ศึกษา เรียนรู้ อิสลาม (เพื่อความเข้าใจสำหรับชาวต่างศาสนิกมากขึ้น) ตอน 6

กระทู้สนทนา
เทหวัตถุบนท้องฟ้า
และทฤฏีสมติฐานชี้ชัดว่าจุดหนึ่งของเวลา จักรวาลทั้งหมดเป็นแค่กลุ่มหมอกควัน
ดาวดวงใหม่ที่กำลังก่อตัวจากกลุ่มก๊าซและฝุ่นละออง (เนบิวลา) ซึ่งเป็นหนึ่งใน ‘กลุ่มควัน’
ที่หลงเหลืออยู่ ซึ่งถือว่าเป็นจุดกำเนิดของทั้งจักรวาล

พระผู้เป็นเจ้าทรงตรัสไว้ในส่วนหนึ่งพระคัมภีร์กุรอานไว้ว่า
"แล้วพระองค์ทรงมุ่งสู่ฟากฟ้าขณะที่มันเป็นไอหมอก..."  (41:11)

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ที่ว่าด้วยจักรวาลวิทยา ซึ่งมาจากการสังเกตและจากทฤษฎี ชี้ให้เห็นได้อย่างแน่ชัดว่า
ครั้งหนึ่งทั้งจักรวาลนั้นว่างเปล่า จะมีก็แต่ก้อนกลุ่มควัน (ประกอบด้วยก๊าซร้อนมืดครึ้มที่ปกคลุมอยู่หนาแน่น)
ซึ่งเป็นหนึ่งในหลักการที่ไม่สามารถโต้แย้งได้เกี่ยวกับวิชาจักรวาลสมัยใหม่
ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์สามารถเฝ้าสังเกตเห็นดวงดาวใหม่ๆ ที่กำลังก่อตัวขึ้นจากเศษ "กลุ่มควัน" ที่หลงเหลืออยู่

เนื่องจากพื้นโลกและเบื้องบน (ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว ดาวพระเคราะห์ กาแล็กซี่ และอื่นๆ) ทั้งหมดได้ก่อตัวมาจาก ‘กลุ่มควัน’ กลุ่มเดียวกัน นักวิทยาศาสต์จึงพอสรุปได้ว่า พื้นโลกและเบื้องบนนั้นเชื่อมต่อกันเป็นอันหนึ่งอันเดียว จากนั้นจึงโคจรออกมาจากกลุ่มควันกลุ่มเดียวกัน แล้วจึงก่อตัวและแยกตัวออกจากกัน พระผู้เป็นเจ้าทรงตรัสไว้ในพระคัมภีร์กุรอานดังนี้:

أَوَلَمْ يَرَ الَّذِينَ كَفَرُوا أَنَّ السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضَ كَانَتَا رَتْقًا فَفَتَقْنَاهُمَا وَجَعَلْنَا مِنَ الْمَاءِ كُلَّ شَيْءٍ حَيٍّ أَفَلَا يُؤْمِنُونَ
"บรรดาผู้ปฏิเสธทั้งหลายไม่พิจารณาหรือว่า  ชั้นฟ้าทั้งหลาย และ แผ่นดินนั้น
ในตอนแรกเป็นมวลเดียวกัน หลังจากนั้นเราได้แยกมันออกจากกัน" (อัลกุรอาน 21:30)


พระคัมภีร์กุรอานว่าด้วยการตรึงของเทือกเขา

หนังสือที่ชื่อว่า Earth เป็นตำราที่ใช้อ้างอิงเป็นหลักในมหาวิทยาลัยหลายแห่งทั่วโลก หนังสือเล่มนี้มีผู้แต่งสองท่าน หนึ่งในนั้นได้แก่ ศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์ Frank Press เขาเป็นที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ให้กับอดีตประธานาธิบดี Jimmy Carter และเป็นประธานสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Academy of Science) ในกรุงวอชิงตัน ดีซี เป็นเวลา 12 ปี หนังสือของเขากล่าวว่า เทือกเขาจะมีรากฝังอยู่ใต้พื้นดิน รากเหล่านี้ฝังลึกอยู่ใต้พื้นดิน ดังนั้น เทือกเขาจึงมีรูปทรงเหมือนกับสลัก

วิทยาศาสตร์ว่าด้วยพื้นโลกในยุคใหม่นี้ ได้ทำการพิสูจน์แล้วว่า เทือกเขาต่างๆ จะมีรากฝังลึกอยู่ใต้พื้นผิวของพื้นดิน และรากเหล่านั้นสามารถเลื่อนระดับขึ้นมาอยู่เหนือพื้นดินได้หลายครั้ง ดังนั้น คำที่เหมาะสมที่สุดที่ใช้อธิบายเทือกเขาเหล่านี้โดยอาศัยพื้นฐานข้อมูลเหล่านี้ก็คือ คำว่า ‘สลัก’ ตรึงเนื่องจากรากส่วนใหญ่จะถูกซ่อนอยู่ใต้พื้นดิน ประวัติศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ได้บอกกับเราว่า ทฤษฏีว่าด้วยเทือกเขาที่มีรากฝังลึกนั้น เพิ่งเป็นที่รู้จักเมื่อครึ่งหลังของศตวรรษที่สิบเก้านี้

พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงตรัสไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน :
أَلَمْ نَجْعَلِ الْأَرْضَ مِهَادًا وَالْجِبَالَ أَوْتَادًا
"เรามิได้ทำให้แผ่นดินเป็นพื้นราบดอกหรือ ? และมิได้ให้เทือกเขาเป็นหลักตรึงไว้ดอกหรือ"  (อัลกุรอาน, 78:6-7)

وَأَلْقَىٰ فِي الْأَرْضِ رَوَاسِيَ أَن تَمِيدَ بِكُمْ وَأَنْهَارًا وَسُبُلًا لَّعَلَّكُمْ تَهْتَدُونَ  
และพระองค์ทรงให้มีเทือกเขามั่นคงในแผ่นดิน เพื่อมิให้มันสั่นสะเทือนแก่พวกเจ้า...  (พระคัมภีร์กุรอาน, 16:15)

เทือกเขายังมีบทบาทที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งด้วย นั่นคือให้ความมั่นคงแข็งแรงกับเปลือกโลก  
โดยช่วยยับยั้งการสั่นสะเทือนของโลก นอกจากนั้น  ทฤษฏีสมัยใหม่ที่เกี่ยวกับการเคลื่อนตัวของแผ่นโลกนั้นเชื่อว่า เทือกเขาต่างๆ ทำงานเสมือนกับเครื่องมือสำหรับสร้างความแข็งแกร่งให้กับโลก ความรู้เกี่ยวกับบทบาทของเทือกเขาที่ทำหน้าที่เสมือนเครื่องมือที่ช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับโลกนั้นเพิ่งเป็นที่เข้าใจกันเนื่องจากมีทฤษฎีการเคลื่อนตัวของแผ่นโลกเมื่อทศวรรษ 2503


พระคัมภีร์กุรอานว่าด้วยทะเลและแม่น้ำ

วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ได้ค้นพบว่า ในสถานที่ซึ่งทะเลสองสายมาบรรจบกัน จะเกิดสิ่งขวางกั้นทะเลทั้งสองไว้ โดยที่สิ่งขวางกั้นดังกล่าวนี้จะแบ่งทะเลทั้งสองออกจากกัน เพื่อที่ว่าทะเลแต่ละสายจะได้มีอุณหภูมิ ความเข้มและความหนาแน่นเป็นของตนเอง ตัวอย่างเช่น น้ำในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจะอุ่น เค็ม และมีความหนาแน่นน้อยเมื่อเทียบกับน้ำในมหาสมุทรแอตแลนติก เมื่อน้ำในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนหนุนเข้าไปในมหาสมุทรแอตแลนติค โดยผ่านทางสันดอนยิบรอลตาร์ (Gibraltar) มันจะไหลไปเป็นระยะทางหลายร้อยกิโลเมตรหนุนเข้าไปในมหาสมุทรแอตแลนติกที่ความลึกประมาณ 1000 เมตร โดยพาความอุ่น ความเค็ม และความหนาแน่นที่น้อยกว่าของมันเองไปด้วย น้ำในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจะคงที่อยู่ที่ความลึกดังกล่าวนี้ แม้ว่าจะมีคลื่นลูกใหญ่ กระแสน้ำที่เชี่ยวกราก และระดับน้ำขึ้นลงสูงเพียงใดในทะเลดังกล่าว ทะเลทั้งสองก็จะไม่มีโอกาสที่จะรวมกันหรือรุกล้ำสิ่งขวางกั้นนี้ไปได้

คัมภีร์กุรอานได้กล่าวไว้ว่า
مَرَجَ الْبَحْرَيْنِ يَلْتَقِيَانِ بَيْنَهُمَا بَرْزَخٌ لَّا يَبْغِيَانِ
พระองค์ทรงทำให้น่านน้ำทั้งสองไหลมาบรรจบกัน ระหว่างมันทั้งสองมีที่กั้นกีดขวาง มันจะไม่ล้ำเขตต่อกัน...  (55:19-20)

وَهُوَ الَّذِي مَرَجَ الْبَحْرَيْنِ هَٰذَا عَذْبٌ فُرَاتٌ وَهَٰذَا مِلْحٌ أُجَاجٌ وَجَعَلَ بَيْنَهُمَا بَرْزَخًا وَحِجْرًا مَّحْجُورًا
และพระองค์คือผู้ทรงทำให้ทะเลทั้งสองบรรจบติดกัน อันนี้จืดสนิทและอันนี้เค็มจัดและทรงทำที่คั่นระหว่างมันทั้งสอง
และที่กั้นขวางอันแน่นหนา (25:53)

ข้อมูลดังกล่าวได้ถูกค้นพบเมื่อไม่นานมานี้ โดยการใช้เครื่องมือที่ทันสมัยในการวัดอุณหภูมิ ความเค็ม ความหนาแน่น ออกซิเจนที่ไม่ละลายน้ำ และอื่นๆ  ด้วยสายตาของมนุษย์จะไม่สามารถมองเห็นความแตกต่างระหว่างการมาบรรจบกันของทะเลทั้งสองสายได้ ซึ่งทะเลทั้งสองที่ปรากฏต่อหน้าเรานั้นดูเหมือนเป็นทะเลพื้นเดียวกัน เช่นเดียวกันที่สายตาของมนุษย์ไม่สามารถมองเห็นการแยกกันของน้ำในบริเวณปากแม่น้ำที่ผสมผสานกันของน้ำ 3 ชนิด ได้แก่ น้ำจืด น้ำเค็ม และการแบ่งเขต


พระคัมภีร์กุรอานว่าด้วยทะเลลึกและคลื่นใต้น้ำ

ความมืดทึบที่พบในมหาสมุทรและทะเลลึก สถานที่ซึ่งถ้ามนุษย์ยื่นมือออกไปจนสุดเอื้อม เขาจะไม่สามารถมองเห็นมือของตนเองได้ ความมืดทึบของมหาสมุทรและทะเลลึกนั้นค้นพบว่าอยู่ลึกลงไปประมาณ 200 เมตรและลึกลงไปกว่านั้น ณ ที่ความลึกดังกล่าว เกือบจะไม่มีแสงสว่างส่องผ่านลงไปได้เลย ระดับความลึกที่ต่ำกว่า 1000 เมตร จะไม่มีแสงใด ๆ ทั้งสิ้น  มนุษย์จะไม่สามารถดำลึกลงไปไดมากกว่าสี่สิบเมตร โดยไม่ใช้เรือดำน้ำหรืออุปกรณ์พิเศษช่วยเหลือ มนุษย์จะไม่สามารถรอดชีวิตกลับขึ้นมาได้ ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือเมื่ออยู่ในส่วนที่มืดลึกของมหาสมุทร เช่น ในความลึกที่ 200 เมตร เป็นต้น.

พระผู้เป็นเจ้าทรงตรัสไว้ในส่วนหนึ่งของพระคัมภีร์กุรอาน:

" หรือเปรียบเสมือนความมืดมนทั้งหลายในท้องทะเลลึก มีคลื่นซ้อนคลื่นท่วมมิดตัวเขา และเบื้องบนของมันก็มีเมฆหนาทึบซ้อนกันชั้นแล้วชั้นเล่า เมื่อเขาเอามือของเขาออกมา เขาแทบจะมองไม่เห็นมัน.... "  (24:40)

นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบความมืดทึบดังกล่าวเมื่อไม่นานมานี้ โดยใช้เครื่องมือพิเศษและเรือดำน้ำ ซึ่งสามารถนำพวกเขาดำลงสู่ก้นลึกของมหาสมุทรได้ อีกทั้งเรายังสามารถเข้าใจได้จากประโยคต่าง ๆ ต่อไปนี้ที่มีอยู่ในอายะฮฺก่อนหน้า สายน้ำของมหาสมุทรและท้องทะเลลึกจะปกคลุมไปด้วยเกลียวคลื่น และที่อยู่เหนือเกลียวคลื่นเหล่านั้นก็คือเกลียวคลื่นลูกอื่นๆ จึงทำให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ชั้นที่สองที่เต็มไปด้วยเกลียวคลื่นจำนวนมากมายนั้นแท้จริงก็คือพื้นผิวของคลื่นต่างๆ ที่เราเห็น เนื่องจากอายะห์บทดังกล่าวได้กล่าวว่าเหนือขึ้นไปจากคลื่นชั้นที่สองจะมีกลุ่มเมฆ

บรรดาคลื่นใต้น้ำจะปกคลุมสายน้ำใต้มหาสมุทรและท้องทะเลลึก เพราะว่าสายน้ำระดับลึกจะมีความหนาแน่นที่สูงกว่าสายน้ำที่อยู่เหนือกว่า คลื่นใต้น้ำนั้นกระทำหน้าที่เสมือนคลื่นที่อยู่บนผิวน้ำ คลื่นเหล่านั้นสามารถแตกสลายได้เช่นเดียวกับคลื่นที่อยู่บนผิวน้ำ คลื่นใต้น้ำจะไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่คลื่นเหล่านั้น สามารถตรวจจับได้ด้วยการตรวจหาอุณหภูมิหรือความเปลี่ยนแปลงของความเค็ม ณ สถานที่ที่กำหนด


พระคัมภีร์กุรอานว่าด้วยกลุ่มเมฆ:

นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาถึงรูปแบบต่างๆ ของกลุ่มเมฆ และทราบว่า เมฆฝนจะก่อตัวและมีรูปทรงไปตามระบบที่แน่นอนและตามขั้นตอนต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับประเภทของลมและกลุ่มเมฆด้วย เมฆฝนชนิดหนึ่งก็คือ เมฆฝนฟ้าคะนอง  นักอุตุนิยมวิทยาได้ศึกษาถึงวิธีการก่อตัวของเมฆฝนฟ้าคะนอง และวิธีการที่เมฆฝนประเภทนี้ก่อให้เกิดฝน ลูกเห็บ และฟ้าแลบ.

อัลกุรอาน ได้กล่าวไว้ว่า
เจ้ามิได้เห็นดอกหรือว่า แท้จริงอัลลอฮ์นั้นทรงให้เมฆลอย แล้วทรงทำให้ประสานตัวกัน แล้วทรงทำให้รวมกันเป็นกลุ่มก้อน แล้วเจ้าก็จะเห็นฝนโปรยลงมาจากกลุ่มเมฆนั้น.... (พระคัมภีร์กุรอาน, 24:43)

นักวิทยาศาสตร์พบว่า เมฆฝนฟ้าคะนองจะไปตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ เพื่อทำให้เกิดฝนตก:

1) กลุ่มเมฆจะถูกผลักดันโดยกระแสลม เมฆฝนฟ้าคะนองจะเริ่มก่อตัวเมื่อกระแสลมผลักดันเมฆก้อนเล็กๆ (เมฆฝนฟ้าคะนอง) ไปยังบริเวณที่กลุ่มเมฆดังกล่าวนี้มาบรรจบกัน
2) การรวมกัน จากนั้นบรรดาเมฆก้อนเล็กๆ ก็จะมารวมกันเพื่อก่อตัวให้เป็นกลุ่มเมฆขนาดใหญ่ขึ้น
3) การทับซ้อนกันเพิ่มมากขึ้น เมื่อก้อนเมฆขนาดเล็กรวมตัวเข้าด้วยกัน จากนั้นจะเคลื่อนตัวลอยขึ้นอากาศไหลขึ้นในก้อนเมฆก็จะรุนแรงตามขึ้นไปด้วย  การขยายตัวขึ้นในแนวดิ่งเป็นเหตุให้ก้อนเมฆขยายตัวล้ำเข้าไปในบริเวณที่มีบรรยากาศเย็นกว่า จึงทำให้บริเวณนี้เป็นที่ก่อตัวของหยดน้ำและลูกเห็บ และเริ่มขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เมื่อหยดน้ำและลูกเห็บเหล่านี้มีน้ำหนักมากจนเกินกว่าที่กระแสอากาศไหลขึ้นจะสามารถอุ้มไว้ได้ มันจึงเริ่มกลั่นตัวออกมาจากก้อนเมฆแล้วตกลงมาเป็นฝน ลูกเห็บ และอื่นๆ

นักอุตุนิยมวิทยาเพิ่งได้ทราบขั้นตอนรายละเอียดเกี่ยวกับการก่อตัว โครงสร้าง และหน้าที่ของก้อนเมฆเมื่อไม่นานมานี้ ด้วยการใช้เครื่องมือที่ล้ำสมัย อย่างเช่น เครื่องบิน ดาวเทียม คอมพิวเตอร์ บอลลูน และอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อศึกษากระแสลมและทิศทางลม เพื่อตรวจวัดความชื้นและค่าความแปรปรวนของความชื้น อีกทั้งเพื่อพิจารณาถึงระดับและการแปรปรวนของความกดดันในชั้นบรรยากาศอีกด้วย.

อายะห์ที่ได้กล่าวมาแล้วก่อนหน้านี้ หลังจากที่ได้กล่าวถึงกลุ่มเมฆและฝน ได้พูดถึงลูกเห็บและฟ้าแลบดังนี้:

…และพระองค์ทรงให้มันตกลงมาจากฟากฟ้ามีขนาดเท่าภูเขา ในนั้นมีลูกเห็บ แล้วพระองค์จะทรงให้มันหล่นลงมาโดนผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และพระองค์จะทรงให้มันผ่านพ้นไปจากผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ แสงประกายของสายฟ้าแลบเกือบจะเฉี่ยวสายตาผู้มอง.  (พระคัมภีร์กุรอาน, 24:43)

อายะฮฺบทนี้อาจก่อให้เกิดคำถามตามมาว่า ทำไมบทดังกล่าวจึงกล่าวว่า “แสงประกายของสายฟ้า” เป็นการอ้างถึงลูกเห็บ เช่นนี้หมายความว่าลูกเห็บเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการก่อให้เกิดแสงฟ้าแลบหรือ ก้อนเมฆจะเกิดประจุไฟฟ้าขึ้น ขณะที่ลูกเห็บตกผ่านลงมายังบริเวณก้อนเมฆที่มีหยดน้ำเย็นจัดและก้อนผลึกน้ำแข็ง เมื่อหยดน้ำเกิดการกระทบ ก็จะเกิดปรากฏการณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งขึ้น นั่นคือ กระแสไฟฟ้าจะไหลจากวัตถุที่เย็นกว่าไปยังวัตถุที่อุ่นกว่า ดังนี้ ลูกเห็บจึงกลายเป็นประจุไฟฟ้าลบ ปฏิกิริยาเดียวกันนี้จะเกิดขึ้นเมื่อหยดน้ำเย็นจัดสัมผัสกับลูกเห็บและสะเก็ดขนาดเล็กที่แตกออกมาจากผลึกนำแข็งซึ่งมีประจุบวก. อนุภาคของประจุไฟฟ้าบวกที่มีน้ำหนักเบาเหล่านี้ ในเวลาต่อมาจะถูกกระแสอากาศไหลขึ้นพัดพาขึ้นไปยังส่วนบนของก้อนเมฆ ลูกเห็บซึ่งมีประจุลบ จะตกลงสู่บริเวณด้านล่างของก้อนเมฆ ดังนี้ ส่วนล่างของก้อนเมฆจะเปลี่ยนเป็นประจุไฟฟ้าลบ หลังจากนั้นประจุไฟฟ้าลบนี้จะถูกปล่อยออกมาเป็นแสงฟ้าแลบ.

เหล่านี้คือ แนวความคิดบางประการในเรื่องของอุตุนิยมวิทยา ซึ่งมีความชัดเจนยิ่งขึ้นในเวลาที่มีการเปิดเผยพระคัมภีร์กุรอาน เมื่อสิบสี่ศตวรรษที่ผ่านมา
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่