ซีพีเอฟต้นแบบองค์กรลดโลกร้อน สนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจก
ปัจจุบันสภาพภูมิอากาศของโลกมีการเปลี่ยนแปลง ประเทศต่าง ๆ จึงต่างหันมาให้ความสำคัญและเร่งปรับตัวและคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม ประเทศไทยเองก็มีองค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานที่ส่งเสริมให้ประเทศไทยมุ่งสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ ผ่านการวางยุทธศาสตร์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยมุ่งสู่การเป็นเมืองสีเขียว
เช่นเดียวกับ
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เห็นถึงความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่การผลิตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำอย่างจริงจัง ล่าสุดสถานประกอบการซีพีเอฟ 58 แห่ง ได้เข้าร่วมโครงการฉลากลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (ฉลากลดโลกร้อน) และโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (Low Emission Support Scheme: LESS) ในงาน “ร้อยดวงใจ ร่วมใจลดโลกร้อน” ประจำปี 2558 จัดโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) โดยมีพลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เกียรติมาเป็นประธานมอบประกาศนียบัตร ณ ห้องวิภาวดีบอลรูม โรงแรม เซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซาลาดพร้าว กรุงเทพฯ
โครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (Low Emission Support Scheme: LESS) โดยสถานประกอบการซีพีเอฟทั่วประเทศได้ดำเนินโครงการรักษ์นิเวศ โดยสามารถกักเก็บ CO2 ได้ 12,748 ตันคาร์บอกไดออกไซด์เทียบเท่า ได้แก่ โรงงานผลิตอาหารสัตว์ปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา จากกิจกรรมกักเก็บคาร์บอนของต้นไม้, ฟาร์มพนัสนิคม จ.ชลบุรี จากกิจกรรมปลูกต้นไม้ของฟาร์มพนัสนิคม, ฟาร์มกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร จากกิจกรรม Green Farm ปาล์มกำแพงเพชร, ฟาร์มหมอนนาง จ.ชลบุรี, ฟาร์มวังทอง จ.พิษณุโลก จากกิจกรรมโครงการปลูกป่า ฟาร์มวังทอง เป็นต้น
อนุสนธิ์ ชวนประสิทธิ์ จากฟาร์มหมอนนาง อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี เป็นหนึ่งในสถานประกอบการของซีพีเอฟที่ได้รับประกาศนียบัตรโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก เล่าว่า “ฟาร์มหมอนนาง เป็นฟาร์มเลี้ยงเป็ดเนื้อบนพื้นที่ 480 ไร่ ซีพีเอฟแบ่งพื้นที่ 70 ไร่ มาปลูกป่าเพื่อลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ปลูกต้นสักทอง ยูคาลิปตัส ประดู่ป่า มะฮอกกานี ฯลฯ ซึ่งเป็นไม้ที่โตเร็ว ดูแลง่าย และเหมาะกับสภาพพื้นที่ในบริเวณนี้ โดยปลูกมาตั้งแต่ปี 2522 ตามนโยบายของท่านประธานธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานเครือเจริญโภคภัณฑ์ ที่มีนโยบายให้ปลูกป่าภายในฟาร์มของซีพีเอฟ โดยในปีนี้ปลูก 5,000 ต้น มีพนักงานอาสาที่มีใจรักปลูกต้นไม้อาสาเข้ามาช่วยกันปลูก ช่วยกันดูแล รวมถึงพยายามปลูกฝังให้พนักงานเข้าใจว่าปัญหาภัยแล้ง ภัยป่าในทุกวันนี้ เป็นเพราะสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย จึงเร่งช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในคงความอุดมสมบูรณ์”
นอกจากนี้ซีพีเอฟยังได้ประกาศนียบัตรโครงการฉลากลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (ฉลากลดโลกร้อน) ผลิตภัณฑ์บะหมี่เกี๊ยวกุ้งได้รับเครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) โดยมีค่าคาร์บอนฟุต พริ้นท์ 1.20 kgCO2/258 กรัม นอกจากนี้ยังได้รับเครื่องหมายลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint Reduction) หรือ ฉลากลดโลกร้อน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เกี๊ยวกุ้ง มีค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ 1.05 kgCO2/145กรัม ซึ่งน้อยกว่า 23% เมื่อเทียบกับค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในปี 2555 และผลิตภัณฑ์ไก่สดอนามัย มีค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ 2.99 kgCO2/1000 กรัม ซึ่งน้อยกว่า 50% เมื่อเทียบกับฐานข้อมูลเนื้อไก่ประเทศไทย
ซีพีเอฟมุ่งมั่นขับเคลื่อนองค์กรไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำโดยดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผลิตสินค้าและบริการที่มีค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ต่ำ เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตให้เกิดความยั่งยืน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อันนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน./
ซีพีเอฟต้นแบบองค์กรลดโลกร้อน สนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจก
ปัจจุบันสภาพภูมิอากาศของโลกมีการเปลี่ยนแปลง ประเทศต่าง ๆ จึงต่างหันมาให้ความสำคัญและเร่งปรับตัวและคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม ประเทศไทยเองก็มีองค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานที่ส่งเสริมให้ประเทศไทยมุ่งสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ ผ่านการวางยุทธศาสตร์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยมุ่งสู่การเป็นเมืองสีเขียว
เช่นเดียวกับ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เห็นถึงความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่การผลิตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำอย่างจริงจัง ล่าสุดสถานประกอบการซีพีเอฟ 58 แห่ง ได้เข้าร่วมโครงการฉลากลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (ฉลากลดโลกร้อน) และโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (Low Emission Support Scheme: LESS) ในงาน “ร้อยดวงใจ ร่วมใจลดโลกร้อน” ประจำปี 2558 จัดโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) โดยมีพลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เกียรติมาเป็นประธานมอบประกาศนียบัตร ณ ห้องวิภาวดีบอลรูม โรงแรม เซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซาลาดพร้าว กรุงเทพฯ
โครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (Low Emission Support Scheme: LESS) โดยสถานประกอบการซีพีเอฟทั่วประเทศได้ดำเนินโครงการรักษ์นิเวศ โดยสามารถกักเก็บ CO2 ได้ 12,748 ตันคาร์บอกไดออกไซด์เทียบเท่า ได้แก่ โรงงานผลิตอาหารสัตว์ปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา จากกิจกรรมกักเก็บคาร์บอนของต้นไม้, ฟาร์มพนัสนิคม จ.ชลบุรี จากกิจกรรมปลูกต้นไม้ของฟาร์มพนัสนิคม, ฟาร์มกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร จากกิจกรรม Green Farm ปาล์มกำแพงเพชร, ฟาร์มหมอนนาง จ.ชลบุรี, ฟาร์มวังทอง จ.พิษณุโลก จากกิจกรรมโครงการปลูกป่า ฟาร์มวังทอง เป็นต้น
อนุสนธิ์ ชวนประสิทธิ์ จากฟาร์มหมอนนาง อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี เป็นหนึ่งในสถานประกอบการของซีพีเอฟที่ได้รับประกาศนียบัตรโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก เล่าว่า “ฟาร์มหมอนนาง เป็นฟาร์มเลี้ยงเป็ดเนื้อบนพื้นที่ 480 ไร่ ซีพีเอฟแบ่งพื้นที่ 70 ไร่ มาปลูกป่าเพื่อลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ปลูกต้นสักทอง ยูคาลิปตัส ประดู่ป่า มะฮอกกานี ฯลฯ ซึ่งเป็นไม้ที่โตเร็ว ดูแลง่าย และเหมาะกับสภาพพื้นที่ในบริเวณนี้ โดยปลูกมาตั้งแต่ปี 2522 ตามนโยบายของท่านประธานธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานเครือเจริญโภคภัณฑ์ ที่มีนโยบายให้ปลูกป่าภายในฟาร์มของซีพีเอฟ โดยในปีนี้ปลูก 5,000 ต้น มีพนักงานอาสาที่มีใจรักปลูกต้นไม้อาสาเข้ามาช่วยกันปลูก ช่วยกันดูแล รวมถึงพยายามปลูกฝังให้พนักงานเข้าใจว่าปัญหาภัยแล้ง ภัยป่าในทุกวันนี้ เป็นเพราะสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย จึงเร่งช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในคงความอุดมสมบูรณ์”
นอกจากนี้ซีพีเอฟยังได้ประกาศนียบัตรโครงการฉลากลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (ฉลากลดโลกร้อน) ผลิตภัณฑ์บะหมี่เกี๊ยวกุ้งได้รับเครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) โดยมีค่าคาร์บอนฟุต พริ้นท์ 1.20 kgCO2/258 กรัม นอกจากนี้ยังได้รับเครื่องหมายลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint Reduction) หรือ ฉลากลดโลกร้อน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เกี๊ยวกุ้ง มีค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ 1.05 kgCO2/145กรัม ซึ่งน้อยกว่า 23% เมื่อเทียบกับค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในปี 2555 และผลิตภัณฑ์ไก่สดอนามัย มีค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ 2.99 kgCO2/1000 กรัม ซึ่งน้อยกว่า 50% เมื่อเทียบกับฐานข้อมูลเนื้อไก่ประเทศไทย
ซีพีเอฟมุ่งมั่นขับเคลื่อนองค์กรไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำโดยดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผลิตสินค้าและบริการที่มีค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ต่ำ เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตให้เกิดความยั่งยืน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อันนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน./