และหากมีข้อสงสัยในพยานหลักฐานในการกล่าวหา ก็ต้องยกประโยชน์ให้จำเลย
...................................
จำคุกหญิงเสื้อแดงครอบครองอาวุธสงคราม 27 ปี 9 ด. จำเลยลุกโต้เถียงศาล
18 ก.ย.2558 เวลาประมาณ 10.00 น. ศาลอาญารัชดา ห้อง 910 ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้จำคุก นางจันทนา วรากรสกุลกิจ หญิงเสื้อแดง วัย 45 ปี จากข้อกล่าวหาครอบครองอาวุธปืน วัตถุระเบิด ครอบครองเสื้อเกราะกันกระสุน และวิทยุสื่อสารสั่งจำคุก 27 ปี 9 เดือน ปรับ 6,000 บาท แต่เนื่องจากจำเลยให้การเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดี จึงให้ลดโทษทั้งจำและปรับลง 1 ใน 3 เหลือจำคุก 17 ปี 18 เดือน ปรับ 4,000 บาท
เหตุเกิดเมื่อวันที่ 21 พ.ค.2558 เจ้าหน้าที่ทหารจากกองทัพภาคที่ 1 และเจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่ ได้ใช้อำนาจตามกฎอัยการศึก เข้าทำการตรวจค้น ห้องเช่า หมายเลข 3 และ 4 หอพักแห่งหนึ่ง ใน ต.สวนหลวง อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร และได้ทำการจับกุมนางจันทนา วรากรสกุลกิจ วัย 44 ปี พร้อม
อาวุธปืน M16 หนึ่งกระบอก, ปืน AK 47 หนึ่งกระบอก, ปืนคาร์บิน SKS พร้อมกล้องเล็ง หนึ่งกระบอก, เครื่องยิงระเบิดM 79 หนึ่งกระบอก, ปืนคาร์บินM 1 หนึ่งกระบอก, ปืนคาร์บิน M 3 หนึ่งกระบอก, ปืนพกสั้นไม่มีทะเบียน 1 กระบอก พร้อมเครื่องกระสุน, วัตถุระเบิด, เสื้อเกราะกันกระสุน, วิทยุสื่อสาร โดยการจับกุมดังกล่าวเจ้าหน้าที่ได้ระบุว่าเป็นการซัดทอดมาจาก นายเชาว์วัฒน์ ทองเผือก อดีตทหารพราน ที่ถูกทำการจับกุมที่บ้านพักที่ อ.หนองม่วง จ.ลพบุรี ในช่วงเช้าของวันเดียวกัน
ในการสืบพยานโจทก์เชื่อมโยงหลักฐานการพิสูจน์อาวุธของกลางเข้ากับปลอกกระสุนที่เก็บได้ในที่เกิดเหตุ ในเหตุการณ์ คนร้ายขว้างระเบิดและยิงปืนเข้าใส่บริเวณการชุมนุมของกลุ่ม กปปส. เมื่อวันที่ 22 ก.พ.2557 ที่ตลาดยิ่งเจริญ ต.แสนตุ้ง อ.เขาสมิง จ.ตราด ทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 ราย และบาดเจ็บกว่า 30 คน
นอกจากนี้ยังเชื่อมโยงจำเลยจากภาพถ่ายที่ปรากฏจำเลยและพวกกำลังรับลังใส่เครื่องมือจากนายสมศักดิ์ พูลสวัสดิ์ ผู้ต้องขังและจำเลยในคดีพยายามฆ่าซึ่งแยกฟ้องเป็นอีกคดีหนึ่งของเหตุการณ์จังหวัดตราด
ภาพการรับกล่องใส่เครื่องมือดังกล่าวถูกถ่ายที่ถนนอักษะระหว่างการชุมนุมของกลุ่ม นปช.ช่วงก่อนการรัฐประหาร 22 พ.ค.2557
ส่วนฝ่ายจำเลยได้ต่อสู้เรื่องข้อเท็จจริงในการจับกุมว่า
หลักฐานของกลางไม่ได้ถูกยึดในห้องพักของจำเลย แต่เป็นห้องพักของ
นายสุวิทย์ เจนไธสง กล่องใส่ของที่นายสมศักดิ์มอบให้กับจำเลยและพวกไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นอาวุธ ไม่มีการพิสูจน์ว่ามีลายนิ้วมือของจำเลยอยู่ที่ของกลาง และ
นายสุวิทย์ เจนไธสง ที่ถูกจับกุมตัวพร้อมกันก็ได้ถูก ร.อ.สุเทพ ทาเวียง หัวหน้าชุดจับกุมควบคุมตัวแยกออกไป
ในการอ่านคำพิพากษา ศาลให้เหตุผลว่าข้อต่อสู้ในคดีของจำเลยฟังไม่ขึ้น ไม่สามารถหักล้างข้อกล่าวหาของโจทก์ได้ จึงพิพากษาว่าจำเลยและพวกได้ร่วมกันครอบครองอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดที่นายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ได้ ให้จำคุก 20 ปี จำเลยและพวกได้ครอบครอง อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน โดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 4 ปี จำเลยและพวกได้เคลื่อนย้ายนำพาอาวุธที่ไม่มีใบอนุญาตไปในทางสาธารณะให้ จำคุก 3 ปี จำเลยครอบครองเสื้อเกราะกันกระสุนซึ่งถือเป็นยุทธภัณฑ์ที่อาจถูกนำไปใช้ในการรบให้จำคุก 9 เดือน จำเลยได้ครอบครองวิทยุสื่อสารโดยไม่มีใบอนุญาตให้มีโทษปรับเป็นเงิน 6,000 บาท แต่เนื่องจากการให้การของจำเลยเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการพิจารณาจึงให้ลดโทษให้เหลือ 2 ใน 3 คงโทษจำคุก 17 ปี 18 เดือน และปรับเป็นเงิน 4,000 บาท
หลังจากการอ่านคำพิพากษา นางจันทนา จำเลยซึ่งถูกคุมขังอยู่นาน 1 ปี 3 เดือนเศษ และถูกนำตัวมาจากทัณฑสถานหญิงกลางเพื่อฟังคำพิพากษาในวันนี้
ได้ยกมือขึ้นโต้แย้งคำตัดสินว่า คำพิพากษาของศาลไม่ได้พิจารณาจากข้อเท็จจริงในการจับกุม
เธอกล่าวว่า
ของกลางไม่ได้ถูกยึดในที่พักของเธอ (ห้องหมายเลข 3)
ไม่มีการพิสูจน์ลายนิ้วมือของเธออยู่ที่ของกลาง และสถานที่ที่เจ้าหน้าที่ทำการตรวจยึดหลักฐานได้เป็นห้องพักหมายเลข 4 ซึ่งเป็นสถานที่ที่นายสุวิทย์ เจนไธสง ได้พักอยู่ซึ่งเป็นห้องที่อยู่ติดกับเธอ
นายสุวิทย์ ได้ถูก ร.อ.สุเทพ ทาเวียง หนึ่งในเจ้าหน้าที่เข้าทำการจับกุมได้ควบคุมตัวแยกออกไป โดยสุดท้ายแล้วไม่มีชื่อปรากฎอยู่ในคำฟ้องแต่อย่างใด เธอกล่าวด้วยว่า ขอถามว่านายสุวิทย์ที่ถูกจับกุมพร้อมกับเธอและเป็นผู้พักอาศัยอยู่ในห้องดังกล่าวหายไปไหน
จากนั้นศาลอธิบายว่าการพิจารณาคดี ศาลจะพิจารณาจากคำฟ้องโจทก์และพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยนำมาแสดงเท่านั้น จึงเป็นหน้าที่ที่จำเลยจะต้องนำนายสุวิทย์มาแสดงตัวต่อศาล
นางจันทนาถามกลับว่า จะให้เธอไปนำนายสุวิทย์มาแสดงตัวต่อศาลได้อย่างไรในเมื่อเธอถูกกักขังอยู่ระหว่างพิจารณาคดีโดยไม่ได้รับการประกันตัว พร้อมกันนั้นเธอถามย้ำหลายครั้งว่า ศาลเชื่อในสิ่งที่เธอพูดหรือไม่
ศาลตอบว่าการอนุญาตให้จำเลยพูดเป็นการเปิดโอกาสให้จำเลยได้แสดงความรู้สึก หากไม่พอใจคำพิพากษาก็ให้จำเลยยื่นอุทธรณ์ คดีนี้ศาลได้พิจารณาโดยให้ความปราณีแล้ว ความจริงแล้วศาลสามารถสั่งจำคุกได้ตลอดชีวิต และคดีอย่างนี้ใครจะยอมให้ประกันตัว
จากนั้นศาลได้สั่งให้นางจันทนานั่งลง มิเช่นนั้นจะใช้อำนาจสั่งจำคุกนางจันทนาเพิ่มอีก 6 เดือนฐานหมิ่นศาล นางจันทนาได้ตอบกลับว่า “
หากคุณคิดว่าผู้หญิงคนเดียวเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศก็ให้สั่งประหารชีวิตไปเลย”
ผู้สื่อข่าวรรายงานว่า ระหว่างนั้นเพื่อนและญาติของนางจันทนาที่มานั่งฟังการพิจารณาคดีอยู่ด้วยได้พากันร้องไห้ด้วยเสียงดัง และลุกขึ้นมากอดนางจันทนาพร้อมกับขอร้องให้นางจันทนานั่งลงและหยุดพูด หลังจากนางจันทนายอมนั่งลง
เธอหันมาจับมือบุตรชายพร้อมบอกกับบุตรชายว่า นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมแม่ถึงต้องเป็นเสื้อแดง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://prachatai.org/journal/2015/09/61468
ผู้เป็นเจัาของห้องที่ถูกค้นพบอาวุธ หายไปไหน ???
เหมือนตัวการหลักหายไปดื้อ ๆ แต่มีการโยงไปที่เหตุการณ์ จ.ตราด โยงไปที่การส่งมอบลังบริเวณถนนอักษะที่ นปช. ชุมนุม
แต่ตัวการหลัก เจ้าของห้องที่พบอาวุธ หายไปในอากาศ ???
ไม่มีลายนิ้วมือ แล้วมีอะไรเชื่อมโยงกับจำเลย ?
การรับลัง มีอะไรพิสูจน์ว่าในลังคืออาวุธ ? ถึงวันนี้รู้หรือยังว่าลังอะไร ?
นอนอยู่ดี ๆ มีการเข้าค้นห้อง พบอาวุธที่ห้องข้าง ๆ แล้วเจ้าของห้องข้าง ๆ ก็หายไป ไม่โดนฟ้องเป็นจำเลยร่วม
หายไปไหน ?
แต่คนที่อยู่ห้องติดกัน กลับกลายเป็นจำเลยและโดนคำพิพากษาจำคุกเกือบยี่สิบปี
อาวุธที่ค้นพบในห้องข้าง ๆ มีอะไรเชื่อมโยงกับจำเลย ?
แค่คำซัดทอดเพียงพอหรือ ?
ใครอธิบายได้บ้างครับ ว่าคดีนี้ไม่คลุมเครือ ไม่มีข้อสงสัย และหลักฐานมัดแน่นจนจำเลยดิ้นไม่หลุด
หลักความยุติธรรม ต้องมองเสมอว่า ผู้ถูกกล่าวหาหรือจำเลยนั้น คือผู้บริสุทธิ์ จนกว่าจะมีหลักฐานมัดแน่นว่าจำเลยกระทำผิดจริง
...................................
จำคุกหญิงเสื้อแดงครอบครองอาวุธสงคราม 27 ปี 9 ด. จำเลยลุกโต้เถียงศาล
18 ก.ย.2558 เวลาประมาณ 10.00 น. ศาลอาญารัชดา ห้อง 910 ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้จำคุก นางจันทนา วรากรสกุลกิจ หญิงเสื้อแดง วัย 45 ปี จากข้อกล่าวหาครอบครองอาวุธปืน วัตถุระเบิด ครอบครองเสื้อเกราะกันกระสุน และวิทยุสื่อสารสั่งจำคุก 27 ปี 9 เดือน ปรับ 6,000 บาท แต่เนื่องจากจำเลยให้การเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดี จึงให้ลดโทษทั้งจำและปรับลง 1 ใน 3 เหลือจำคุก 17 ปี 18 เดือน ปรับ 4,000 บาท
เหตุเกิดเมื่อวันที่ 21 พ.ค.2558 เจ้าหน้าที่ทหารจากกองทัพภาคที่ 1 และเจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่ ได้ใช้อำนาจตามกฎอัยการศึก เข้าทำการตรวจค้น ห้องเช่า หมายเลข 3 และ 4 หอพักแห่งหนึ่ง ใน ต.สวนหลวง อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร และได้ทำการจับกุมนางจันทนา วรากรสกุลกิจ วัย 44 ปี พร้อมอาวุธปืน M16 หนึ่งกระบอก, ปืน AK 47 หนึ่งกระบอก, ปืนคาร์บิน SKS พร้อมกล้องเล็ง หนึ่งกระบอก, เครื่องยิงระเบิดM 79 หนึ่งกระบอก, ปืนคาร์บินM 1 หนึ่งกระบอก, ปืนคาร์บิน M 3 หนึ่งกระบอก, ปืนพกสั้นไม่มีทะเบียน 1 กระบอก พร้อมเครื่องกระสุน, วัตถุระเบิด, เสื้อเกราะกันกระสุน, วิทยุสื่อสาร โดยการจับกุมดังกล่าวเจ้าหน้าที่ได้ระบุว่าเป็นการซัดทอดมาจาก นายเชาว์วัฒน์ ทองเผือก อดีตทหารพราน ที่ถูกทำการจับกุมที่บ้านพักที่ อ.หนองม่วง จ.ลพบุรี ในช่วงเช้าของวันเดียวกัน
ในการสืบพยานโจทก์เชื่อมโยงหลักฐานการพิสูจน์อาวุธของกลางเข้ากับปลอกกระสุนที่เก็บได้ในที่เกิดเหตุ ในเหตุการณ์ คนร้ายขว้างระเบิดและยิงปืนเข้าใส่บริเวณการชุมนุมของกลุ่ม กปปส. เมื่อวันที่ 22 ก.พ.2557 ที่ตลาดยิ่งเจริญ ต.แสนตุ้ง อ.เขาสมิง จ.ตราด ทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 ราย และบาดเจ็บกว่า 30 คน นอกจากนี้ยังเชื่อมโยงจำเลยจากภาพถ่ายที่ปรากฏจำเลยและพวกกำลังรับลังใส่เครื่องมือจากนายสมศักดิ์ พูลสวัสดิ์ ผู้ต้องขังและจำเลยในคดีพยายามฆ่าซึ่งแยกฟ้องเป็นอีกคดีหนึ่งของเหตุการณ์จังหวัดตราด ภาพการรับกล่องใส่เครื่องมือดังกล่าวถูกถ่ายที่ถนนอักษะระหว่างการชุมนุมของกลุ่ม นปช.ช่วงก่อนการรัฐประหาร 22 พ.ค.2557
ส่วนฝ่ายจำเลยได้ต่อสู้เรื่องข้อเท็จจริงในการจับกุมว่าหลักฐานของกลางไม่ได้ถูกยึดในห้องพักของจำเลย แต่เป็นห้องพักของ นายสุวิทย์ เจนไธสง กล่องใส่ของที่นายสมศักดิ์มอบให้กับจำเลยและพวกไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นอาวุธ ไม่มีการพิสูจน์ว่ามีลายนิ้วมือของจำเลยอยู่ที่ของกลาง และ นายสุวิทย์ เจนไธสง ที่ถูกจับกุมตัวพร้อมกันก็ได้ถูก ร.อ.สุเทพ ทาเวียง หัวหน้าชุดจับกุมควบคุมตัวแยกออกไป
ในการอ่านคำพิพากษา ศาลให้เหตุผลว่าข้อต่อสู้ในคดีของจำเลยฟังไม่ขึ้น ไม่สามารถหักล้างข้อกล่าวหาของโจทก์ได้ จึงพิพากษาว่าจำเลยและพวกได้ร่วมกันครอบครองอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดที่นายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ได้ ให้จำคุก 20 ปี จำเลยและพวกได้ครอบครอง อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน โดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 4 ปี จำเลยและพวกได้เคลื่อนย้ายนำพาอาวุธที่ไม่มีใบอนุญาตไปในทางสาธารณะให้ จำคุก 3 ปี จำเลยครอบครองเสื้อเกราะกันกระสุนซึ่งถือเป็นยุทธภัณฑ์ที่อาจถูกนำไปใช้ในการรบให้จำคุก 9 เดือน จำเลยได้ครอบครองวิทยุสื่อสารโดยไม่มีใบอนุญาตให้มีโทษปรับเป็นเงิน 6,000 บาท แต่เนื่องจากการให้การของจำเลยเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการพิจารณาจึงให้ลดโทษให้เหลือ 2 ใน 3 คงโทษจำคุก 17 ปี 18 เดือน และปรับเป็นเงิน 4,000 บาท
หลังจากการอ่านคำพิพากษา นางจันทนา จำเลยซึ่งถูกคุมขังอยู่นาน 1 ปี 3 เดือนเศษ และถูกนำตัวมาจากทัณฑสถานหญิงกลางเพื่อฟังคำพิพากษาในวันนี้ ได้ยกมือขึ้นโต้แย้งคำตัดสินว่า คำพิพากษาของศาลไม่ได้พิจารณาจากข้อเท็จจริงในการจับกุม
เธอกล่าวว่าของกลางไม่ได้ถูกยึดในที่พักของเธอ (ห้องหมายเลข 3) ไม่มีการพิสูจน์ลายนิ้วมือของเธออยู่ที่ของกลาง และสถานที่ที่เจ้าหน้าที่ทำการตรวจยึดหลักฐานได้เป็นห้องพักหมายเลข 4 ซึ่งเป็นสถานที่ที่นายสุวิทย์ เจนไธสง ได้พักอยู่ซึ่งเป็นห้องที่อยู่ติดกับเธอ นายสุวิทย์ ได้ถูก ร.อ.สุเทพ ทาเวียง หนึ่งในเจ้าหน้าที่เข้าทำการจับกุมได้ควบคุมตัวแยกออกไป โดยสุดท้ายแล้วไม่มีชื่อปรากฎอยู่ในคำฟ้องแต่อย่างใด เธอกล่าวด้วยว่า ขอถามว่านายสุวิทย์ที่ถูกจับกุมพร้อมกับเธอและเป็นผู้พักอาศัยอยู่ในห้องดังกล่าวหายไปไหน
จากนั้นศาลอธิบายว่าการพิจารณาคดี ศาลจะพิจารณาจากคำฟ้องโจทก์และพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยนำมาแสดงเท่านั้น จึงเป็นหน้าที่ที่จำเลยจะต้องนำนายสุวิทย์มาแสดงตัวต่อศาล
นางจันทนาถามกลับว่า จะให้เธอไปนำนายสุวิทย์มาแสดงตัวต่อศาลได้อย่างไรในเมื่อเธอถูกกักขังอยู่ระหว่างพิจารณาคดีโดยไม่ได้รับการประกันตัว พร้อมกันนั้นเธอถามย้ำหลายครั้งว่า ศาลเชื่อในสิ่งที่เธอพูดหรือไม่
ศาลตอบว่าการอนุญาตให้จำเลยพูดเป็นการเปิดโอกาสให้จำเลยได้แสดงความรู้สึก หากไม่พอใจคำพิพากษาก็ให้จำเลยยื่นอุทธรณ์ คดีนี้ศาลได้พิจารณาโดยให้ความปราณีแล้ว ความจริงแล้วศาลสามารถสั่งจำคุกได้ตลอดชีวิต และคดีอย่างนี้ใครจะยอมให้ประกันตัว
จากนั้นศาลได้สั่งให้นางจันทนานั่งลง มิเช่นนั้นจะใช้อำนาจสั่งจำคุกนางจันทนาเพิ่มอีก 6 เดือนฐานหมิ่นศาล นางจันทนาได้ตอบกลับว่า “หากคุณคิดว่าผู้หญิงคนเดียวเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศก็ให้สั่งประหารชีวิตไปเลย”
ผู้สื่อข่าวรรายงานว่า ระหว่างนั้นเพื่อนและญาติของนางจันทนาที่มานั่งฟังการพิจารณาคดีอยู่ด้วยได้พากันร้องไห้ด้วยเสียงดัง และลุกขึ้นมากอดนางจันทนาพร้อมกับขอร้องให้นางจันทนานั่งลงและหยุดพูด หลังจากนางจันทนายอมนั่งลง เธอหันมาจับมือบุตรชายพร้อมบอกกับบุตรชายว่า นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมแม่ถึงต้องเป็นเสื้อแดง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ผู้เป็นเจัาของห้องที่ถูกค้นพบอาวุธ หายไปไหน ???
เหมือนตัวการหลักหายไปดื้อ ๆ แต่มีการโยงไปที่เหตุการณ์ จ.ตราด โยงไปที่การส่งมอบลังบริเวณถนนอักษะที่ นปช. ชุมนุม
แต่ตัวการหลัก เจ้าของห้องที่พบอาวุธ หายไปในอากาศ ???
ไม่มีลายนิ้วมือ แล้วมีอะไรเชื่อมโยงกับจำเลย ?
การรับลัง มีอะไรพิสูจน์ว่าในลังคืออาวุธ ? ถึงวันนี้รู้หรือยังว่าลังอะไร ?
นอนอยู่ดี ๆ มีการเข้าค้นห้อง พบอาวุธที่ห้องข้าง ๆ แล้วเจ้าของห้องข้าง ๆ ก็หายไป ไม่โดนฟ้องเป็นจำเลยร่วม
หายไปไหน ?
แต่คนที่อยู่ห้องติดกัน กลับกลายเป็นจำเลยและโดนคำพิพากษาจำคุกเกือบยี่สิบปี
อาวุธที่ค้นพบในห้องข้าง ๆ มีอะไรเชื่อมโยงกับจำเลย ?
แค่คำซัดทอดเพียงพอหรือ ?
ใครอธิบายได้บ้างครับ ว่าคดีนี้ไม่คลุมเครือ ไม่มีข้อสงสัย และหลักฐานมัดแน่นจนจำเลยดิ้นไม่หลุด