สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 7
มีนักวิชาการทั้งไทยและเทศ วิเคราะห์เป็นระยะๆว่า
การที่ประชาธิปไตยไทยไม่คืบไปหน้า เพราะเรื่องที่
กลุ่มคนหรือคณะคนที่เคยได้ประโยชน์จากระบบคณา
ธิปไตย(ระบบที่กลุ่มบุคคลเข้าแทรกแซงการทำงาน
ของรัฐบาลได้ผ่านทางกลไกต่างๆ) จะเสียประโยชน์
ผมไม่เชื่อในการวิเคราะห์เหล่านี้เท่าไร จนเกิดวิกฤติ
กปปส.ที่แสดงแสนยานุภาพ อิทธิฤทธิ์ชัดเจนว่าพวก
ตนมีเส้น เส้นพวกตนใหญ่ นั้นแหละผมจึงกลับลำมา
เชื่อว่า สิ่งที่เขาเคยวิเคราะห์ไว้นั้น คงเป็นความจริง
เพราะพวกกปปส ก็คือตัวแทนคนพวกนั้น นั่นเอง
ไทโรครับ
การที่ประชาธิปไตยไทยไม่คืบไปหน้า เพราะเรื่องที่
กลุ่มคนหรือคณะคนที่เคยได้ประโยชน์จากระบบคณา
ธิปไตย(ระบบที่กลุ่มบุคคลเข้าแทรกแซงการทำงาน
ของรัฐบาลได้ผ่านทางกลไกต่างๆ) จะเสียประโยชน์
ผมไม่เชื่อในการวิเคราะห์เหล่านี้เท่าไร จนเกิดวิกฤติ
กปปส.ที่แสดงแสนยานุภาพ อิทธิฤทธิ์ชัดเจนว่าพวก
ตนมีเส้น เส้นพวกตนใหญ่ นั้นแหละผมจึงกลับลำมา
เชื่อว่า สิ่งที่เขาเคยวิเคราะห์ไว้นั้น คงเป็นความจริง
เพราะพวกกปปส ก็คือตัวแทนคนพวกนั้น นั่นเอง
ไทโรครับ
ความคิดเห็นที่ 12
ทั่วไปเมื่อเกิดความผิดพลาด สูญเสีย โศกนาฏกรรม เขาจะมีการสร้างอนุสรณ์เตือนใจ นอกจากเพื่อรำลึกถึงผู้จากไปแล้ว
ยังเพื่อเตือนใจคนรุ่นใหม่ ไม่ให้ทำการซ้ำรอยเดิม
ที่ญี่ปุ่นมีอนุสาวรีย์ซะดะโกะ (เด็กหญิงชูมือขึ้นฟ้า ที่มือถือนกกระเรียน) ก็เพราะเหตุระเบิดปรมาณู
ซะดะโกะ ซะซะกิ เป็นเด็กหญิงอาศัยอยู่ในจังหวัดฮิโระชิมะ เมื่อระเบิดนิวเคลียร์ถูกทิ้งลงเธอมีอายุได้เพียง 2 ปี
แต่เธอรอดมาได้ ซะดะโกะเป็นเด็กที่แข็งแรงรวมทั้งเป็นนักกีฬา เมื่อเธอมีอายุได้ 11 ปี ในขณะที่กำลังซ้อมวิ่งอยู่นั้น
เธอรู้สึกมึนหัวแล้วล้มลง จากการตรวจก็พบว่าเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ซึ่งเป็นหนึ่งในผลสืบเนื่องจากระเบิดนิวเคลียร์
ซะดะโกะได้ฟังตำนานว่าถ้าใครพับนกกระดาษครบหนึ่งพันตัว จะได้สิ่งที่ตนต้องการ จึงหวังว่านี่อาจช่วยให้เธอหายป่วย
และกลับมาวิ่งได้อีก เธอใช้เวลา 14 เดือนในโรงพยาบาล และพับนกมากกว่า 1,300 ตัว ก่อนที่จะเสียชีวิตลงด้วยอายุเพียง 12 ปี
(บางเรื่องเล่ากล่าวว่าเธอพับนกได้แค่ 644 ตัว และเพื่อนๆ พับนกให้เธอจนครบหนึ่งพันตัวและฝังนกเหล่านั้นพร้อมกับร่างของเธอ)
ปัจจุบันที่ฐานอนุสาวรีย์ของเธอในบริเวณอนุสรณ์สถานสันติภาพ ฮิโระชิมะ ผู้คนจากทั่วโลกยังคงแวะเวียน
นำพวงมาลัยนกกระเรียนกระดาษมาวางเพื่อระลึกถึงเธอ ผู้ซึ่งเป็นหนึ่งในความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากสงคราม
ในขณะที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยของเราควรเป็นสิ่งที่ภูมิใจในสัญลักษณ์ของประชาธิปไตย
ในอดีตเป็นที่สละชีวิตของนักศึกษาที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย
แต่เมื่อเวลาผ่านไป เพียงเพราะความเกลียดชัง ความหวงอำนาจ ความอิจฉาริษยา อคติของคนบางกลุ่ม
กลับทำให้อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยกลายเป็นชุมนุมเพื่อ ล้มล้างประชาธิปไตย
หมายความว่า สิ่งที่เราสูญเสียไป ไม่ได้รับการตระหนักเลยอย่างนั้นหรือ เมื่อไรเราจะพ้นจากวงจรเหล่านี้เสียที
ยังเพื่อเตือนใจคนรุ่นใหม่ ไม่ให้ทำการซ้ำรอยเดิม
ที่ญี่ปุ่นมีอนุสาวรีย์ซะดะโกะ (เด็กหญิงชูมือขึ้นฟ้า ที่มือถือนกกระเรียน) ก็เพราะเหตุระเบิดปรมาณู
ซะดะโกะ ซะซะกิ เป็นเด็กหญิงอาศัยอยู่ในจังหวัดฮิโระชิมะ เมื่อระเบิดนิวเคลียร์ถูกทิ้งลงเธอมีอายุได้เพียง 2 ปี
แต่เธอรอดมาได้ ซะดะโกะเป็นเด็กที่แข็งแรงรวมทั้งเป็นนักกีฬา เมื่อเธอมีอายุได้ 11 ปี ในขณะที่กำลังซ้อมวิ่งอยู่นั้น
เธอรู้สึกมึนหัวแล้วล้มลง จากการตรวจก็พบว่าเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ซึ่งเป็นหนึ่งในผลสืบเนื่องจากระเบิดนิวเคลียร์
ซะดะโกะได้ฟังตำนานว่าถ้าใครพับนกกระดาษครบหนึ่งพันตัว จะได้สิ่งที่ตนต้องการ จึงหวังว่านี่อาจช่วยให้เธอหายป่วย
และกลับมาวิ่งได้อีก เธอใช้เวลา 14 เดือนในโรงพยาบาล และพับนกมากกว่า 1,300 ตัว ก่อนที่จะเสียชีวิตลงด้วยอายุเพียง 12 ปี
(บางเรื่องเล่ากล่าวว่าเธอพับนกได้แค่ 644 ตัว และเพื่อนๆ พับนกให้เธอจนครบหนึ่งพันตัวและฝังนกเหล่านั้นพร้อมกับร่างของเธอ)
ปัจจุบันที่ฐานอนุสาวรีย์ของเธอในบริเวณอนุสรณ์สถานสันติภาพ ฮิโระชิมะ ผู้คนจากทั่วโลกยังคงแวะเวียน
นำพวงมาลัยนกกระเรียนกระดาษมาวางเพื่อระลึกถึงเธอ ผู้ซึ่งเป็นหนึ่งในความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากสงคราม
ในขณะที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยของเราควรเป็นสิ่งที่ภูมิใจในสัญลักษณ์ของประชาธิปไตย
ในอดีตเป็นที่สละชีวิตของนักศึกษาที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย
แต่เมื่อเวลาผ่านไป เพียงเพราะความเกลียดชัง ความหวงอำนาจ ความอิจฉาริษยา อคติของคนบางกลุ่ม
กลับทำให้อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยกลายเป็นชุมนุมเพื่อ ล้มล้างประชาธิปไตย
หมายความว่า สิ่งที่เราสูญเสียไป ไม่ได้รับการตระหนักเลยอย่างนั้นหรือ เมื่อไรเราจะพ้นจากวงจรเหล่านี้เสียที
แสดงความคิดเห็น
(บทความ) ถนนสายประชาธิปไตย อุดมการณ์ที่ถูกลืมกับชนชั้นที่ยังอยู่
กลุ่มคนหนุ่มเหล่านั้นได้ก่อตั้งกลุ่มขึ้นมา เพื่อเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง ที่ยังล้าหลังและเหลื่อมล้ำสิทธิความเป็นมนุษย์ โดยหวังว่า “ประชาธิปไตย” ที่ซึ่ง ปรีดี พนมยงค์ ผู้เป็นหัวหน้ากลุ่ม เลื่อมใส ศรัทธรา จะสามารถตัดผ่านสร้างถนนที่ชื่อ “ประชาธิปไตย” ให้ประชาชนในชาติได้สัญจรในสังคมได้อย่างเท่าเทียมกัน
แต่ตลอดช่วงชีวิตของ ปรีดี พนมยงค์ผู้นำความหวังมาตามถนนสายประชาธิปไตย ก็ไม่เคยทำได้สัมฤทธิ์เลยสักครั้ง เพราะชนชั้นทางสังคมไม่เคยเปลี่ยนแปลง ชนชั้นขุนนางที่ได้แปรสภาพเปลี่ยนชื่อมาเป็นข้าราชการตามยุคสมัย ก็ยังคงวางท่าอวดตัวว่าเป็น”ผู้ใหญ่”อยู่เช่นเดิม ในยามที่ “ผู้น้อย” พยายามจะใช้ถนนเส้นนี้เรียกร้องสิทธิที่เท่าเทียมกัน ตามสิทธิที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ก็ออกมาขับไล่ไสส่งยึดครองถนนเส้นนี้ไว้แต่เพียงผู้เดียว
ในประวัติศาสตร์มีเหตุการณ์ทำนองนี้หลายครั้ง แต่มีอยู่ไม่กี่ครั้งที่ติดตรึงใจประชาชนคนไทย ที่จำติดฝั่งแน่นในกมลโดยมิอาจลบล้างลืมเลือน เนื่องด้วยพฤติกรรมความโหดร้าย ความไร้มนุษยธรรมของพวก “ผู้ใหญ่” ซึ่งบทความนี้ ผู้เขียนขอเลือกที่จะกล่าวถึง 2 เหตุการณ์รอยด่างพร้อยสำคัญของประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยในชาติเรา
พ.ศ.2516 คือเหตุการณ์แรกที่ผู้เขียนขอเอ่ยถึง
เพราะผู้คนถูกกดขี่ ไร้ซึ่งอิสรภาพ ภายใต้การปกครองเผด็จการที่ยาวนาน ความทุกข์ยากของชนชั้นล่างไม่เคยถูกมองเห็น ขณะที่ชนชั้นนำรุ่งเรืองเฟื่องฟู ความเสมอภาค ความเท่าเทียม การมีชีวิตที่ควรได้รับสิทธิขึ้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ คือ สิ่งที่ทุกคนโหยหาและเรียกร้อง “ประชาธิปไตย”
เหล่านิสิตนักศึกษาและประชาชนในเมืองหลวงซึ่งเรียนรู้และเข้าใจในระบบประชาธิปไตยได้มากกว่ากว่า เหล่า”ผู้น้อย” ประชาชนธรรมดาทั่วไปซึ่งทำมาหากินอยู่ตามหัวไร่ปลายนา จึงชักชวนกันออกมาเป็นตัวตั้งตัวตี ออกมาเดินขบวนเรียกร้องสิทธิอันชอบธรรมแทนประชาชน
นิสิตนักศึกษาประชาชนในเมืองหลวงที่ออกมาร่วมเดินขบวนเรียกร้องในครั้งนั้นเห็นว่าหากไร้ซึ่งสิทธิเสรีภาพและการปกครองระบอบประชาธิปไตยแล้ว การแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศ คงจะเป็นไปได้ยาก จึงได้มีการรณรงค์เรียกร้องให้รัฐบาลถนอม (รัฐบาลในขณะนั้น) ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญภายใน 6 เดือน นอกจากไม่ได้ผลแล้ว กลุ่มผู้เรียกร้องรัฐธรรมนูญ นำโดยนาย ธีรยุทธ บุญมี ยังถูกจับไปคุมขังรวม 13 คน เมื่อวันที่ 6 ต.ค.2516 พร้อมถูกตั้งข้อหาหลายข้อ เช่น มั่วสุมชักชวนให้มีการชุมนุมทางการเมือง และกระทำการอันเป็นคอมมิวนิสต์
แต่สิ่งที่ประชาชนนิสิตนักศึกษาผู้เรียกร้องเหล่านั้นได้รับ กลับไม่ใช่ประชาธิปไตยดังหวัง แต่เป็นลูกตะกั่ว โลหะมัจจุราชที่คร่าชีวิตชนในชาติเดียวกันเอง เพราะต้องการปกป้องอำนาจที่ตัวเองยึดกุมโดยถือสิทธิความเป็น”ผู้ใหญ่”โดยตำแหน่งหน้าที่ มิได้สำเหนียกหรือละอายใจเลย ว่าเงินเดือนที่ตนเองได้รับมาตลอดชีวิตนั้น คือเงินของประชาชนที่ตนเองสั่งการให้ลงมือสังหาร
แม้ว่าท้ายที่สุดของเหตุการณ์ครั้งนั้น ประชาชนซึ่งดูเหมือนจะเป็นผู้ชนะได้นาย ธีรยุทธ บุญมี และพวก 13คนกลับคืนมา แต่ต้องจ่ายค่าตบแทนแสนเศร้า เมื่อเหตุการณ์ 14 ตุลาวันมหาวิปโยค วีรชนคนหนุ่มสาวหลายคนออกจากบ้าน ไปมีส่วนร่วมในความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ บางคนกลับมาด้วยร่างกายพิการ แต่หลายคนไม่ได้กลับบ้านอีกเลย ตัวเลขผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ 14 ตุลา ทางการบอกว่า 77 ศพ บาดเจ็บ 857 คน แต่ในความเป็นจริงเล่า..? จำนวนเท่าใด..? ไม่มีใครล่วงรู้
และในความเป็นจริงแล้ว ชีวิตเลือดเนื้อที่สูญเสียไปในครั้งนั้น สูญเปล่าอย่างสิ้นเชิง เพราะมิได้เกิดการเปลี่ยนแปลงอันใดเลย คณะที่ยึดกุมอำนาจก็ยังเป็นคณะเดิม การได้นาย ธีรยุทธ บุญมี กลับมาไม่ได้ช่วยให้อะไรเปลี่ยนแปลงเลย
เพราะมีคำพูดเปรียบเปรยในช่วงหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาว่า “กระเบื้องหลุดไป 3 แผ่น แต่ตัวตึก โครงสร้างรากฐานยังอยู่” ซึ่งหมายถึง แม้จอมพลถนอม-จอมพลประภาส-พ.อ.ณรงค์ จะลี้ภัยไปแล้ว แต่ระบบยังคงเดิม ชนชั้นปกครองยังคงเดิม ขณะเดียวกัน ทางกลุ่มอำนาจเก่าได้เริ่มฟื้นตัวก่อตั้งกลุ่มต่างๆ ขึ้น และเคลื่อนไหวต่อต้านพลังของนักศึกษาประชาชน อาทิ กลุ่มกระทิงแดง ,กลุ่มนวพล ,กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน และชมรมแม่บ้าน เป็นต้น บ่อยครั้งที่มีการปาระเบิดใส่กลุ่มนักศึกษาประชาชนที่เดินขบวน เรื่อยไปจนถึงการสังหารผู้นำชาวนา นักศึกษา และอาจารย์มหาวิทยาลัย ที่ผู้ใหญ่กลุ่มเดิมเห็นว่าเป็นหนามตำตา
6 ตุลา 2519 เหตุการณ์ก็เกิดขึ้นอีหรอบเดิมอีกครั้ง เพียงแค่เปลี่ยนสถานที่เท่านั้น คราวนี้ไปล้อมปราบรุมสังหารกันในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
และชีวิตผู้น้อยก็ยังคงเหมือนผักปลา เมื่อมีการกราดยิงเข้าไปในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในรุ่งเช้าของวันนั้น ยังคงดำเนินต่อไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเจ้าหน้าที่ได้เข้าเคลียร์พื้นที่ในตอนใกล้เที่ยง และจับกุมนักศึกษากว่า 3,000 พันคน หลังการล้อมปราบ ประมาณว่ามีนักศึกษาประชาชนเสียชีวิตหลายร้อยคน แต่ทางการระบุว่า มีผู้เสียชีวิตแค่ 40 คน
แต่ในความรู้สึกของผู้ที่เผชิญเหตุการณ์นั้นมาด้วยตนเอง พวกเขาคิดว่าคงไม่มีเหตุการณ์ไหนที่คนไทยจะฆ่าคนไทยด้วยวิธีที่โหดเหี้ยมผิดมนุษย์และเลือดเย็นเช่นนี้อีกแล้ว และคงไม่มีความตายครั้งใดที่ศพของผู้เสียชีวิตจะถูกกระทำย่ำยีอย่างป่าเถื่อนเท่ากับครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการยิงนักศึกษา แล้วใช้ผ้าลากคอไปกับพื้น การฆ่าแขวนคอและทำร้ายศพจนยับเยิน ไปจนถึงการเผาทั้งเป็น!
เหตุการณ์จบลงด้วย “ผู้ใหญ่” อีกคน พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ เข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือนของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช และได้มีคำสั่งยุบสภา ยกเลิกพรรคการเมือง ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2517 ประกาศเคอร์ฟิว ห้ามประชาชนออกนอกบ้านหลังเที่ยงคืน-ตี 5 และสั่งปิดหนังสือพิมพ์รายวันทุกฉบับ หลังจากนั้นได้นำนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เข้าเฝ้าฯ เพื่อประกาศแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี และนำเข้าสู่ยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ ของ”ผู้ใหญ่”ที่ใครๆเรียกว่า”รัฐบุรุษ”ในเวลาต่อมา ซึ่งกินเวลายาวนานกว่ากว่า 11 ปี ที่ถนนสายนี้ ถูกผู้ใหญ่สั่งชี้ให้หันไปเลือกวิธี “แต่งตั้ง”ตามดุลพินิจของผู้ใหญ่ แทนการ “เลือกตั้ง”ตามดุลพินิจของประชาชน
จนถึง พ.ศ.2540 รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ถือกำเนิดขึ้น กลุ่มผู้ใหญ่ซึ่งคุ้นเคยกับการแต่งตั้ง ก็โดนลดบทบาทไป และเหมือนถนนประชาธิปไตยเส้นนี้ จะมีเสรีในการสัญจรโดยไม่ต้องถึงใครชี้นำ แต่ก็ได้ไม่นาน อะไรๆก็เหมือนจะย้อนรอยเข้าสู่สภาพเดิม สภาพที่ผู้น้อยไม่มีสิทธิมีเสียงอะไร ได้แต่คอยก้มหน้ารับคำสั่งของผู้ใหญ่
วันนี้เมื่อ นาย ธีรยุทธ บุญมี เติบโต กลายเป็น “ผู้ใหญ่”กับเขาบ้าง จิตวิญญาณนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยก็เหือดหายไป ประชาชนในเมืองหลวง นิสิตนักศึกษาที่เคยเป็นตัวแทนเรียกร้อง ก็กลับหลงกระแสไปตามสมัยนิยม “แชะ แชร์ ไลท์” ผลักดัน ตะเกียกตะกายตัวเองขึ้นไปพยายามไปร่วมสังคมกับชนชั้นผู้ใหญ่ แม้จะไปไม่ถึง แต่ได้เป็นเพียงชนชั้นกลางก็ยังดี
คงเหลือแต่ประชาชนที่อยู่หัวไร่ปลายนาเท่านั้น ที่ยังเป็น “ผู้น้อย”ในสังคมนี้อยู่
80 กว่าปี ที่ถนนเส้นนี้ตัดผ่านชาติของเรา สังคมชนชั้นไม่เคยจางหายไป “ผู้ใหญ่” ก็ยังเป็นผู้สั่งการชี้นำอยู่เช่นเดิม ส่วน “ผู้น้อย” ก็อย่าได้คิดหมายละเมเพ้อฝันถึงสิทธิความเท่าเทียม ต้องอยู่อย่างเจียมตัวเจียมใจ ก้มหน้ารับฟังคำสั่งต่อไป ประหนึ่งบนถนนเส้นนี้ พวกตนไม่สิทธิสัญจร เพราะเป็นถนนของชนชั้นผู้ใหญ่ และลิ่วล้อชนชั้นกลางเท่านั้น ส่วน”ผู้น้อย”อย่างพวกตนเองนั้น เป็นแค่ก้อนกรวดที่บังเอิญมาอยู่บนถนนเส้นนี้เท่านั้น อย่าได้เรียกร้องอันใด มิเช่นนั้นอาจโดนบดขยี้จนแหลกละเอียดด้วยล้อรถ... บนถนนแห่งนี้ก็เป็นได้
บทความของผมจบแล้ว แต่สิ่งที่ผมอยากสื่อออกไปยังไม่จบ ผมอยากชักชวนปราชญ์ผู้รู้ทั้งหลาย มาร่วมกันเขียนบทความที่น่าอ่านกันอีกครั้งเถอะครับ เชื่อว่ายังมีหลายๆคนรออ่านบทความดีๆที่ตั้งใจเขียนมาให้อ่านกันอยู่ ผมเองก็จะกลับมาเริ่มเขียนใหม่อีกครั้ง แม้จะมีคนอ่านน้อยก็ไม่เป็นไร เพราะยังไงอย่างน้อยก็ได้ภาคภูมิใจในตัวเอง ที่ได้กระทำเรื่องดีๆให้สมกับความรู้และสติปัญญาของตนเอง
นายพระรอง
ผมเขียนของผมจบแล้ว กำลังตั้งนะโม 3 จบ เพื่อหวังว่า
ข้อความของผมจะสามารถส่งผ่านไปให้คนที่ต้องการอ่านบทความได้อ่านกันนะครับ เพี้ยง..........