ข้อมูลทั้งหมดอ้างอิงจาก
https://www.change.org/p/thai-govt-ต่อต้านการตั้งซิงเกิลเกตเวย์-stop-proposed-plan-for-single-internet-gateway
*ร่วมกันลงชื่อสนับสนุนแคมเปญนี้กันด้วยนะคับ*
ถ้าตั้ง Single Gateway จริง ท่านจะพบเจอกับอะไร?
- การถูกบล็อก แบน สแกน และตรวจสอบทุกการใช้งานในอินเตอร์เนตจากรัฐบาล
- รัฐบาลสามารถป้องกันการเข้าถึงเว็บไซต์ที่ไม่ต้องการให้เข้าได้ เหมือนประเทศจีน ที่ไม่อนุญาตให้เข้า Facebook หรือสื่อ Social Network
ที่รัฐไม่ต้องการให้เข้าถึง
- การติดต่อสื่อสารทางอินเตอร์เนตทุกอย่างจะขึ้นอยู่กับระบบเดียว และถ้าระบบนั้น "ถูกโจมตีจนล้มเหลว" นั่นหมายถึงระบบอินเตอร์เนตที่ต้องพินาศทั้งประเทศ
- ความเชื่อมั่นของต่างชาติเกี่ยวกับระบบความมั่นคงและปลอดภัยของการให้บริการอินเตอร์เนตต่ำถึงขีดสุด เพราะหน่วยงานเอกชนสามารถถูกล้วงลูกโดยรัฐบาลได้ตลอดเวลา
Single Gateway คืออะไร?
เริ่มจากคำว่าเกตเวย์ก่อน เกตเวย์ถ้าแปลเป็นภาษาไทยง่ายๆก็คือประตูทางผ่าน ศัพท์ในวงการไอทีหมายถึงจุดที่เป็นเสมือนประตูเชื่อมระหว่างเครือข่ายหนึ่งไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง และเป็นตัวที่เชื่อมต่อโครงข่ายของแต่ละประเทศเข้าด้วยกัน
สมมุติว่าเราเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตกับเซิฟเวอร์ ปัจจุบันจะต้องผ่าน International internet gateway (IIG) ในประเทศเล็กๆ หรือประเทศที่ต้องการควบคุมผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตอย่างเช่น จีน หรือลาว ผู้ให้บริการ IIG จะมีเพียงเจ้าเดียวเท่านั้น ซึ่งก่อนหน้านี้ไทยก็เคยใช้ระบบนี้ตอนที่อินเตอร์เน็ตยังไม่แพร่หลายมากนัก คือเวลาต่ออินเตอร์เน็ต ทุกจุดเชื่อมต่อก็จะต้องมารวมที่ กสท ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ IIG แต่ในปัจจุบัน หลังวิกฤติปี 40 ไอเอ็มเอฟก็ได้สั่งให้เราเปิดเสรีโทรคมนาคม ทำให้เกตเวย์ในไทยเพิ่มมากขึ้นจนตอนนี้มีถึงสิบกว่าเกตเวย์แล้ว
เพราะฉะนั้น Single Gateway ก็คือการใช้เกตเวย์เดียว เหมือนจีนและลาว เปรียบเสมือนการใช้ประตูเพียงบานเดียว เข้าออก ทำให้การใช้งานอินเตอร์เน็ตง่ายต่อการควบคุมโดยภาครัฐ
ทำไมรัฐจะกลับมาใช้ Single Gateway?
อย่างที่กล่าวไปแล้ว Single Gateway คือประตูเพียงบานเดียว คือไม่ว่าอินเตอร์เน็ตภายในประเทศจะเชื่อมกันกี่หมื่นกี่พันเส้น แต่ทางออกเพื่อไปเชื่อมกับเครือข่ายในต่างประเทศนั้นจะเหลือแค่จุดเดียวเท่านั้น การดูแลการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต การตรวจสอบข้อมูล การดักจับข้อมูล ฯลฯ จึงทำได้ง่ายกว่าเยอะ ในรัฐที่มีการปกครองแบบอำนาจนิยมเบ็ดเสร็จเช่นประเทศไทย จึงอาจเป็นเรื่องไม่น่าแปลกใจเท่าไร ที่รัฐบาลจะพยายามควบคุมการใช้งานและเข้าถึงข้อมูลข่าวสารจากโลกภายนอก โดยอ้าง ‘ความมั่นคง’
ปัญหาและสิ่งที่จะตามมาของการใช้ Single Gateway?
แน่นอนว่าการมีประตูทางออกเดียวจะทำให้อินเตอร์เน็ตช้าลงแน่นอน และอีกอย่างคือหากว่าเกตเวย์ล่มก็จะล่มกันหมดทั้งประเทศ เพราะจะไม่มีเกตเวย์ตัวอื่นรองรับเลย
แต่ที่สำคัญกว่านั้นก็คือการที่ผู้ให้บริการ gateway (ซึ่งมีอยู่เจ้าเดียว) สามารถดักจับข้อมูลสำคัญของผู้ใช้งานได้อย่างง่ายดาย รวมถึงปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูลที่เราค้นหาได้อย่างรวดเร็วเต็มประสิทธิภาพด้วย
ถ้าหากมีการใช้ Single Gateway จริง ก็จะยิ่งทำให้บริษัทต่างประเทศลังเลมากยิ่งขึ้นในการเข้ามาลงทุนในประเทศไทย และผู้ให้บริการที่มีพาร์ทเน่อร์กับบริษัทต่างประเทศก็อาจจะสูญเสียรายได้ เนื่องจากบริษัทข้ามชาติจะเกิดความไม่แน่ใจด้านความมั่นคงและปลอดภัยของการให้บริการอินเตอร์เน็ตในบ้านเรา หากล่มปุ๊ป แน่นอนว่าจบเห่แน่ทั้งประเทศ รวมถึงข้อมูลความลับทางการค้าก็อาจจะถูกล้วงได้โดยง่าย ในขณะเดียวกันผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั่วไปก็จะถูกจำกัดการเข้าใช้งานกับเครือข่ายต่างประเทศมากยิ่งขึ้น และยิ่งต้องระมัดระวังเป็นพิเศษกับการเข้าถึงเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมโดยไม่รู้ตัวด้วยเช่นกัน
#แก้ไข เพิ่มข้อมูล
อ้างอิงจาก http://www.ispacethailand.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87/7129.html
เอกสารข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีฉบับลงวันที่ 27 สิงหาคม 2558 ในส่วนของ ‘ด้านการบริหารราชการแผ่นดินและอื่นๆ’ ข้อ4 ได้ระบุไว้ว่า (
http://www.cabinet.soc.go.th/doc_image/2558/993152581.pdf)
“ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๔ สิงหาคม ๒๕๕๘) ให้หน่อยงานที่รับผิดชอบมาตรการและโครงการสำคัญต่างๆเร่งดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมภายในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งรวมถึงเรื่องการจัดตั้ง single gateway ที่ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นผู้รับผิดชอบ โดยให้รายงานความคืบหน้าการดำเนินการให้นายกรัฐมนตรีทราบภายในเดือนสิงหาคม ๒๕๕๘ นั้น ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเร่งรัดการดำเนินการเรื่องดังกล่าวและรายงานความคืบหน้าให้นายกรัฐมนตรีทราบภายในเดือนกันยายน ๒๕๕๘ ต่อไปด้วย”
#แก้ไข เพิ่มข้อมูล
** วันที่ 29 กันยายน 2558 รัฐบาลยังคงเร่งรัดเดินหน้าโครงการ Single Gateway อย่างต่อเนื่อง **
2 ข้อความต่อจากบรรทัดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ผมได้เลือกมาจากความเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อนโยบาย ซิงเกิล เกตเวย์ โดยอ้างอิงข้อมูลจาก http://www.posttoday.com/analysis/report/390994
1.หากดูตัวอย่างจากต่างประเทศ กรณี เจ้าหน้าที่หน่วยความมั่นคง NSA ของสหรัฐ ทำการติดตาม โซเชียลมีเดียของหญิงสาวรายหนึ่ง ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามนโยบายความมั่นคง แต่เป็นไปเพราะเรื่องส่วนตัว หรือที่ประเทศเกาหลีใต้ ที่พบว่าหน่วยงานความมั่นคงทำการดักฟัง ติดตาม อีเมลและข้อมูล ของนักการเมืองฝ่ายตรงข้าม นักข่าว นักกิจกรรมสังคม รวมไปถึง การสื่อสารของผู้บริหารระดับสูง ตัวอย่างเหล่านี้แสดงให้เห็นชัดเจนถึงความเป็นไปได้ว่าเจ้าหน้าที่อาจจะใช้อำนาจที่มีไปในเรื่องส่วนตัวมากกว่าเรื่องความมั่นคง
2.พอมีปัญหาเรื่องความไม่เสถียร ล่มง่าย หากติดไวรัส มัลแวร์หรือถูกแฮกจุดเดียว โอกาสกระจายไปทั่วประเทศก็มีสูง ปัญหาทั้งหมดเหล่านี้ทำให้อินเทอร์เน็ตโดยรวมของประเทศมีความมั่นคงปลอดภัยและน่าเชื่อถือน้อยลง และเป็นไปได้ว่า บริษัทผู้ประกอบการที่ต้องการความปลอดภัยของระบบอินเทอร์เน็ตสูง อาจจะตัดสินใจย้ายไปใช้บริการนอกประเทศ ซึ่งแน่นอนว่ากระทบกับเรื่องเศรษฐกิจ
ผมได้รวบรวมลิ้งค์ข่าวที่เกี่ยวกับนโยบาย Single Gateway ไว้คร่าว ๆ ดังนี้
http://www.nationtv.tv/main/content/politics/378472908/
http://news.voicetv.co.th/thailand/264795.html
http://www.thairath.co.th/content/528235
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1443419052
http://www.dailynews.co.th/it/350216
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9580000109529
https://www.blognone.com/node/72775
http://www.springnews.co.th/social/241038
ฯลฯ
แก้ไข เพิ่มข้อมูล
อ้างอิงจากความคิดเห็นที่ 118 (http://ppantip.com/topic/34220932/comment118)
(สำคัญ) ต่อต้านการตั้งซิงเกิลเกตเวย์ Go against Thai govt to use a Single Internet Gateway.
https://www.change.org/p/thai-govt-ต่อต้านการตั้งซิงเกิลเกตเวย์-stop-proposed-plan-for-single-internet-gateway
*ร่วมกันลงชื่อสนับสนุนแคมเปญนี้กันด้วยนะคับ*
ถ้าตั้ง Single Gateway จริง ท่านจะพบเจอกับอะไร?
- การถูกบล็อก แบน สแกน และตรวจสอบทุกการใช้งานในอินเตอร์เนตจากรัฐบาล
- รัฐบาลสามารถป้องกันการเข้าถึงเว็บไซต์ที่ไม่ต้องการให้เข้าได้ เหมือนประเทศจีน ที่ไม่อนุญาตให้เข้า Facebook หรือสื่อ Social Network
ที่รัฐไม่ต้องการให้เข้าถึง
- การติดต่อสื่อสารทางอินเตอร์เนตทุกอย่างจะขึ้นอยู่กับระบบเดียว และถ้าระบบนั้น "ถูกโจมตีจนล้มเหลว" นั่นหมายถึงระบบอินเตอร์เนตที่ต้องพินาศทั้งประเทศ
- ความเชื่อมั่นของต่างชาติเกี่ยวกับระบบความมั่นคงและปลอดภัยของการให้บริการอินเตอร์เนตต่ำถึงขีดสุด เพราะหน่วยงานเอกชนสามารถถูกล้วงลูกโดยรัฐบาลได้ตลอดเวลา
Single Gateway คืออะไร?
เริ่มจากคำว่าเกตเวย์ก่อน เกตเวย์ถ้าแปลเป็นภาษาไทยง่ายๆก็คือประตูทางผ่าน ศัพท์ในวงการไอทีหมายถึงจุดที่เป็นเสมือนประตูเชื่อมระหว่างเครือข่ายหนึ่งไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง และเป็นตัวที่เชื่อมต่อโครงข่ายของแต่ละประเทศเข้าด้วยกัน
สมมุติว่าเราเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตกับเซิฟเวอร์ ปัจจุบันจะต้องผ่าน International internet gateway (IIG) ในประเทศเล็กๆ หรือประเทศที่ต้องการควบคุมผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตอย่างเช่น จีน หรือลาว ผู้ให้บริการ IIG จะมีเพียงเจ้าเดียวเท่านั้น ซึ่งก่อนหน้านี้ไทยก็เคยใช้ระบบนี้ตอนที่อินเตอร์เน็ตยังไม่แพร่หลายมากนัก คือเวลาต่ออินเตอร์เน็ต ทุกจุดเชื่อมต่อก็จะต้องมารวมที่ กสท ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ IIG แต่ในปัจจุบัน หลังวิกฤติปี 40 ไอเอ็มเอฟก็ได้สั่งให้เราเปิดเสรีโทรคมนาคม ทำให้เกตเวย์ในไทยเพิ่มมากขึ้นจนตอนนี้มีถึงสิบกว่าเกตเวย์แล้ว
เพราะฉะนั้น Single Gateway ก็คือการใช้เกตเวย์เดียว เหมือนจีนและลาว เปรียบเสมือนการใช้ประตูเพียงบานเดียว เข้าออก ทำให้การใช้งานอินเตอร์เน็ตง่ายต่อการควบคุมโดยภาครัฐ
ทำไมรัฐจะกลับมาใช้ Single Gateway?
อย่างที่กล่าวไปแล้ว Single Gateway คือประตูเพียงบานเดียว คือไม่ว่าอินเตอร์เน็ตภายในประเทศจะเชื่อมกันกี่หมื่นกี่พันเส้น แต่ทางออกเพื่อไปเชื่อมกับเครือข่ายในต่างประเทศนั้นจะเหลือแค่จุดเดียวเท่านั้น การดูแลการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต การตรวจสอบข้อมูล การดักจับข้อมูล ฯลฯ จึงทำได้ง่ายกว่าเยอะ ในรัฐที่มีการปกครองแบบอำนาจนิยมเบ็ดเสร็จเช่นประเทศไทย จึงอาจเป็นเรื่องไม่น่าแปลกใจเท่าไร ที่รัฐบาลจะพยายามควบคุมการใช้งานและเข้าถึงข้อมูลข่าวสารจากโลกภายนอก โดยอ้าง ‘ความมั่นคง’
ปัญหาและสิ่งที่จะตามมาของการใช้ Single Gateway?
แน่นอนว่าการมีประตูทางออกเดียวจะทำให้อินเตอร์เน็ตช้าลงแน่นอน และอีกอย่างคือหากว่าเกตเวย์ล่มก็จะล่มกันหมดทั้งประเทศ เพราะจะไม่มีเกตเวย์ตัวอื่นรองรับเลย
แต่ที่สำคัญกว่านั้นก็คือการที่ผู้ให้บริการ gateway (ซึ่งมีอยู่เจ้าเดียว) สามารถดักจับข้อมูลสำคัญของผู้ใช้งานได้อย่างง่ายดาย รวมถึงปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูลที่เราค้นหาได้อย่างรวดเร็วเต็มประสิทธิภาพด้วย
ถ้าหากมีการใช้ Single Gateway จริง ก็จะยิ่งทำให้บริษัทต่างประเทศลังเลมากยิ่งขึ้นในการเข้ามาลงทุนในประเทศไทย และผู้ให้บริการที่มีพาร์ทเน่อร์กับบริษัทต่างประเทศก็อาจจะสูญเสียรายได้ เนื่องจากบริษัทข้ามชาติจะเกิดความไม่แน่ใจด้านความมั่นคงและปลอดภัยของการให้บริการอินเตอร์เน็ตในบ้านเรา หากล่มปุ๊ป แน่นอนว่าจบเห่แน่ทั้งประเทศ รวมถึงข้อมูลความลับทางการค้าก็อาจจะถูกล้วงได้โดยง่าย ในขณะเดียวกันผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั่วไปก็จะถูกจำกัดการเข้าใช้งานกับเครือข่ายต่างประเทศมากยิ่งขึ้น และยิ่งต้องระมัดระวังเป็นพิเศษกับการเข้าถึงเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมโดยไม่รู้ตัวด้วยเช่นกัน
#แก้ไข เพิ่มข้อมูล
อ้างอิงจาก http://www.ispacethailand.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87/7129.html
เอกสารข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีฉบับลงวันที่ 27 สิงหาคม 2558 ในส่วนของ ‘ด้านการบริหารราชการแผ่นดินและอื่นๆ’ ข้อ4 ได้ระบุไว้ว่า (http://www.cabinet.soc.go.th/doc_image/2558/993152581.pdf)
“ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๔ สิงหาคม ๒๕๕๘) ให้หน่อยงานที่รับผิดชอบมาตรการและโครงการสำคัญต่างๆเร่งดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมภายในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งรวมถึงเรื่องการจัดตั้ง single gateway ที่ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นผู้รับผิดชอบ โดยให้รายงานความคืบหน้าการดำเนินการให้นายกรัฐมนตรีทราบภายในเดือนสิงหาคม ๒๕๕๘ นั้น ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเร่งรัดการดำเนินการเรื่องดังกล่าวและรายงานความคืบหน้าให้นายกรัฐมนตรีทราบภายในเดือนกันยายน ๒๕๕๘ ต่อไปด้วย”
#แก้ไข เพิ่มข้อมูล
** วันที่ 29 กันยายน 2558 รัฐบาลยังคงเร่งรัดเดินหน้าโครงการ Single Gateway อย่างต่อเนื่อง **
2 ข้อความต่อจากบรรทัดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ผมได้เลือกมาจากความเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อนโยบาย ซิงเกิล เกตเวย์ โดยอ้างอิงข้อมูลจาก http://www.posttoday.com/analysis/report/390994
1.หากดูตัวอย่างจากต่างประเทศ กรณี เจ้าหน้าที่หน่วยความมั่นคง NSA ของสหรัฐ ทำการติดตาม โซเชียลมีเดียของหญิงสาวรายหนึ่ง ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามนโยบายความมั่นคง แต่เป็นไปเพราะเรื่องส่วนตัว หรือที่ประเทศเกาหลีใต้ ที่พบว่าหน่วยงานความมั่นคงทำการดักฟัง ติดตาม อีเมลและข้อมูล ของนักการเมืองฝ่ายตรงข้าม นักข่าว นักกิจกรรมสังคม รวมไปถึง การสื่อสารของผู้บริหารระดับสูง ตัวอย่างเหล่านี้แสดงให้เห็นชัดเจนถึงความเป็นไปได้ว่าเจ้าหน้าที่อาจจะใช้อำนาจที่มีไปในเรื่องส่วนตัวมากกว่าเรื่องความมั่นคง
2.พอมีปัญหาเรื่องความไม่เสถียร ล่มง่าย หากติดไวรัส มัลแวร์หรือถูกแฮกจุดเดียว โอกาสกระจายไปทั่วประเทศก็มีสูง ปัญหาทั้งหมดเหล่านี้ทำให้อินเทอร์เน็ตโดยรวมของประเทศมีความมั่นคงปลอดภัยและน่าเชื่อถือน้อยลง และเป็นไปได้ว่า บริษัทผู้ประกอบการที่ต้องการความปลอดภัยของระบบอินเทอร์เน็ตสูง อาจจะตัดสินใจย้ายไปใช้บริการนอกประเทศ ซึ่งแน่นอนว่ากระทบกับเรื่องเศรษฐกิจ
ผมได้รวบรวมลิ้งค์ข่าวที่เกี่ยวกับนโยบาย Single Gateway ไว้คร่าว ๆ ดังนี้
http://www.nationtv.tv/main/content/politics/378472908/
http://news.voicetv.co.th/thailand/264795.html
http://www.thairath.co.th/content/528235
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1443419052
http://www.dailynews.co.th/it/350216
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9580000109529
https://www.blognone.com/node/72775
http://www.springnews.co.th/social/241038
ฯลฯ
แก้ไข เพิ่มข้อมูล
อ้างอิงจากความคิดเห็นที่ 118 (http://ppantip.com/topic/34220932/comment118)