หลังรัฐบาลอัดฉีดงบประมาณนับแสนล้านสู่ระดับรากหญ้าผ่านกองทุนหมู่บ้าน กองทุนเอสเอ็มอี และยิงตรงลงตำบลละ 5 ล้านบาท เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่กำลังซบเซา
ทำให้เห็นอาการ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กับ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ หวั่นไหวพอสมควร กับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่ากำลังเดินตามนโยบายประชานิยม
พล.อ.ประยุทธ์ถึงขั้นให้ลบคำว่าประชานิยมแล้วหันมาใช้ประชารัฐแทน พร้อมยกเนื้อเพลงชาติมาประกอบคำอธิบาย
ขณะที่นายสมคิดเกิดอาการใจร้อนถึงขั้นไล่ส่งให้สื่อนอกที่วิจารณ์นโยบายว่าได้ผลน้อย กลับไปเรียนหนังสือใหม่
ในความเป็นจริงแล้ว ทั้ง พล.อ.ประยุทธ์และนายสมคิดไม่ควรแสดงอาการหวั่นไหวที่ถูกเยาะเย้ยว่าเป็นประชานิยมหรือบรรลุผลน้อย ถ้ามั่นใจว่านโยบายนี้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้จริง
โดยเดินหน้าบริหารจัดการให้เกิดเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน ประชาชนสัมผัสได้ว่าเข้าถึงงบประมาณอย่างแท้จริง ไม่ถูกตัดตอนระหว่างทาง
ที่สำคัญต้องอุดช่องโหว่ไม่ให้เกิดการทุจริต เหมือนที่เคยกล่าวหารัฐบาลเก่าเจ้าของนโยบาย ด้วยการนำข้อเสียต่างๆ มาเป็นบทเรียนแล้วหาทางอุดช่องโหว่
ถ้าทำได้จริงคำปรามาสที่ว่าเดินตามรอยประชานิยมก็จะหมดไป
แต่ระหว่างที่คิดนโยบายและผลักดันออกมา ดูเหมือนว่ารัฐบาลขาดความรอบคอบด้านบริหารจัดการในการใช้งบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุดและอุดช่องไม่ให้เกิดทุจริต
เพราะเพียงแค่เริ่มนโยบาย 5 ล้านหนึ่งตำบล ก็มีเสียงโวยวายจากผู้นำท้องถิ่นใน จ.พิจิตร ว่าทำไมต้องหักไปให้ส่วนราชการอื่นด้วย
แม้ผู้ว่าฯพิจิตรจะชี้แจงว่าเป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อนก็ตาม ก็สะท้อนได้ว่าระบบการสื่อสารและบริหารจัดการไม่ดีพอตั้งแต่เริ่มต้น
ขณะที่อำเภอแห่งหนึ่งในจังหวัดภาคเหนือตอนบน คนในพื้นที่ให้ข้อมูลมาว่า งบ 5 ล้านบาท มีการชำแหละเงินด้วยการเอาจำนวนหมู่บ้านในตำบลหารเงิน 5 ล้าน แล้วแบ่งกันไปได้หมู่บ้านละเป็นแสน
ผู้ให้ข้อมูลตั้งข้อสังเกตว่า เมื่อเงินถูกกระจายเป็นหัวแตก การจัดทำโครงการต่างๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะได้ใช้ประโยชน์ได้ยาวนาน อาทิ การพัฒนาแหล่งน้ำ รองรับภัยแล้งก็ไม่ได้ผลเท่าที่ควรเพราะงบน้อย
ทำให้แต่ละหมู่บ้านต้องนำเงินไปทำโครงการเล็กๆ เช่น ซ่อมอาคาร ทาสีรั้ว แทบไม่เกิดประโยชน์เสมือนนำงบไปละเลงแบบไม่คุ้มค่า
ที่สำคัญมีการรวมหัวกันระหว่างอำเภอกับผู้นำท้องถิ่นแบ่งกันกินแบ่งกันใช้แบบ 60:40
นี่คือข้อมูลส่วนหนึ่งที่พอสะท้อนว่างบ 5 ล้านบาทที่ลงสู่ตำบลอาจจะไม่ได้ผลคุ้มค่านัก เพราะหนักไปทางกระจายลงกระเป๋าของคนบางกลุ่ม
ซึ่งปัญหาลักษณะดังกล่าวจะป้องกันได้มากน้อยแค่ไหนก็อยู่ที่ศักยภาพของรัฐบาล ว่าจะควบคุมบริหารจัดการให้ข้าราชการขับเคลื่อนตามนโยบายโดยไม่ให้เกิดการทุจริตได้หรือไม่?
ถึงแม้ว่ากรมการปกครองร่อนหนังสือกำชับผู้ว่าฯ นายอำเภอทั่วประเทศ ให้คุมเข้มในการจัดทำโครงการและพิจารณาอนุมัติอย่างใกล้ชิด อย่าให้เกิดช่องว่างนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างเด็ดขาด
แต่ในทางปฏิบัติจริงอาจจะมีบางส่วนวางเฉยหรือบางส่วนอาจไปซูเอี๋ยกับผู้นำท้องถิ่นหาประโยชน์เข้าตัวเองก็เป็นได้
ข้อสังเกตเหล่านี้มีโอกาสเกิดขึ้นได้
โดยมีปัจจัยสำคัญที่รัฐบาลไม่ควรมองข้ามคือการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ
ซึ่งข้าราชการส่วนใหญ่ที่ไร้เส้น ไร้ปัจจัย แต่มีผลงานเป็นทุน เคยคาดหวังว่ารัฐบาลเผด็จการทหารซึ่งเป็นข้าราชการด้วยกัน จะให้ความเป็นธรรมโดยไม่ต้องวิ่งเต้นแบบรัฐบาลที่มาจากพรรคการเมือง เพราะจะเข้าใจคนหัวอกเดียวกัน
แต่เมื่อถึงเวลาปฏิบัติจริง การแต่งตั้งโยกย้ายก็ซ้ำรอยเดิม เล่นพรรคเล่นพวก ไม่ว่าจะเป็นย้ายทหาร ตำรวจ ข้าราชการพลเรือน พวกได้ขยับตำแหน่งล้วนมีที่มาที่ไปเกี่ยวโยงกับกลุ่มอำนาจในปัจจุบันทั้งสิ้น
ข้าราชการที่มีทุนเป็นผลงานก็จะเหี่ยวเฉาเพราะไม่รู้ว่าอนาคตตัวเองจะเป็นอย่างไร?
บางคนจ่อนั่งปลัดกระทรวง ก็มีคนเหาะมาเด็ดยอดเอาไป ขวัญกำลังใจหดหาย
ดังนั้น ที่ พล.อ.ประยุทธ์และนายสมคิดหวั่นไหวเมื่อถูกวิพากษ์วิจารณ์นโยบาย ก็ไม่น่ากลัวเท่าข้าราชการที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการแต่งตั้งโยกย้าย พร้อมใจกันชวนลูกน้องเกียร์ว่าง แล้วนโยบายที่ผลักดันไปจะล้มเหลวไม่เป็นท่า!!
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1443082466
ระวังนโยบายเหลว โดย ชาญชัย กายพันธ์
ทำให้เห็นอาการ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กับ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ หวั่นไหวพอสมควร กับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่ากำลังเดินตามนโยบายประชานิยม
พล.อ.ประยุทธ์ถึงขั้นให้ลบคำว่าประชานิยมแล้วหันมาใช้ประชารัฐแทน พร้อมยกเนื้อเพลงชาติมาประกอบคำอธิบาย
ขณะที่นายสมคิดเกิดอาการใจร้อนถึงขั้นไล่ส่งให้สื่อนอกที่วิจารณ์นโยบายว่าได้ผลน้อย กลับไปเรียนหนังสือใหม่
ในความเป็นจริงแล้ว ทั้ง พล.อ.ประยุทธ์และนายสมคิดไม่ควรแสดงอาการหวั่นไหวที่ถูกเยาะเย้ยว่าเป็นประชานิยมหรือบรรลุผลน้อย ถ้ามั่นใจว่านโยบายนี้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้จริง
โดยเดินหน้าบริหารจัดการให้เกิดเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน ประชาชนสัมผัสได้ว่าเข้าถึงงบประมาณอย่างแท้จริง ไม่ถูกตัดตอนระหว่างทาง
ที่สำคัญต้องอุดช่องโหว่ไม่ให้เกิดการทุจริต เหมือนที่เคยกล่าวหารัฐบาลเก่าเจ้าของนโยบาย ด้วยการนำข้อเสียต่างๆ มาเป็นบทเรียนแล้วหาทางอุดช่องโหว่
ถ้าทำได้จริงคำปรามาสที่ว่าเดินตามรอยประชานิยมก็จะหมดไป
แต่ระหว่างที่คิดนโยบายและผลักดันออกมา ดูเหมือนว่ารัฐบาลขาดความรอบคอบด้านบริหารจัดการในการใช้งบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุดและอุดช่องไม่ให้เกิดทุจริต
เพราะเพียงแค่เริ่มนโยบาย 5 ล้านหนึ่งตำบล ก็มีเสียงโวยวายจากผู้นำท้องถิ่นใน จ.พิจิตร ว่าทำไมต้องหักไปให้ส่วนราชการอื่นด้วย
แม้ผู้ว่าฯพิจิตรจะชี้แจงว่าเป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อนก็ตาม ก็สะท้อนได้ว่าระบบการสื่อสารและบริหารจัดการไม่ดีพอตั้งแต่เริ่มต้น
ขณะที่อำเภอแห่งหนึ่งในจังหวัดภาคเหนือตอนบน คนในพื้นที่ให้ข้อมูลมาว่า งบ 5 ล้านบาท มีการชำแหละเงินด้วยการเอาจำนวนหมู่บ้านในตำบลหารเงิน 5 ล้าน แล้วแบ่งกันไปได้หมู่บ้านละเป็นแสน
ผู้ให้ข้อมูลตั้งข้อสังเกตว่า เมื่อเงินถูกกระจายเป็นหัวแตก การจัดทำโครงการต่างๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะได้ใช้ประโยชน์ได้ยาวนาน อาทิ การพัฒนาแหล่งน้ำ รองรับภัยแล้งก็ไม่ได้ผลเท่าที่ควรเพราะงบน้อย
ทำให้แต่ละหมู่บ้านต้องนำเงินไปทำโครงการเล็กๆ เช่น ซ่อมอาคาร ทาสีรั้ว แทบไม่เกิดประโยชน์เสมือนนำงบไปละเลงแบบไม่คุ้มค่า
ที่สำคัญมีการรวมหัวกันระหว่างอำเภอกับผู้นำท้องถิ่นแบ่งกันกินแบ่งกันใช้แบบ 60:40
นี่คือข้อมูลส่วนหนึ่งที่พอสะท้อนว่างบ 5 ล้านบาทที่ลงสู่ตำบลอาจจะไม่ได้ผลคุ้มค่านัก เพราะหนักไปทางกระจายลงกระเป๋าของคนบางกลุ่ม
ซึ่งปัญหาลักษณะดังกล่าวจะป้องกันได้มากน้อยแค่ไหนก็อยู่ที่ศักยภาพของรัฐบาล ว่าจะควบคุมบริหารจัดการให้ข้าราชการขับเคลื่อนตามนโยบายโดยไม่ให้เกิดการทุจริตได้หรือไม่?
ถึงแม้ว่ากรมการปกครองร่อนหนังสือกำชับผู้ว่าฯ นายอำเภอทั่วประเทศ ให้คุมเข้มในการจัดทำโครงการและพิจารณาอนุมัติอย่างใกล้ชิด อย่าให้เกิดช่องว่างนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างเด็ดขาด
แต่ในทางปฏิบัติจริงอาจจะมีบางส่วนวางเฉยหรือบางส่วนอาจไปซูเอี๋ยกับผู้นำท้องถิ่นหาประโยชน์เข้าตัวเองก็เป็นได้
ข้อสังเกตเหล่านี้มีโอกาสเกิดขึ้นได้
โดยมีปัจจัยสำคัญที่รัฐบาลไม่ควรมองข้ามคือการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ
ซึ่งข้าราชการส่วนใหญ่ที่ไร้เส้น ไร้ปัจจัย แต่มีผลงานเป็นทุน เคยคาดหวังว่ารัฐบาลเผด็จการทหารซึ่งเป็นข้าราชการด้วยกัน จะให้ความเป็นธรรมโดยไม่ต้องวิ่งเต้นแบบรัฐบาลที่มาจากพรรคการเมือง เพราะจะเข้าใจคนหัวอกเดียวกัน
แต่เมื่อถึงเวลาปฏิบัติจริง การแต่งตั้งโยกย้ายก็ซ้ำรอยเดิม เล่นพรรคเล่นพวก ไม่ว่าจะเป็นย้ายทหาร ตำรวจ ข้าราชการพลเรือน พวกได้ขยับตำแหน่งล้วนมีที่มาที่ไปเกี่ยวโยงกับกลุ่มอำนาจในปัจจุบันทั้งสิ้น
ข้าราชการที่มีทุนเป็นผลงานก็จะเหี่ยวเฉาเพราะไม่รู้ว่าอนาคตตัวเองจะเป็นอย่างไร?
บางคนจ่อนั่งปลัดกระทรวง ก็มีคนเหาะมาเด็ดยอดเอาไป ขวัญกำลังใจหดหาย
ดังนั้น ที่ พล.อ.ประยุทธ์และนายสมคิดหวั่นไหวเมื่อถูกวิพากษ์วิจารณ์นโยบาย ก็ไม่น่ากลัวเท่าข้าราชการที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการแต่งตั้งโยกย้าย พร้อมใจกันชวนลูกน้องเกียร์ว่าง แล้วนโยบายที่ผลักดันไปจะล้มเหลวไม่เป็นท่า!!
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1443082466