สำหรับท่านที่ได้อ่าน "บุกป่าดงดิบภูเขาไฟ แกะรอยกอริลล่าภูเขา ในรวันดาและยูกันดา ตอนแรก" ที่เขียนแบบ fast forward เรื่องไปวันที่ได้เดินป่าแกะรอยเข้าไปเจอกอริลล่าเลย ตอนนี้เราขอย้อนกลับไปให้ข้อมูลเกี่ยวกับที่มาของการอนุรักษ์กอริลล่าภูเขาเพิ่มเติม เพื่อประกอบเรื่องการเดินทางในครั้งนี้นะคะ และอยากย้ำว่า การบุกป่าแกะรอยไปดูกอริลล่านั้น เป็นการช่วยอนุรักษ์พวกลิงกอริลล่าภูเขาที่ใกล้สูญพันธุ์เหล่านี้อย่างดีที่สุด แม้ค่าใบอนุญาตในการเดินป่าไปแกะรอยกอริลล่าที่รัฐบาลรวันดาและยูกันดาเก็บนักท่องเที่ยวนั้นจะมีราคาที่สูงลิ่ว แต่ก็เป็นนโยบายที่ช่วยป้องกันการฆ่ากอริลล่าภูเขาที่ประสบความสำเร็จสูงที่สุด และทำให้ลิงกอริลล่าภูเขาเหล่านี้มีจำนวนสูงขึ้นจากในอดีตที่เกือบสูญพันธุ์ ปัจจุบันมีกอริลล่าภูเขาอาศัยในแถบภูเขาไฟของประเทศรวันดา ยูกันดา และคองโก ถึงเกือบ 1000 ตัว
ขอเล่าข้อมูลเกริ่นนำเรื่องราวเกี่ยวกับกอริลล่าภูเขาค่ะ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกอริลล่าได้มาจากการดูหนังเรื่อง Gorilla in the Mist ที่เป็นการนำเสนอเรื่องราวความ passionate ของหญิงชาวอเมริกันชื่อ Dian Fossey ที่ได้ทุ่มเททั้งชีวิตและจิตใจให้กับการปกป้องลิงกอริลล่าบนภูเขาสูง (mountain gorilla) แถบคองโก้ รวันดา และยูกันดา ในช่วงปี 1970 เป็นเวลาถึง 18 ปี ซึ่งในสมัยนั้น ประเทศทั้งสาม ยังไม่มีความเข้าใจถึงการอนุรักษ์ มีการฆ่าลิงกอริลล่ากันมากมายจนลิงกอริลล่าบนภูเขาสูงเกือบจะสูญพันธุ์
Dian Fossey ขณะทำการศึกษาชีวิตกอริลล่าภูเขาในรวันดาและได้รับการถ่ายทอดเรื่องราวโดย National Geographic
(รูปจาก www.myhero.com และ www.nationalgeographic.com)
ลิงค์ตัวอย่างหนังเรื่อง Gorilla in the Mist ที่แสดงโดย Sigourney Weaver
https://www.youtube.com/watch?v=GdpcWkv8ohk
(รูปจาก www.impawards.com)
ในสมัยของ Dian Fossey ชาวบ้านฆ่ากอริลล่าด้วยสาเหตุต่างๆ ทั้งด้านการเงินและสาเหตุอื่น จากคำบอกเล่าของชาวพื้นเมืองรวันดาและยูกันดา ชาวบ้านฆ่าลิงกอริลล่าด้วยความรำคาญที่พวกมันบุกเข้ามาในไร่นา และขโมยกินพืชผักที่ชาวบ้านสู้อุตส่าห์ปลูกเพื่อหาเลี้ยงชีพ ชาวบ้านรวันดาและยูกันดาปลูกพืชผักหลายชนิด ทั้งเพื่อกินเองในครัวเรือนเป็นการดำรงชีวิต ฝรั่งเรียกการทำมาหากินแบบนี้ว่า subsistence คือปลูกพืชหรือจับสัตว์มาเพื่อเป็นอาหารของตนและครอบครัวเท่านั้น ไม่ได้ทำปริมาณมากเพื่อการค้า กับพวกที่ปลูกหรือจับเพื่อนำไปขายเป็นรายได้ พวกนี้ก็ไม่ต้องการให้ลิงกอริลล่ามาขโมยของซื้อของขายพวกเค้าเช่นกัน
เมื่อมีการบุกรุกขโมยของกินของขายกัน ชาวบ้านบางคนก็โกรธและฆ่าลิงกอริลล่าพวกนี้ซะ ทั้งที่จริงๆ จะว่าไป คนนี่แหละที่บุกรุกป่าที่เป็นบ้านกอริลล่าก่อน ทำให้กอริลล่าเหล่านี้มีที่หากินน้อยลงด้วย ก็บุกรุกกันไปกันมา แต่บังเอิญลิงกอริลล่ามีแต่กำลัง ไม่มีอาวุธและสมองอย่างมนุษย์ เลยสู้ไม่ได้ ต้องตายเพราะหอกมีดปืนอย่างง่ายดาย พวกฆ่ากอริลล่าพวกนี้ ยังพูดกันง่าย คือเค้าฆ่าเพราะรำคาญ พอให้การศึกษาหน่อยว่า สัตว์กำลังจะสูญพันธุ์นะ ต้องอนุรักษ์ และมีเจ้าหน้าที่ของอุทยานมาช่วยดูแลไม่ให้กอริลล่าออกจากป่ามาบุกไร่นาชาวบ้าน พวกนี้ก็เลิกฆ่ากอริลล่าง่ายๆ
อีกประเภทคือพวกฆ่ากอริลล่าเพื่อเอาลูกมัน และขายชิ้นส่วนพ่อแม่พี่น้องมัน พวกนี้โหดเหี้ยมและโดยมากจะมีคนในรัฐบาลสนับสนุน เนื่องจากได้เงินมากจากการฆ่ากอริลล่า ในหนังได้ยกตัวอย่างการซื้อขายระหว่างรัฐบาล เพื่อนำลูกกอริลล่าไปขายให้สวนสัตว์ในประเทศพัฒนาแล้ว ในสมัยนั้นยังไม่มีความรู้ว่า กอริลล่าภูเขาไม่สามารถมีชีวิตอยู่ในที่ต่ำได้ (ลูกกอริลล่าภูเขาที่สวนสัตว์หลายแห่งซื้อไป ไม่สามารถเอาชีวิตรอดได้เลย ส่วนกอริลล่าที่เราเห็นในสวนสัตว์ทุกวันนี้ เป็น lowland gorilla ที่อยู่ในพื้นที่ราบระดับน้ำทะเล เป็นคนละสายพันธุ์กับกอริลล่าภูเขา) จึงมีการซื้อลูกกอริลล่าภูเขาไปขายในสวนสัตว์กันอยู่
ปกติกอริลล่าจะอยู่เป็นฝูง พ่อหรือจ่าฝูงจะเป็นกอริลล่าตัวผู้ที่มีอายุมากที่สุดในกลุ่มและได้รับการยอมรับให้ปกป้องดูแลครอบครัว ซึ่งอาจประกอบไปด้วยตัวเมีย ตั้งแต่ 3 ตัวถึงหลายสิบตัว ขึ้นกับความเก๋าและเสน่ห์ของจ่าฝูง และมีลูกเล็กเด็กแดงอีกมากมาย ถ้าจะมีการเอาลูกกอริลล่าไปขาย ก็แน่นอนว่าพ่อแม่ต้องปกป้องลูกอย่างเต็มที่ ดังนั้น การขโมยลูกเค้ามักจะจบด้วยการฆ่าล้างครอบครัว เพียงเพื่อเอาลูกเค้าตัวเดียว ราคาซื้อขายลูกกอริลล่าและชื้นส่วนของกอริลล่าตัวพ่อแม่อื่นๆ ก็สูงลิ่วจนรัฐบาลแถวนี้ตาโต การอนุรักษ์หรือห้ามการฆ่าในลักษณะนี้ยากยิ่งนัก เพราะมันคือการตัดผลประโยชน์ของทุกคนที่เกี่ยวข้องโดยตรงทีเดียว
ในการริเริ่มอนุรักษ์ในช่วงเริ่มต้นนั้น Dian Fossey ใช้เวลาหลายสิบปี ในท้ายที่สุดก็ต้องแลกด้วยชีวิต เธอกีดกันการลอบฆ่าและขายกอริลล่า ขัดผลประโยชน์คนหลายกลุ่ม จนถูกพวกนี้ลอบฆ่าตายในกระท่อมที่พักบนภูเขาของเธอเอง เป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลก ศพของเธอได้รับการฝังไว้รวมกับกอริลล่าอื่นๆ ที่เธอรัก แต่ต้องตายเพราะโดนคนลอบฆ่า
(รูปจาก clare8h.global2.vic.edu.au)
หนังสือเรื่อง Gorillas in the Mist ที่เธอเขียน และหนังสือชีวประวัติของ Dian Fossey
(รูปจาก www.freetimelimited.com และ www.amazon.com)
นับตั้งแต่นั้นมา ทางการรวันดาและยูกันดาได้เกิดความตื่นตัวขึ้น ทุกวันนี้ ฝ่ายอนุรักษ์ได้รับชัยชนะอย่างงดงามและสันติ นโยบายอนุรักษ์กอริลล่า ได้นำมาใช้ควบคู่กับการท่องเที่ยว ปัจจุบันชาวบ้านแถบนั้นเข้าใจชัดแล้วว่า กอริลล่าตัวเป็นๆ แข็งแรงน่ารัก ยิ่งเยอะยิ่งดี สร้างรายได้ให้กับพวกเค้าและรัฐบาล ได้มากมายกว่ากอริลล่าที่ตายแล้ว เนื่องจากนโยบายท่องเที่ยวที่ประสบความสำเร็จ คือการนำเอานักท่องเที่ยวนักผจญภัยและผู้รักสัตว์อย่างเราๆ เดินป่าขึ้นเขาไปดูลิงกอริลล่าเหล่านี้ และเก็บค่าชมแพงๆ นโยบายนี้ คัดเลือกคุณภาพนักท่องเที่ยวมากกว่าปริมาณ ในหนึ่งวัน อุทยานแห่งชาติกำหนดว่า จะมีนักท่องเที่ยวเดินป่าขึ้นเขาไปดูกอริลล่าเพียง 80 คนเท่านั้น และคนนึงจะต้องจ่ายเงินซื้อใบอนุญาตเข้าไปในป่าถึงคนละ 600-750 ดอลล่าร์สหรัฐ (ในรวันดา ซึ่งมีระบบบริหารจัดการที่ดีกว่า คิดค่าใบอนุญาตคนละ 750 ดอลล่าร์ หรือประมาณ 27000 บาท ในขณะที่ยูกันดาคิด 600 ดอลล่าร์ หรือประมาณ 22000 บาท) ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่สูง เพื่อคัดเฉพาะนักท่องเที่ยวกลุ่มที่มีกำลังทรัพย์ และรักกอริลล่าจริงๆ เท่านั้น ฉนนราคาระดับนี้ สร้างรายได้มหาศาลให้กับสองประเทศนี้ พวกพรานที่เคยลอบฆ่ากอริลล่า จึงเปลี่ยนความคิดที่จะเข้าป่าไปฆ่ามันมาขาย ซึ่งนอกจากจะผิดกฎหมายในขณะนี้แล้ว ยังเสี่ยงอันตรายต้องต่อสู้กับกอริลล่าทั้งฝูง และค่าตอบแทนยังสู้รักษาชีวิตกอริลล่าไว้ให้นักท่องเที่ยวเข้ามาดูก็ไม่ได้ พรานเหล่านี้ กลายสภาพมาเป็นไกด์นายพราน ช่วยพาพวกเราไปตามรอยกอริลล่า เพื่อดู ไม่ใช่เพื่อฆ่า ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า การที่เราไปเที่ยวดูกอริลล่านั้น ก็เป็นการช่วยรักษาชีวิตของพวกมันทางตรงเลย ส่วนทางอ้อม รายได้จากการท่องเที่ยวดูกอริลล่าได้นำมาสร้างโรงเรียน โรงพยาบาล การประปา ห้องน้ำ และอื่นๆ อีกมากมายให้กับชุมชนในรวันดาและยูกันดา
นายพรานที่เคยลอบฆ่ากอริลล่าเปลี่ยนอาชีพเป็นไกด์และพรานแกะรอยให้นักท่องเที่ยว
แต่เมื่อพูดถึงรวันดาและยูกันดา คนส่วนใหญ่จะร้องยี้ นึกไปถึงบ้านป่าเมืองเถื่อน อีโบล่า และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เราขอให้ความรู้ใหม่ว่า ประเทศรวันดาและยูกันดา เป็นประเทศที่อยู่กลางในทวีปแอฟริกา ติดกับเคนย่า และห่างจากประเทศที่มีอีโบล่าถึง 4-5 ชั่วโมงบิน ก็เป็นความห่างเหมือนไทยกับเกาหลีญี่ปุ่นเลยทีเดียว รวันดาและยูกันดาไม่มีรายงานผู้ป่วยอีโบลา รวันดาเคยมีความขัดแย้งและฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ซึ่งไม่ได้ฆ่านักท่องเที่ยว แต่เป็นการฆ่ากันเองด้วยสาเหตุทางการเมืองเป็นเวลา 100 วันในปีค.ศ. 1994 (จะกล่าวรายละเอียดต่อไป) ปัจจุบันบ้านเมืองสงบสุข ประชาขนสามัคคี ประเทศอุดมสมบูรณ์ เต็มไปด้วยทรัพยาการธรรมชาติ ป่าเขา ทะเลสาบ เขียวชอุ่ม สวยงามเป็นที่สุด
เมื่อมีเวลา จะขอมาเล่าเรื่องการเดินทางครั้งนี้ต่อนะคะ
Torm Adventure: บุกป่าดงดิบภูเขาไฟ แกะรอยกอริลล่าภูเขา ในรวันดาและยูกันดา ข้อมูลเกริ่นนำ
ขอเล่าข้อมูลเกริ่นนำเรื่องราวเกี่ยวกับกอริลล่าภูเขาค่ะ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกอริลล่าได้มาจากการดูหนังเรื่อง Gorilla in the Mist ที่เป็นการนำเสนอเรื่องราวความ passionate ของหญิงชาวอเมริกันชื่อ Dian Fossey ที่ได้ทุ่มเททั้งชีวิตและจิตใจให้กับการปกป้องลิงกอริลล่าบนภูเขาสูง (mountain gorilla) แถบคองโก้ รวันดา และยูกันดา ในช่วงปี 1970 เป็นเวลาถึง 18 ปี ซึ่งในสมัยนั้น ประเทศทั้งสาม ยังไม่มีความเข้าใจถึงการอนุรักษ์ มีการฆ่าลิงกอริลล่ากันมากมายจนลิงกอริลล่าบนภูเขาสูงเกือบจะสูญพันธุ์
Dian Fossey ขณะทำการศึกษาชีวิตกอริลล่าภูเขาในรวันดาและได้รับการถ่ายทอดเรื่องราวโดย National Geographic
(รูปจาก www.myhero.com และ www.nationalgeographic.com)
ลิงค์ตัวอย่างหนังเรื่อง Gorilla in the Mist ที่แสดงโดย Sigourney Weaver
https://www.youtube.com/watch?v=GdpcWkv8ohk
(รูปจาก www.impawards.com)
ในสมัยของ Dian Fossey ชาวบ้านฆ่ากอริลล่าด้วยสาเหตุต่างๆ ทั้งด้านการเงินและสาเหตุอื่น จากคำบอกเล่าของชาวพื้นเมืองรวันดาและยูกันดา ชาวบ้านฆ่าลิงกอริลล่าด้วยความรำคาญที่พวกมันบุกเข้ามาในไร่นา และขโมยกินพืชผักที่ชาวบ้านสู้อุตส่าห์ปลูกเพื่อหาเลี้ยงชีพ ชาวบ้านรวันดาและยูกันดาปลูกพืชผักหลายชนิด ทั้งเพื่อกินเองในครัวเรือนเป็นการดำรงชีวิต ฝรั่งเรียกการทำมาหากินแบบนี้ว่า subsistence คือปลูกพืชหรือจับสัตว์มาเพื่อเป็นอาหารของตนและครอบครัวเท่านั้น ไม่ได้ทำปริมาณมากเพื่อการค้า กับพวกที่ปลูกหรือจับเพื่อนำไปขายเป็นรายได้ พวกนี้ก็ไม่ต้องการให้ลิงกอริลล่ามาขโมยของซื้อของขายพวกเค้าเช่นกัน
เมื่อมีการบุกรุกขโมยของกินของขายกัน ชาวบ้านบางคนก็โกรธและฆ่าลิงกอริลล่าพวกนี้ซะ ทั้งที่จริงๆ จะว่าไป คนนี่แหละที่บุกรุกป่าที่เป็นบ้านกอริลล่าก่อน ทำให้กอริลล่าเหล่านี้มีที่หากินน้อยลงด้วย ก็บุกรุกกันไปกันมา แต่บังเอิญลิงกอริลล่ามีแต่กำลัง ไม่มีอาวุธและสมองอย่างมนุษย์ เลยสู้ไม่ได้ ต้องตายเพราะหอกมีดปืนอย่างง่ายดาย พวกฆ่ากอริลล่าพวกนี้ ยังพูดกันง่าย คือเค้าฆ่าเพราะรำคาญ พอให้การศึกษาหน่อยว่า สัตว์กำลังจะสูญพันธุ์นะ ต้องอนุรักษ์ และมีเจ้าหน้าที่ของอุทยานมาช่วยดูแลไม่ให้กอริลล่าออกจากป่ามาบุกไร่นาชาวบ้าน พวกนี้ก็เลิกฆ่ากอริลล่าง่ายๆ
อีกประเภทคือพวกฆ่ากอริลล่าเพื่อเอาลูกมัน และขายชิ้นส่วนพ่อแม่พี่น้องมัน พวกนี้โหดเหี้ยมและโดยมากจะมีคนในรัฐบาลสนับสนุน เนื่องจากได้เงินมากจากการฆ่ากอริลล่า ในหนังได้ยกตัวอย่างการซื้อขายระหว่างรัฐบาล เพื่อนำลูกกอริลล่าไปขายให้สวนสัตว์ในประเทศพัฒนาแล้ว ในสมัยนั้นยังไม่มีความรู้ว่า กอริลล่าภูเขาไม่สามารถมีชีวิตอยู่ในที่ต่ำได้ (ลูกกอริลล่าภูเขาที่สวนสัตว์หลายแห่งซื้อไป ไม่สามารถเอาชีวิตรอดได้เลย ส่วนกอริลล่าที่เราเห็นในสวนสัตว์ทุกวันนี้ เป็น lowland gorilla ที่อยู่ในพื้นที่ราบระดับน้ำทะเล เป็นคนละสายพันธุ์กับกอริลล่าภูเขา) จึงมีการซื้อลูกกอริลล่าภูเขาไปขายในสวนสัตว์กันอยู่
ปกติกอริลล่าจะอยู่เป็นฝูง พ่อหรือจ่าฝูงจะเป็นกอริลล่าตัวผู้ที่มีอายุมากที่สุดในกลุ่มและได้รับการยอมรับให้ปกป้องดูแลครอบครัว ซึ่งอาจประกอบไปด้วยตัวเมีย ตั้งแต่ 3 ตัวถึงหลายสิบตัว ขึ้นกับความเก๋าและเสน่ห์ของจ่าฝูง และมีลูกเล็กเด็กแดงอีกมากมาย ถ้าจะมีการเอาลูกกอริลล่าไปขาย ก็แน่นอนว่าพ่อแม่ต้องปกป้องลูกอย่างเต็มที่ ดังนั้น การขโมยลูกเค้ามักจะจบด้วยการฆ่าล้างครอบครัว เพียงเพื่อเอาลูกเค้าตัวเดียว ราคาซื้อขายลูกกอริลล่าและชื้นส่วนของกอริลล่าตัวพ่อแม่อื่นๆ ก็สูงลิ่วจนรัฐบาลแถวนี้ตาโต การอนุรักษ์หรือห้ามการฆ่าในลักษณะนี้ยากยิ่งนัก เพราะมันคือการตัดผลประโยชน์ของทุกคนที่เกี่ยวข้องโดยตรงทีเดียว
ในการริเริ่มอนุรักษ์ในช่วงเริ่มต้นนั้น Dian Fossey ใช้เวลาหลายสิบปี ในท้ายที่สุดก็ต้องแลกด้วยชีวิต เธอกีดกันการลอบฆ่าและขายกอริลล่า ขัดผลประโยชน์คนหลายกลุ่ม จนถูกพวกนี้ลอบฆ่าตายในกระท่อมที่พักบนภูเขาของเธอเอง เป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลก ศพของเธอได้รับการฝังไว้รวมกับกอริลล่าอื่นๆ ที่เธอรัก แต่ต้องตายเพราะโดนคนลอบฆ่า
(รูปจาก clare8h.global2.vic.edu.au)
หนังสือเรื่อง Gorillas in the Mist ที่เธอเขียน และหนังสือชีวประวัติของ Dian Fossey
(รูปจาก www.freetimelimited.com และ www.amazon.com)
นับตั้งแต่นั้นมา ทางการรวันดาและยูกันดาได้เกิดความตื่นตัวขึ้น ทุกวันนี้ ฝ่ายอนุรักษ์ได้รับชัยชนะอย่างงดงามและสันติ นโยบายอนุรักษ์กอริลล่า ได้นำมาใช้ควบคู่กับการท่องเที่ยว ปัจจุบันชาวบ้านแถบนั้นเข้าใจชัดแล้วว่า กอริลล่าตัวเป็นๆ แข็งแรงน่ารัก ยิ่งเยอะยิ่งดี สร้างรายได้ให้กับพวกเค้าและรัฐบาล ได้มากมายกว่ากอริลล่าที่ตายแล้ว เนื่องจากนโยบายท่องเที่ยวที่ประสบความสำเร็จ คือการนำเอานักท่องเที่ยวนักผจญภัยและผู้รักสัตว์อย่างเราๆ เดินป่าขึ้นเขาไปดูลิงกอริลล่าเหล่านี้ และเก็บค่าชมแพงๆ นโยบายนี้ คัดเลือกคุณภาพนักท่องเที่ยวมากกว่าปริมาณ ในหนึ่งวัน อุทยานแห่งชาติกำหนดว่า จะมีนักท่องเที่ยวเดินป่าขึ้นเขาไปดูกอริลล่าเพียง 80 คนเท่านั้น และคนนึงจะต้องจ่ายเงินซื้อใบอนุญาตเข้าไปในป่าถึงคนละ 600-750 ดอลล่าร์สหรัฐ (ในรวันดา ซึ่งมีระบบบริหารจัดการที่ดีกว่า คิดค่าใบอนุญาตคนละ 750 ดอลล่าร์ หรือประมาณ 27000 บาท ในขณะที่ยูกันดาคิด 600 ดอลล่าร์ หรือประมาณ 22000 บาท) ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่สูง เพื่อคัดเฉพาะนักท่องเที่ยวกลุ่มที่มีกำลังทรัพย์ และรักกอริลล่าจริงๆ เท่านั้น ฉนนราคาระดับนี้ สร้างรายได้มหาศาลให้กับสองประเทศนี้ พวกพรานที่เคยลอบฆ่ากอริลล่า จึงเปลี่ยนความคิดที่จะเข้าป่าไปฆ่ามันมาขาย ซึ่งนอกจากจะผิดกฎหมายในขณะนี้แล้ว ยังเสี่ยงอันตรายต้องต่อสู้กับกอริลล่าทั้งฝูง และค่าตอบแทนยังสู้รักษาชีวิตกอริลล่าไว้ให้นักท่องเที่ยวเข้ามาดูก็ไม่ได้ พรานเหล่านี้ กลายสภาพมาเป็นไกด์นายพราน ช่วยพาพวกเราไปตามรอยกอริลล่า เพื่อดู ไม่ใช่เพื่อฆ่า ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า การที่เราไปเที่ยวดูกอริลล่านั้น ก็เป็นการช่วยรักษาชีวิตของพวกมันทางตรงเลย ส่วนทางอ้อม รายได้จากการท่องเที่ยวดูกอริลล่าได้นำมาสร้างโรงเรียน โรงพยาบาล การประปา ห้องน้ำ และอื่นๆ อีกมากมายให้กับชุมชนในรวันดาและยูกันดา
นายพรานที่เคยลอบฆ่ากอริลล่าเปลี่ยนอาชีพเป็นไกด์และพรานแกะรอยให้นักท่องเที่ยว
แต่เมื่อพูดถึงรวันดาและยูกันดา คนส่วนใหญ่จะร้องยี้ นึกไปถึงบ้านป่าเมืองเถื่อน อีโบล่า และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เราขอให้ความรู้ใหม่ว่า ประเทศรวันดาและยูกันดา เป็นประเทศที่อยู่กลางในทวีปแอฟริกา ติดกับเคนย่า และห่างจากประเทศที่มีอีโบล่าถึง 4-5 ชั่วโมงบิน ก็เป็นความห่างเหมือนไทยกับเกาหลีญี่ปุ่นเลยทีเดียว รวันดาและยูกันดาไม่มีรายงานผู้ป่วยอีโบลา รวันดาเคยมีความขัดแย้งและฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ซึ่งไม่ได้ฆ่านักท่องเที่ยว แต่เป็นการฆ่ากันเองด้วยสาเหตุทางการเมืองเป็นเวลา 100 วันในปีค.ศ. 1994 (จะกล่าวรายละเอียดต่อไป) ปัจจุบันบ้านเมืองสงบสุข ประชาขนสามัคคี ประเทศอุดมสมบูรณ์ เต็มไปด้วยทรัพยาการธรรมชาติ ป่าเขา ทะเลสาบ เขียวชอุ่ม สวยงามเป็นที่สุด
เมื่อมีเวลา จะขอมาเล่าเรื่องการเดินทางครั้งนี้ต่อนะคะ