http://news.voicetv.co.th/business/264021.html
สถาบันจัดอันดับมูดี้ส์ ปรับเครดิต 2 ธนาคารพาณิชย์ของไทยเป็นติดลบ หลังกันสำรองหนี้สหวิริยาสตีลอินดัสตรี มูลค่ากว่า 4 หมื่นล้านบาท
มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำ ปรับลดความน่าเชื่อถือของธนาคารกรุงไทยและธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นติดลบ หรือมีโอกาสร้อยละ 50 ที่จะถูกลดอันดับภายใน 3 เดือนหลังทั้ง 2 ธนาคาร ต้องตั้งสำรองหนี้เสีย บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี หรือ SSI (เอสเอสไอ) เนื่องจากอาจส่งผลกระทบความสามารถในการหารายได้และเงินทุนของธนาคาร
การเปิดเผยดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังจากบริษัท สหวิริยาสตีล อินดัสตรี ยุติการผลิตเหล็กที่โรงงานเอสเอสไอทีไซด์ ซึ่งเป็นธุรกิจโรงถลุงเหล็กในสหราชอาณาจักร ส่งผลให้เจ้าหนี้ 3 ราย ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ไทยพาณิชย์ และทิสโก้ ต้องตั้งสำรองหนี้มูลค่ารวมกว่า 5 หมื่น 3 พันล้านบาท โดยกรุงไทยและไทยพาณิชย์ แบกรับมูลค่าหนี้ประมาณ 4 หมื่น 5 พันล้านบาท
ซึ่งกรณี SSI ถือเป็นครั้งแรกในรอบ 2-3 ปีที่ผ่านมา ที่คุณภาพสินทรัพย์ของบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ของไทยตกต่ำลง สะท้อนถึงการปรับตัวเพิ่มขึ้นของหนี้ที่อาจกลายเป็นหนี้เสีย หรือ เอ็นพีแอล ในภาคเอกชนของไทย ซึ่งหนี้เสียเหล่านี้จะทำให้ต้นทุนการกู้ยืมของธนาคารไทยเพิ่มขึ่น เพราะมูลค่าหนี้มีขนาดใหญ่
มูดี้ส์ ปรับเครดิต 2 แบงก์ไทยหลังกันสำรอง SSI
สถาบันจัดอันดับมูดี้ส์ ปรับเครดิต 2 ธนาคารพาณิชย์ของไทยเป็นติดลบ หลังกันสำรองหนี้สหวิริยาสตีลอินดัสตรี มูลค่ากว่า 4 หมื่นล้านบาท
มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำ ปรับลดความน่าเชื่อถือของธนาคารกรุงไทยและธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นติดลบ หรือมีโอกาสร้อยละ 50 ที่จะถูกลดอันดับภายใน 3 เดือนหลังทั้ง 2 ธนาคาร ต้องตั้งสำรองหนี้เสีย บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี หรือ SSI (เอสเอสไอ) เนื่องจากอาจส่งผลกระทบความสามารถในการหารายได้และเงินทุนของธนาคาร
การเปิดเผยดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังจากบริษัท สหวิริยาสตีล อินดัสตรี ยุติการผลิตเหล็กที่โรงงานเอสเอสไอทีไซด์ ซึ่งเป็นธุรกิจโรงถลุงเหล็กในสหราชอาณาจักร ส่งผลให้เจ้าหนี้ 3 ราย ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ไทยพาณิชย์ และทิสโก้ ต้องตั้งสำรองหนี้มูลค่ารวมกว่า 5 หมื่น 3 พันล้านบาท โดยกรุงไทยและไทยพาณิชย์ แบกรับมูลค่าหนี้ประมาณ 4 หมื่น 5 พันล้านบาท
ซึ่งกรณี SSI ถือเป็นครั้งแรกในรอบ 2-3 ปีที่ผ่านมา ที่คุณภาพสินทรัพย์ของบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ของไทยตกต่ำลง สะท้อนถึงการปรับตัวเพิ่มขึ้นของหนี้ที่อาจกลายเป็นหนี้เสีย หรือ เอ็นพีแอล ในภาคเอกชนของไทย ซึ่งหนี้เสียเหล่านี้จะทำให้ต้นทุนการกู้ยืมของธนาคารไทยเพิ่มขึ่น เพราะมูลค่าหนี้มีขนาดใหญ่