ก่อนที่ทัพช้างศึกU19จะประเดิมสนามศึกชิงแชมป์เอเชียรอบคัดเลือกที่เอสซีจี สเตเดี้ยม วันพุธนี้ เราขอพาไปย้อนดูผลงานที่ยอดเยี่ยมของพวกเขาใน4ครั้งที่ผ่านมากันก่อน
หลังจากที่เอเอฟซี เปลี่ยนระบบคัดเลือกตัวแทนจากทวีปเอเชีย ไปแข่งขันในฟุตบอลเยาวชน 20 ปีชิงแชมป์โลก ผ่านชื่อรายการ “เอเอฟซี ยู19 แชมเปี้ยนชิพ” ตั้งแต่ปี 2008 แทนที่ของ “เอเอฟซี ยูธ แชมเปี้ยนชิพ” ทัพ “ช้างศึก” ทีมชาติไทยไทย ก็สามารถทำผลงานในรอบคัดเลือกได้อย่างยอดเยี่ยม ด้วยการผ่านเข้าไปเล่นในรอบสุดท้ายได้ทุกสมัย
เพื่อโหมกระแส ก่อนที่การแข่งขันรอบคัดเลือก ของศึกยู19 ที่ทีมชาติไทย จะลงประเดิมสนามวันที่ 30 กันยายนนี้ โกล ประเทศไทย ได้รวบรวมผลงานทัพช้างศึกจูเนียร์ ในรอบคัดเลือก นับตั้งแต่ปี 2008 ที่รายการ เอเอฟซี ยู19 กำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการ มาให้ได้รับชมกัน
ปี 2007 (รอบคัดเลือกไปแข่งขันรอบสุดท้ายปี 2008)
การแข่งขันรอบคัดเลือก ทีมชาติไทย ถูกจับฉลากอยู่ในกลุ่มอี คัดทีมแชมป์, รองแชมป์ และอันดับสามที่ดีที่สุด 1 ทีมจาก 7 สายเข้าสู่รอบสุดท้าย ที่ประเทศอินเดีย ทีมในชุดนั้นได้ “โค้ชตุ้ย” กวิน คเชนทร์เดชา คุมทัพ นักเตะในชุดนั้น มีแข้งหลักอย่าง ฉัตรชัย บุตรพรม, สุภภรณ์ พรหมพินิจ, ยอดรักษ์ นาเมืองรักษ์ และเกริกฤทธิ์ ทวีกาญจน์ ทีมชาติไทยทะลุสู่รอบสุดท้าย ในฐานะอันดับสองของกลุ่ม
ผลงานของทีมชาติไทย (สนามศุภชลาศัย)
ชนะ มัลดีฟส์ 3-0 (วัฒนศัพท์ เจริญศรี น.14 , อนุสรณ์ ศรีชาหลวง น.36, ชรินทร์ บุตรฮาด น.77)
ชนะ ลาว 3-0 (ยอดรัก นาเมืองรักษ์ น.7, ศุภกร รามกุหลาบสุข น.68,75)
ชนะ ไต้หวัน 3-0 (สุภภรณ์ พรหมพินิจ น.40, อนุสรณ์ ศรีชาหลวง น.84, เฉลิมศักดิ์ แก้วสุขแท้ น.90+3)
ชนะ เมียนมา 1-0 (ยอดรัก นาเมืองรักษ์ น.90+2)
แพ้ ญี่ปุ่น 2-3 (นิรันดร์ฤทธิ์ เจริญสุข น.10, เกริกฤทธิ์ ทวีกาญจน์ น.14)
ปี2009 (รอบคัดเลือกไปแข่งขันรอบสุดท้ายปี 2010)
รอบคัดเลือก คัดทีมแชมป์ , รองแชมป์แต่ละกลุ่ม และอันดับสามที่ดีที่สุดสองทีมเข้ารอบสุดท้าย ที่เมืองซือป๋อ ประเทศจีน ทีมชุดนี้ มีโค้ชหนุ่ย เฉลิมวุฒิ สง่าพล คุมทัพ และมีผู้เล่นหลัก เช่น ณัฐวุฒิ คำรินทร์ , พัฒนา ซอกจอหอ, ชนานันท์ ป้อมบุปผา และสารัช อยู่เย็น โดยสองรายหลังปัจจุบันเป็นกำลังหลักของทีมชาติชุดใหญ่ผลการแข่งขันทีมชาติไทยเข้ารอบในฐานะรองแชมป์กลุ่ม โดยมีแต้มเท่ากับทีมแชมป์กลุ่มอย่างเกาหลีใต้ ที่12 คะแนน
ผลงานของทีมชาติไทย (สนามกีฬากองทัพบก)
ชนะ มาเก๊า 1-0(วิศรุต ไวงาน น.11, อรรถพล ถมมา น.17, ณัฐวุฒิ คำรินทร์ น.81)
ชนะ ลาว 1-0 (ณัฐวุฒิ คำรินทร์ น.66)
ชนะ บังคลาเทศ 3-0 (อภิสิทธิ์ คำวัง น.1, สารัช อยู่เย็น น.66,79)
ชนะ เวียดนาม 1-0(ชาคริต ระวันประโคน น.58)
แพ้ เกาหลีใต้ 1-2(ชาคริต ระวันประโคน น.20)
ปี 2011 (รอบคัดเลือกไปแข่งขันรอบสุดท้ายปี 2012)
นับว่าเป็นครั้งที่ทีมชาติไทยอยู่ในสายที่หนักมากๆ เพราะมีทั้งญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ที่เป็นขวากหนามชิ้นสำคัญ โดยคัดเอาแชมป์, รองแชมป์ และอันดับสามที่ดีที่สุด 1 ใน3 ทีมจากโซนตะวันออกเข้าสู่รอบสุดท้ายที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทัพช้างศึกยุคนั้นมี “น้าฉ่วย” สมชาย ชวยบุญชุม เป็นกุนซือ ทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม ทั้งเอาชนะ เกาหลีใต้ และเสมอญี่ปุ่น คว้าแชมป์กลุ่มไปครอง ชนิดหักปากกาเซียน พร้อมกับการแจ้งเกิดของผู้เล่นอย่าง ชนาธิป สรงกระสินธ์, ธนบูรณ์ เกษารัตน์, ปกรณ์ เปรมภักดิ์ , ฐิติพันธ์ พ่วงจันทร์ และ ภิญโญ อินพินิจ
ผลงานของทีมชาติไทย (สนามเทพหัสดิน)
ชนะ เกาหลีใต้ 1-0 (ฐิติพันธ์ พ่วงจันทร์ น.57)
ชนะ ไต้หวัน 1-0 (ปกรณ์ เปรมภักดิ์ น.80)
ชนะ กวม 13-0 (ภิญโญ อินพินิจ น.13, ปกรณ์ เปรมภักดิ์ น.15,23,60,80, กษิดิ์เดช เวทยาวงศ์ น.22,27, สุบรรณ เงินประเสริฐ น.45+1, 67 , จาตุรงค์ พิมพ์คูณ น.50,55,74 และ ชนาธิป สรงกระสินธ์ น.79)
เสมอ ญี่ปุ่น 0-0
ปี 2013 (รอบคัดเลือกไปแข่งขันรอบสุดท้ายปี 2014)
ในปีนี้ เอเอฟซี เปลี่ยนระบบเล็กน้อย โดยแบ่งทีมเป็น 9 กลุ่ม นำเอาแชมป์เข้าสู่รอบสุดท้ายโดยอัตโนมัติ ส่วนรองแชมป์ต้องลุ้นกับสายอื่นๆ โดยนำ 6 ทีมจาก 9 สายที่ผลงานดีที่สุดเข้าสู่รอบสุดท้าย นับเป็นปีที่การเตรียมทีมค่อนข้างฉุกละหุก โดยได้ “น้าฉ่วย” สมชาย ชวยบุญชุม กลับมาช่วยเตรียมทีมก่อนแข่งขันไม่ถึง 1 เดือน ทำให้ผลงานของทัพช้างศึกชุดนี้ ที่มีแกนหลักอย่าง รัตนัย ส่องแสงจันทร์, เจนรบ สำเภาดี, สุพร ปินะกาตาโพธิ์, อิสริยะ มารมย์ และ อรรถวิทย์ สุขช่วย ต้องลุ้นถึงวินาทีสุดท้าย ก่อนเอาตัวรอดเป็นอันดับสองที่ดีที่สุด ลำดับ 5จาก 6 ทีม เข้าสู่รอบสุดท้ายที่ประเทศเมียนมาแบบฉิวเฉียด
ผลงานของทีมชาติไทย (แข่งที่สนามไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง)
ชนะ สิงคโปร์ 3-0 (อิสริยะ มารมย์ น.12,45+3 , เจนรบ สำเภาดี น.57)
ชนะ บรูไน 7-0 (ธนดล จันทร์สว่าง น.10, 90+4, อิสริยะ มารมย์ น.31, กุลชาติ จีนถนอม น.45,68,90, พิธิวัต สุขจิตธรรมกุล น.54)
แพ้ เกาหลีเหนือ 0-2
ที่มา : www.goal.com/th
Analysis : ย้อนรอยความแกร่ง ช้างศึก U19 สมรภูมิคัดเอเชีย
หลังจากที่เอเอฟซี เปลี่ยนระบบคัดเลือกตัวแทนจากทวีปเอเชีย ไปแข่งขันในฟุตบอลเยาวชน 20 ปีชิงแชมป์โลก ผ่านชื่อรายการ “เอเอฟซี ยู19 แชมเปี้ยนชิพ” ตั้งแต่ปี 2008 แทนที่ของ “เอเอฟซี ยูธ แชมเปี้ยนชิพ” ทัพ “ช้างศึก” ทีมชาติไทยไทย ก็สามารถทำผลงานในรอบคัดเลือกได้อย่างยอดเยี่ยม ด้วยการผ่านเข้าไปเล่นในรอบสุดท้ายได้ทุกสมัย
เพื่อโหมกระแส ก่อนที่การแข่งขันรอบคัดเลือก ของศึกยู19 ที่ทีมชาติไทย จะลงประเดิมสนามวันที่ 30 กันยายนนี้ โกล ประเทศไทย ได้รวบรวมผลงานทัพช้างศึกจูเนียร์ ในรอบคัดเลือก นับตั้งแต่ปี 2008 ที่รายการ เอเอฟซี ยู19 กำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการ มาให้ได้รับชมกัน
ปี 2007 (รอบคัดเลือกไปแข่งขันรอบสุดท้ายปี 2008)
การแข่งขันรอบคัดเลือก ทีมชาติไทย ถูกจับฉลากอยู่ในกลุ่มอี คัดทีมแชมป์, รองแชมป์ และอันดับสามที่ดีที่สุด 1 ทีมจาก 7 สายเข้าสู่รอบสุดท้าย ที่ประเทศอินเดีย ทีมในชุดนั้นได้ “โค้ชตุ้ย” กวิน คเชนทร์เดชา คุมทัพ นักเตะในชุดนั้น มีแข้งหลักอย่าง ฉัตรชัย บุตรพรม, สุภภรณ์ พรหมพินิจ, ยอดรักษ์ นาเมืองรักษ์ และเกริกฤทธิ์ ทวีกาญจน์ ทีมชาติไทยทะลุสู่รอบสุดท้าย ในฐานะอันดับสองของกลุ่ม
ผลงานของทีมชาติไทย (สนามศุภชลาศัย)
ชนะ มัลดีฟส์ 3-0 (วัฒนศัพท์ เจริญศรี น.14 , อนุสรณ์ ศรีชาหลวง น.36, ชรินทร์ บุตรฮาด น.77)
ชนะ ลาว 3-0 (ยอดรัก นาเมืองรักษ์ น.7, ศุภกร รามกุหลาบสุข น.68,75)
ชนะ ไต้หวัน 3-0 (สุภภรณ์ พรหมพินิจ น.40, อนุสรณ์ ศรีชาหลวง น.84, เฉลิมศักดิ์ แก้วสุขแท้ น.90+3)
ชนะ เมียนมา 1-0 (ยอดรัก นาเมืองรักษ์ น.90+2)
แพ้ ญี่ปุ่น 2-3 (นิรันดร์ฤทธิ์ เจริญสุข น.10, เกริกฤทธิ์ ทวีกาญจน์ น.14)
ปี2009 (รอบคัดเลือกไปแข่งขันรอบสุดท้ายปี 2010)
รอบคัดเลือก คัดทีมแชมป์ , รองแชมป์แต่ละกลุ่ม และอันดับสามที่ดีที่สุดสองทีมเข้ารอบสุดท้าย ที่เมืองซือป๋อ ประเทศจีน ทีมชุดนี้ มีโค้ชหนุ่ย เฉลิมวุฒิ สง่าพล คุมทัพ และมีผู้เล่นหลัก เช่น ณัฐวุฒิ คำรินทร์ , พัฒนา ซอกจอหอ, ชนานันท์ ป้อมบุปผา และสารัช อยู่เย็น โดยสองรายหลังปัจจุบันเป็นกำลังหลักของทีมชาติชุดใหญ่ผลการแข่งขันทีมชาติไทยเข้ารอบในฐานะรองแชมป์กลุ่ม โดยมีแต้มเท่ากับทีมแชมป์กลุ่มอย่างเกาหลีใต้ ที่12 คะแนน
ผลงานของทีมชาติไทย (สนามกีฬากองทัพบก)
ชนะ มาเก๊า 1-0(วิศรุต ไวงาน น.11, อรรถพล ถมมา น.17, ณัฐวุฒิ คำรินทร์ น.81)
ชนะ ลาว 1-0 (ณัฐวุฒิ คำรินทร์ น.66)
ชนะ บังคลาเทศ 3-0 (อภิสิทธิ์ คำวัง น.1, สารัช อยู่เย็น น.66,79)
ชนะ เวียดนาม 1-0(ชาคริต ระวันประโคน น.58)
แพ้ เกาหลีใต้ 1-2(ชาคริต ระวันประโคน น.20)
ปี 2011 (รอบคัดเลือกไปแข่งขันรอบสุดท้ายปี 2012)
นับว่าเป็นครั้งที่ทีมชาติไทยอยู่ในสายที่หนักมากๆ เพราะมีทั้งญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ที่เป็นขวากหนามชิ้นสำคัญ โดยคัดเอาแชมป์, รองแชมป์ และอันดับสามที่ดีที่สุด 1 ใน3 ทีมจากโซนตะวันออกเข้าสู่รอบสุดท้ายที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทัพช้างศึกยุคนั้นมี “น้าฉ่วย” สมชาย ชวยบุญชุม เป็นกุนซือ ทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม ทั้งเอาชนะ เกาหลีใต้ และเสมอญี่ปุ่น คว้าแชมป์กลุ่มไปครอง ชนิดหักปากกาเซียน พร้อมกับการแจ้งเกิดของผู้เล่นอย่าง ชนาธิป สรงกระสินธ์, ธนบูรณ์ เกษารัตน์, ปกรณ์ เปรมภักดิ์ , ฐิติพันธ์ พ่วงจันทร์ และ ภิญโญ อินพินิจ
ผลงานของทีมชาติไทย (สนามเทพหัสดิน)
ชนะ เกาหลีใต้ 1-0 (ฐิติพันธ์ พ่วงจันทร์ น.57)
ชนะ ไต้หวัน 1-0 (ปกรณ์ เปรมภักดิ์ น.80)
ชนะ กวม 13-0 (ภิญโญ อินพินิจ น.13, ปกรณ์ เปรมภักดิ์ น.15,23,60,80, กษิดิ์เดช เวทยาวงศ์ น.22,27, สุบรรณ เงินประเสริฐ น.45+1, 67 , จาตุรงค์ พิมพ์คูณ น.50,55,74 และ ชนาธิป สรงกระสินธ์ น.79)
เสมอ ญี่ปุ่น 0-0
ปี 2013 (รอบคัดเลือกไปแข่งขันรอบสุดท้ายปี 2014)
ในปีนี้ เอเอฟซี เปลี่ยนระบบเล็กน้อย โดยแบ่งทีมเป็น 9 กลุ่ม นำเอาแชมป์เข้าสู่รอบสุดท้ายโดยอัตโนมัติ ส่วนรองแชมป์ต้องลุ้นกับสายอื่นๆ โดยนำ 6 ทีมจาก 9 สายที่ผลงานดีที่สุดเข้าสู่รอบสุดท้าย นับเป็นปีที่การเตรียมทีมค่อนข้างฉุกละหุก โดยได้ “น้าฉ่วย” สมชาย ชวยบุญชุม กลับมาช่วยเตรียมทีมก่อนแข่งขันไม่ถึง 1 เดือน ทำให้ผลงานของทัพช้างศึกชุดนี้ ที่มีแกนหลักอย่าง รัตนัย ส่องแสงจันทร์, เจนรบ สำเภาดี, สุพร ปินะกาตาโพธิ์, อิสริยะ มารมย์ และ อรรถวิทย์ สุขช่วย ต้องลุ้นถึงวินาทีสุดท้าย ก่อนเอาตัวรอดเป็นอันดับสองที่ดีที่สุด ลำดับ 5จาก 6 ทีม เข้าสู่รอบสุดท้ายที่ประเทศเมียนมาแบบฉิวเฉียด
ผลงานของทีมชาติไทย (แข่งที่สนามไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง)
ชนะ สิงคโปร์ 3-0 (อิสริยะ มารมย์ น.12,45+3 , เจนรบ สำเภาดี น.57)
ชนะ บรูไน 7-0 (ธนดล จันทร์สว่าง น.10, 90+4, อิสริยะ มารมย์ น.31, กุลชาติ จีนถนอม น.45,68,90, พิธิวัต สุขจิตธรรมกุล น.54)
แพ้ เกาหลีเหนือ 0-2
ที่มา : www.goal.com/th