เคเบิลดิ้นหนีเรียงช่องทีวี เตรียมระดมสมองหาทางออก/ร้องกสทช.ไม่เป็นธรรม
นสพ. ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 20-23 ก.ย. 58
เคเบิลทีวีโอดกสทช.จัดเรียงช่องไม่เป็นธรรม ส่งผลกระทบต่อแบรนด์ ต้องสร้างการรับรู้และจดจำใหม่ รวมถึงสูญเงินค่าลิขสิทธิ์คอนเทนต์ หวั่นฉุดให้ผู้ประกอบการเลิกกิจการเร็วขึ้น เล็งเรียกระดมพลหาทางออก ด้าน”พีพีทีวี” แนะกสทช.ควรไขปัญหา หาทางสนับสนุน สร้างชื่อผลงานเข้าตัว ขณะที่กสทช. ไฟเขียวจัดเรียงช่อง มีผลใน 60 วันหลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา
นายวิชิต เอื้ออารีวรกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เจริญยิ่ง (8888) จำกัด ผู้บริหาร “เจริญ เคเบิ้ลทีวี” เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า การเห็นชอบให้ใช้หลักเกณฑ์การจัดลำดับเรียงช่อง โดยให้ผู้รับใบอนุญาตให้บริการโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ อาทิ ช่องดาวเทียม เคเบิลทีวี และรายการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป หรือช่องทีวีดิจิตอล มีรูปแบบแพลตฟอร์มเดียวกัน โดยให้มีการจัดเรียงช่อง โดยทีวีดิจิตอล เริ่มตั้งแต่ช่องรายการที่ 1-36 ส่วนช่องรายการที่ 37-60 เป็นช่องที่ผู้ประกอบการเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม เลือกนำรายการใดมานำเสนอก็ได้นั้น จะส่งผลให้เกิดปัญหาขึ้นในอนาคต โดยเบื้องต้นมองว่าคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)ไม่เป็นธรรมต่อผู้ประกอบการธุรกิจเคเบิลทีวีอย่างยิ่ง เนื่องจากธุรกิจเคเบิลทีวีมีรายได้มาจากการเก็บค่าสมาชิกจากผู้ชม ซึ่งวิธีการตอบโจทย์ของผู้ชมกลุ่มนี้ คือ ผู้ให้บริการต้องนำเสนอบริการที่มีคุณภาพให้ผู้ชม เช่น การจัดเรียงช่องให้ผู้ชมจำได้ง่าย การเพิ่มคอนเทนต์ เป็นต้น
ทั้งนี้หากกสทช.บังคับให้เคเบิลทีวีต้องเรียงช่อง ย่อมเกิดผลกระทบต่อผู้ชมและผู้ประกอบการในธุรกิจนี้ เนื่องจากปัจจุบันการจดจำหมายเลขช่องของผู้ชม ขณะนี้อยู่ในช่วงที่เริ่มจำได้ หากให้เคเบิลทำใหม่ย่อมสร้างความสับสนอีกครั้งให้กับผู้บริโภค ขณะเดียวกันผู้ประกอบการซึ่งเดิมต้องหาซื้อลิขสิทธิ์คอนเทนต์เพื่อเพิ่มความหลากหลายให้กับการบริการในแพลตฟอร์มเคเบิลทีวีที่มีจำนวนช่องมากมาย แต่เมื่อต้องมาอยู่ในแพลตฟอร์มใหม่ ซึ่งมีช่องจำนวนจำกัด โอกาสในการออกอากาศจึงน้อยลง ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายโดยเปล่าประโยชน์ ดังนั้นหากกสทช.บังคับให้ต้องจัดเรียงช่อง ย่อมส่งผลกระทบต่อภาพรวมธุรกิจและผลประกอบการด้วย
“ปัจจุบันธุรกิจเคเบิลทีวีมีจำนวนช่องอยู่ที่ประมาณ 60 ช่อง หากกสทช.บังคับให้จัดเรียงช่องทีวีดิจิตอล หมายเลข 1-36 ผู้ประกอบการธุรกิจเคเบิลทีวีจะได้รับความเสียหายทันที เนื่องจากเหลือจำนวนช่องเพียงเล็กน้อย ซึ่งไม่เพียงพอต่อการนำคอนเทนต์ที่บริษัทไปซื้อลิขสิทธิ์ไว้มาลง อาจจะขาดทุนในอนาคตและส่งผลให้ภาพรวมธุรกิจเคเบิลทีวีทั้งประเทศ ทั้งรายเล็ก และรายใหญ่ไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อได้”
สำหรับเคเบิลท้องถิ่นที่สามารถอยู่ได้ในทุกวันนี้ แม้จะให้บริการในระบบอะนาล็อก แต่ก็มีช่องรายการพิเศษดีๆให้สมาชิกได้รับชม ส่วนการได้มาของช่องรายการพิเศษ อาจได้มาจากทั้งการซื้อลิขสิทธิ์ช่องรายการโดยถูกต้อง หรือการใช้ช่องทางพิเศษ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะหากเคเบิลท้องถิ่นต้องการประกอบกิจการในระยะยาว จำเป็นต้องให้บริการทุกอย่างโดยถูกต้องและโปร่งใส แต่เท่าที่ผ่านมา ช่องรายการลิขสิทธิ์ต่างๆจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ ต่างถูกผู้ให้บริการเคเบิลทีวีรายใหญ่ระดับประเทศเช่น True Vision และ CTH ใช้เงินทุนที่สูงแย่งกันซื้อลิขสิทธิ์ช่องรายการผูกขาดแต่ผู้เดียวในประเทศไทย หรือหากไม่ซื้อผูกขาด เจ้าของลิขสิทธิ์ก็ตั้งราคาขายลิขสิทธิ์ที่สูงจนเคเบิลท้องถิ่นไม่สามารถซื้อมาได้ สุดท้ายเพื่อความอยู่รอด เคเบิลท้องถิ่นก็ถูกบังคับให้ใช้ช่องทางพิเศษ ซึ่งในทางปฏิบัติไม่มีใครอยากทำ แต่หากไม่ทำก็ต้องปิดกิจการอย่างแน่นอน
อย่างไรก็ดี เมื่อย้อนกลับไปช่วงเริ่มต้นการประมูล กสทช. ได้เคยรับปากกับผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลว่า จะทำให้ช่องทีวีขึ้นอยู่บนทีวีทุกแพลตฟอร์มได้ ดังนั้นตัวเลขการประมูลในครั้งนั้นจึงขึ้นไปอยู่ที่ประมาณ 5 หมื่นล้านบาท จากเดิมที่ตั้งต้นไว้เพียงแค่ 1.5 หมื่นล้านบาทเท่านั้น ซึ่งบริษัทมองว่ากสทช.ควรให้ความเป็นธรรมกับผู้ประกอบการธุรกิจเคเบิลบ้าง ควรมีข้อเสนอ ทางเลือกหรือสนับสนุนให้กับเคเบิลไม่ใช่วิธีการบังคับ เพราะต้นทุนของธุรกิจทั้งในเรื่องโครงข่าย และการบริการเคเบิลและทีวีดาวเทียมเป็นผู้เริ่มต้นและวางโครงข่ายมาเองทั้งนั้น ไม่ได้มีหน่วยงานภาครัฐมาเกี่ยวข้องแต่อย่างใด
นอกจากนี้ในช่วงที่ผ่านมากติกา และข้อกฎหมายที่กสทช.ตั้งขึ้นกสทช.ไม่เคยแก้ปัญหาด้วยตัวเอง แม้กสทช.จะมาจากการจัดตั้งจากหน่วยงานของรัฐ แต่ปัญหาตั้งแต่ที่ผ่านมา กสทช.มักจะโยนทางออกไปสู่ที่ศาลเพียงอย่างเดียว ทั้งที่บางปัญหากสทช.สามารถดำเนินการแก้ไขด้วยตัวเองได้
สำหรับมติที่ออกมา ทางฝ่ายเคเบิลทีวีคงต้องไปประชุมหาทางออกร่วมกันอีกครั้งว่า จะยอมรับเกณฑ์ข้อบังคับครั้งนี้ หรือจะเดินหน้ายื่นเรื่องฟ้องศาล
ด้านนายเขมทัตต์ พลเดช กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท บางกอกมีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์พีพีทีวี กล่าวว่า สำหรับมติการจัดเรียงช่องที่กสทช.ประกาศมานับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่เร่งหาทางแก้ไขให้กับผู้ประกอบการ ซึ่งในมุมมองเรื่องนี้เป็นสิ่งที่กสทช.ควรทำได้นานแล้ว ไม่ใช่รอให้ผู้ประกอบการยื่นเรื่องฟ้องศาล และจึงเร่งแก้ไขปัญหา ขณะเดียวกันส่วนตัวก็มีความเห็นใจกับแพลตฟอร์มทีวีดาวเทียม และเคเบิลทีวีที่ต้องโดนบังคับให้เกิดการจัดเรียงช่อง เนื่องจากการรับชมของผู้ชมส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่รับชมโทรทัศน์ผ่านบนช่องทางทีวีดาวเทียม และเคเบิลทีวีกว่า 70% ดังนั้นกสทช.ควรเข้าไปช่วยเหลือและสนับสนุนผู้ประกอบการดังกล่าวด้วย
“ในอดีตงบการประมูลที่ผู้ประกอบใส่ลงไปกว่า 5 หมื่นล้านบาทผู้ประกอบการหวังให้เกิดการเรียงช่อง และมีภาพคมชัดสูงระบบ HD ตามที่กสทช. เคยกำหนดและรับปากไว้ แต่ในปัจจุบันยังมีอีกหลายด้านที่กสทช.ยังไม่ดำเนินการ อาทิ การเรียงช่อง การเพิ่มความสมบูรณ์ของโครงข่ายสัญญาณทีวีดิจิตอล (MUX) โดยเฉพาะความคมชัด HD การขยายแพลตฟอร์มอื่นๆ และการประชาสัมพันธ์ให้เกิดการรับรู้ทั่วประเทศ เป็นต้น และในปัจจุบันแม้กสทช.จะจัดการปัญหาเรื่องการเรียงช่องแล้ว แต่ยังก็ยังมีอีกหลายปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข ซึ่งหากกสทช.สามารถแก้ปัญหาข้างต้นได้ในทุกเดือนจะเป็นผลงานที่ดีต่อกสทช.ชุดนี้เลย”
ขณะเดียวกันเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2558 ที่บริษัทเคยรวมตัวกับผู้ประกอบการทีวีอีก 4 ช่อง ได้แก่ ช่องวัน, พีพีทีวี, ไทยรัฐทีวี, จีเอ็มเอ็ม แชลแนล และไบรท์ทีวี ฟ้องร้องต่อศาลปกครองกลาง ข้อหาละเลยหน้าที่ และปฏิบัติหน้าที่ด้วยความล่าช้า ในการเปลี่ยนผ่านโทรทัศน์ระบบอะนาล็อกสู่ระบบดิจิตอล อันเป็นการกระทำละเมิด เพื่อเรียกค่าเสียหายจากสำนักงานกสทช. เป็นเงินจำนวนรวมมากกว่า 9.55 พันล้านบาทและดอกเบี้ยในอัตรา 7.5% ต่อปี พร้อมทั้งขอให้กสทช.เลื่อนชำระค่าประมูลงวดที่ 3 ปี 2559 ออกไปก่อนเนื่องจากปัจจุบันผู้ประกอบการมีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก เช่น ค่าคอนเทนต์ ค่าวัดเรตติ้งจาก 2 บริษัท ค่าโครงข่าย อื่นๆ
ขณะที่นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 16 กันยายนที่ผ่านมาที่ประชุม กสทช. ได้มีมติเห็นชอบสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะและแนวทางดำเนินการต่อ (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดลำดับบริการโทรทัศน์ พร้อมทั้งเห็นชอบร่างประกาศดังกล่าวที่ปรับปรุงแล้ว ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอและให้นำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป
สำหรับสาระสำคัญของร่างประกาศดังกล่าว กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตให้บริการโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ อาทิ ช่องดาวเทียม เคเบิลทีวี ต้องจัดให้มีรายการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป (ช่องทีวีดิจิตอล) ไว้ที่ช่องรายการ 1-36 ส่วนช่องรายการที่ 37-60 เป็นช่องที่ผู้ประกอบการเลือกนำรายการใดมานำเสนอก็ได้ โดยร่างประกาศฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ภายหลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว 60 วัน
ขณะเดียวกันกรณีที่มีการฟ้องร้องระหว่างกสทช.และผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลเกี่ยวกับการทำงานล่าช้า และขอให้เลื่อนการจ่ายเงินประมูลงวดที่ 3 ออกไป ขณะนี้กสทช.ได้ทำหนังสือส่งไปให้ 3 หน่วยงานแล้ว ได้แก่ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อขอความเห็นอีกครั้งหนึ่ง พร้อมทั้งมีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อรายงานความคืบหน้าในการดำเนินการต่อไป
สรุปข่าวสั้น
เคเบิลทีวีเดือดร้อน เพราะมี content ลิขสิทธิ์ส่วนตัว ถ้าเรียงช่อง 1-36 ก็จะทำให้ช่องไม่พอ เจ๊งขาดทุนกันไป
ส่วนทาง กสทช. บอกว่า 1-36 ต้องเป็นช่องทีวีดิจิตอล / 37-60 เคเบิลจะเอาอะไรมาลงก็ตามใจท่าน
เคเบิลดิ้นหนีเรียงช่องทีวี เตรียมระดมสมองหาทางออก/ร้องกสทช.ไม่เป็นธรรม
นสพ. ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 20-23 ก.ย. 58
เคเบิลทีวีโอดกสทช.จัดเรียงช่องไม่เป็นธรรม ส่งผลกระทบต่อแบรนด์ ต้องสร้างการรับรู้และจดจำใหม่ รวมถึงสูญเงินค่าลิขสิทธิ์คอนเทนต์ หวั่นฉุดให้ผู้ประกอบการเลิกกิจการเร็วขึ้น เล็งเรียกระดมพลหาทางออก ด้าน”พีพีทีวี” แนะกสทช.ควรไขปัญหา หาทางสนับสนุน สร้างชื่อผลงานเข้าตัว ขณะที่กสทช. ไฟเขียวจัดเรียงช่อง มีผลใน 60 วันหลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา
นายวิชิต เอื้ออารีวรกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เจริญยิ่ง (8888) จำกัด ผู้บริหาร “เจริญ เคเบิ้ลทีวี” เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า การเห็นชอบให้ใช้หลักเกณฑ์การจัดลำดับเรียงช่อง โดยให้ผู้รับใบอนุญาตให้บริการโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ อาทิ ช่องดาวเทียม เคเบิลทีวี และรายการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป หรือช่องทีวีดิจิตอล มีรูปแบบแพลตฟอร์มเดียวกัน โดยให้มีการจัดเรียงช่อง โดยทีวีดิจิตอล เริ่มตั้งแต่ช่องรายการที่ 1-36 ส่วนช่องรายการที่ 37-60 เป็นช่องที่ผู้ประกอบการเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม เลือกนำรายการใดมานำเสนอก็ได้นั้น จะส่งผลให้เกิดปัญหาขึ้นในอนาคต โดยเบื้องต้นมองว่าคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)ไม่เป็นธรรมต่อผู้ประกอบการธุรกิจเคเบิลทีวีอย่างยิ่ง เนื่องจากธุรกิจเคเบิลทีวีมีรายได้มาจากการเก็บค่าสมาชิกจากผู้ชม ซึ่งวิธีการตอบโจทย์ของผู้ชมกลุ่มนี้ คือ ผู้ให้บริการต้องนำเสนอบริการที่มีคุณภาพให้ผู้ชม เช่น การจัดเรียงช่องให้ผู้ชมจำได้ง่าย การเพิ่มคอนเทนต์ เป็นต้น
ทั้งนี้หากกสทช.บังคับให้เคเบิลทีวีต้องเรียงช่อง ย่อมเกิดผลกระทบต่อผู้ชมและผู้ประกอบการในธุรกิจนี้ เนื่องจากปัจจุบันการจดจำหมายเลขช่องของผู้ชม ขณะนี้อยู่ในช่วงที่เริ่มจำได้ หากให้เคเบิลทำใหม่ย่อมสร้างความสับสนอีกครั้งให้กับผู้บริโภค ขณะเดียวกันผู้ประกอบการซึ่งเดิมต้องหาซื้อลิขสิทธิ์คอนเทนต์เพื่อเพิ่มความหลากหลายให้กับการบริการในแพลตฟอร์มเคเบิลทีวีที่มีจำนวนช่องมากมาย แต่เมื่อต้องมาอยู่ในแพลตฟอร์มใหม่ ซึ่งมีช่องจำนวนจำกัด โอกาสในการออกอากาศจึงน้อยลง ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายโดยเปล่าประโยชน์ ดังนั้นหากกสทช.บังคับให้ต้องจัดเรียงช่อง ย่อมส่งผลกระทบต่อภาพรวมธุรกิจและผลประกอบการด้วย
“ปัจจุบันธุรกิจเคเบิลทีวีมีจำนวนช่องอยู่ที่ประมาณ 60 ช่อง หากกสทช.บังคับให้จัดเรียงช่องทีวีดิจิตอล หมายเลข 1-36 ผู้ประกอบการธุรกิจเคเบิลทีวีจะได้รับความเสียหายทันที เนื่องจากเหลือจำนวนช่องเพียงเล็กน้อย ซึ่งไม่เพียงพอต่อการนำคอนเทนต์ที่บริษัทไปซื้อลิขสิทธิ์ไว้มาลง อาจจะขาดทุนในอนาคตและส่งผลให้ภาพรวมธุรกิจเคเบิลทีวีทั้งประเทศ ทั้งรายเล็ก และรายใหญ่ไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อได้”
สำหรับเคเบิลท้องถิ่นที่สามารถอยู่ได้ในทุกวันนี้ แม้จะให้บริการในระบบอะนาล็อก แต่ก็มีช่องรายการพิเศษดีๆให้สมาชิกได้รับชม ส่วนการได้มาของช่องรายการพิเศษ อาจได้มาจากทั้งการซื้อลิขสิทธิ์ช่องรายการโดยถูกต้อง หรือการใช้ช่องทางพิเศษ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะหากเคเบิลท้องถิ่นต้องการประกอบกิจการในระยะยาว จำเป็นต้องให้บริการทุกอย่างโดยถูกต้องและโปร่งใส แต่เท่าที่ผ่านมา ช่องรายการลิขสิทธิ์ต่างๆจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ ต่างถูกผู้ให้บริการเคเบิลทีวีรายใหญ่ระดับประเทศเช่น True Vision และ CTH ใช้เงินทุนที่สูงแย่งกันซื้อลิขสิทธิ์ช่องรายการผูกขาดแต่ผู้เดียวในประเทศไทย หรือหากไม่ซื้อผูกขาด เจ้าของลิขสิทธิ์ก็ตั้งราคาขายลิขสิทธิ์ที่สูงจนเคเบิลท้องถิ่นไม่สามารถซื้อมาได้ สุดท้ายเพื่อความอยู่รอด เคเบิลท้องถิ่นก็ถูกบังคับให้ใช้ช่องทางพิเศษ ซึ่งในทางปฏิบัติไม่มีใครอยากทำ แต่หากไม่ทำก็ต้องปิดกิจการอย่างแน่นอน
อย่างไรก็ดี เมื่อย้อนกลับไปช่วงเริ่มต้นการประมูล กสทช. ได้เคยรับปากกับผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลว่า จะทำให้ช่องทีวีขึ้นอยู่บนทีวีทุกแพลตฟอร์มได้ ดังนั้นตัวเลขการประมูลในครั้งนั้นจึงขึ้นไปอยู่ที่ประมาณ 5 หมื่นล้านบาท จากเดิมที่ตั้งต้นไว้เพียงแค่ 1.5 หมื่นล้านบาทเท่านั้น ซึ่งบริษัทมองว่ากสทช.ควรให้ความเป็นธรรมกับผู้ประกอบการธุรกิจเคเบิลบ้าง ควรมีข้อเสนอ ทางเลือกหรือสนับสนุนให้กับเคเบิลไม่ใช่วิธีการบังคับ เพราะต้นทุนของธุรกิจทั้งในเรื่องโครงข่าย และการบริการเคเบิลและทีวีดาวเทียมเป็นผู้เริ่มต้นและวางโครงข่ายมาเองทั้งนั้น ไม่ได้มีหน่วยงานภาครัฐมาเกี่ยวข้องแต่อย่างใด
นอกจากนี้ในช่วงที่ผ่านมากติกา และข้อกฎหมายที่กสทช.ตั้งขึ้นกสทช.ไม่เคยแก้ปัญหาด้วยตัวเอง แม้กสทช.จะมาจากการจัดตั้งจากหน่วยงานของรัฐ แต่ปัญหาตั้งแต่ที่ผ่านมา กสทช.มักจะโยนทางออกไปสู่ที่ศาลเพียงอย่างเดียว ทั้งที่บางปัญหากสทช.สามารถดำเนินการแก้ไขด้วยตัวเองได้
สำหรับมติที่ออกมา ทางฝ่ายเคเบิลทีวีคงต้องไปประชุมหาทางออกร่วมกันอีกครั้งว่า จะยอมรับเกณฑ์ข้อบังคับครั้งนี้ หรือจะเดินหน้ายื่นเรื่องฟ้องศาล
ด้านนายเขมทัตต์ พลเดช กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท บางกอกมีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์พีพีทีวี กล่าวว่า สำหรับมติการจัดเรียงช่องที่กสทช.ประกาศมานับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่เร่งหาทางแก้ไขให้กับผู้ประกอบการ ซึ่งในมุมมองเรื่องนี้เป็นสิ่งที่กสทช.ควรทำได้นานแล้ว ไม่ใช่รอให้ผู้ประกอบการยื่นเรื่องฟ้องศาล และจึงเร่งแก้ไขปัญหา ขณะเดียวกันส่วนตัวก็มีความเห็นใจกับแพลตฟอร์มทีวีดาวเทียม และเคเบิลทีวีที่ต้องโดนบังคับให้เกิดการจัดเรียงช่อง เนื่องจากการรับชมของผู้ชมส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่รับชมโทรทัศน์ผ่านบนช่องทางทีวีดาวเทียม และเคเบิลทีวีกว่า 70% ดังนั้นกสทช.ควรเข้าไปช่วยเหลือและสนับสนุนผู้ประกอบการดังกล่าวด้วย
“ในอดีตงบการประมูลที่ผู้ประกอบใส่ลงไปกว่า 5 หมื่นล้านบาทผู้ประกอบการหวังให้เกิดการเรียงช่อง และมีภาพคมชัดสูงระบบ HD ตามที่กสทช. เคยกำหนดและรับปากไว้ แต่ในปัจจุบันยังมีอีกหลายด้านที่กสทช.ยังไม่ดำเนินการ อาทิ การเรียงช่อง การเพิ่มความสมบูรณ์ของโครงข่ายสัญญาณทีวีดิจิตอล (MUX) โดยเฉพาะความคมชัด HD การขยายแพลตฟอร์มอื่นๆ และการประชาสัมพันธ์ให้เกิดการรับรู้ทั่วประเทศ เป็นต้น และในปัจจุบันแม้กสทช.จะจัดการปัญหาเรื่องการเรียงช่องแล้ว แต่ยังก็ยังมีอีกหลายปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข ซึ่งหากกสทช.สามารถแก้ปัญหาข้างต้นได้ในทุกเดือนจะเป็นผลงานที่ดีต่อกสทช.ชุดนี้เลย”
ขณะเดียวกันเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2558 ที่บริษัทเคยรวมตัวกับผู้ประกอบการทีวีอีก 4 ช่อง ได้แก่ ช่องวัน, พีพีทีวี, ไทยรัฐทีวี, จีเอ็มเอ็ม แชลแนล และไบรท์ทีวี ฟ้องร้องต่อศาลปกครองกลาง ข้อหาละเลยหน้าที่ และปฏิบัติหน้าที่ด้วยความล่าช้า ในการเปลี่ยนผ่านโทรทัศน์ระบบอะนาล็อกสู่ระบบดิจิตอล อันเป็นการกระทำละเมิด เพื่อเรียกค่าเสียหายจากสำนักงานกสทช. เป็นเงินจำนวนรวมมากกว่า 9.55 พันล้านบาทและดอกเบี้ยในอัตรา 7.5% ต่อปี พร้อมทั้งขอให้กสทช.เลื่อนชำระค่าประมูลงวดที่ 3 ปี 2559 ออกไปก่อนเนื่องจากปัจจุบันผู้ประกอบการมีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก เช่น ค่าคอนเทนต์ ค่าวัดเรตติ้งจาก 2 บริษัท ค่าโครงข่าย อื่นๆ
ขณะที่นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 16 กันยายนที่ผ่านมาที่ประชุม กสทช. ได้มีมติเห็นชอบสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะและแนวทางดำเนินการต่อ (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดลำดับบริการโทรทัศน์ พร้อมทั้งเห็นชอบร่างประกาศดังกล่าวที่ปรับปรุงแล้ว ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอและให้นำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป
สำหรับสาระสำคัญของร่างประกาศดังกล่าว กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตให้บริการโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ อาทิ ช่องดาวเทียม เคเบิลทีวี ต้องจัดให้มีรายการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป (ช่องทีวีดิจิตอล) ไว้ที่ช่องรายการ 1-36 ส่วนช่องรายการที่ 37-60 เป็นช่องที่ผู้ประกอบการเลือกนำรายการใดมานำเสนอก็ได้ โดยร่างประกาศฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ภายหลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว 60 วัน
ขณะเดียวกันกรณีที่มีการฟ้องร้องระหว่างกสทช.และผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลเกี่ยวกับการทำงานล่าช้า และขอให้เลื่อนการจ่ายเงินประมูลงวดที่ 3 ออกไป ขณะนี้กสทช.ได้ทำหนังสือส่งไปให้ 3 หน่วยงานแล้ว ได้แก่ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อขอความเห็นอีกครั้งหนึ่ง พร้อมทั้งมีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อรายงานความคืบหน้าในการดำเนินการต่อไป
สรุปข่าวสั้น
เคเบิลทีวีเดือดร้อน เพราะมี content ลิขสิทธิ์ส่วนตัว ถ้าเรียงช่อง 1-36 ก็จะทำให้ช่องไม่พอ เจ๊งขาดทุนกันไป
ส่วนทาง กสทช. บอกว่า 1-36 ต้องเป็นช่องทีวีดิจิตอล / 37-60 เคเบิลจะเอาอะไรมาลงก็ตามใจท่าน