ค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชนแพงเกินไป ไม่เป็นธรรมหรือไม่ ?

ช่วงหลังมานี้ พบว่ามีคนไทยหลายคนมีปัญหาร้องเรียนกันว่า ค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชนต่างๆ ไม่เป็นธรรม  เอาเปรียบผู้บริโภค
ยาและการรักษาแบบเดียวกัน เมื่อเทียบกับการรักษาในโรงพยาบาลรัฐบาล แตกต่างกัน 10-50เท่าเลยทีเดียว
นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่ว่า   ถ้ารักษาแล้วไม่หาย  มีภาวะแทรกซ้อน หรือ รักษาแล้วคนไข้เสียชีวิต  ทำไมยังจะต้องเสียเงินค่ารักษามากมายอีก

ปกติแล้วเป็นที่รู้กันว่า เวลาถ้าเรามีแผนจะไปเที่ยวต่างประเทศ  เช่นญี่ปุ่น  หรือยุโรป  ค่ารักษาพยาบาลจะแพงหูฉี่ แบบที่คาดไม่ถึง  ดังนั้นส่วนใหญ่ก็จะซื้อประกันการเดินทาง  (ยุโรป เวลาจะขอวีซ่า บังคับว่าต้องซื้อประกันการเดินทางที่ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลวงเงินสูงมากด้วย)
ก็ไม่มีคนมาโวยวาย ร้องเรียนโรงพยาบาลต่างประเทศว่าราคาแพง .......  เป็นเพราะว่า ถ้าเราป่วยขึ้นมา  คนจ่ายค่ารักษาพยาบาลก็คือบริษัทประกัน  (แต่ถ้าบริษัทประกัน โกง ไม่จ่าย  อันนั้นก็ตัวใครตัวมัน)  ภาระไม่ได้อยู่ที่เรา   แต่ถ้าเราสบายดีไม่เกิดปัญหา  เราก็เสียค่าประกันนั้นไปฟรีๆ ถือว่าซื้อความเสี่ยง

หรือ เอาใกล้ๆตัวเช่น ประกันภัยรถยนต์ ที่เจ้าของรถส่วนใหญ่ จะซื้อประกัน เพื่อเวลาที่เกิดอุบัติเหตุจะได้ไม่ต้องเสียเงินซ่อมเอง ....  [  อย่างน้อย กฏหมายบังคับว่าต้องซื้อประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ]  ปีหนึ่งประกันภัยชั้น 1 ก็เป็นหมื่นๆ  แต่ทุกคนคิดว่าคุ้ม เพราะคิดว่าโอกาสที่เราขับรถแล้วจะเกิดอุบัติเหตุมีสูง  ----------  แล้วสุขภาพเราหล่ะ ??

นอกจากนี้แล้ว ถ้าเทียบกันราคาสินค้า และบริการอื่นๆ
เช่น   ราคากระเป๋าแบรนด์เนม  ราคานาฬิกา หลักหมื่น หลักแสน หรือหลักล้าน
        ราคาเครื่องสำอางกระปุกเล็กๆ ราคาหลักพัน หลักหมื่น    
        ราคาอาหารในภัตตาคาร  อาหารในร้านอาหารโรงแรมไข่เจียวจานละ 200฿    ราคาอาหารบุฟเฟต์ / Omakase หัวละหลายพัน
        ราคาsmart phone / tablet หลายหมื่น
        ราคาตั๋วเครื่องบิน ชั้น Business หลายหมื่น   ชั้นFirst class หลักแสน
        ราคาห้องพักโรงแรม  หลายพัน   หรือถ้าโรงแรมห้าดาวชื่อดัง ราคาห้องพักคืนหนึ่งหลายหมื่น จนถึงเกือบแสน
        ฯลฯ
จะพบว่าราคาสินค้าและบริการในด้านอื่นๆนั้น ไม่ได้ราคาถูกเลย  และราคานั้นก็สัมพันธ์กับคุณภาพ มาตรฐาน  สิ่งแวดล้อม  กลไกการตลาด  
สินค้าทุกอย่างราคาขายก็ต้องมากกว่าต้นทุนหลายเท่าอยู่แล้ว เพราะก่อนที่เค้าจะขายสินค้า ก็ต้องมีการลงทุน คิดค้น เสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย กว่าจะได้มาซึ่งสินค้านั้นๆ  
ขึ้นกับว่าลูกค้าอยากเลือกซื้อสินค้าและบริการแบบไหน  ไม่มีใครมาบังคับว่าต้องเลือก ต้องซื้อ   เพราะฉะนั้นลูกค้าจะไปตั้งกลุ่มเรียกร้อง เช่นให้  Hermes  Rolex ให้ลดราคาสินค้า ... ก็คงไม่ได้


ดังนั้น ปัญหาที่ทุกคนบ่นว่าค่ารักษาพยาบาลแพงนั้น  มันเกิดจากที่โดนโรงพยาบาลเอกชนเอาเปรียบ  
หรือเป็นเพราะ เราไม่เห็นคุณค่าของสุขภาพของเรากันแน่    


ถ้าเราหันมาใส่ใจสุขภาพของเรา  ลงทุนกับสุขภาพ  เช่น ตรวจเช็คสุขภาพ  ออกกำลังกาย  ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ  ไม่ทำร้ายสุขภาพกินเหล้าสูบบุหรี่ (ค่าเหล้านี่แพงกว่าค่ายาอีก ไม่ได้บ่นกัน)

การวางแผนการเงินเกี่ยวกับสุขภาพ ก็เป็นเรื่องที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ  เช่น อย่างน้อยซื้อประกันอุบัติเหตุ เบี้ยก็ถูกแค่ปีละพันกว่าบาท   โอกาสที่เราจะเดินข้ามถนนถูกรถชน  หมากัด ตกท่อ   ก็มากพอๆกับที่รถยนต์เราจะเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน
ประกันสุขภาพ ก็เลือกตามวงเงิน ว่าถ้าสมมติเราเจ็บป่วย เราจะเข้ารพ.เอกชนไหน ไปถามราคาห้องของรพ.นั้นๆ แล้วก็เลือกแผนประกันให้เหมาะสม
เช่น อายุ60 ปี รพ. A ค่าห้อง 3500 บาท  ก็เลือกแผนประกันที่ครอบคลุมค่าห้องคืนละ 4000 บาท  (ห้องไอซียู 8000บาท)  คุ้มครอบสูงสุดต่อโรค 5แสนบาท  เบี้ยตกปีละ 3 หมื่นนิดๆ (เดือนละไม่ถึง 3 พัน)    ----> วันนึง เราประหยัดไม่ซื้อกาแฟแก้วละ 100  เดือนนึงก็ได้ 3000บาทละ  
[ ***   แต่รัฐควรจะเข้ามาตรวจสอบว่า บริษัทประกันเหล่านี้ต้องดำเนินธุรกิจอย่างสุจริต ไม่โกงผู้บริโภค  แต่ผู้บริโภคเองก็ต้องอ่านเงื่อนไขของบริษัทประกันให้ละเอียดถี่ถ้วน  ว่ามีข้อยกเว้นความคุ้มครองอะไรบ้าง  เช่นโรคที่เป็นมาก่อนการทำประกัน ***  ]


สุดท้าย สำหรับผู้มีรายได้น้อย  ประเทศไทยเราโชคดี ที่มีหลักประกันสุขภาพ ที่ให้คนไทยมีสิทธิ์ได้รับการรักษาฟรี ในโรงพยาบาลของรัฐ  [อันที่จริงถ้าปรับระบบเป็น co-pay ได้ น่าจะช่วยลดภาระประเทศได้เพิ่มขึ้น  แต่ก็เป็นการยากที่จะรู้ว่า ใครมีเงินช่วยจ่าย  ใครไม่มีเงินเลย   จะให้ข้าราชการมาช่วย co-pay กลุ่มเดียว ก็คงไม่ยอมกัน]  

แน่นอนว่า ของฟรี ก็ต้องมีคนมารับบริการปริมาณมาก   ทุกคนก็ควรที่จะรู้หน้าที่ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความอดทน   จะมาเรียกร้องให้โรงพยาบาลรัฐสะดวกสบายเท่าโรงพยาบาลเอกชนก็คงไม่ได้    กรณีเจ็บป่วยไม่ฉุกเฉินก็ควรที่จะเห็นใจผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะวิกฤต ให้ผู้ป่วยเหล่านั้นได้รับบริการก่อน
อย่างไรก็ตามก็คงต้องพึ่งพารัฐในแง่การจัดการบริหารงบประมาณในส่วนนี้ ที่จะสามารถช่วยเหลือผู้ยากไร้ ให้ได้รับบริการทางสุขภาพอย่างทั่วถึง ประชาสัมพันธ์ประชาชนว่าโรคอะไรฉุกเฉินจริง อะไรต้องรอ
มีการให้ความรู้ รณรงค์ดูแลสุขภาพ ป้องกันการเกิดโรค  ก็จะทำให้ระบบสาธารณสุขเราพัฒนายิ่งๆขึ้นไป


" การเรียกร้องสิทธิ  ย่อมมาคู่กับ การรู้จักหน้าที่ของตนเองเสมอ "
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 44
มีประเด็นเพิ่มเติม อยากให้ร่วมอภิปรายกัน

1. เรื่องการกำหนดค่ายาที่เหมาะสม ของรพ.เอกชน
คิดว่า
ว่ากำไรที่เหมาะสมของราคาขายยาในรพ.เอกชน ยอมรับได้ที่กี่ %  ของราคายา จากบริษัทยา   (และแต่ละรพ.เอกชน %กำไรยา แตกต่างกันได้หรือไม่   อย่างไร)
เทียบกับ   %กำไร ที่ร้านขายยา (ร้านแปะข้างถนน , ร้านขายยาลงทะเบียนมีเภสัช , ร้านขายยาในบูท, วัตสัน ในห้าง  ) จะกำหนดราคาขาย  


2.   มาตรฐานยา  และความถูกต้องของยาถ้านำชื่อยาจากหมอในรพ.  ไปซื้อเองที่ร้านขายยา  
- ร้านมีเภสัชจริงหยิบยาถูกชนิด /ถูกยี่ห้อ /  มีการแนะนำขนาดและวิธีกินยา ถูกต้อง  ตรวจสอบการแพ้ยา
- คุณภาพการเก็บรักษายาในร้านขายยา  อุณหภูมิ แสง ความชื้น  วันหมดอายุ



3. จากข่าวขึ้นราคายาโดยบริษัทยาต่างประเทศ5500%
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
ปัญหาเรื่องเหล่านี้จะลดลง

หากโรงพยาบาลของรัฐ ทำงานกับประชาชนเหมือนญาติ ไม่ใช่เหมือนสัตว์
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่