เหตุผล 5 ข้อที่เราอาจอาศัยอยู่ในพหุภพ

กระทู้คำถาม

เอกภพที่เราอาศัยอยู่นี้อาจไม่ได้เป็นเพียงเอกภพเดียว ในความเป็นจริงเอกภพของเราอาจเป็นแค่หนึ่งในเอกภพจำนวนนับไม่ถ้วนที่สร้างขึ้นเป็น"พหุภพ"

แม้ว่าความคิดนี้อาจยากที่จะเชื่อ แต่มีฟิสิกส์ที่ถูกต้องอยู่เบื้องหลัง และไม่ได้มีแค่วิธีเดียวเพื่อให้มีพหุภพ ทฤษฏีฟิสิกส์มากมายต่างชี้ไปที่ข้อสรุปเดียวกันนี้ จริงๆแล้วผู้เชี่ยวชาญบางคนคิดว่าการมีอยู่ของเอกภพที่หลบซ่อนตัวอยู่มีความเป็นไปได้มากกว่าไม่มี

ต่อไปนี้คือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นไปได้มากที่สุด 5 ทฤษฎี ซึ่งเสนอว่าเราอาศัยอยู่ในพหุภพ

1 Infinite Universes
นักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถแน่ใจได้ว่ากาล-อวกาศมีรูปร่างอย่างไร แต่เป็นไปได้ว่ามันแบนราบ (ตรงกันข้ามกับทรงกลม หรือ แม้แต่รูปทรงโดนัท) และยืดขยายออกไปไม่สิ้นสุด แต่ถ้ากาล-อวกาศเป็นเช่นนี้ตลอดไป มันต้องเริ่มซ้ำกันที่จุดใดจุดหนึ่ง เพราะว่ามีจำนวนวิธีที่จำกัดที่อนุภาคสามารถจัดเรียงตัวได้ในกาล-อวกาศ

ดังนั้นถ้าคุณมองออกไปไกลมากพอ คุณจะพบกลับอีกเวอร์ชั่นหนึ่งของตัวคุณ จริงๆแล้วมีเวอร์ชั่นที่เป็นตัวคุณเป็นอนันต์ คู่แฝดเหล่านี้บางคนคงจะกำลังทำอะไรอย่างเดียวกันกับที่คุณกำลังทำอยู่ในตอนนี้ ในขณะที่คนอื่นๆจะสวมใส่เสื้อผ้าที่แตกต่างออกไปในตอนเช้า ส่วนคนอื่นๆคงจะเลือกทางเดินชีวิตและอาชีพการงานที่แตกต่างกันออกไปอย่างมาก

เพราะว่าเอกภพที่สังเกตการณ์ได้ขยายไปได้ไกลเท่าที่แสงมีโอกาสเดินทางไปถึงในระยะเวลา 13.7 พันล้านปีนับตั้งแต่เกิดบิ๊กแบงเท่านั้น (นั่นคือ 13.7 พันล้านปีแสง) กาล-อวกาศที่เลยระยะทางนั้นออกไปจึงสามารถพิจารณาได้ว่าเป็นเอกภพแยกต่างหากของมันเอง ด้วยวิธีนี้เอกภพมากมายอยู่ถัดกันไปในผืนผ้าของเอกภพขนาดยักษ์

2. Bubble Universes
นอกเหนือจากเอกภพมากมายที่ถูกสร้างขึ้นโดยการยืดขยายออกไปไม่สิ้นสุดของกาล-อวกาศ เอกภพอื่นๆอาจเกิดขึ้นได้จากทฤษฎีที่เรียกว่า “การพองตัวชั่วนิรันดร์ (eternal inflation)" การพองตัวเป็นแนวคิดที่ว่าเอกภพขยายตัวอย่างรวดเร็วภายหลังจากเกิดบิ๊กแบง ผลที่ได้คือการพองตัวเช่นเดียวกับบอลลูน การพองตัวชั่วนิรันดร์ถูกนำเสนอครั้งแรกโดยนักจักรวาลวิทยา อเล็กซานเดอร์ วิเลนคิน แห่งมหาวิทยาลัยทุฟท์ เสนอว่าบางส่วนของอวกาศหยุดการพองตัว ในขณะที่อาณาบริเวณอื่นๆพองตัวต่อไป นั่นทำให้เกิดฟองเอกภพที่แยกโดดเดี่ยวจำนวนมาก

นั่นคือเอกภพของเราเอง (ซึ่งการพองตัวสิ้นสุดลง ทำให้ดวงดาวและกาแล็กซี่ก่อตัวขึ้นได้) เป็นเพียงฟองเล็กๆในทะเลอันกว้างใหญ่ของอวกาศ (ซึ่งบางส่วนนั้นยังคงพองตัวต่อไป) อันประกอบด้วยฟองอื่นๆอีกมากมายเช่นเดียวกับของเรา และในฟองเอกภพเหล่านี้บางส่วน กฎทางฟิสิกส์และค่าคงตัวพื้นฐานอาจแตกต่างจากในเอกภพของเรา ทำให้เอกภพบางแห่งเป็นสถานที่ที่แปลกประหลาดอย่างยิ่ง

3. Parallel Universes
แนวคิดอื่นซึ่งเกิดขึ้นจากทฤษฎีสตริงคือแนวคิด "เบรนเวิลด์" เอกภพคู่ขนานซึ่งอยู่ไกลเกินเกินเอื้อมจากเอกภพของเรา แนวคิดนี้มาจากความเป็นไปได้ของมิติอื่นๆที่มากกว่าโลกของเรา มากกว่าอวกาศทั้งสามมิติและเวลาหนึ่งมิติที่เรารู้จัก นอกเหนือจากอวกาศ”เบรน”สามมิติของเราเองแล้ว เบรนสามมิติอื่นๆอาจล่องลอยอยู่ในอวกาศมิติสูงกว่า

ไบรอัน กรีน นักฟิสิกส์แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย อธิบายแนวคิดนี้ว่า "เอกภพของเราเป็นหนึ่งในแผ่นแบนๆ จำนวนมากที่เป็นไปได้ ที่ล่องลอยอยู่ในอวกาศมิติสูงกว่า เหมือนกับแผ่นขนมปังในก้อนขนมปังระดับจักรวาลขนาดใหญ่กว่า"

ปัญหาต่อไปของทฤษฎีนี้เสนอว่าเอกภพเบรนเหล่านี้ไม่ได้ขนานและไกลเกินเอื้อมเสมอไป บางครั้งพวกมันอาจชนกันเองเป็นสาเหตุให้เกิดบิ๊กแบงซ้ำๆ ซึ่งเริ่มต้นเอกภพใหม่อีกครั้งแล้วครั้งเล่า

4. Daughter Universes
ทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัม ซึ่งครอบครองโลกขนาดจิ๋วของอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอม เสนอวิธีอื่นที่เอกภพมากมายอาจเกิดขึ้นได้ กลศาสตร์ควอนตัมอธิบายโลกโดยเกี่ยวข้องกับความน่าจะเป็น แทนที่จะเป็นผลลัพธ์ที่แน่นอน และคณิตศาสตร์ของทฤษฎีนี้อาจเสนอว่าผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ทั้งหมดของสถานการณ์หนึ่งๆล้วนเกิดขึ้นในเอกภพของมันเองต่างหาก ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณมาถึงทางแยกซึ่งคุณสามารถไปทางซ้ายหรือทางขวา เอกภพปัจจุบันทำให้เกิดเอกภพลูกสองแห่ง หนึ่งซึ่งคุณไปทางขวา และอีกหนึ่งซึ่งคุณไปทางซ้าย

“และในแต่ละเอกภพ มีสำเนาของตัวคุณรู้เห็นผลลัพธ์ไม่อันใดก็อันหนึ่ง กำลังคิด(อย่างไม่ถูกต้อง)ว่าความจริงของคุณเป็นความจริงเพียงหนึ่งเดียว” กรีนเขียนไว้

5. Mathematical Universes
นักวิทยาศาสตร์ได้โต้เถียงกันว่าคณิตศาสตร์เป็นเพียงเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับอธิบายเอกภพหรือไม่ หรือว่าตัวคณิตศาสตร์เองคือพื้นฐานของความเป็นจริง และการสังเกตการณ์เอกภพของเราเป็นการรับรู้สัมผัสที่ไม่สมบูรณ์ของธรรมชาติทางคณิตศาสตร์ที่แท้จริง ถ้าเป็นกรณีหลัง บางทีโครงสร้างทางคณิตศาสตร์เฉพาะที่สร้างเอกภพของเราอาจไม่ได้เป็นทางเลือกเดียว และในความเป็นจริงโครงสร้างทางคณิตศาสตร์ที่เป็นไปได้ทั้งหมดดำรงอยู่เป็นเอกภพของมันเองต่างหาก

"โครงสร้างทางคณิตศาสตร์คือบางสิ่งที่คุณสามารถอธิบายในทางที่เป็นอิสระอย่างสิ้นเชิงกับมนุษย์" แม็กซ์ เท็กมาร์ค แห่ง MIT ผู้ซึ่งเสนอแนวความคิดนี้กล่าว "ผมเชื่อจริงๆว่ามีเอกภพนี้ ซึ่งสามารถดำรงอยู่ได้เองโดยไม่มีผม ซึ่งจะดำรงอยู่ต่อไปแม้ว่าจะไม่มีมนุษย์อยู่เลยก็ตาม"

http://www.space.com/18811-multiple-universes-5-theories.html
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่