" .
. การฟังธรรม โดยไม่นำมาปฏิบัติ ก็เหมือนกับการ
"ได้จับหรือถือผลไม้เท่านั้น" ยังไม่ได้กิน ไม่ได้ลิ้มรส
มันก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร เพราะได้แต่ถือเอาไว้
"แต่ไม่รู้จักรสชาติหรือความเอร็ดอร่อยของมัน"
จะรู้ได้จริงก็ต่อเมื่อ
"ได้ลองรับประทานผลไม้นั้นด้วยตนเอง"
ซึ่งเมื่อรู้รสด้วยตนเองแล้ว ก็เป็นพยานในตัวเองได้
ถ้ายังไม่รู้เองเห็นเองอย่างนี้ก็เท่ากับมีแต่พยานภายนอก
คือคนที่เขาให้ผลไม้ แล้วก็เชื่อไปตามที่เขาว่า ซึ่งไม่ใช่ความเชื่อของตนเอง
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านทรงบอกว่า
คนที่เชื่อแต่คนอื่นนั้นท่านไม่สรรเสริญ
ท่านทรงสรรเสริญ "บุคคลที่รู้เป็นปัจจัตตัง" คือรู้เฉพาะตนเอง
เปรียบเหมือนอย่าง "คนที่ได้ลิ้มรสผลไม้ด้วยตนเองฉะนั้น"
เพราะถ้าได้ลิ้มรสด้วยตนเองแล้ว จะไม่ต้องไปถามผู้อื่น
ว่า "เปรี้ยวหรือหวานอย่างไร" ความสงสัยทั้งหลายก็หมดไป
เพราะได้รู้ประจักษ์ในความจริงแล้ว รู้อย่างทั่วถึงนี้
คือคนที่รู้ธรรมะแล้ว ผู้บรรลุถึงธรรมะ
"ก็คือบุรุษที่บรรลุถึงความเปรี้ยวหวานของผลไม้ " นั่นเอง .. "
หลวงปู่ชา สุภัทโท
การฟังธรรม การปฏิบัติธรรม (หลวงปู่ชา สุภัทโท)
" .. การฟังธรรม โดยไม่นำมาปฏิบัติ ก็เหมือนกับการ
"ได้จับหรือถือผลไม้เท่านั้น" ยังไม่ได้กิน ไม่ได้ลิ้มรส
มันก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร เพราะได้แต่ถือเอาไว้
"แต่ไม่รู้จักรสชาติหรือความเอร็ดอร่อยของมัน"
จะรู้ได้จริงก็ต่อเมื่อ "ได้ลองรับประทานผลไม้นั้นด้วยตนเอง"
ซึ่งเมื่อรู้รสด้วยตนเองแล้ว ก็เป็นพยานในตัวเองได้
ถ้ายังไม่รู้เองเห็นเองอย่างนี้ก็เท่ากับมีแต่พยานภายนอก
คือคนที่เขาให้ผลไม้ แล้วก็เชื่อไปตามที่เขาว่า ซึ่งไม่ใช่ความเชื่อของตนเอง
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านทรงบอกว่า
คนที่เชื่อแต่คนอื่นนั้นท่านไม่สรรเสริญ
ท่านทรงสรรเสริญ "บุคคลที่รู้เป็นปัจจัตตัง" คือรู้เฉพาะตนเอง
เปรียบเหมือนอย่าง "คนที่ได้ลิ้มรสผลไม้ด้วยตนเองฉะนั้น"
เพราะถ้าได้ลิ้มรสด้วยตนเองแล้ว จะไม่ต้องไปถามผู้อื่น
ว่า "เปรี้ยวหรือหวานอย่างไร" ความสงสัยทั้งหลายก็หมดไป
เพราะได้รู้ประจักษ์ในความจริงแล้ว รู้อย่างทั่วถึงนี้
คือคนที่รู้ธรรมะแล้ว ผู้บรรลุถึงธรรมะ
"ก็คือบุรุษที่บรรลุถึงความเปรี้ยวหวานของผลไม้ " นั่นเอง .. "
หลวงปู่ชา สุภัทโท