เมื่อมีเวลาเกิดขึ้นในเอกภพแล้วก็จะมีเวลาต่อไปตลอดกาลเป็นอนันต์ใช่หรือไม่?

เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างไร
มาลองแสดงความเห็นกัน

1. ถ้าถามว่าเวลามีจุดเริ่มต้นไหม ถ้าบอกว่าเวลามีจุดเริ่มต้น ก็ต้องมีช่วงเวลาก่อนหน้านั้น นั้นจุดเริ่มต้นของเวลาที่เราบอกก็จะไม่ใช่จุดเริ่มต้นของเวลาที่แท้จริง ดังนั้นเวลาจะต้องเป็นแบบจำนวนในคณิตศาสตร์คือ เซทของจำนวนจริงคือ [-infinity,อะไรดูข้อต่อไป]

2. อย่างตอนนี้เอกภพที่เราอยู่ มีเวลาอยู่ก่อน ณ ตอนที่เรามาอยู่บนโลกนี้เสียอีก แล้วในเมื่อมีเวลาเกิดขึ้นมาแล้ว มันจะหายไปได้อย่างไร แม้เอกภพนี้ดับสูญไปก็ยังต้องมีเวลาหลังจากเอกภพดับสูญไป จะเห็นว่าเมื่อมีเวลาเกิดขึ้นมาแล้ว เวลาไม่สามารถหายไปได้ ดังนั้น เวลาจะต้องไม่มีจุดจบ จาก ข้อแรก และข้อสองมารวมกันทำให้ เซทของเวลาเหมือนเซทของจำนวนจริง คือ [-infinity,infinity]

3 จะเห็นว่าคณิตศาสตร์ปรากฎอยู่ในโลกความจริงเกือบทุกอย่าง  เด่นๆก็เช่น ค่าไพ อัตราส่วนทองทำ แฟลคทัล  เป็นต้น แต่ยกเว้น infinity เพราะถ้าวัตถุมีมวลใดๆมีปริมาณ infinity มันก็จะทับถมเต็มเอกภพของเรา เราจึงไม่เห็นว่ามี infinity อยู่ใน physical world แต่เราใช้ infinity มากตอนวิชา analysis และมันก็สำคัญในคณิตศาสตร์จริงๆ  แต่ที่เราไม่พบมันในโลกจริงๆไม่ใช่ว่ามันไม่มี ผมคิดว่าเวลา นี่แหละต้องใช้คอนเซปเรื่อง infinity มาอธิบาย เรื่องเซทของเวลาเหมือนเซทของจำนวนจริง คือ [-infinity,infinity]   นั้น ถ้าจัดให้เวลาเป็นปริมาณหนึ่งที่อยู่ใน physical world (ใช้คำว่า space time ก็ได้) เรื่อง infinity ก็ถือว่ามีอยู่จริงใน physical world เช่นกัน


4 จาก ปสก ของมนุษย์เราคุ้นชินกับเรื่อง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เกิด ตาย พระอาทิตย์ขึ้น ตก    เราคุ้นชินกับอะไรที่มีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด
แต่ อะไรที่ไม่มีจุดเริ่มต้น และไม่มีจุดสิ้นสุด เราก็จะมองว่าสิ่งนี้แปลกและขัดกับสามัญสำนึก เป็นไปไม่ได้ แต่จริงๆแล้ว อะไรที่ไม่มีจุดเริ่มต้นและไม่มีจุดสิ้นสุดก็น่าจะเป็นเรื่องปกติในธรรมชาติ และเวลาก็มีคุณสมบัตินั้นเช่นกัน

5 นอกจากเวลาแล้วยังมีอะไรอีกที่ไม่มีจุดเริ่มต้นและสิ้นสุด สิ่งนั้นน่าจะเป็น multiverse และ multiverse ก็น่าจะมีเอกภพบรรจุอยู่เป็น อนันต์ เช่นกัน นั้น infinity จะมีสองสิ่งที่มีคุณสมบัตินี้คือเวลา และจำนวนของเอกภพในmultiverse

6  บิกแบงค์น่าจะเป็นแค่การเกิดขึ้นของเอกภพแต่ละเอกภพ ที่เกิดจาก quantum fluctuation เช่น เอกภพของเรามีอายุตามบิกแบงค์ คือหนึ่งหมื่นห้าพันล้านปี ซึ่งดูเป็นเวลาที่สั้น แต่เวลาจริงของmultiverse ก็ตามข้อ สองที่เขียนไว้คือไม่มีต้นไม่มีปลาย และเอกภพน่าจะเป็นแบบวัฎจักร หรือ cyclic universe

7 ถ้าสิ่งมีชีวิตเกิดได้เพราะ มีดาวเคราะห์โคจรรอบดาวฤกษ์ในตำแหน่งที่เหมาะสม บวกกับมีสภาพแวดล้อมเหมาะให้เกิดสิ่งมีชีวิต
ดูจากความกว้างใหญ่ของเอกภพ และจำนวนเอกภพที่เป็นอนันต์ และมีเวลาที่เป็นอยัต์ นั่นก็พออนุมานได้ว่าเคยมีอารยธรรมต่างดาว เกิดขึ้นแล้วมากมาย และกำลังจะเกิดขึ้นอีกในอนาคตอีกมากมาย และอารยธรรมมนุษย์ของเราก็เป็นแค่หนึ่งในอารยธรรมจำนวนมากที่เกิดขึ้น พูดอีกอย่างก็คือมนุษย์ต่างดาวมีจริง

8 คณิตศาสตร์อาจไม่ได้เป็นคำอธิบายเอกภพที่ดีมากก็ได้  แต่คณิตศาสตร์จริงๆแล้วอาจคือตัวเอกภพเอง เราก็เหมือนคนในเกม the sims 4 ที่เอกภพคือคณิตศาสตร์ของเลขฐานสองของสัญญาณไฟฟ้าผ่าน ลอจิกเกตจำนวนมากของในคอมพิวเตอร์ ไม่น่าเชื่อว่าพื้นฐานจากเลขฐานสองสามารถสร้างเกมกราฟฟิกสวยงามได้อย่างไร ก็ไม่น่าเชื่อเช่นกันว่าเอกภพนี้คือคณิตศาสตร์ทำให้เกิดโลกที่เราสัมผัสสิ่งต่างๆมากมายนี้ได้อย่างไร



ข่าวดีก็คือ มีจำนวนคอมพิวเตอร์ที่เล่นเกมนี้ เป็นinfinity
และเกมนี้ก็ไม่มีจุดเริ่มต้นและไม่มีจุดจบ  มันมีมาก่อนหน้านี้ยาวนานมาก และจะเป็นอย่างนี้ต่อไปอีกยาวนาน เป็นอนันต์




และที่สำคัญ มันเป็นกระบวนการที่กำลังเกิดขึ้นจริงอยู่ในตอนนี้
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่