สหภาพ "ทีโอที" เตรียมฟ้อง กสทช. ระงับประมูลคลื่น 900 MHz ลั่นกระทบสิทธิเสียหายหลายหมื่นล้าน พร้อมยื่นฟ้อง ป.ป.ช. ตรวจสอบบอร์ด-สคร.-รมต.ไอซีที ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
นายอนุชิต ธูปเหลือง ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บมจ.ทีโอที เปิดเผยว่า ทางสหภาพได้ออกแถลงการณ์จุดยืนของสหภาพ ต่อกรณีที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) นำคลื่นความถี่ 900 MHz ที่อยู่ใน การใช้งานของทีโอที ไปประมูลใหม่ เนื่องจากคลื่น 900 MHz เป็นความถี่ที่ ทีโอทีได้รับการจัดสรรและอนุญาตให้ใช้จากกรมไปรษณีย์โทรเลขในอดีต เพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 2G แก่ประชาชนภายใต้ระบบสัญญาร่วมการงาน โดยให้บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) เป็นผู้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐ ที่ต้องการให้บริษัทเอกชนมาร่วมการงานกับรัฐ ทั้งนี้ สัญญาสัมปทานดังกล่าวจะสิ้นสุด 30 ก.ย.นี้ และเมื่อสิ้นสุดแล้ว ทีโอทีมีแผนจะนำคลื่นและอุปกรณ์ที่ได้รับมอบตามสัญญาร่วมการงาน นำมาให้บริการอย่างต่อเนื่องแก่ประชาชน รวมทั้งพัฒนาบริการให้มีคุณภาพดีตามการพัฒนาเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ต่อไปในอนาคต
แต่ทาง กสทช.ได้แจ้งว่า สิทธิในการใช้คลื่นจะสิ้นสุดลงตามสัญญาสัมปทาน และเตรียมนำคลื่นไปจัดประมูล ดังนั้นสหภาพในฐานะองค์กรนิติบุคคลของฝ่ายพนักงาน ทีโอที ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรักษาผลประโยชน์ของทีโอที จึงได้ดำเนินการคัดค้านการดำเนินการดังกล่าวของ กสทช. เพื่อปกป้องคลื่น 900 MHz ให้ทีโอทียังคงมีสิทธิใช้ประกอบกิจการต่อไป เนื่องจากจะทำให้ประเทศชาติและประชาชนได้มีโอกาสเข้าถึงระบบสื่อสารทางเสียงและบรอดแบนด์แบบไร้สาย ลดช่องว่างในการเข้าถึงดิจิทัลของประชาชน และส่งเสริมนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาล
หากคลื่น 900 MHz ถูกนำไปประมูลใหม่ ทรัพย์สินของรัฐที่รับมอบคืนจาก เอไอเอสจะด้อยค่าลงทันที สร้างความ เสียหายหลายหมื่นล้านบาท เพราะไม่มีคลื่นความถี่จะนำไปให้บริการได้ ขณะที่คลื่นจะถูกนำไปประมูลให้กับเอกชน ที่มุ่งแต่ผลกำไร มากกว่าจะสร้างบริการสาธารณะให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนในชาติ รัฐจะได้เพียงเงินรายได้จากประมูล แต่ประเทศและประชาชนจะไม่ได้รับประโยชน์ในมิติต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญเลย
ทางสหภาพจึงได้ยื่นหนังสือร้องเรียนการดำเนินการของ กสทช. ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เพื่อแก้ปัญหาในฐานะผู้เสียหายโดยตรงจากการดำเนินการของ กสทช. ซึ่งหากยังไม่มีการดำเนินการใด ๆ ทางสหภาพจะยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง เพื่อปกป้องสิทธิ ในการใช้คลื่น 900 MHz รวมถึงยื่นหนังสือร้องเรียนต่อสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อให้วินิจฉัยการใช้อำนาจของ กสทช. ในฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐที่กระทำการ ให้เกิดความเสียหายแก่ทีโอที โดยไม่เป็นธรรม ทั้งจะยื่นหนังสือร้องเรียนต่อสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้ตรวจสอบ การละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ บมจ.ทีโอที สำนักงาน นโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และรัฐมนตรีไอซีที ในฐานะ เจ้าหน้าที่รัฐที่ไม่กำกับดูแลผลประโยชน์ของประเทศชาติ
ด้านนายพงศ์ฐิติ พงศ์ศิลามณี กรรมการสหภาพฯ ทีโอที เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้กำลังร่างคำฟ้องทั้งหมดอยู่ คาดว่าไม่เกินสิ้นเดือน ก.ย.นี้ น่าจะยื่นฟ้องศาลปกครองได้ เพราะขณะนี้ทาง กสทช.แสดงเจตนาชัดเจนแล้วว่าจะเอาคลื่นไปประมูล โดยจะเปิดให้รับซองประมูลได้ราว 28 ก.ย.นี้ ซึ่งเท่ากับเป็นการละเมิดสิทธิของทีโอที และก่อให้เกิดความเสียหายแล้ว
ขอขอบคุณแหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2558 (หน้า 4)
สหภาพทีโอทีฟ้อง กสทช. ยื้อคลื่น 900 หวังคว่ำประมูลปลายปี
สหภาพ "ทีโอที" เตรียมฟ้อง กสทช. ระงับประมูลคลื่น 900 MHz ลั่นกระทบสิทธิเสียหายหลายหมื่นล้าน พร้อมยื่นฟ้อง ป.ป.ช. ตรวจสอบบอร์ด-สคร.-รมต.ไอซีที ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
นายอนุชิต ธูปเหลือง ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บมจ.ทีโอที เปิดเผยว่า ทางสหภาพได้ออกแถลงการณ์จุดยืนของสหภาพ ต่อกรณีที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) นำคลื่นความถี่ 900 MHz ที่อยู่ใน การใช้งานของทีโอที ไปประมูลใหม่ เนื่องจากคลื่น 900 MHz เป็นความถี่ที่ ทีโอทีได้รับการจัดสรรและอนุญาตให้ใช้จากกรมไปรษณีย์โทรเลขในอดีต เพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 2G แก่ประชาชนภายใต้ระบบสัญญาร่วมการงาน โดยให้บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) เป็นผู้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐ ที่ต้องการให้บริษัทเอกชนมาร่วมการงานกับรัฐ ทั้งนี้ สัญญาสัมปทานดังกล่าวจะสิ้นสุด 30 ก.ย.นี้ และเมื่อสิ้นสุดแล้ว ทีโอทีมีแผนจะนำคลื่นและอุปกรณ์ที่ได้รับมอบตามสัญญาร่วมการงาน นำมาให้บริการอย่างต่อเนื่องแก่ประชาชน รวมทั้งพัฒนาบริการให้มีคุณภาพดีตามการพัฒนาเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ต่อไปในอนาคต
แต่ทาง กสทช.ได้แจ้งว่า สิทธิในการใช้คลื่นจะสิ้นสุดลงตามสัญญาสัมปทาน และเตรียมนำคลื่นไปจัดประมูล ดังนั้นสหภาพในฐานะองค์กรนิติบุคคลของฝ่ายพนักงาน ทีโอที ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรักษาผลประโยชน์ของทีโอที จึงได้ดำเนินการคัดค้านการดำเนินการดังกล่าวของ กสทช. เพื่อปกป้องคลื่น 900 MHz ให้ทีโอทียังคงมีสิทธิใช้ประกอบกิจการต่อไป เนื่องจากจะทำให้ประเทศชาติและประชาชนได้มีโอกาสเข้าถึงระบบสื่อสารทางเสียงและบรอดแบนด์แบบไร้สาย ลดช่องว่างในการเข้าถึงดิจิทัลของประชาชน และส่งเสริมนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาล
หากคลื่น 900 MHz ถูกนำไปประมูลใหม่ ทรัพย์สินของรัฐที่รับมอบคืนจาก เอไอเอสจะด้อยค่าลงทันที สร้างความ เสียหายหลายหมื่นล้านบาท เพราะไม่มีคลื่นความถี่จะนำไปให้บริการได้ ขณะที่คลื่นจะถูกนำไปประมูลให้กับเอกชน ที่มุ่งแต่ผลกำไร มากกว่าจะสร้างบริการสาธารณะให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนในชาติ รัฐจะได้เพียงเงินรายได้จากประมูล แต่ประเทศและประชาชนจะไม่ได้รับประโยชน์ในมิติต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญเลย
ทางสหภาพจึงได้ยื่นหนังสือร้องเรียนการดำเนินการของ กสทช. ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เพื่อแก้ปัญหาในฐานะผู้เสียหายโดยตรงจากการดำเนินการของ กสทช. ซึ่งหากยังไม่มีการดำเนินการใด ๆ ทางสหภาพจะยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง เพื่อปกป้องสิทธิ ในการใช้คลื่น 900 MHz รวมถึงยื่นหนังสือร้องเรียนต่อสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อให้วินิจฉัยการใช้อำนาจของ กสทช. ในฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐที่กระทำการ ให้เกิดความเสียหายแก่ทีโอที โดยไม่เป็นธรรม ทั้งจะยื่นหนังสือร้องเรียนต่อสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้ตรวจสอบ การละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ บมจ.ทีโอที สำนักงาน นโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และรัฐมนตรีไอซีที ในฐานะ เจ้าหน้าที่รัฐที่ไม่กำกับดูแลผลประโยชน์ของประเทศชาติ
ด้านนายพงศ์ฐิติ พงศ์ศิลามณี กรรมการสหภาพฯ ทีโอที เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้กำลังร่างคำฟ้องทั้งหมดอยู่ คาดว่าไม่เกินสิ้นเดือน ก.ย.นี้ น่าจะยื่นฟ้องศาลปกครองได้ เพราะขณะนี้ทาง กสทช.แสดงเจตนาชัดเจนแล้วว่าจะเอาคลื่นไปประมูล โดยจะเปิดให้รับซองประมูลได้ราว 28 ก.ย.นี้ ซึ่งเท่ากับเป็นการละเมิดสิทธิของทีโอที และก่อให้เกิดความเสียหายแล้ว
ขอขอบคุณแหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2558 (หน้า 4)