คนไร้บ้าน หรือคนเร่ร่อน เป็นกลุ่มคนจนในเมืองที่ยากลำบากที่สุด ไม่ที่อยู่อาศัย ไม่มีครอบครัวให้พึ่งพิง อาศัยตามสถานที่ต่างๆอย่างไม่เป็นหลักแหล่ง ในที่สาธารณะเช่นสถานีขนส่ง สนามหลวง ใต้ทางด่วน ใต้สะพาน อาคารร้าง ฯลฯ โดยย้ายที่อยู่อาศัยไปเรื่อยๆ
ความเป็นคนไร้บ้าน ซึ่งไม่มีแหล่งพักพิงที่แน่นอน ทำให้ข้อมูลที่มีอยู่ไม่ถึงกับชัดเจน จากข้อมูลการสำรวจคนเร่ร่อน/ คนขอทานของกรมประชาสงเคราะห์เมื่อปี 2540 ระบุว่ามีคนเร่ร่อนทั่วประเทศ 6,000 กว่าคน ในจำนวนดังกล่าวเป็นเร่ร่อนในกรุงเทพฯและปริมณฑลกว่า 1,700 คน และจากการสำรวจข้อมูลคนไร้บ้านในพื้นที่กรุงเทพมหานครรวม 13 จุดตามสวนสาธารณะต่างๆของมูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัยเมื่อปี 2544 พบว่ามีคนไร้บ้านประมาณ 10,500 คน คนไร้บ้านในประเทศไทยไม่ได้มีเฉพาะในกรุงเทพมหานครเท่านั้น แต่ยังพบว่ายังมีคนไร้บ้านตามเมืองใหญ่ๆในหัวเมืองด้วย
ที่มาของคนไร้บ้านมีที่มาหลายสาเหตุ จากข้อมูลของมูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัยรายงานว่าส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ เช่นวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 ทำให้เกิดการว่างงาน ถูกเลิกจ้าง ปัญหาทางสุขภาพไม่สามารถทำงานได้ ปัญหาการทะเลาะวิวาทกับครอบครัว รวมทั้งคนที่ต้องการชีวิตอิสระชอบท่องเที่ยวพเนจร ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับครอบครัวได้ และผู้พ้นโทษจากคดีต่างๆ
คนไร้บ้านส่วนใหญ่ดำรงซีวิตด้วยอาชีพและรายได้ที่ไม่แน่นอน เช่นการเก็บของเก่าขาย (กระป๋องน้ำอัดลม ขวดพลาสติก ฯลฯ) ขายของเก่ามือสอง รับจ้าง เร่ร่อนขายของตามงานวัด ฯลฯ
จากตัวเลขคนไร้บ้านที่มีอยู่ และข้อเท็จจริงที่เพิ่มขึ้น เช่นคนไร้บ้านในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่เชียงใหม่มีจำนวน 166 คน รวมทั้งคนไร้บ้านในเมืองใหญ่อื่นๆ ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ได้ช่วยกันหาหนทางเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้านเหล่านี้ เช่นการจัดหาที่พักอาศัยชั่วคราว บ้านพักคนเดินทาง บ้านพักฉุกเฉิน และการบริการทางสังคมอื่นๆ เช่นบริการตรวจสุขภาพ การฝึกอาชีพ การบริการอาหารฯลฯ
คนไร้บ้านจำนวนหนึ่ง ต้องการพัฒนาและจัดการแก้ปัญหาของตนเองด้วยการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ เช่นการประสานการช่วยเหลือคนไร้บ้านระหว่างเครือข่ายคนไร้บ้าน มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย เครือข่ายสลัมสี่ภาค โดยได้รับการสนับสนุนโครงการและงบประมาณส่วนหนึ่งจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) สำหรับศูนย์ที่พัก 3 แห่ง วงเงิน 6.16 ล้านบาท
เพื่อการพัฒนาด้านที่อยู่อาศัย มีการจัดสร้างศูนย์พักคนไร้บ้านในเขตกรุงเทพมหานคร เช่นศูนย์ที่พักคนไร้บ้านจรัญสนิทวงศ์ บริเวณสวนหย่อมบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย ในพื้นที่การรถไฟ ขนาดพื้นที่ 150 ตารางวา ซึ่งดำเนินการแล้วเสร็จ รองรับคนไร้บ้านที่อยู่อาศัยและประกอบอาชีพบริเวณสนามหลวง เขตบางกอกน้อย สามแยกไฟฉายและสามแยกท่าเขตประมาณ 100 คน สถานที่ดังกล่าวเป็นศูนย์ในการทำกิจกรรมการพัฒนาร่วมกันของเครือข่ายคนไร้บ้านอีกด้วย
นอกจากนี้ได้ดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาศูนย์พักคนไร้บ้านที่ศูนย์พักคนไร้บ้านตลิ่งชัน รองรับคนไร้บ้านที่อยู่อาศัยในเขตตลิ่งชัน บางพลัด จำนวน 14 ราย
ในด้านศูนย์ที่พักคนไร้บ้านหมอชิต 2 ซึ่งอยู่ระหว่างการออกแบบวางผังอาคารศูนย์ของ
สถาปนิคพอช.กับกลุ่มคนไร้บ้าน ในที่ของการรถไฟซึ่งได้รับการอนุมัติเช่าที่ดินจากการรถไฟแล้วขนาดพื้นที่ 144 ตารางเมตร บริเวณรางรถไฟสายเก่า ใกล้ทางด่วนถนนกำแพงเพชร 2 ติดกับสวนสาธารณะของการรถไฟ เพื่อรองรับคนไร้บ้านในเขตจตุจักร หมอชิต ลาดพร้าว สะพานควายจำนวน 45 ราย
สำหรับคนไร้บ้านในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ คุณสมพร หาญพรม เจ้าหน้าที่พัฒนาที่อยู่อาศัย
(มพศ.)ระบุว่าตัวเลขคนไร้บ้านจากการสำรวจมีจำนวน 166 ราย ซึ่งความจริงอาจจะมีมากกว่านั้น ปัจจุบันได้มีการออมทรัพย์ของสมาชิกที่สม่ำเสมอจำนวน 42 ราย มีการประสานความร่วมมือระหว่างกลุ่มคนไร้บ้าน มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย เครือข่ายสลัมสี่ภาค เทศบาลนครเชียงใหม่ และพอช. เพื่อจัดหาพื้นที่และสร้างศูนย์พักคนไร้บ้านจังหวัดเชียงใหม่
กลุ่มคนไร้บ้านเป็นกลุ่มคนที่ยากลำบากที่สุดของเมือง ที่ต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อความอยู่รอดของชีวิตในเมืองใหญ่ๆ อย่างน่าเห็นใจที่สุด ในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศและทั่วโลก นักวิชาการหลายคนคาดว่าจะมีคนไร้บ้าน คนเร่ร่อนเพิ่มขึ้นในเมืองใหญ่ในปีนี้และปี 2552 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตามก่อนถึงวันที่อยู่อาศัยโลกในเดือนตุลาคมปี 2552 คนไร้บ้านในประเทศไทยประมาณ 300 คน จะมีที่พักพิงอย่างมั่นคงถาวร
ในด้านสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีบทบาทในการพัฒนาและสร้างมั่นคงในการอยู่อาศัยของคนจนในเมืองและชนบทยินดีที่จะร่วมมือกับหน่วยงาน องค์กรต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาและแก้ปัญหาด้านที่อยู่อาศัยกลุ่มคนไร้บ้าน คนเร่ร่อนในเมืองต่างๆ
คนไร้บ้านเราจะทำให้เขาดีขึ้นหรือไม่คนไรบ้านในประเทศไทย
ความเป็นคนไร้บ้าน ซึ่งไม่มีแหล่งพักพิงที่แน่นอน ทำให้ข้อมูลที่มีอยู่ไม่ถึงกับชัดเจน จากข้อมูลการสำรวจคนเร่ร่อน/ คนขอทานของกรมประชาสงเคราะห์เมื่อปี 2540 ระบุว่ามีคนเร่ร่อนทั่วประเทศ 6,000 กว่าคน ในจำนวนดังกล่าวเป็นเร่ร่อนในกรุงเทพฯและปริมณฑลกว่า 1,700 คน และจากการสำรวจข้อมูลคนไร้บ้านในพื้นที่กรุงเทพมหานครรวม 13 จุดตามสวนสาธารณะต่างๆของมูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัยเมื่อปี 2544 พบว่ามีคนไร้บ้านประมาณ 10,500 คน คนไร้บ้านในประเทศไทยไม่ได้มีเฉพาะในกรุงเทพมหานครเท่านั้น แต่ยังพบว่ายังมีคนไร้บ้านตามเมืองใหญ่ๆในหัวเมืองด้วย
ที่มาของคนไร้บ้านมีที่มาหลายสาเหตุ จากข้อมูลของมูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัยรายงานว่าส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ เช่นวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 ทำให้เกิดการว่างงาน ถูกเลิกจ้าง ปัญหาทางสุขภาพไม่สามารถทำงานได้ ปัญหาการทะเลาะวิวาทกับครอบครัว รวมทั้งคนที่ต้องการชีวิตอิสระชอบท่องเที่ยวพเนจร ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับครอบครัวได้ และผู้พ้นโทษจากคดีต่างๆ
คนไร้บ้านส่วนใหญ่ดำรงซีวิตด้วยอาชีพและรายได้ที่ไม่แน่นอน เช่นการเก็บของเก่าขาย (กระป๋องน้ำอัดลม ขวดพลาสติก ฯลฯ) ขายของเก่ามือสอง รับจ้าง เร่ร่อนขายของตามงานวัด ฯลฯ
จากตัวเลขคนไร้บ้านที่มีอยู่ และข้อเท็จจริงที่เพิ่มขึ้น เช่นคนไร้บ้านในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่เชียงใหม่มีจำนวน 166 คน รวมทั้งคนไร้บ้านในเมืองใหญ่อื่นๆ ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ได้ช่วยกันหาหนทางเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้านเหล่านี้ เช่นการจัดหาที่พักอาศัยชั่วคราว บ้านพักคนเดินทาง บ้านพักฉุกเฉิน และการบริการทางสังคมอื่นๆ เช่นบริการตรวจสุขภาพ การฝึกอาชีพ การบริการอาหารฯลฯ
คนไร้บ้านจำนวนหนึ่ง ต้องการพัฒนาและจัดการแก้ปัญหาของตนเองด้วยการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ เช่นการประสานการช่วยเหลือคนไร้บ้านระหว่างเครือข่ายคนไร้บ้าน มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย เครือข่ายสลัมสี่ภาค โดยได้รับการสนับสนุนโครงการและงบประมาณส่วนหนึ่งจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) สำหรับศูนย์ที่พัก 3 แห่ง วงเงิน 6.16 ล้านบาท
เพื่อการพัฒนาด้านที่อยู่อาศัย มีการจัดสร้างศูนย์พักคนไร้บ้านในเขตกรุงเทพมหานคร เช่นศูนย์ที่พักคนไร้บ้านจรัญสนิทวงศ์ บริเวณสวนหย่อมบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย ในพื้นที่การรถไฟ ขนาดพื้นที่ 150 ตารางวา ซึ่งดำเนินการแล้วเสร็จ รองรับคนไร้บ้านที่อยู่อาศัยและประกอบอาชีพบริเวณสนามหลวง เขตบางกอกน้อย สามแยกไฟฉายและสามแยกท่าเขตประมาณ 100 คน สถานที่ดังกล่าวเป็นศูนย์ในการทำกิจกรรมการพัฒนาร่วมกันของเครือข่ายคนไร้บ้านอีกด้วย
นอกจากนี้ได้ดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาศูนย์พักคนไร้บ้านที่ศูนย์พักคนไร้บ้านตลิ่งชัน รองรับคนไร้บ้านที่อยู่อาศัยในเขตตลิ่งชัน บางพลัด จำนวน 14 ราย
ในด้านศูนย์ที่พักคนไร้บ้านหมอชิต 2 ซึ่งอยู่ระหว่างการออกแบบวางผังอาคารศูนย์ของ
สถาปนิคพอช.กับกลุ่มคนไร้บ้าน ในที่ของการรถไฟซึ่งได้รับการอนุมัติเช่าที่ดินจากการรถไฟแล้วขนาดพื้นที่ 144 ตารางเมตร บริเวณรางรถไฟสายเก่า ใกล้ทางด่วนถนนกำแพงเพชร 2 ติดกับสวนสาธารณะของการรถไฟ เพื่อรองรับคนไร้บ้านในเขตจตุจักร หมอชิต ลาดพร้าว สะพานควายจำนวน 45 ราย
สำหรับคนไร้บ้านในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ คุณสมพร หาญพรม เจ้าหน้าที่พัฒนาที่อยู่อาศัย
(มพศ.)ระบุว่าตัวเลขคนไร้บ้านจากการสำรวจมีจำนวน 166 ราย ซึ่งความจริงอาจจะมีมากกว่านั้น ปัจจุบันได้มีการออมทรัพย์ของสมาชิกที่สม่ำเสมอจำนวน 42 ราย มีการประสานความร่วมมือระหว่างกลุ่มคนไร้บ้าน มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย เครือข่ายสลัมสี่ภาค เทศบาลนครเชียงใหม่ และพอช. เพื่อจัดหาพื้นที่และสร้างศูนย์พักคนไร้บ้านจังหวัดเชียงใหม่
กลุ่มคนไร้บ้านเป็นกลุ่มคนที่ยากลำบากที่สุดของเมือง ที่ต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อความอยู่รอดของชีวิตในเมืองใหญ่ๆ อย่างน่าเห็นใจที่สุด ในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศและทั่วโลก นักวิชาการหลายคนคาดว่าจะมีคนไร้บ้าน คนเร่ร่อนเพิ่มขึ้นในเมืองใหญ่ในปีนี้และปี 2552 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตามก่อนถึงวันที่อยู่อาศัยโลกในเดือนตุลาคมปี 2552 คนไร้บ้านในประเทศไทยประมาณ 300 คน จะมีที่พักพิงอย่างมั่นคงถาวร
ในด้านสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีบทบาทในการพัฒนาและสร้างมั่นคงในการอยู่อาศัยของคนจนในเมืองและชนบทยินดีที่จะร่วมมือกับหน่วยงาน องค์กรต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาและแก้ปัญหาด้านที่อยู่อาศัยกลุ่มคนไร้บ้าน คนเร่ร่อนในเมืองต่างๆ