ความเข้าใจกับคำปลูกฝังที่ว่า “แทนคุณแผ่นดิน”

กระทู้สนทนา
ความเข้าใจของสังคมในอดีต ในยุคที่ขาดวิวัฒนาการด้านวิชาการทั่วถึงในสังคม ที่ยังต้องอาศัยความเชื่อในการดำรงค์ชีวิตในสังคมเป็นหลักนั้น ได้มีกระบวนการที่พยายามหาเหตุผลให้กับการได้มาซึ่ง การมีสิทธิอำนาจแตกต่างในสังคมมนุษย์ด้วยกัน อันเรียกว่า “ชนชั้น” โดยการถือสิทธิ์ครอบครองหรือเสมอเหมือนกับผู้ให้บังเกิดพื้นที่พร้อมสภาวะสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาตินั้นๆ อันเป็นที่มาของคำรวมว่า “แผ่นดิน” ฉนั้นประเพณีการตีความกับคำว่า “แทนคุณแผ่นดิน” ก็ย่อมหมายถึง การมีความผูกพันที่เป็นลักษณะตอบสนองในหนี้บุญคุณในทุกวิถีทาง หรือถึงแม้ด้วยชีวิตของตัวเอง “ต่อผู้ให้” อันหมายถึงผู้ที่เป็นเจ้าของ หรือผู้ให้บังเกิดของพื้นที่พร้อมสภาวะสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติเหล่านี้ ถูกใหมครับ

เพราะจากพื้นฐานของ “ความเชื่อ” เช่นนี้นี่เอง เป็นที่มาของปัญหาต่างๆ ในสังคมมนุษย์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม อย่างเช่นในปัญหาส่วนตัว ถ้าตัวเองความเชื่อว่า คู่สัมพันธ์นอกใจ ก็จะเป็นเหตุผลที่มาของการตัดสัมพันธ์ เป็นต้น หรือข้อมูลใดๆ ที่มาจากบุคคลากรที่เพียงมีข้ออ้างถึงสถานะความรู้ของตัวเอง ไม่ต้องแสดงถึงเหตุและผลในเนื้อหา ก็จะได้รับความเชื่อถือโดยทันที อันก็เป็นเหตุผลที่บุคคลากรในสถานะเช่นนี้ ไปเป็นเครื่องมือในการสร้างกระแสความเชื่อและเป็นที่มาของปัญหาสังคมส่วนรวมต่างๆ ขึ้นมา อย่างเช่นความจริงในการแทนคุณแผ่นดิน ที่เคยมีคำกล่าวเอาไว้ว่า “ในยามสงบข้าจำต้องเป็นผู้ชำระค่าเช่าที่พักอาศัยด้วยน้ำพักน้ำแรงของตัวเอง ในยามศึกข้าต้องเอาชีวิตเป็นเดิมพันเพื่อกลับมาชำระค่าเช่าให้กับเจ้าของเดิมเป็นการแทนคุณ” เป็นต้น ครับ

ความเข้าใจในคำที่ว่า “แทนคุณแผ่นดิน” ในแง่ของความเป็นจริง ของการรู้คุณกับพื้นที่พร้อมสภาวะสิ่งแวดล้อม ย่อมหมายถึง การใช้ชีวิตความเป็นอยู่ที่หลีกเลี่ยงการเปลื่ยนแปลงการเป็นวงจรธรรมชาติให้มากที่สุด ถึงแม้ว่า ในยุคที่จำนวนประชาชนในสังคมมีเกินกว่าการสมดุลย์ตามธรรมชาติ พร้อมทั้งกระแสความพยายามที่จะสร้างพื้นที่และสภาวะสิ่งแวดล้อมให้เป็นธรรมชาติต้องการกับการใช้ชีวิตเป็นอยู่ก็ตาม การคงไว้ซึ่งความสมดุลย์ตามธรรมชาติคือหลักประกันของการมีชีวิตอยู่รอดของสังคมนั้นๆ และธรรมชาตินี่เองคือผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริง การบุกร้าวธรรมชาติโดยไม่มีระบบทดแทน หรือปรับปรุงตามความเป็นไปได้ ก็เป็นเสมือนการไม่รู้คุณแผ่นดิน นั่นเอง ครับ

คำแน๊ะถึง “การแทนคุณแผ่นดิน” เป็นสิ่งสมควรและน่ายกย่อง เพียงแต่ต้องตั้งคำถามทั้งผู้ให้และผู้รับฟังเสียด้วยว่า การตีความมาจากประเพณีความเชื่อ หรือ ยืนอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่