คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
เนื่องจากผู้ก่อการ ๒๔๗๕ ที่เป็นทหารมียศสูงสุดเพียงนายพันเอก ประกอบกัยแนวคิดว่า นายทหารระดับนายพลนั้นมิได้บังคับหน่วยโดยตรง เป็นเพียงหน่วยบัญชาการ เวลาออกรบมีแต่กำลังในระดับกองพันลงไปเท่านั้นที่เข้าทำการในสนาม จึงเห็นว่าหน่วยบลัญชาการระดับสูงกว่าดองพันนั้นมีไว้ก็สูญเปล่าไม่มีประโยชน์อะไร จึงยุบเลิกหน่วยทหารระดับกองทัพน้อย กองพล และกรมซึ่งเป็นหน่วยเหนือของกองพันเสียทั้งหมด ทำให้นายทหารชั้นนายพลถูกปลดประจำการไปตามๆ กัน
ทีนี้พอเกิดสงครามอินโดจีนต่อเนื่องกับสงครามโลกครั้งที่ ๒ มีการเคลื่อนกำลังเข้าสู่สมรภูมิ แต่เนื่องจากแต่ละกองพันต่างเป็นอิสระแก่กัน และทหารแต่ละเหล่า เช่น ราบ ม้า ปืน ต่างก็ถูกฝึดหัดมาต่างกัน ในเวลาปฏิบัติการในสนามแต่ละเหล่าต้องปฏิบัติการร่วมกัน แต่ไม่มีหน่วยบัญชาการระดับเหนือกว่ากองพันที่จะสั่งการสนธิกำลังแต่ละเหล่าแต่ละหน่วยให้ปฏิบัติการร่วมกันได้ จึงต้องรื้อฟื้นหน่วยบังคับบัญชาระดับกรม กองพลและกองทัพน้อยขึ้นมาใหม่และกลับมีผู้บังคับญชาชั้นนายพลขึ้นมาอีกครั้ง
ในยุคนี้จึงนายพลตรีคนหนึ่งได้เลื่อนยศเป็นกรณีพิเศษเป็นจอมพลไปเลย โดยไม่ต้องเป็นพลโท และพลเอก เพราะเป็นผู้นำที่ทำให้ไทยชนะสงครามอินโดจีน อันนี้เป็นเรื่องจริงไม่อิงการเมือง
ทีนี้พอเกิดสงครามอินโดจีนต่อเนื่องกับสงครามโลกครั้งที่ ๒ มีการเคลื่อนกำลังเข้าสู่สมรภูมิ แต่เนื่องจากแต่ละกองพันต่างเป็นอิสระแก่กัน และทหารแต่ละเหล่า เช่น ราบ ม้า ปืน ต่างก็ถูกฝึดหัดมาต่างกัน ในเวลาปฏิบัติการในสนามแต่ละเหล่าต้องปฏิบัติการร่วมกัน แต่ไม่มีหน่วยบัญชาการระดับเหนือกว่ากองพันที่จะสั่งการสนธิกำลังแต่ละเหล่าแต่ละหน่วยให้ปฏิบัติการร่วมกันได้ จึงต้องรื้อฟื้นหน่วยบังคับบัญชาระดับกรม กองพลและกองทัพน้อยขึ้นมาใหม่และกลับมีผู้บังคับญชาชั้นนายพลขึ้นมาอีกครั้ง
ในยุคนี้จึงนายพลตรีคนหนึ่งได้เลื่อนยศเป็นกรณีพิเศษเป็นจอมพลไปเลย โดยไม่ต้องเป็นพลโท และพลเอก เพราะเป็นผู้นำที่ทำให้ไทยชนะสงครามอินโดจีน อันนี้เป็นเรื่องจริงไม่อิงการเมือง
แสดงความคิดเห็น
ถามเกี่ยวกับการยกเลิกยศนายพลในปี 2475 (ขอแต่ประวัติศาสตร์นะครับ)
จึงสงสัยว่าการยกเลิกชั้นนายพลในกองทัพบกปี 2475 มีสาระสำคัญอย่างไรบ้างครับ