สำหรับโรคความดันเลือดสูง คำแนะนำปัจจุบันให้คุมให้ตัวบนต่ำกว่า 140 และ ตัวล่างต่ำกว่า 90 (ถ้าเป็นโรคไต หรือเบาหวานให้ต่ำกว่า 130) แต่ก็มีคำถามเสมอว่าถ้าเราคุมความดันให้ลงไปมากกว่านี้จะเกิดผลดีมากขึ้นหรือเปล่า เช่นลดอัตราการเกิดโรคหัวใจ หรือ ลดอัตราตาย เลยมีการทำการทดลองขึ้นที่อเมริกา ในตอนแรกมีแผนว่าการศึกษาจะเสร็จสิ้นในปี 2017 แต่เนื่องจากผลการทดลองแสดงผลที่เป็นประโยชน์จึงมีการประกาศผลการศึกษาก่อนการสิ้นสุดโครงการเมื่อวันที่ 11 กันยายนที่ผ่านมา (การทดลองนี้ชื่อ SPRINT study ครับ)
ผลการศึกษาพบว่า ในประชากรที่มีความดันโลหิตสูงและมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจสูง(ไม่รวมคนเป็นเบาหวานนะครับ) การลดความดันตัวบนให้ต่ำกว่า 120 เมื่อเทียบกับการรักษาแบบดั้งเดิม (น้อยกว่า 140) ช่วยทำให้
- โรคหลอดเลือดสมองลดลง
- โรคหัวใจวายและหัวใจล้มเหลวน้อยลง
- อัตราการรอดชีวิตโดยรวมสูงขึ้น
ผลการศึกษานี้สำคัญมากนะครับ เพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงการรักษาของโรคที่พบเกือบบ่อยที่สุดทางอายุรกรรมครั้งใหญ่เลยทีเดียว ผลการศึกษาคงถูกตีพิมพ์อย่างเป็นทางการอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าครับ แต่ผมว่ามีแนวโน้มสูงมากว่าอาจจะมีการปรับเปลี่ยนแนวการรักษาในอนาคตโดยอิงจากการศึกษานี้ อย่างไรก็ตามแพทย์ผู้วิจัยก็บอกว่า"ผลการวิจัยนี้เป็นแนวทางในการวางเป้าหมายการรักษาเท่านั้น การตั้งเป้าความดันโลหิตในการรักษาผู้ป่วยแต่ละคนก็ยังอยู่ที่วิจารณญาณของแพทย์ผู้รักษาเป็นหลัก"ครับ เพราะการลดความดันโลหิตมากไปก็มีผลข้างเคียงเหมือนกันครับ
อ้างอิงจาก
http://www.nytimes.com/2015/09/12/health/blood-pressure-study.html?hp&action=click&pgtype=Homepage&module=first-column-region®ion=top-news&WT.nav=top-news
https://www.sprinttrial.org
เป็นความดันโลหิตสูง คุมน้อยกว่า 140 อาจยังไม่พอ ผลการวิจัยใหม่จากอเมริกา
ผลการศึกษาพบว่า ในประชากรที่มีความดันโลหิตสูงและมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจสูง(ไม่รวมคนเป็นเบาหวานนะครับ) การลดความดันตัวบนให้ต่ำกว่า 120 เมื่อเทียบกับการรักษาแบบดั้งเดิม (น้อยกว่า 140) ช่วยทำให้
- โรคหลอดเลือดสมองลดลง
- โรคหัวใจวายและหัวใจล้มเหลวน้อยลง
- อัตราการรอดชีวิตโดยรวมสูงขึ้น
ผลการศึกษานี้สำคัญมากนะครับ เพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงการรักษาของโรคที่พบเกือบบ่อยที่สุดทางอายุรกรรมครั้งใหญ่เลยทีเดียว ผลการศึกษาคงถูกตีพิมพ์อย่างเป็นทางการอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าครับ แต่ผมว่ามีแนวโน้มสูงมากว่าอาจจะมีการปรับเปลี่ยนแนวการรักษาในอนาคตโดยอิงจากการศึกษานี้ อย่างไรก็ตามแพทย์ผู้วิจัยก็บอกว่า"ผลการวิจัยนี้เป็นแนวทางในการวางเป้าหมายการรักษาเท่านั้น การตั้งเป้าความดันโลหิตในการรักษาผู้ป่วยแต่ละคนก็ยังอยู่ที่วิจารณญาณของแพทย์ผู้รักษาเป็นหลัก"ครับ เพราะการลดความดันโลหิตมากไปก็มีผลข้างเคียงเหมือนกันครับ
อ้างอิงจาก
http://www.nytimes.com/2015/09/12/health/blood-pressure-study.html?hp&action=click&pgtype=Homepage&module=first-column-region®ion=top-news&WT.nav=top-news
https://www.sprinttrial.org