สวัสดีค่ะ
เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา หลายคนก็คงจะได้ยินข่าวแว่วหูกันไปบ้างแล้วว่า สมาคมดาราศาสตร์ไทยกำลังเชิญชวนคนไทย
ร่วมโหวตชื่อ
"ชาละวัน" เป็นชื่อสามัญของดาวฤกษ์ดวงหนึ่งในกลุ่มดาวหมีใหญ่ วันนี้ก็เลยขอพาทุกคนไปทำความรู้จัก
ดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ในระบบของมันกันค่ะ เล่าให้อ่านไม่มากไม่มาย พอกรุบกริบเช่นเคยนะ
ดาวฤกษ์ดวงนี้ คือ
47 Ursae Majoris (47 หมีใหญ่) อยู่ห่างจากระบบสุริยะไปราว 46 ปีแสง ซึ่งด้วยระยะห่างระยะนี้
ก็ยังพอกล่าวได้ว่ามันเป็นระบบดาวที่อยู่ใกล้เราค่ะ
47 Ursae Majoris เป็นดาวฤกษ์แถบลำดับหลักคลาส G เหมือนกับดวงอาทิตย์ มีอุณหภูมิสูงกว่าดวงอาทิตย์เล็กน้อย
คือประมาณ 5,600 องศาเซลเซียส (ดวงอาทิตย์ 5,500 องศาเซลเซียส) และมีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์นิดหน่อย
นั่นคือประมาณ 1.2 เท่า ส่วนอายุของมันก็คาดว่าน่าจะมากกว่าด้วย คือประมาณ 6 พันล้านปี (ดวงอาทิตย์ 4.5 พันล้านปี)
สำหรับดาวเคราะห์ในระบบนั้น 47 Ursae Majoris มีดาวเคราะห์บริวารที่ค้นพบตอนนี้ทั้งหมด 3 ดวงค่ะ ได้แก่..
-
47 Ursae Majoris b เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดาวฤกษ์ที่สุด ที่ระยะห่าง 2.1 AU (1 AU = ระยะห่างโลก-ดวงอาทิตย์)
มีมวลมากกว่าดาวพฤหัสราว 2.53 เท่า โคจรรอบดาวฤกษ์ 1 รอบใช้เวลา 1,078 วัน หรือ 1 ปีบนดาวเท่ากับ 2.95 ปีบนโลก
-
47 Ursae Majoris c ดาวเคราะห์ดวงถัดมา อยู่ห่างจากดาวฤกษ์ 3.6 AU มีมวลประมาณครึ่งหนึ่งของดาวพฤหัส
โคจรรอบดาวฤกษ์ 1 รอบใช้เวลา 2,391 วัน หรือ 1 ปีบนดาวเท่ากับประมาณ 6.5 ปีบนโลก
-
47 Ursae Majoris d ดาวเคราะห์ดวงสุดท้าย อยู่ห่างดาวฤกษ์มากถึง 11.60 AU มวลประมาณ 1.6 เท่าของดาวพฤหัส
โคจรรอบดาวฤกษ์ 1 รอบใช้เวลา 14,002 วัน หรือประมาณ 38 ปีเลยทีเดียวค่ะ
นี่คือภาพแสดงขนาดโดยประมาณของดาวเคราะห์ในระบบ 47 Ursae Majoris เปรียบเทียบกับโลก
..
คราวนี้มาดูในเรื่องของเขตเอื้ออาศัย (Habitable zone) ในระบบดาวกันบ้าง 47 Ursae Majoris นั้นไม่มีดาวเคราะห์ดวงใด
ที่อยู่ในเขตนี้เลยค่ะ จะเห็นได้ว่า 47 Ursae Majoris b ดาวเคราะห์ดวงในสุด ก็มีวงโคจรพ้นจากขอบเขตเอื้ออาศัยไปแล้ว
แถมยังเป็นดาวเคราะห์ก๊าซอีก ดังนั้นระบบดาวนี้จึงไม่มีลุ้นว่าจะมีสิ่งมีชีวิตคล้ายโลกนะคะ
..
47 Ursae Majoris อยู่ตรงไหนบนท้องฟ้า ?
47 Ursae Majoris อยู่ในกลุ่มดาวหมีใหญ่ มีค่าความส่องสว่างปรากฏอยู่ที่ 5.1 สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า แต่ก็ยากพอดู
เพราะเลือนลางจนแทบจะมองไม่เห็นแล้วค่ะ กลุ่มดาวนี้คนไทยเรียกว่า กลุ่มดาวจระเข้ ซึ่งนี่แหละค่ะคือที่มาว่าทำไม
เมื่อจะตั้งชื่อให้มันถึงได้เลือกเสนอชื่อ
"ชาละวัน" ซึ่งเป็นชื่อจระเข้จากเรื่องไกรทองนั่นเอง
อย่างไรก็ตามการเสนอชื่อดาวระบบ 47 Ursae Majoris ไม่ได้เสนอเพียงแค่ชื่อดาวฤกษ์เท่านั้นค่ะ
ทางสมาคมดาราศาสตร์ไทยยังเสนอชื่อดาวเคราะห์ 2 ดวงของมันด้วย นั่นคือ
47 Ursae Majoris b และ c
โดยเสนอ
"ตะเภาทอง" เป็นชื่อดาวเคราะห์ 47 Ursae Majoris b และ
"ตะเภาแก้ว" เป็นชื่อ 47 Ursae Majoris c
ใครสนใจที่จะร่วมโหวตกับเค้าด้วย ตาม Link นี้ไปค่ะ
http://nameexoworlds.iau.org/systems/113
เอาล่ะทีนี้เราก็มารอลุ้นกันดีกว่าว่า ตัวละครในนิทานไทยจะไปนอกโลก นอกระบบสุริยะได้หรือไม่.. ชะเอิงเอย
จบแล้ว ขอบคุณที่อ่านมาถึงตรงนี้ค่ะ..
เล่าเรื่อง 47 Ursae Majoris ดาวฤกษ์คล้ายดวงอาทิตย์ที่ถูกเสนอชื่อ "ชาละวัน"
เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา หลายคนก็คงจะได้ยินข่าวแว่วหูกันไปบ้างแล้วว่า สมาคมดาราศาสตร์ไทยกำลังเชิญชวนคนไทย
ร่วมโหวตชื่อ "ชาละวัน" เป็นชื่อสามัญของดาวฤกษ์ดวงหนึ่งในกลุ่มดาวหมีใหญ่ วันนี้ก็เลยขอพาทุกคนไปทำความรู้จัก
ดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ในระบบของมันกันค่ะ เล่าให้อ่านไม่มากไม่มาย พอกรุบกริบเช่นเคยนะ
ดาวฤกษ์ดวงนี้ คือ 47 Ursae Majoris (47 หมีใหญ่) อยู่ห่างจากระบบสุริยะไปราว 46 ปีแสง ซึ่งด้วยระยะห่างระยะนี้
ก็ยังพอกล่าวได้ว่ามันเป็นระบบดาวที่อยู่ใกล้เราค่ะ
47 Ursae Majoris เป็นดาวฤกษ์แถบลำดับหลักคลาส G เหมือนกับดวงอาทิตย์ มีอุณหภูมิสูงกว่าดวงอาทิตย์เล็กน้อย
คือประมาณ 5,600 องศาเซลเซียส (ดวงอาทิตย์ 5,500 องศาเซลเซียส) และมีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์นิดหน่อย
นั่นคือประมาณ 1.2 เท่า ส่วนอายุของมันก็คาดว่าน่าจะมากกว่าด้วย คือประมาณ 6 พันล้านปี (ดวงอาทิตย์ 4.5 พันล้านปี)
สำหรับดาวเคราะห์ในระบบนั้น 47 Ursae Majoris มีดาวเคราะห์บริวารที่ค้นพบตอนนี้ทั้งหมด 3 ดวงค่ะ ได้แก่..
- 47 Ursae Majoris b เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดาวฤกษ์ที่สุด ที่ระยะห่าง 2.1 AU (1 AU = ระยะห่างโลก-ดวงอาทิตย์)
มีมวลมากกว่าดาวพฤหัสราว 2.53 เท่า โคจรรอบดาวฤกษ์ 1 รอบใช้เวลา 1,078 วัน หรือ 1 ปีบนดาวเท่ากับ 2.95 ปีบนโลก
- 47 Ursae Majoris c ดาวเคราะห์ดวงถัดมา อยู่ห่างจากดาวฤกษ์ 3.6 AU มีมวลประมาณครึ่งหนึ่งของดาวพฤหัส
โคจรรอบดาวฤกษ์ 1 รอบใช้เวลา 2,391 วัน หรือ 1 ปีบนดาวเท่ากับประมาณ 6.5 ปีบนโลก
- 47 Ursae Majoris d ดาวเคราะห์ดวงสุดท้าย อยู่ห่างดาวฤกษ์มากถึง 11.60 AU มวลประมาณ 1.6 เท่าของดาวพฤหัส
โคจรรอบดาวฤกษ์ 1 รอบใช้เวลา 14,002 วัน หรือประมาณ 38 ปีเลยทีเดียวค่ะ
นี่คือภาพแสดงขนาดโดยประมาณของดาวเคราะห์ในระบบ 47 Ursae Majoris เปรียบเทียบกับโลก
..
คราวนี้มาดูในเรื่องของเขตเอื้ออาศัย (Habitable zone) ในระบบดาวกันบ้าง 47 Ursae Majoris นั้นไม่มีดาวเคราะห์ดวงใด
ที่อยู่ในเขตนี้เลยค่ะ จะเห็นได้ว่า 47 Ursae Majoris b ดาวเคราะห์ดวงในสุด ก็มีวงโคจรพ้นจากขอบเขตเอื้ออาศัยไปแล้ว
แถมยังเป็นดาวเคราะห์ก๊าซอีก ดังนั้นระบบดาวนี้จึงไม่มีลุ้นว่าจะมีสิ่งมีชีวิตคล้ายโลกนะคะ
..
47 Ursae Majoris อยู่ตรงไหนบนท้องฟ้า ?
47 Ursae Majoris อยู่ในกลุ่มดาวหมีใหญ่ มีค่าความส่องสว่างปรากฏอยู่ที่ 5.1 สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า แต่ก็ยากพอดู
เพราะเลือนลางจนแทบจะมองไม่เห็นแล้วค่ะ กลุ่มดาวนี้คนไทยเรียกว่า กลุ่มดาวจระเข้ ซึ่งนี่แหละค่ะคือที่มาว่าทำไม
เมื่อจะตั้งชื่อให้มันถึงได้เลือกเสนอชื่อ "ชาละวัน" ซึ่งเป็นชื่อจระเข้จากเรื่องไกรทองนั่นเอง
อย่างไรก็ตามการเสนอชื่อดาวระบบ 47 Ursae Majoris ไม่ได้เสนอเพียงแค่ชื่อดาวฤกษ์เท่านั้นค่ะ
ทางสมาคมดาราศาสตร์ไทยยังเสนอชื่อดาวเคราะห์ 2 ดวงของมันด้วย นั่นคือ 47 Ursae Majoris b และ c
โดยเสนอ "ตะเภาทอง" เป็นชื่อดาวเคราะห์ 47 Ursae Majoris b และ "ตะเภาแก้ว" เป็นชื่อ 47 Ursae Majoris c
ใครสนใจที่จะร่วมโหวตกับเค้าด้วย ตาม Link นี้ไปค่ะ http://nameexoworlds.iau.org/systems/113
เอาล่ะทีนี้เราก็มารอลุ้นกันดีกว่าว่า ตัวละครในนิทานไทยจะไปนอกโลก นอกระบบสุริยะได้หรือไม่.. ชะเอิงเอย
จบแล้ว ขอบคุณที่อ่านมาถึงตรงนี้ค่ะ..