อ่านมาถึงตอนนี้ทุกคนคงเตรียมพร้อมกันแล้ว และคงจะได้ค้นพบตัวเองแล้วว่า
รักชอบวิชาอะไรและอยากจะเรียนคณะไหนดี?
ทีนี้ก็มาถึงขั้นตอนของการเลือกมหาวิทยาลัยที่เราอยากจะสมัครเข้าเรียนกันแล้ว
ก่อนอื่นก็มาดูกันเลยว่าเราจะต้องศึกษาข้อมูลอะไรบ้าง มหาวิทยาลัยใด ที่รัฐไหน
ที่เหมาะกับจริตและความชอบของเรามากที่สุด
เนื่องจากประเทศสหรัฐอเมริกามีมหาวิทลัยทั้งขนาดเล็ก กลาง และขนาดใหญ่
มากถึงประมาณ 3,000 แห่ง แบ่งเป็นมหาวิทยาลัยทั้งที่เป็นของรัฐและเอกชน
บางแห่งอยู่ในตัวเมืองที่มีการคมนาคมที่สะดวก มีทั้งรถเมล์ รถไฟ
ให้เลือกใช้ในการเดินทาง มีร้านค้า ร้านอาหารและแหล่งบันเทิงครบครัน
เหมาะสำหรับนักเรียนที่พักอยู่นอกรั้วมหาวิทยาลัยเพื่อช่วยให้การเดินทางสะดวกขึ้น
ส่วนมหาวิทยาลัยบางแห่งอาจอยู่ห่างไกลความเจริญ เป็นเหมือนชนบท
หรือบ้านนอกของอเมริกาก็ว่าได้ การเดินทางก็จะไม่สะดวก ยกเว้นกรณีนักเรียนที่มีฐานะดี
มีเงินซื้อรถขับเองก็จะช่วยให้การเดินทางไปกลับสะดวกสบายกว่า
มหาวิทยาลัยบางแห่งก็ตั้งอยู่ในรัฐที่มีหิมะตกมาก มีอากาศหนาวเหน็บในช่วงฤดูหนาว
บางแห่งร้อนตับแตกยิ่งกว่าบ้านเราโดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน
แล้วแบบนี้เด็กนักเรียนไทยที่ไม่เคยไปสัมผัสประเทศอเมริกาและความเป็นอยู่
ของบ้านเขามาก่อนจะรู้ได้อย่างไรว่าควรจะเลือกไปที่ไหนที่เหมาะกับตัวเองดี?
ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจว่าควรเลือกสมัครไปที่มหาวิทยาลัยไหนในรัฐใดบ้าง
เราควรจะต้องใช้เวลาหาข้อมูลอย่างละเอียดซึ่งนักเรียนสมัยนี้จะได้เปรียบมากกว่ามาก
หากเทียบกับในอดีตเนื่องจากเดี๋ยวนี้นักเรียนสามารถหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต
ได้ง่าย ๆ สะดวกและรวดเร็วด้วยปลายนิ้ว หรือใช้บริการของอากู๋ Google
ก็จะได้ข้อมูลทุกอย่างตามที่ต้องการแล้ว
ในที่นี้จะรวบรวมข้อมูลบางส่วนที่น่าสนใจที่จะเป็นตัวช่วยคัดกรองเป็นเบื้องต้น
เริ่มต้นที่การรู้จักประเภทของมหาวิทยลัยในอเมริกาซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ
คือ Public University หรือมหาวิทยาลัยของรัฐและ Private University
หรือมหาวิทยาลัยเอกชนนั่นเอง นอกจากนั้นก็ยังมี Community College ที่เป็น
หลักสูตร 2 ปีซึ่งเรียนจบแล้วจะหางานทำเลยเหมือนโรงเรียนพาณิชย์ในบ้านเรา
หรือจะโอนหน่วยกิตเข้ามหาวิทยาลัยเพื่อเรียนต่ออีก 2 ปีจนจบปริญญาตรีก็ได้
Public University คือมหาวิทยลัยที่เป็นของรัฐในประเทศอเมริกานั้น
ส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ตามหัวเมืองของรัฐต่างๆ ซึ่งในแต่ละรัฐจะต้องมีมหาวิทยาลัย
ที่ตั้งชื่อตามรัฐอย่างน้อยหนึ่งมหาวิทยาลัย หรือหากเป็นรัฐที่มีประชากรหนาแน่น
ก็อาจจะมีมหาวิทยลัยประจำเมืองหลายแห่งโดยตั้งชื่อขึ้นต้นด้วยชื่อของรัฐ
และตามด้วยชื่อเมือง
ยกตัวอย่างเช่น University of California, Los Angeles ซึ่งหมายถึง
มหาวิทยลัยประจำรัฐแคลิฟอร์เนีย ที่ตั้งอยู่ในเมืองลอสแองเจลลิส
หรือ University of California, San Diego ก็หมายถึง
มหาวิทยลัยประจำรัฐแคลิฟอร์เนีย ที่ตั้งอยู่ในเมืองซานดิเอโก เป็นต้น
มหาวิทยาลัยของรัฐในสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่จะเป็นมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่
ที่มีนักศึกษาเป็นพันเป็นหมื่นคน โดยมหาวิทยาลัยที่มีนักศึกษาสมัครเข้าเรียน
มากที่สุดถึงเกือบ 60,000 คนคือมหาวิทยาลัย Arizona State University
และมหาวิทยาลัยที่มีขนาดเล็กก็จะมีนักศึกษาเพียงหลักพันต้น ๆ หรือหลักร้อยเท่านั้น
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดและความหนาแน่นของประชากรนักศึกษาในเมืองหรือรัฐนั้น ๆ
มหาวิทยลัยประจำรัฐตั้งขึ้นเพื่อรองรับนักศึกษาที่เป็นคนท้องถิ่นหรือ In State
โดยที่คิดค่าเทอมไม่แพงสำหรับนักศึกษาที่มีภูมิลำเนาในรัฐเดียวกัน
แต่จะต้องจ่ายค่าเรียนสูงกว่าถึง 2-3 เท่าสำหรับนักศึกษาต่างรัฐหรือ Out of State
และรวมถึงนักศึกษานานาชาติด้วย
แต่ปัจจุบันมหาลัยประจำรัฐหลายแห่งเติบโตและมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก
ทำให้มีนักศึกษาจากต่างรัฐและต่างประเทศสนใจสมัครเข้าเรียนกันมาก
ซึ่งถ้าไม่ใช่คนท้องถิ่นของรัฐนั้น ๆ ก็จะต้องเสียค่าเทอมรวมทั้งค่าที่พักและอาหาร
ในราคาที่แพงกว่าถึง 2-3 เท่าดังกล่าว แต่ก็ยังถูกกว่าเมื่อเทียบกับมหาวิทยาลียเอกชน
มหาวิทยาลัยของรัฐจึงเป็นที่ต้องการอย่างกว้างขวางกว่าของนักศึกษาทั้งที่เป็นคนท้องถิ่น
นักศึกษาต่างรัฐรวมทั้งนักศึกษาจากนานาประเทศ ซึ่งเป็นผลให้เกิดการแข่งขัน
ที่สูงเพิ่มมากขึ้นและทำให้การสมึครเข้าเรียนรวมทั้งขอทุนทำได้ยากขึ้นตามไปด้วย
Private University คือมหาลัยเอกชนที่มีทั้งขนาดเล็กมีจำนวนนักศึกษา 500-600 คน
จนถึงขนาดใหญ่ที่มีนักศึกษาหลายพันถึงหลายหมื่นคนเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยของรัฐ
มหาวิทยาลัยเอกชนบางแห่งมีความคล้ายคลึงกับมหาวิทยลัยของรัฐมากทั้งมาตรฐาน
และระบบการเรียนการสอน โดยเปิดสอนตั้งแต่ระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอก
ค่าเทอมมักจะแพงกว่ามหาวิทยลัยของรัฐถึงเท่าตัว ตัวอย่างมหาลัยเอกชน
ที่มีชื่อเสียงของอเมริกาคือ Harvard University, Princeton University,
Boston University, และ Johns Hopkins University เป็นต้น
Best Colleges in USA
Best All Rankings in US Colleges
ค่าเรียนราคาถูกในอเมริกา
ค่าเรียนของ University of Central Florida
ค่าเรียนราคาถูกที่สุดของมหาวิทยาลัยในอเมริกา
ค่าเรียนของ Harvard University
ค่าเรียนราคาแพงที่สุดของมหาวิทยาลัยในอเมริกา
หลายคนคงจะเคยได้ยินและสับสนกับความแตกต่างระหว่าง College และ University
ซึ่งที่จริงแล้วทั้งสองคำนี้มีความหมายเหมือนกันอย่างหนึ่งก็คือเป็นมหาวิทยาลัยเหมือนกัน
แต่ College ส่วนใหญ่จะสอนระดับปริญญาตรีและอาจจะมีถึงระดับปริญญาโทด้วยก็ได้
ส่วน University ส่วนใหญ่จะเน้นหนักไปทางงานวิจัย มีสอนทั้งระดับปริญญาตรี
ปริญญาโท จนถึงปริญญาเอก ซึ่งถ้าเทียบขนาดกันแล้วส่วนใหญ่ University จะมีขนาด
หรือจำนวนนักศึกษาที่มากกว่าและคณะที่เปิดสอนมีหลากหลายสาขามากกว่า College
อย่างไรก็ตามยังมีมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ที่อยู่ในระดับ University แต่ยังคงใช้ชื่อ
เป็น College เนื่องจากเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์
จึงยังคงสถานภาพเป็น College และไม่ได้เปลี่ยนเป็น University ตามศักยภาพ
ของขนาดและความหลากหลายของคณะที่เปิดสอน ตัวอย่างเช่น Boston College,
Dartmouth College, และ The College of William & Mary เป็นต้น
Top 10 มหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกา
มหาวิทยาลัยทั้ง 3 แห่งที่ลูก ๆ ของ จขกท ได้ทุนเรียนเป็นของภาคเอกชนที่มีขนาดเล็กทั้งสิ้น
โดยมหาวิทยาลัยของน้อง Sandy เป็นระดับ College มีนักศึกษาสองพันกว่าคน
มีสอนระดับปริญญาตรีและโท ส่วนของน้อง Doctor เป็นระดับ College เช่นกัน
มีนักศึกษารวม 2 แห่งแค่ประมาณ 1,000 กว่าคนเท่านั้น มีสอนทั้งระดับปริญญาตรีและโท
และของน้อง Paul เป็นระดับ University มีสอนทั้งระดับปริญญาตรีและโท
มีนักศึกษาประมาณ 3,500 กว่าคนในรัฐที่เรียน และ 9,000 กว่าคนในอีกสาขาต่างรัฐ
ทั้งนี้ไม่รวมสาขาในต่างประเทศเช่นอังกฤษ และประเทศอื่น ๆ ในยุโรป
ปัจจุบันมีนักเรียนจากทั่วโลกปีละกว่า 720,000 คนที่สมัครเข้าศึกษาต่อในหรัฐอเมริกา
โดยประเทศที่มีนักศึกษาเข้ามาเรียนมากที่สุดคือประเทศจีนที่มีมากถึงปีละกว่า 150,000 คน
นอกนั้นเป็นนักศึกษาที่มาจากหลายประเทศทั่วโลก ทั้งยุโรป ตะวันออกกลาง อัฟริกาใต้
เอเชีย รวมทั้งประเทศไทยซึ่งมีเด็กนักเรียนไทยเข้าไปเรียนในประเทศสหรัฐอเมริกา
ในปี 2014 เป็นจำนวนมากถึง 7,341 คน ไทยเป็นประเทศที่มีนักศึกษาเข้าเรียน
ในระดับมหาวิทยาลัยในอเมริกามากที่สุดเป็นอันดับที่ 20 ของโลก
สาเหตุที่ประเทศอเมริกาเป็นประเทศที่มีนักศึกษาต่างชาติมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก
รองจากประเทศอังกฤษเนื่องจากระบบการศึกษาในอเมริกาที่มีความทันสมัย
มากที่สุดแล้ว อเมริกายังเป็นเจ้าบุญทุ่มที่ให้ทุนการศึกษาแก่นักศึกษาต่างชาติ
มากที่สุดอีกด้วยจึงทำให้นักศึกษาที่แม้จะมาจากครอบครัวที่ยากจน แต่มีผลการเรียนที่ดี
ก็ยังสามารถสานฝันที่จะเดินทางไปเรียนต่างประเทศโดยเฉพาะอเมริกา
ให้เป็นจริงได้โดยการสมัครขอและได้รับทุนการศึกษานั่นเอง
อย่างไรก็ตามมีการตรวจสอบพบว่าปัจจุบันมีเด็กนักเรียนต่างชาติจำนวนหนึ่ง
สมัครเรียนหรือขอทุนผ่านบริษัทตัวแทนหรือ Agency แล้วให้ตัวแทนเหล่านี้
ช่วยกรอกใบสมัครและเตรียมเอกสารทุกอย่างให้ รวมทั้งการเขียน Essay
ที่ต่อมาพบว่ามีมหาวิทยาลัยบางแห่งสุ่มสัมภาษณ์เด็กนักเรียนบางคนเกี่ยวกับ
หัวข้อ Essay ที่เขียนส่งมาพร้อมกับใบสมัคร
ปรากฏว่ามีผู้สมัครบางคนไม่สามารถตอบคำถามผู้สัมภาษณ์เกี่ยวกับ
เนื้อหาใน Essay ที่เขียนส่งไป เพราะไม่ได้เป็นผู้เขียนเรื่องราวดังกล่าวใน Essay เอง
และไม่ได้มีความรู้จริงเกี่ยวกับเรื่องที่เขียนไป จึงทำให้นักเรียนหลายคน
หมดโอกาสเข้าศึกษาต่อในอเมริกาอย่างน่าเสียดาย
ดังนั้นจึงขอให้เด็กนักเรียนไทยอย่าได้ให้ผู้อื่นเขียน Essay ให้ แต่ต้องพยายาม
ทำด้วยสมองและสองมือของตนเอง เพราะเขาจะดูที่มุมมองความคิดของเรา
เกี่ยวกับเรื่องที่จะให้เขียนมากกว่า จึงไม่ต้องกลัวเรื่องหลักไวยากรณ์มากจนเกินไป
แต่ถ้าอยากจะให้คนที่เก่งภาษาอังกฤษช่วยขัดเกลาสำนวนก่อนในชั้นหนึ่ง
ก็น่าจะทำได้ไม่เป็นปัญหา ตราบใดที่เรามีความรู้ความเข้าใจเกียวกับเรื่องราวที่เขียน
และสามารถตอบคำถามได้ก็พอ
การเลือกและพิจารณามหาวิทยาลัยที่น่าสนใจก็ยังสามารถทำได้ด้วยการ
สอบถามข้อมูลจากเพื่อนฝูงญาติพี่น้องที่เคยเรียนมาก่อน ศึกษาจากการค่นหาข้อมูล
ในอินเตอร์เน็ต สอบถามจากครูแนะแนวในโรงเรียน หรือการเยี่ยมชม Booth มหาวิทยาลัยต่าง ๆ
ที่มีการจัดงาน College Fair โดยจะมีมหาวิทยาลัยมาโฆษณาให้ข้อมูล
แก่นักเรียนไทยที่สนใจไปศึกษาต่อ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นมหาวิทยาลัยของภาคเอกชน
ที่มาเดินสายหานักศึกษา โดยส่วนใหญ่ทำในเชิงพาณิชย์เพื่อหารายได้เข้ามหาวิทยาลัย
งาน College Fair จึงเหมาะสำหรับนักเรียนที่มีทุนจากทางบ้านเป็นสำคัญ
แต่ก็อาจจะมีบางมหาวิทยาลัยมีทุนการศึกษาบางส่วนหรือส่วนลดค่าเล่าเรียน
ให้สำหรับนักเรียนที่มี Profile ที่ดีด้วยเช่นกัน
เมื่อได้ทำความรู้จักและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยที่สนใจอยากจะสมัครเรียน
เรียบร้อยแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนของการกรอกใบสมัครเรียน ซึ่งตามที่ได้เคยกล่าวไว้
ในตอนก่อน ๆ ว่าข้อมูลที่สำคัญที่จะต้องเตรียมพร้อมสำหรับกรอกลงในใบสมัคร
ประกอบด้วย 5 ส่วนที่สำคัญคือ ACT/SAT scores, GPA, College Application,
Essay, and Letters of Recommendation รวมทั้งข้อมูล Portfolio ที่ระบุความรู้
ความสามารถและกิจกรรมนอกหลักสูตรที่คิดว่ามหาลัยจะสนใจก็สามารถ
ทำแฟ้มแสดงผลงานส่งไปให้มหาวิทยาลัยพิจารณาเพิ่มเติมได้
นอกจากนี้ก็ต้องตรวจสอบถึง Requirements ต่าง ๆ ของแต่ละมหาวิทยาลัย
จาก Web site โดยตรงที่อาจจะกำหนดรายละเอียดความต้องการในเรื่องต่าง ๆ
ที่นอกเหนือจากรายการที่ระบุไว้ใน CommonApp ด้วย
"กว่าจะปั้นลูก 3 คนได้ทุนเรียนอเมริกาฟรี" ตอนที่ 5 มหาวิทยาลัยไหนดีกับการกรอก CommonApp
รักชอบวิชาอะไรและอยากจะเรียนคณะไหนดี?
ทีนี้ก็มาถึงขั้นตอนของการเลือกมหาวิทยาลัยที่เราอยากจะสมัครเข้าเรียนกันแล้ว
ก่อนอื่นก็มาดูกันเลยว่าเราจะต้องศึกษาข้อมูลอะไรบ้าง มหาวิทยาลัยใด ที่รัฐไหน
ที่เหมาะกับจริตและความชอบของเรามากที่สุด
เนื่องจากประเทศสหรัฐอเมริกามีมหาวิทลัยทั้งขนาดเล็ก กลาง และขนาดใหญ่
มากถึงประมาณ 3,000 แห่ง แบ่งเป็นมหาวิทยาลัยทั้งที่เป็นของรัฐและเอกชน
บางแห่งอยู่ในตัวเมืองที่มีการคมนาคมที่สะดวก มีทั้งรถเมล์ รถไฟ
ให้เลือกใช้ในการเดินทาง มีร้านค้า ร้านอาหารและแหล่งบันเทิงครบครัน
เหมาะสำหรับนักเรียนที่พักอยู่นอกรั้วมหาวิทยาลัยเพื่อช่วยให้การเดินทางสะดวกขึ้น
ส่วนมหาวิทยาลัยบางแห่งอาจอยู่ห่างไกลความเจริญ เป็นเหมือนชนบท
หรือบ้านนอกของอเมริกาก็ว่าได้ การเดินทางก็จะไม่สะดวก ยกเว้นกรณีนักเรียนที่มีฐานะดี
มีเงินซื้อรถขับเองก็จะช่วยให้การเดินทางไปกลับสะดวกสบายกว่า
มหาวิทยาลัยบางแห่งก็ตั้งอยู่ในรัฐที่มีหิมะตกมาก มีอากาศหนาวเหน็บในช่วงฤดูหนาว
บางแห่งร้อนตับแตกยิ่งกว่าบ้านเราโดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน
แล้วแบบนี้เด็กนักเรียนไทยที่ไม่เคยไปสัมผัสประเทศอเมริกาและความเป็นอยู่
ของบ้านเขามาก่อนจะรู้ได้อย่างไรว่าควรจะเลือกไปที่ไหนที่เหมาะกับตัวเองดี?
ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจว่าควรเลือกสมัครไปที่มหาวิทยาลัยไหนในรัฐใดบ้าง
เราควรจะต้องใช้เวลาหาข้อมูลอย่างละเอียดซึ่งนักเรียนสมัยนี้จะได้เปรียบมากกว่ามาก
หากเทียบกับในอดีตเนื่องจากเดี๋ยวนี้นักเรียนสามารถหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต
ได้ง่าย ๆ สะดวกและรวดเร็วด้วยปลายนิ้ว หรือใช้บริการของอากู๋ Google
ก็จะได้ข้อมูลทุกอย่างตามที่ต้องการแล้ว
ในที่นี้จะรวบรวมข้อมูลบางส่วนที่น่าสนใจที่จะเป็นตัวช่วยคัดกรองเป็นเบื้องต้น
เริ่มต้นที่การรู้จักประเภทของมหาวิทยลัยในอเมริกาซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ
คือ Public University หรือมหาวิทยาลัยของรัฐและ Private University
หรือมหาวิทยาลัยเอกชนนั่นเอง นอกจากนั้นก็ยังมี Community College ที่เป็น
หลักสูตร 2 ปีซึ่งเรียนจบแล้วจะหางานทำเลยเหมือนโรงเรียนพาณิชย์ในบ้านเรา
หรือจะโอนหน่วยกิตเข้ามหาวิทยาลัยเพื่อเรียนต่ออีก 2 ปีจนจบปริญญาตรีก็ได้
Public University คือมหาวิทยลัยที่เป็นของรัฐในประเทศอเมริกานั้น
ส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ตามหัวเมืองของรัฐต่างๆ ซึ่งในแต่ละรัฐจะต้องมีมหาวิทยาลัย
ที่ตั้งชื่อตามรัฐอย่างน้อยหนึ่งมหาวิทยาลัย หรือหากเป็นรัฐที่มีประชากรหนาแน่น
ก็อาจจะมีมหาวิทยลัยประจำเมืองหลายแห่งโดยตั้งชื่อขึ้นต้นด้วยชื่อของรัฐ
และตามด้วยชื่อเมือง
ยกตัวอย่างเช่น University of California, Los Angeles ซึ่งหมายถึง
มหาวิทยลัยประจำรัฐแคลิฟอร์เนีย ที่ตั้งอยู่ในเมืองลอสแองเจลลิส
หรือ University of California, San Diego ก็หมายถึง
มหาวิทยลัยประจำรัฐแคลิฟอร์เนีย ที่ตั้งอยู่ในเมืองซานดิเอโก เป็นต้น
มหาวิทยาลัยของรัฐในสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่จะเป็นมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่
ที่มีนักศึกษาเป็นพันเป็นหมื่นคน โดยมหาวิทยาลัยที่มีนักศึกษาสมัครเข้าเรียน
มากที่สุดถึงเกือบ 60,000 คนคือมหาวิทยาลัย Arizona State University
และมหาวิทยาลัยที่มีขนาดเล็กก็จะมีนักศึกษาเพียงหลักพันต้น ๆ หรือหลักร้อยเท่านั้น
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดและความหนาแน่นของประชากรนักศึกษาในเมืองหรือรัฐนั้น ๆ
มหาวิทยลัยประจำรัฐตั้งขึ้นเพื่อรองรับนักศึกษาที่เป็นคนท้องถิ่นหรือ In State
โดยที่คิดค่าเทอมไม่แพงสำหรับนักศึกษาที่มีภูมิลำเนาในรัฐเดียวกัน
แต่จะต้องจ่ายค่าเรียนสูงกว่าถึง 2-3 เท่าสำหรับนักศึกษาต่างรัฐหรือ Out of State
และรวมถึงนักศึกษานานาชาติด้วย
แต่ปัจจุบันมหาลัยประจำรัฐหลายแห่งเติบโตและมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก
ทำให้มีนักศึกษาจากต่างรัฐและต่างประเทศสนใจสมัครเข้าเรียนกันมาก
ซึ่งถ้าไม่ใช่คนท้องถิ่นของรัฐนั้น ๆ ก็จะต้องเสียค่าเทอมรวมทั้งค่าที่พักและอาหาร
ในราคาที่แพงกว่าถึง 2-3 เท่าดังกล่าว แต่ก็ยังถูกกว่าเมื่อเทียบกับมหาวิทยาลียเอกชน
มหาวิทยาลัยของรัฐจึงเป็นที่ต้องการอย่างกว้างขวางกว่าของนักศึกษาทั้งที่เป็นคนท้องถิ่น
นักศึกษาต่างรัฐรวมทั้งนักศึกษาจากนานาประเทศ ซึ่งเป็นผลให้เกิดการแข่งขัน
ที่สูงเพิ่มมากขึ้นและทำให้การสมึครเข้าเรียนรวมทั้งขอทุนทำได้ยากขึ้นตามไปด้วย
Private University คือมหาลัยเอกชนที่มีทั้งขนาดเล็กมีจำนวนนักศึกษา 500-600 คน
จนถึงขนาดใหญ่ที่มีนักศึกษาหลายพันถึงหลายหมื่นคนเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยของรัฐ
มหาวิทยาลัยเอกชนบางแห่งมีความคล้ายคลึงกับมหาวิทยลัยของรัฐมากทั้งมาตรฐาน
และระบบการเรียนการสอน โดยเปิดสอนตั้งแต่ระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอก
ค่าเทอมมักจะแพงกว่ามหาวิทยลัยของรัฐถึงเท่าตัว ตัวอย่างมหาลัยเอกชน
ที่มีชื่อเสียงของอเมริกาคือ Harvard University, Princeton University,
Boston University, และ Johns Hopkins University เป็นต้น
Best Colleges in USA
Best All Rankings in US Colleges
ค่าเรียนราคาถูกในอเมริกา
ค่าเรียนของ University of Central Florida
ค่าเรียนราคาถูกที่สุดของมหาวิทยาลัยในอเมริกา
ค่าเรียนของ Harvard University
ค่าเรียนราคาแพงที่สุดของมหาวิทยาลัยในอเมริกา
หลายคนคงจะเคยได้ยินและสับสนกับความแตกต่างระหว่าง College และ University
ซึ่งที่จริงแล้วทั้งสองคำนี้มีความหมายเหมือนกันอย่างหนึ่งก็คือเป็นมหาวิทยาลัยเหมือนกัน
แต่ College ส่วนใหญ่จะสอนระดับปริญญาตรีและอาจจะมีถึงระดับปริญญาโทด้วยก็ได้
ส่วน University ส่วนใหญ่จะเน้นหนักไปทางงานวิจัย มีสอนทั้งระดับปริญญาตรี
ปริญญาโท จนถึงปริญญาเอก ซึ่งถ้าเทียบขนาดกันแล้วส่วนใหญ่ University จะมีขนาด
หรือจำนวนนักศึกษาที่มากกว่าและคณะที่เปิดสอนมีหลากหลายสาขามากกว่า College
อย่างไรก็ตามยังมีมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ที่อยู่ในระดับ University แต่ยังคงใช้ชื่อ
เป็น College เนื่องจากเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์
จึงยังคงสถานภาพเป็น College และไม่ได้เปลี่ยนเป็น University ตามศักยภาพ
ของขนาดและความหลากหลายของคณะที่เปิดสอน ตัวอย่างเช่น Boston College,
Dartmouth College, และ The College of William & Mary เป็นต้น
Top 10 มหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกา
มหาวิทยาลัยทั้ง 3 แห่งที่ลูก ๆ ของ จขกท ได้ทุนเรียนเป็นของภาคเอกชนที่มีขนาดเล็กทั้งสิ้น
โดยมหาวิทยาลัยของน้อง Sandy เป็นระดับ College มีนักศึกษาสองพันกว่าคน
มีสอนระดับปริญญาตรีและโท ส่วนของน้อง Doctor เป็นระดับ College เช่นกัน
มีนักศึกษารวม 2 แห่งแค่ประมาณ 1,000 กว่าคนเท่านั้น มีสอนทั้งระดับปริญญาตรีและโท
และของน้อง Paul เป็นระดับ University มีสอนทั้งระดับปริญญาตรีและโท
มีนักศึกษาประมาณ 3,500 กว่าคนในรัฐที่เรียน และ 9,000 กว่าคนในอีกสาขาต่างรัฐ
ทั้งนี้ไม่รวมสาขาในต่างประเทศเช่นอังกฤษ และประเทศอื่น ๆ ในยุโรป
ปัจจุบันมีนักเรียนจากทั่วโลกปีละกว่า 720,000 คนที่สมัครเข้าศึกษาต่อในหรัฐอเมริกา
โดยประเทศที่มีนักศึกษาเข้ามาเรียนมากที่สุดคือประเทศจีนที่มีมากถึงปีละกว่า 150,000 คน
นอกนั้นเป็นนักศึกษาที่มาจากหลายประเทศทั่วโลก ทั้งยุโรป ตะวันออกกลาง อัฟริกาใต้
เอเชีย รวมทั้งประเทศไทยซึ่งมีเด็กนักเรียนไทยเข้าไปเรียนในประเทศสหรัฐอเมริกา
ในปี 2014 เป็นจำนวนมากถึง 7,341 คน ไทยเป็นประเทศที่มีนักศึกษาเข้าเรียน
ในระดับมหาวิทยาลัยในอเมริกามากที่สุดเป็นอันดับที่ 20 ของโลก
สาเหตุที่ประเทศอเมริกาเป็นประเทศที่มีนักศึกษาต่างชาติมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก
รองจากประเทศอังกฤษเนื่องจากระบบการศึกษาในอเมริกาที่มีความทันสมัย
มากที่สุดแล้ว อเมริกายังเป็นเจ้าบุญทุ่มที่ให้ทุนการศึกษาแก่นักศึกษาต่างชาติ
มากที่สุดอีกด้วยจึงทำให้นักศึกษาที่แม้จะมาจากครอบครัวที่ยากจน แต่มีผลการเรียนที่ดี
ก็ยังสามารถสานฝันที่จะเดินทางไปเรียนต่างประเทศโดยเฉพาะอเมริกา
ให้เป็นจริงได้โดยการสมัครขอและได้รับทุนการศึกษานั่นเอง
อย่างไรก็ตามมีการตรวจสอบพบว่าปัจจุบันมีเด็กนักเรียนต่างชาติจำนวนหนึ่ง
สมัครเรียนหรือขอทุนผ่านบริษัทตัวแทนหรือ Agency แล้วให้ตัวแทนเหล่านี้
ช่วยกรอกใบสมัครและเตรียมเอกสารทุกอย่างให้ รวมทั้งการเขียน Essay
ที่ต่อมาพบว่ามีมหาวิทยาลัยบางแห่งสุ่มสัมภาษณ์เด็กนักเรียนบางคนเกี่ยวกับ
หัวข้อ Essay ที่เขียนส่งมาพร้อมกับใบสมัคร
ปรากฏว่ามีผู้สมัครบางคนไม่สามารถตอบคำถามผู้สัมภาษณ์เกี่ยวกับ
เนื้อหาใน Essay ที่เขียนส่งไป เพราะไม่ได้เป็นผู้เขียนเรื่องราวดังกล่าวใน Essay เอง
และไม่ได้มีความรู้จริงเกี่ยวกับเรื่องที่เขียนไป จึงทำให้นักเรียนหลายคน
หมดโอกาสเข้าศึกษาต่อในอเมริกาอย่างน่าเสียดาย
ดังนั้นจึงขอให้เด็กนักเรียนไทยอย่าได้ให้ผู้อื่นเขียน Essay ให้ แต่ต้องพยายาม
ทำด้วยสมองและสองมือของตนเอง เพราะเขาจะดูที่มุมมองความคิดของเรา
เกี่ยวกับเรื่องที่จะให้เขียนมากกว่า จึงไม่ต้องกลัวเรื่องหลักไวยากรณ์มากจนเกินไป
แต่ถ้าอยากจะให้คนที่เก่งภาษาอังกฤษช่วยขัดเกลาสำนวนก่อนในชั้นหนึ่ง
ก็น่าจะทำได้ไม่เป็นปัญหา ตราบใดที่เรามีความรู้ความเข้าใจเกียวกับเรื่องราวที่เขียน
และสามารถตอบคำถามได้ก็พอ
การเลือกและพิจารณามหาวิทยาลัยที่น่าสนใจก็ยังสามารถทำได้ด้วยการ
สอบถามข้อมูลจากเพื่อนฝูงญาติพี่น้องที่เคยเรียนมาก่อน ศึกษาจากการค่นหาข้อมูล
ในอินเตอร์เน็ต สอบถามจากครูแนะแนวในโรงเรียน หรือการเยี่ยมชม Booth มหาวิทยาลัยต่าง ๆ
ที่มีการจัดงาน College Fair โดยจะมีมหาวิทยาลัยมาโฆษณาให้ข้อมูล
แก่นักเรียนไทยที่สนใจไปศึกษาต่อ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นมหาวิทยาลัยของภาคเอกชน
ที่มาเดินสายหานักศึกษา โดยส่วนใหญ่ทำในเชิงพาณิชย์เพื่อหารายได้เข้ามหาวิทยาลัย
งาน College Fair จึงเหมาะสำหรับนักเรียนที่มีทุนจากทางบ้านเป็นสำคัญ
แต่ก็อาจจะมีบางมหาวิทยาลัยมีทุนการศึกษาบางส่วนหรือส่วนลดค่าเล่าเรียน
ให้สำหรับนักเรียนที่มี Profile ที่ดีด้วยเช่นกัน
เมื่อได้ทำความรู้จักและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยที่สนใจอยากจะสมัครเรียน
เรียบร้อยแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนของการกรอกใบสมัครเรียน ซึ่งตามที่ได้เคยกล่าวไว้
ในตอนก่อน ๆ ว่าข้อมูลที่สำคัญที่จะต้องเตรียมพร้อมสำหรับกรอกลงในใบสมัคร
ประกอบด้วย 5 ส่วนที่สำคัญคือ ACT/SAT scores, GPA, College Application,
Essay, and Letters of Recommendation รวมทั้งข้อมูล Portfolio ที่ระบุความรู้
ความสามารถและกิจกรรมนอกหลักสูตรที่คิดว่ามหาลัยจะสนใจก็สามารถ
ทำแฟ้มแสดงผลงานส่งไปให้มหาวิทยาลัยพิจารณาเพิ่มเติมได้
นอกจากนี้ก็ต้องตรวจสอบถึง Requirements ต่าง ๆ ของแต่ละมหาวิทยาลัย
จาก Web site โดยตรงที่อาจจะกำหนดรายละเอียดความต้องการในเรื่องต่าง ๆ
ที่นอกเหนือจากรายการที่ระบุไว้ใน CommonApp ด้วย