ทรัพย์ลูกหนี้มีส่วนได้รับจากมรดกพ่อ พึ่งโอนที่ดินบ้านเปลี่ยนเป็นชื่อแม่ จะถูกยึดคืนจากแม่ขาย เอาเงินส่วนลูกหนี้ไปได้ไหม

กระทู้คำถาม
พ่อเสียชีวิตไป3ปี ไม่มีพินัยกรรม ศาลแต่งตั้งแม่(มีทะเบียนสมรส)เป็นผู้จัดการมรดก แม่พึ่งโอนเดือนที่แล้วเปลี่ยนชื่อโฉนดที่ดินกับบ้านเปลี่ยนจากชื่อพ่อเป็นชื่อแม่(ผู้จัดการมรดก)แล้วโอนยกให้ชื่อแม่เป็นเจ้าของ แม่เป็นเจ้าบ้านในทะเบียนบ้าน เมื่อลูกหนี้เป็นลูกมีส่วนในกองมรดกพ่อ ปัจจุบันยังส่งธนาคารอยู่ปกติ เป็นหนี้หลายธนาคารเกิน 8 ล้าน กำลังจะหยุดส่ง ขอถามว่า
1. ถ้าอีก 6 เดือน ถูกฟ้องศาล เจ้าหนี้จะขออำนาจศาลยึดบ้านที่ดินคืนจากแม่ เพื่อขายทอดตลาด เอาเงินเฉพาะส่วนแบ่งของลูกหนี้ไปได้หรือไม่(สงสารแม่มากเป็นบ้านของพ่อแม่ที่แม่อยู่มานานมากจะอยู่จนตาย) ปัจจุบันแม่อยู่บ้านนี้คนเดียว ลูก(ลูกหนี้อยู่ต่างจังหวัด)
2. หากถูกยึดคืน แม่ร้องขัดทรัพย์ อ้างต่อศาลว่าได้แบ่งส่วนมรดกของพ่อให้ลูก(ลูกหนี้)ไปแล้ว เป็นเงินสด ทอง เครื่องเพชร ได้หรือไม่ (แต่ไม่มีหลักฐานโอนเงินเข้าบัญชีลูก จึงไม่มีหลักฐานเอกสารยื่นต่อศาล จะทำยังไงดี
    หรือแจ้งว่าได้ให้เงินสดส่วนตัวของแม่ส่วนหนึ่ง ชดเชยแทนส่วนแบ่งมูลค่าบ้านที่ดินนี้ที่ลูก(ลูกหนี้)จะมีส่วนได้รับ ไปแล้ว(ไม่มีหลักฐานโอนเงิน)
วิธีไหนดีกว่ากัน(เคยได้รับเงินสดจากแม่จริงให้เอาไปลงทุนค้าขาย)
3.อายุความโอนย้ายทรัพย์ภายใน 1 ปี ก่อนเจ้าหนี้ยื่นขอต่อศาล จะสามารถตามยึดทรัพย์คืนกลับมาได้ ใช้ได้กับกรณีทรัพย์มรดกที่แบ่งไปแล้ว ที่ลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับ ได้หรือไม่ เปรียบเสมือนว่าลูกหนี้เจตนายกส่วนของตนให้แม่เพื่อให้เจ้าหนี้ไม่ได้รับชำระหนี้
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
ทนายความตอบ

        ประเด็นหลักอยู่ที่ การที่แม่ที่เป็นผู้จัดารมรดกแล้วโอนทรัพย์ที่ดินให้ตัวเอง โดยลูกที่เป็นหนี้ไม่คัดค้าน ถือเป็นโกงเจ้าหนี้หรือเปล่า
        อันนี้ขอคิดจากไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากที่ดินเลยนะ เพราะมันยุ่งยากที่สุด
เนื่องจากลูกมีหนี้ 8 ล้านเลยแบ่งเจ้าหนี้ได้ 2 แบบคือ
1.เจ้าหนี้ทั่วไป  2.เจ้าหนี้ล้มละลาย
        กลับมาที่การโอนที่ดินก่อน
                ประเด็นคือตอนที่โอนที่ดินเป็นชื่อแม่นั้น ตอนนั้นลูกที่เป็นหนี้ยังส่งเงินให้กับธนาคารเป็นปกติ ซึ่งทำให้การโอนในต้องนั้นไม่ได้
กระทบต่อเจ้าหนี้ให้เกิดความเสียหาย เพราะยังใช้หนี้ได้ตามปกติ การโอนจึงไม่เป็นการฉ้อโกงเจ้าหนี้ แต่เป็นเรื่องของการใช้สิทธิในกองมรดก
                เมื่อมาดูเรื่องการเรียกร้องสิทธิมรดก อายุความอยู่ที่ 1 ปีนับวันที่รู้ เอาอันนี้พักไว้ก่อน(ทดเป็นเลขเลย)
กลับมาที่สิทธิของเจ้าหนี้
1.เจ้าหนี้ทั่วไป
       มีอำนาจในการยึด และอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้  ณ วันฟ้องเพื่อนำมาชำระหนี้
2.เจ้าหนี้ล้มละลายมีสิทธิ
        มีอำนาจในการนำทรัพย์สินทั้งหลายอันลูกหนี้มีอยู่ในเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลาย รวมทั้งสิทธิเรียกร้องเหนือทรัพย์สินของบุคคลอื่น
จริงๆ ต้องนับจากวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ด้วยซ้ำครับ
        สิ่งที่ต่างกันก็คือ ถ้าหากเป็นเจ้าหนี้ทั่วไปการโอนนั้นยังไม่ถือว่าเป็นฉ้อโกงเจ้าหนี้ครับ เพราะขณะโอนก็ยังมีความสามารถชำระหนี้
แล้วการร้องสิทธิเหนื่อทรัพย์สินผู้อื่น ก็ยังถือว่าเป็นสิทธิของเราอยู่ เราจะร้องหรือไม่ก็ได้
      
          แต่ถ้าเป็นเจ้าหนี้ล้มละลายนี่ไม่ใช่ครับ มันยึดทรัพย์แบบถอนขนเลยครับ เพราะเจ้าหนี้สามารถสวมสิทธิแทนเราได้เลยครับ
ดังนั้นในกรณีนี้ถ้าถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ในระหว่างที่อายุความมรดก(เอาที่อายุความที่ทดไว้ขั้นต้นมาคิดได้)เจ้าหนี้สามารถสวมสิทธิแทนเราเพื่อฟ้องร้องได้เลยครับ

        ส่วนข้ออ้างอื่นๆ ก็อ้างได้ครับ แต่ก็ต้องมีหลักฐานเข้ามานำสืบให้ครบ เช่นรูปถ่าย หรือใบโอนเงิน ถ้าไม่มีก็ไม่รับฟังหรอกครับ
ถ้าเป็นเครื่องประดับก็จะถามต่อว่าหายไปไหน ถ้าขายก็เอาเอกสารมาแสดง ถ้าให้คนอื่นก็ไล่ยึดกันอีก(กรณีเจ้าหนี้ล้มละลาย)
        อีกข้อที่ต้องเอามาคิดก็คือความสามารถในการสืบทรัพย์ ซึ่งประเทศไทยไม่ค่อยมีกันเท่าไหร่หรอกครับ เพราะค่าใช้จ่ายมันเยอะ
และมันยาก ส่วนใหญ่มีแต่ยึดบนโต๊ะ(คือยึดตามกรมที่ดิน กรมขนส่ง ธนาคาร) ก็เลยมีเคสล้มบนฝูกกันเยอะครับ

      คำแนะนำ ถ้าเป็นไปได้ก็ผ่อนให้เกิน ปีหนึ่งไปก่อนละกันให้อายุความมรดกมันหมดไปชัวร์ๆ ก่อนปลอดภัยสุด

ไม่รู้อ่านเข้าใจหรือเปล่าแต่ถ้าอยากถามเพิ่มก็ถามมาได้หลังไมค์ครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่