คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
พรบ. รถยนต์ มาตรา 14
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้มาตรา 14 รถใดที่จดทะเบียนแล้ว ห้ามมิให้ผู้ใดเปลี่ยนแปลงตัวรถหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของรถ ให้ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้และใช้รถนั้น เว้นแต่เจ้าของรถนำรถไปให้นายทะเบียน ตรวจสภาพก่อน
ทีนี้เรามาดูว่า รายการจดทะเบียนในคู่มือจดทะเบียนมีอะไรบ้าง ถ้าไม่ดัดแปลงตามนี้ก็ไม่ถือว่าผิด
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้1.วันจดทะเบียน 2.เลขทะเบียน 3.จังหวัด 4.ประเภทรถ 5.ลักษณะรถ 6.ยี่ห้อรถ 7.แบบรถ 8.รุ่นปี ค.ศ. 9.สีรถ 10.เลขตัวรถ
11.ตำแหน่งบอกเลขตัวรถ 12.ยี่ห้อเครื่องยนต์/มอเตอร์ 13.เลขเครื่องยนต์/มอเตอร์ 14.ตำแหน่งเครื่องยนต์ 15.เชื้อเพลิงที่ใช้
16.เลขถังแก๊ส 17.จำนวนสูบ 18.จำนวน ซีซี 19.จำนวนแรงม้า/กิโลวัต 20.จำนวนเพลา 21.จำนวนล้อ 22.จำนวนยาง 23.น้ำหนักรถ
24.น้ำหนักบรรทุกลงเพลา 25.น้ำหนักรวม 26.จำนวนที่นั่ง
นอกจากดัดแปลงสภาพรถจากรายการที่จดทะเบียนแล้ว ตำรวจยังชอบเล็งอีกอย่างคือ อุปกรณ์ส่วนควบ มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
กฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๒ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติรถยนตร์
พ.ศ. ๒๕๒๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ (๒) แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติรถยนตร์ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๓๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๖ รถจักรยานยนตร์ต้องมีเครื่องสำหรับรถ ดังต่อไปนี้
(๑) โคมไฟดังต่อไปนี้ ที่มีกำลังไฟและความส่องสว่างตามที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด
(ก) โคมไฟแสงพุ่งไกล แสงขาวหรือเหลืองอ่อน จำนวนไม่เกิน ๒ ดวง ติดที่กึ่งกลางหน้ารถ สูงจากผิวทางไม่น้อยกว่า ๕๐ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๑.๒๐ เมตร ในกรณีที่มี ๒ ดวง ต้องติดอยู่ในระดับเดียวกันและห่างจากแนวถึงกลางหน้ารถเท่ากันทั้งสองข้าง โคมไฟทุกดวงต้องให้แสงสีเดียวกัน โคมไฟแสงพุ่งไกลจะให้แสงสว่างได้เฉพาะในขณะที่โคมไฟท้ายให้แสงสว่างด้วยเท่านั้น เว้นแต่เป็นการให้แสงสัญญาณชั่วขณะ
(ข) โคมไฟแสงพุ่งต่ำ แสงขาวหรือเหลืองอ่อน ที่ให้แสงสีเดียวกับโคมไฟแสงพุ่งไกล จำนวนไม่เกิน ๒ ดวง ติดที่กึ่งกลางหน้ารถ สูงจากผิวทางไม่น้อยกว่า ๕๐ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๑.๒๐ เมตร ในกรณีที่มี ๒ ดวง ต้องติดอยู่ในระดับเดียวกันและห่างจากแนวกึ่งหน้ารถเท่ากันทั้งสองข้างโคมแสงพุ่งต่ำจะให้แสงสว่างได้เฉพาะในขณะที่โคมไฟท้ายให้แสงสว่างด้ายเท่านั้น
(ค) โคมไฟเลี้ยว ชนิดไฟกระพริบ แสงเหลือง ติดที่ด้านหน้า จำนวน ๒ ดวง และแสงเหลืองหรือแดง ติดที่ด้านท้ายจำนวน ๒ ดวง โดยให้ติดไว้ที่ข้างซ้ายและข้างขวา โคมไฟทุกดวงที่ติดที่ท้ายต้องให้แสงสีเดียวกัน แต่ละด้านติดอยู่ระดับเดียวกัน สูงจากผิวทางไม่น้อยกว่า๓๕ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๑.๒๐ เมตร โคมไฟเลี้ยวทุกดวงที่อยู่ข้างเดียวกันต้องกระพริบพร้อมกันในขณะที่รถให้สัญญาณเลี้ยว
(ง) โคมไฟท้าย แสงแดง จำนวนไม่เกิน ๒ ดวง ติดอยู่ที่กึ่งกลางท้ายรถในระดับเดียวกัน สูงจากผิวทางไม่น้อยกว่า ๓๕ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๑.๒๐ เมตร
(จ) โคมไฟหยุด แสงแดง จำนวนไม่เกิน ๒ ดวง ติดอยู่ที่กึ่งกลางท้ายรถในระดับเดียวกัน สูงจากผิวทางไม่น้อยกว่า ๓๕ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๑.๒๐ เมตร โคมไฟหยุดถ้ารวมในโคมไฟท้ายจะต้องมีความสว่างมากกว่าความสว่างของโคมไฟท้ายนั้น และจะให้แสงสว่างได้เฉพาะในขณะที่ใช้ห้ามล้อเท่านั้น
(ฉ) โคมไฟส่องป้ายทะเบียนต้องให้แสงสว่างพร้อมกับโคมไฟท้าย โคมไฟส่องป้ายทะเบียนต้องให้แสงสว่างพร้อมกับโคมไฟท้าย
(๒) แผ่นสะท้อนแสงสีแดง มีลักษณะตามที่กำหนดไว้ข้อ ๒ (๒) ติดที่กึ่งกลางท้ายรถ สูงจากผิวทางไม่น้อยกว่า ๓๕ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๙๐ เซนติเมตร สามารถสะท้อนแสงเห็นได้ในเวลากลางคืนในระยะไม่น้อยกว่า ๑๕๐ เมตร
(๓) เครื่องมองหลัง ซึ่งเป็นกระจกเงา จำนวน ๒ ชุด ติดอยู่ในระดับเดียวกันที่ด้ายซ้ายและด้านขวาและห่างจากแนวกึ่งกลางหน้ารถเท่ากันทั้งสองข้าง ในที่ที่ผู้ขับรถสามารถมองเห็นภาพการจราจรด้านข้างและด้านหลังได้ทุกขณะอย่างชัดเจน
(๔) ห้ามล้อ ที่ใช้การได้ดี
(๕) แตร ชนิดเสียงเดียว ที่ดังพอสมควร
(๖) ท่อไอเสียพร้อมด้วยเครื่องระงับเสียง เฉพาะรถจักรยานยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ แบบสันดาปภายใน
(๗) เครื่องวัดความเร็ว ที่ใช้การได้ดี และต้องมีแสงสว่างทำให้สามารถอ่านความเร็วของรถในเวลากลางคืนได้
(๘)[๔] ระบบสตาร์ตเครื่องกำเนิดพลังงานพร้อมสวิตช์ที่เมื่อเครื่องกำเนิดพลังงานทำงานโคมไฟแสงพุ่งไกลตาม (๑) (ก) หรือโคมไฟแสงพุ่งต่ำตาม (๑) (ข) ต้องให้แสงสว่างพร้อมกับโคมไฟท้าย
ข้อ ๖/๑[๕] นอกจากจะต้องมีเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถตามข้อ ๖ แล้ว รถจักรยานยนต์สาธารณะต้องมีเครื่องอุปกรณ์อันจำเป็นเพื่อความปลอดภัยของคนโดยสาร ดังต่อไปนี้
(๑) ที่พักเท้าทั้งสองด้านของตัวรถ สำหรับให้คนโดยสารวางเท้าได้อย่างสะดวกและปลอดภัย
(๒) ฝาครอบโซ่หรือบังโซ่
(๓) ราวยึดเหนี่ยวที่ด้านท้ายหรือด้านข้างของตัวรถที่มีความมั่นคงแข็งแรง
(๔) แผ่นป้องกันความร้อนจากท่อไอเสีย ในกรณีเป็นรถจักรยานยนต์ที่มีท่อไอเสียอยู่สูงกว่าที่วางเท้า
(๕) อุปกรณ์อื่นอันจำเป็นเพื่อความปลอดภัยตามที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด
ข้อ ๗ รถจักรยานยนตร์อาจมีเครื่องอุปกรณ์อื่นสำหรับรถได้ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
(๑) โคมไฟหรี่ แสงขาวหรือเหลืองอ่อน ที่มีกำลังไฟและความส่องสว่างตามที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด จำนวนไม่เกิน ๒ ดวง ติดอยู่กึ่งกลางหน้ารถ ในกรณีที่มี ๒ ดวง ต้องอยู่ในระดับเดียวกัน สูงจากผิวทางไม่น้อยกว่า ๓๕ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๑.๒๐ เมตร โคมไฟทุกดวงต้องให้แสงสีเดียวกัน โคมไฟหรี่จะให้แสงสว่างได้เฉพาะในขณะที่โคมไฟท้ายให้แสงสว่างด้วยเท่านั้น
(๒) โคมไฟอื่นนอกจากที่กำหนดไว้ในข้อนี้และข้อ ๖ (๑) ถ้าจะนำมาใช้ต้องเป็นไปตามที่กรมการขนส่งทางบกให้ความเห็นชอบ
ที่มา http://www.krisdika.go.th/lawChar.jsp?head=3&item=3&process=showTitleOfLaw&id=2&group=ร&lawCode=ร01&linkID=2B#2B
ถ้าตำรวจจับมั่ว แนะนำให้รับใบสั่งมา เก็บหลักฐานตอนโดนจับให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะสภาพรถเราตอนโดนจับ(ต้องมั่นใจว่าไม่ผิดจริงๆ) แล้วแจ้งความกลับข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ อยากเห็นคนทำจริงๆ แต่ส่วนมากไม่มีใครเอาเวลาไปเสียตอนขึ้นโรงขึ้นศาล แล้วไม่ได้อะไรกลับมาซักบาท แค่บอกได้ว่าเราไม่ผิดแค่นั้น ผมว่าประเทศไทยเราคงไม่มีบทลงโทษเจ้าหน้าที่คนนั้นจริงๆ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้มาตรา 14 รถใดที่จดทะเบียนแล้ว ห้ามมิให้ผู้ใดเปลี่ยนแปลงตัวรถหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของรถ ให้ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้และใช้รถนั้น เว้นแต่เจ้าของรถนำรถไปให้นายทะเบียน ตรวจสภาพก่อน
ทีนี้เรามาดูว่า รายการจดทะเบียนในคู่มือจดทะเบียนมีอะไรบ้าง ถ้าไม่ดัดแปลงตามนี้ก็ไม่ถือว่าผิด
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้1.วันจดทะเบียน 2.เลขทะเบียน 3.จังหวัด 4.ประเภทรถ 5.ลักษณะรถ 6.ยี่ห้อรถ 7.แบบรถ 8.รุ่นปี ค.ศ. 9.สีรถ 10.เลขตัวรถ
11.ตำแหน่งบอกเลขตัวรถ 12.ยี่ห้อเครื่องยนต์/มอเตอร์ 13.เลขเครื่องยนต์/มอเตอร์ 14.ตำแหน่งเครื่องยนต์ 15.เชื้อเพลิงที่ใช้
16.เลขถังแก๊ส 17.จำนวนสูบ 18.จำนวน ซีซี 19.จำนวนแรงม้า/กิโลวัต 20.จำนวนเพลา 21.จำนวนล้อ 22.จำนวนยาง 23.น้ำหนักรถ
24.น้ำหนักบรรทุกลงเพลา 25.น้ำหนักรวม 26.จำนวนที่นั่ง
นอกจากดัดแปลงสภาพรถจากรายการที่จดทะเบียนแล้ว ตำรวจยังชอบเล็งอีกอย่างคือ อุปกรณ์ส่วนควบ มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
กฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๒ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติรถยนตร์
พ.ศ. ๒๕๒๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ (๒) แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติรถยนตร์ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๓๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๖ รถจักรยานยนตร์ต้องมีเครื่องสำหรับรถ ดังต่อไปนี้
(๑) โคมไฟดังต่อไปนี้ ที่มีกำลังไฟและความส่องสว่างตามที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด
(ก) โคมไฟแสงพุ่งไกล แสงขาวหรือเหลืองอ่อน จำนวนไม่เกิน ๒ ดวง ติดที่กึ่งกลางหน้ารถ สูงจากผิวทางไม่น้อยกว่า ๕๐ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๑.๒๐ เมตร ในกรณีที่มี ๒ ดวง ต้องติดอยู่ในระดับเดียวกันและห่างจากแนวถึงกลางหน้ารถเท่ากันทั้งสองข้าง โคมไฟทุกดวงต้องให้แสงสีเดียวกัน โคมไฟแสงพุ่งไกลจะให้แสงสว่างได้เฉพาะในขณะที่โคมไฟท้ายให้แสงสว่างด้วยเท่านั้น เว้นแต่เป็นการให้แสงสัญญาณชั่วขณะ
(ข) โคมไฟแสงพุ่งต่ำ แสงขาวหรือเหลืองอ่อน ที่ให้แสงสีเดียวกับโคมไฟแสงพุ่งไกล จำนวนไม่เกิน ๒ ดวง ติดที่กึ่งกลางหน้ารถ สูงจากผิวทางไม่น้อยกว่า ๕๐ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๑.๒๐ เมตร ในกรณีที่มี ๒ ดวง ต้องติดอยู่ในระดับเดียวกันและห่างจากแนวกึ่งหน้ารถเท่ากันทั้งสองข้างโคมแสงพุ่งต่ำจะให้แสงสว่างได้เฉพาะในขณะที่โคมไฟท้ายให้แสงสว่างด้ายเท่านั้น
(ค) โคมไฟเลี้ยว ชนิดไฟกระพริบ แสงเหลือง ติดที่ด้านหน้า จำนวน ๒ ดวง และแสงเหลืองหรือแดง ติดที่ด้านท้ายจำนวน ๒ ดวง โดยให้ติดไว้ที่ข้างซ้ายและข้างขวา โคมไฟทุกดวงที่ติดที่ท้ายต้องให้แสงสีเดียวกัน แต่ละด้านติดอยู่ระดับเดียวกัน สูงจากผิวทางไม่น้อยกว่า๓๕ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๑.๒๐ เมตร โคมไฟเลี้ยวทุกดวงที่อยู่ข้างเดียวกันต้องกระพริบพร้อมกันในขณะที่รถให้สัญญาณเลี้ยว
(ง) โคมไฟท้าย แสงแดง จำนวนไม่เกิน ๒ ดวง ติดอยู่ที่กึ่งกลางท้ายรถในระดับเดียวกัน สูงจากผิวทางไม่น้อยกว่า ๓๕ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๑.๒๐ เมตร
(จ) โคมไฟหยุด แสงแดง จำนวนไม่เกิน ๒ ดวง ติดอยู่ที่กึ่งกลางท้ายรถในระดับเดียวกัน สูงจากผิวทางไม่น้อยกว่า ๓๕ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๑.๒๐ เมตร โคมไฟหยุดถ้ารวมในโคมไฟท้ายจะต้องมีความสว่างมากกว่าความสว่างของโคมไฟท้ายนั้น และจะให้แสงสว่างได้เฉพาะในขณะที่ใช้ห้ามล้อเท่านั้น
(ฉ) โคมไฟส่องป้ายทะเบียนต้องให้แสงสว่างพร้อมกับโคมไฟท้าย โคมไฟส่องป้ายทะเบียนต้องให้แสงสว่างพร้อมกับโคมไฟท้าย
(๒) แผ่นสะท้อนแสงสีแดง มีลักษณะตามที่กำหนดไว้ข้อ ๒ (๒) ติดที่กึ่งกลางท้ายรถ สูงจากผิวทางไม่น้อยกว่า ๓๕ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๙๐ เซนติเมตร สามารถสะท้อนแสงเห็นได้ในเวลากลางคืนในระยะไม่น้อยกว่า ๑๕๐ เมตร
(๓) เครื่องมองหลัง ซึ่งเป็นกระจกเงา จำนวน ๒ ชุด ติดอยู่ในระดับเดียวกันที่ด้ายซ้ายและด้านขวาและห่างจากแนวกึ่งกลางหน้ารถเท่ากันทั้งสองข้าง ในที่ที่ผู้ขับรถสามารถมองเห็นภาพการจราจรด้านข้างและด้านหลังได้ทุกขณะอย่างชัดเจน
(๔) ห้ามล้อ ที่ใช้การได้ดี
(๕) แตร ชนิดเสียงเดียว ที่ดังพอสมควร
(๖) ท่อไอเสียพร้อมด้วยเครื่องระงับเสียง เฉพาะรถจักรยานยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ แบบสันดาปภายใน
(๗) เครื่องวัดความเร็ว ที่ใช้การได้ดี และต้องมีแสงสว่างทำให้สามารถอ่านความเร็วของรถในเวลากลางคืนได้
(๘)[๔] ระบบสตาร์ตเครื่องกำเนิดพลังงานพร้อมสวิตช์ที่เมื่อเครื่องกำเนิดพลังงานทำงานโคมไฟแสงพุ่งไกลตาม (๑) (ก) หรือโคมไฟแสงพุ่งต่ำตาม (๑) (ข) ต้องให้แสงสว่างพร้อมกับโคมไฟท้าย
ข้อ ๖/๑[๕] นอกจากจะต้องมีเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถตามข้อ ๖ แล้ว รถจักรยานยนต์สาธารณะต้องมีเครื่องอุปกรณ์อันจำเป็นเพื่อความปลอดภัยของคนโดยสาร ดังต่อไปนี้
(๑) ที่พักเท้าทั้งสองด้านของตัวรถ สำหรับให้คนโดยสารวางเท้าได้อย่างสะดวกและปลอดภัย
(๒) ฝาครอบโซ่หรือบังโซ่
(๓) ราวยึดเหนี่ยวที่ด้านท้ายหรือด้านข้างของตัวรถที่มีความมั่นคงแข็งแรง
(๔) แผ่นป้องกันความร้อนจากท่อไอเสีย ในกรณีเป็นรถจักรยานยนต์ที่มีท่อไอเสียอยู่สูงกว่าที่วางเท้า
(๕) อุปกรณ์อื่นอันจำเป็นเพื่อความปลอดภัยตามที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด
ข้อ ๗ รถจักรยานยนตร์อาจมีเครื่องอุปกรณ์อื่นสำหรับรถได้ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
(๑) โคมไฟหรี่ แสงขาวหรือเหลืองอ่อน ที่มีกำลังไฟและความส่องสว่างตามที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด จำนวนไม่เกิน ๒ ดวง ติดอยู่กึ่งกลางหน้ารถ ในกรณีที่มี ๒ ดวง ต้องอยู่ในระดับเดียวกัน สูงจากผิวทางไม่น้อยกว่า ๓๕ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๑.๒๐ เมตร โคมไฟทุกดวงต้องให้แสงสีเดียวกัน โคมไฟหรี่จะให้แสงสว่างได้เฉพาะในขณะที่โคมไฟท้ายให้แสงสว่างด้วยเท่านั้น
(๒) โคมไฟอื่นนอกจากที่กำหนดไว้ในข้อนี้และข้อ ๖ (๑) ถ้าจะนำมาใช้ต้องเป็นไปตามที่กรมการขนส่งทางบกให้ความเห็นชอบ
ที่มา http://www.krisdika.go.th/lawChar.jsp?head=3&item=3&process=showTitleOfLaw&id=2&group=ร&lawCode=ร01&linkID=2B#2B
ถ้าตำรวจจับมั่ว แนะนำให้รับใบสั่งมา เก็บหลักฐานตอนโดนจับให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะสภาพรถเราตอนโดนจับ(ต้องมั่นใจว่าไม่ผิดจริงๆ) แล้วแจ้งความกลับข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ อยากเห็นคนทำจริงๆ แต่ส่วนมากไม่มีใครเอาเวลาไปเสียตอนขึ้นโรงขึ้นศาล แล้วไม่ได้อะไรกลับมาซักบาท แค่บอกได้ว่าเราไม่ผิดแค่นั้น ผมว่าประเทศไทยเราคงไม่มีบทลงโทษเจ้าหน้าที่คนนั้นจริงๆ
▼ กำลังโหลดข้อมูล... ▼
แสดงความคิดเห็น
คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ
รถมอไซค์ เปลี่ยนกระจกมองหลังเดิม "เป็นกระจกปลายแฮนด์" ต้องไปแจ้งดัดแปลงสภาพรถมั้ยครับ
พอดีวันก่อนผมเจอด่าน แล้วมี ตร. ท่านหนึ่งบอกว่า ดัดแปลงสภาพรถน่ะ ปรับ 2,000-4,000 บาท ตร.บอกว่าต้องเป็นกระจกต้องมาจากโรงงานเท่านั้น วันนั้นปะทะคารมกะคุณ ตร. ยกใหญ่เลย ดีที่มีตำรวจท่านหนึ่งมาห้ามไว้ผมเลยรอดมา กระจกปลายแฮนด์ที่ผมใส่ ปลอดภัยกว่ากระจกเดิมซะอีก มองเห็นจริงชัดเจน และ เวลารถติด ไม่ต้องคอยห่วงว่ากระจกรถเรา จะไปกระแทรกกับ กระจกรถยนต์ เพราะมันจะรอดใต้กระจกรถยนต์พอดี
และเค้ายังทิ้งท้ายว่า "เจอผมครั้งหน้าจะเอาให้หนัก"
ยิ่งตอนนี้ผมตกงานอยู่ด้วย ผมว่าต้องเจอ ตร. ท่านนี้อีกแน่ มีอะรัยแนะนำผมได้บ้างครับ
ผมเลยสงสัย แค่เปลี่ยนกระจก มันเข้าข่าย "ดัดแปลงสภาพรถ" แล้วเหรอเนี่ย
ผมโดนกลั่นแกล้ง หรือ ผมผิด ถ้าผมผิด ผมจะได้ไปแจ้ง ดัดแปลงสภาพรถ
ใครพอรู้เรื่องกฎหมายบ้าง บอกผมที
ถ้าจะให้ผมขี่รถโรงงานเดิมๆ ผมไม่ขี่ดีกว่า ผมแต่งสวย ใช้งานได้จริง ไม้ได้แต่งซิ่ง