เพราะลักษณะทางภูมิศาสตร์ไทยได้เปรียบประเทศอื่นที่จะเป็นเชื่อมต่อของภูมิภาคก่อนจะออกไปภูมิภาคอื่น"
เขากล่าวว่า ในแง่ของ กสท เองปัจจุบันได้ขยายโครงข่ายสื่อสารข้อมูลให้ครอบคลุมภูมิภาคอินโดจีน ประกอบด้วย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่า ด้วยการเชื่อมโยงโครงข่ายที่มีศักยภาพสามารถรองรับความต้องการการใช้งานที่มีเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง กสท เป็นผู้ให้บริการรายเดียวของประเทศไทยที่เป็นเจ้าของและสมาชิกของกลุ่มผู้ร่วมทุนในการสร้างระบบเคเบิลใยแก้วนำแสงใต้น้ำ (ซับมารีน) ระหว่างประเทศ
ได้แก่ เอเชีย อเมริกา เกตเวย์ (เอเอจี), เซาท์ อีสต์ เอเชีย-มิดเดิล อีสต์- เวสต์เทิร์น ยุโรป 3 (ซีมีวี3), เซาท์ อีสต์ เอเชีย-มิดเดิล อีสต์-เวสต์เทิรน์ ยุโรป 4 (ซีมีวี4), ไทยแลนด์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ (ทีไอเอส) และเอเชีย แปซิฟิก เคเบิล เน็ตเวิร์ค (เอพีซีเอ็น2) ซึ่งการลงทุนในระบบโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงใต้น้ำนี้ช่วยเสริมสร้างศักยภาพและความแข็งแกร่งในการให้บริการของ กสท ที่จะนำเสนอบริการที่สมบูรณ์และน่าเชื่อถือ
ได้แก่ เอเชีย อเมริกา เกตเวย์ (เอเอจี), เซาท์ อีสต์ เอเชีย-มิดเดิล อีสต์- เวสต์เทิร์น ยุโรป 3 (ซีมีวี3), เซาท์ อีสต์ เอเชีย-มิดเดิล อีสต์-เวสต์เทิรน์ ยุโรป 4 (ซีมีวี4), ไทยแลนด์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ (ทีไอเอส) และเอเชีย แปซิฟิก เคเบิล เน็ตเวิร์ค (เอพีซีเอ็น2) ซึ่งการลงทุนในระบบโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงใต้น้ำนี้ช่วยเสริมสร้างศักยภาพและความแข็งแกร่งในการให้บริการของ กสท ที่จะนำเสนอบริการที่สมบูรณ์และน่าเชื่อถือ
:เสนอตัวเป็นฮับเกตเวย์
การเสนอตัวเป็นฮับของ กสท เพื่อให้เป็นซิงเกิล เกตเวย์ในรูปแบบของการเป็นชุดต่อของไอไอจีเพื่อออกไปต่างประเทศนั้น กสท ได้เสนอแผนการดำเนินงานไปยังสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ซึ่งความหมายของซิงเกิล เกตเวย์ในที่นี้คือการรวมของเส้นทางการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมามีจุดเชื่อมที่ กสท เพื่อเป็นการขยายตลาดด้านธุรกิจ และทำให้ประเทศมีโอกาสแข่งขันมากขึ้น
"การขึ้นเป็นฮับในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในลาว กัมพูชา พม่า ซึ่งเป็นเขตการลงทุนใหม่ โดยลงทุนหลากหลายอุตสาหกรรม อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์ เหล็ก สิ่งทอ จึงมีปัจจัยจูงใจนักลงทุนต่างชาติหลายประการ ทั้งความพร้อมด้านแรงงาน การสนับสนุนจากภาครัฐจัดสร้างเส้นทางการขนส่งทางบกเพื่อความสะดวกระหว่างกัน รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมในภูมิภาคนี้"
ปัจจุบัน กสท มีโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงความเร็วสูงครอบคลุมทั่วประเทศด้วยความยาวกว่า 30,000 กิโลเมตร โครงข่ายเชื่อมโยงระหว่างประเทศผ่านภาคพื้นดินและระบบเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ โครงข่ายระหว่างประเทศภาคพื้นดิน ซึ่งเชื่อมโยงกับผู้ให้บริการในประเทศเพื่อนบ้านบริเวณชายแดนทั้ง ลาว กัมพูชา พม่า และมาเลเซีย มีจุดเชื่อมต่อผ่านชายแดน 7 แห่ง ประกอบด้วย แม่สอด และแม่สาย (เพื่อเข้าสู่ประเทศพม่า ), อรัญประเทศและเกาะกง จังหวัดตราด (เพื่อเข้าสู่ประเทศกัมพูชา), เชียงของ และหนองคาย (เพื่อเข้าสู่ประเทศลาว), มุกดาหาร (เข้าสู่ประเทศลาว)
ขอขอบคุณแหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2558 (หน้า 15,16)