สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 15
วันนี้เป็นวันสุดท้ายที่กิน zoloft (sertraline) ก่อนจะหยุดยา
เลยจะมาเล่าเรื่องที่ตัวเองเป็นโรคซึมเศร้าให้ฟังตามที่เคยบอกไว้
เริ่มจากวันที่ 1 ธันวาคม 2556 วันนั้นน้องชายเสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถยนต์
ตอนนั้นผมเป็นแพทย์ประจำบ้านรังสีวินิจฉัยปีที่ 3 เดือนนั้นอยู่หน่วย ultrasound สูติศาสตร์
หลังจากงานศพน้องชาย ผมก็หายไปจากเฟซบุ๊ก ไม่ตั้งสเตตัสมาก ๆ เหมือนเคย
อาจารย์พนมสังเกตเห็น เลยแจ้งอาจารย์พิพัฒน์ หัวหน้าภาควิชารังสีให้สังเกตอาการ
ระหว่างสามสัปดาห์นั้น ใครที่เคยผ่านประสบการณ์ของโรคซึมเศร้าน่าจะเข้าใจดี
ไม่อยากกินอะไร อยากนอนบนเตียงนิ่ง ๆ
มีคนที่เป็นโรคซึมเศร้าคนหนึ่ง ตั้งกระทู้ในพันทิปแล้วใช้คำว่า "อยากนอนแล้วแห้งตายไปเลย"
ผมว่าเป็นวลีที่คนที่เป็นโรคซึมเศร้าทุกคนเข้าใจ
คิดอะไรวกไปวนมาอยู่ในหัว นอน ตื่น ไม่เป็นเวลา ไปทำงานตามปกติไม่ได้
น้ำหนักลดลง (ตอนนั้นผมน้ำหนักลดลง 6 กิโลกรัม)
แต่โชคร้ายตรงที่ผมอยู่หน่วย ultrasound สูติศาสตร์คนเดียว
เพื่อน ๆ เลยไม่ได้สังเกตเห็น ว่าผมผิดปรกติไป
จนกระทั่งผมมีความคิดฆ่าตัวตาย (suicidal idea) ผ่านเข้ามาในหัว
ผมจึงตัดสินใจว่า "ไม่ไหวแล้ว ถ้าเป็นแบบนี้ต่อไป ตายจริง ๆ แน่"
เลยปรึกษาอาจารย์พนม เพราะไม่แน่ใจว่าเป็นโรคซึมเศร้า หรือ adjustment disorder
หลังจากพบอาจารย์พนม อาจารย์ให้เริ่มยา sertraline 1 เม็ดก่อนนอน ร่วมกับ benzodiazepine ตัวหนึ่งก่อนนอน
เพื่อปรับเวลานอน และแนะนำให้ปรับพฤติกรรม
ตอนนั้นผมบอกเพื่อน ๆ เพื่อนสนิท เพื่อนแพทย์ประจำบ้านรังสีวิทยาในรุ่น รุ่นพี่ และอาจารย์ที่สนิทว่า
ผมเป็นโรคซึมเศร้าต้องเริ่มกินยา ทุกคนพยายามช่วยให้ผมดีขึ้น ด้วยวิธีการของตัวเอง
เพื่อนหลาย ๆ คนมา "ลาก" ผมจากเตียงเพื่อไปกินข้าว, รุ่นพี่คนหนึ่งเทียวรับส่ง ไปนั่งกินข้าว พาไปเที่ยวเล่นเป็นเพื่อน,
อาจารย์ท่านหนึ่งชวนผมไปกินข้าวเย็น เดินไปคุยไปตั้งแต่ foodland จรัญจนถึงโรงพยาบาลศิริราช ฯลฯ
ระหว่างสองถึงสามสัปดาห์ที่ผมเริ่มกินยา สิ่งที่พังไปเริ่มกลับมาตามลำดับ คือ อารมณ์, การนอน, และการกิน
ถึงตรงนี้ทำให้ผมปรับความคิดเรื่องโรคทางจิตเวชไปอย่างสิ้นเชิง
จริงอยู่ที่ตอนเรียนแพทย์ก็เรียนว่าความผิดปกติทางจิตเวชเกิดจากความผิดปรกติของสารสื่อประสาท
แต่พอได้ประสบเองว่า พอกินยาแล้วดีขึ้นจริง ตามลำดับที่อาจารย์พนมบอกไว้
ทำให้เชื่อว่าเป็นความผิดปรกติของสารสื่อประสาทจริง
เพื่อน ๆ หลาย ๆ คนอาจจะเคยเห็นว่าผมต่อต้านแนวคิดว่า
"คนฆ่าตัวตาย คนเป็นโรคซึมเศร้าเป็นคนบาป เป็นคนที่ไม่มีธรรมะ" เสมอ ๆ
ก็ด้วยเหตุผลในย่อหน้าข้างบนที่ผมประสบด้วยตัวของผมเองนั่นแหละ
หลังจากอารมณ์ผมดีขึ้น สามารถไปทำงานได้ตามปรกติหลังจากกินยาสามสัปดาห์
ก็เผชิญกับปัญหาใหญ่ปัญหาหนึ่งคือ งานวิจัยแพทย์ประจำบ้านของผมซึ่งต้องส่งปลายเดือนมกราคมยังทำไม่เสร็จ
ตอนนั้นราว ๆ ต้นเดือนมกราคม และในหัวผมก็ไม่อยากกลับไปเครียด กลับไปเศร้าเพราะเรื่องงานวิจัยอีก
จึงตัดสินใจแจ้งอาจารย์ที่ดูแลงานวิจัยของผมว่า ผมขอไม่ส่งงานวิจัย
(การไม่ส่งงานวิจัยหมายถึงไม่สามารถสอบบอร์ดเพื่อจบการเรียนแพทย์เฉพาะทางได้)
แล้วขอกลับไปทำงานที่ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ก่อนหนึ่งปี ระหว่างนั้นก็ทำงานวิจัยให้เสร็จไปด้วย
แล้วค่อยสอบบอร์ดปีต่อไปพร้อมรุ่นน้อง
ด้วยความกรุณาของอาจารย์รังสีวินิจฉัยหลาย ๆ ท่านโดยเฉพาะ อาจารย์ปิยาภรณ์ อาจารย์ทนงชัย
อาจารย์นิตยา อาจารย์ตรงธรรม และอาจารย์กายวิภาคศาสตร์หลาย ๆ ท่านโดยเฉพาะ อาจารย์เกรียงไกร อาจารย์ศิรินุช
อาจารย์ถาวรชัย อาจารย์จันทิมา ผมเลยได้เรียนต่อเฟลโลว์หนึ่งปีในสาขาภาพวินิจฉัยชั้นสูง
โดยทำงานภายใต้การดูแลของอาจารย์รังสีวินิจฉัย ทำงานวิจัยแล้วจึงไปสอบบอร์ดพร้อมกับรุ่นน้อง
เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา และกลับมาทำงานในฐานะอาจารย์กายวิภาคทุกวันนี้
ผมได้เรียนรู้อะไรจากประสบการณ์หนึ่งปีเก้าเดือนที่เป็นโรคซึมเศร้าบ้าง ?
1. คนที่เป็นโรคซึมเศร้าไม่มีใครอยากเป็น ไม่มีใครอยากทรมาน ไม่มีใครอยากฆ่าตัวตาย
ที่เขามีความคิดแบบนี้เพราะความผิดปรกติของสารเคมีในสมอง ดังนั้นอย่าตำหนิ หรือกล่าวโทษเขา
2. คนหลาย ๆ คนพยายามช่วยคนที่เป็นโรคซึมเศร้าด้วยเจตนาดี แต่อาจจะไม่เข้าใจเลยทำให้เขาแย่ลงไปอีก
เปรียบเสมือนคนเป็นโรคซึมเศร้าเป็นปลาที่อยู่ใต้ทะเลลึก การพาเขาขึ้นมาบนผิวน้ำก็ทำให้เขาตายได้
ดังนั้นวิธีการที่ดีกว่าคือ การเข้าไปอยู่ข้าง ๆ เขาโดยที่ไม่พาเขาออกมาบนผิวน้ำ
3. คนหลาย ๆ คนวางตัวกับคนที่เป็นโรคซึมเศร้าไม่ถูก ว่าควรจะวางตัวอย่างไร ผมอยากแนะนำให้วางตัวตามปกติ
อย่ามองว่าเขาเป็นโรค ต้องปฏิบัติต่อเขาต่างจากคนอื่น เพราะยิ่งปฏิบัติต่อเขาผิดจากปฏิบัติต่อคนอื่นมากเท่าไร
เขาจะยิ่งรู้สึกว่าตัวเองอ่อนแอและคุณค่าน้อยกว่าคนอื่นมากยิ่งขึ้น
4. สำหรับคนที่เป็นโรคซึมเศร้า เมื่อดีขึ้นจากผลของยาแล้ว ต้องพยายามปรับพฤติกรรมด้วย
พยายามแบ่งเวลา หากิจกรรมที่ทำแล้วมีความสุข ออกกำลังกาย อ่านหนังสือ ฯลฯ
เพราะการทำกิจกรรมที่ง่าย ๆ แล้วประสบความสำเร็จ ทำให้เรามี self esteem เพิ่มขึ้น
5. ประการที่สำคัญ ต้องกินยาและไปติดตามการรักษาสม่ำเสมอ อย่าหยุดยาเอง อย่าขาดยา
เพื่อนผมคนหนึ่งเป็นโรคซึมเศร้าที่มี psychotic feature ร่วมด้วยก็ยังหายขาดได้ ดังนั้นอย่าขาดยาเด็ดขาด
สำหรับผมหวังว่าจะ full remission นะ จะได้ไม่ต้องกินยาอีก
Cr.Dr.Methee Ongsiriporn
เลยจะมาเล่าเรื่องที่ตัวเองเป็นโรคซึมเศร้าให้ฟังตามที่เคยบอกไว้
เริ่มจากวันที่ 1 ธันวาคม 2556 วันนั้นน้องชายเสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถยนต์
ตอนนั้นผมเป็นแพทย์ประจำบ้านรังสีวินิจฉัยปีที่ 3 เดือนนั้นอยู่หน่วย ultrasound สูติศาสตร์
หลังจากงานศพน้องชาย ผมก็หายไปจากเฟซบุ๊ก ไม่ตั้งสเตตัสมาก ๆ เหมือนเคย
อาจารย์พนมสังเกตเห็น เลยแจ้งอาจารย์พิพัฒน์ หัวหน้าภาควิชารังสีให้สังเกตอาการ
ระหว่างสามสัปดาห์นั้น ใครที่เคยผ่านประสบการณ์ของโรคซึมเศร้าน่าจะเข้าใจดี
ไม่อยากกินอะไร อยากนอนบนเตียงนิ่ง ๆ
มีคนที่เป็นโรคซึมเศร้าคนหนึ่ง ตั้งกระทู้ในพันทิปแล้วใช้คำว่า "อยากนอนแล้วแห้งตายไปเลย"
ผมว่าเป็นวลีที่คนที่เป็นโรคซึมเศร้าทุกคนเข้าใจ
คิดอะไรวกไปวนมาอยู่ในหัว นอน ตื่น ไม่เป็นเวลา ไปทำงานตามปกติไม่ได้
น้ำหนักลดลง (ตอนนั้นผมน้ำหนักลดลง 6 กิโลกรัม)
แต่โชคร้ายตรงที่ผมอยู่หน่วย ultrasound สูติศาสตร์คนเดียว
เพื่อน ๆ เลยไม่ได้สังเกตเห็น ว่าผมผิดปรกติไป
จนกระทั่งผมมีความคิดฆ่าตัวตาย (suicidal idea) ผ่านเข้ามาในหัว
ผมจึงตัดสินใจว่า "ไม่ไหวแล้ว ถ้าเป็นแบบนี้ต่อไป ตายจริง ๆ แน่"
เลยปรึกษาอาจารย์พนม เพราะไม่แน่ใจว่าเป็นโรคซึมเศร้า หรือ adjustment disorder
หลังจากพบอาจารย์พนม อาจารย์ให้เริ่มยา sertraline 1 เม็ดก่อนนอน ร่วมกับ benzodiazepine ตัวหนึ่งก่อนนอน
เพื่อปรับเวลานอน และแนะนำให้ปรับพฤติกรรม
ตอนนั้นผมบอกเพื่อน ๆ เพื่อนสนิท เพื่อนแพทย์ประจำบ้านรังสีวิทยาในรุ่น รุ่นพี่ และอาจารย์ที่สนิทว่า
ผมเป็นโรคซึมเศร้าต้องเริ่มกินยา ทุกคนพยายามช่วยให้ผมดีขึ้น ด้วยวิธีการของตัวเอง
เพื่อนหลาย ๆ คนมา "ลาก" ผมจากเตียงเพื่อไปกินข้าว, รุ่นพี่คนหนึ่งเทียวรับส่ง ไปนั่งกินข้าว พาไปเที่ยวเล่นเป็นเพื่อน,
อาจารย์ท่านหนึ่งชวนผมไปกินข้าวเย็น เดินไปคุยไปตั้งแต่ foodland จรัญจนถึงโรงพยาบาลศิริราช ฯลฯ
ระหว่างสองถึงสามสัปดาห์ที่ผมเริ่มกินยา สิ่งที่พังไปเริ่มกลับมาตามลำดับ คือ อารมณ์, การนอน, และการกิน
ถึงตรงนี้ทำให้ผมปรับความคิดเรื่องโรคทางจิตเวชไปอย่างสิ้นเชิง
จริงอยู่ที่ตอนเรียนแพทย์ก็เรียนว่าความผิดปกติทางจิตเวชเกิดจากความผิดปรกติของสารสื่อประสาท
แต่พอได้ประสบเองว่า พอกินยาแล้วดีขึ้นจริง ตามลำดับที่อาจารย์พนมบอกไว้
ทำให้เชื่อว่าเป็นความผิดปรกติของสารสื่อประสาทจริง
เพื่อน ๆ หลาย ๆ คนอาจจะเคยเห็นว่าผมต่อต้านแนวคิดว่า
"คนฆ่าตัวตาย คนเป็นโรคซึมเศร้าเป็นคนบาป เป็นคนที่ไม่มีธรรมะ" เสมอ ๆ
ก็ด้วยเหตุผลในย่อหน้าข้างบนที่ผมประสบด้วยตัวของผมเองนั่นแหละ
หลังจากอารมณ์ผมดีขึ้น สามารถไปทำงานได้ตามปรกติหลังจากกินยาสามสัปดาห์
ก็เผชิญกับปัญหาใหญ่ปัญหาหนึ่งคือ งานวิจัยแพทย์ประจำบ้านของผมซึ่งต้องส่งปลายเดือนมกราคมยังทำไม่เสร็จ
ตอนนั้นราว ๆ ต้นเดือนมกราคม และในหัวผมก็ไม่อยากกลับไปเครียด กลับไปเศร้าเพราะเรื่องงานวิจัยอีก
จึงตัดสินใจแจ้งอาจารย์ที่ดูแลงานวิจัยของผมว่า ผมขอไม่ส่งงานวิจัย
(การไม่ส่งงานวิจัยหมายถึงไม่สามารถสอบบอร์ดเพื่อจบการเรียนแพทย์เฉพาะทางได้)
แล้วขอกลับไปทำงานที่ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ก่อนหนึ่งปี ระหว่างนั้นก็ทำงานวิจัยให้เสร็จไปด้วย
แล้วค่อยสอบบอร์ดปีต่อไปพร้อมรุ่นน้อง
ด้วยความกรุณาของอาจารย์รังสีวินิจฉัยหลาย ๆ ท่านโดยเฉพาะ อาจารย์ปิยาภรณ์ อาจารย์ทนงชัย
อาจารย์นิตยา อาจารย์ตรงธรรม และอาจารย์กายวิภาคศาสตร์หลาย ๆ ท่านโดยเฉพาะ อาจารย์เกรียงไกร อาจารย์ศิรินุช
อาจารย์ถาวรชัย อาจารย์จันทิมา ผมเลยได้เรียนต่อเฟลโลว์หนึ่งปีในสาขาภาพวินิจฉัยชั้นสูง
โดยทำงานภายใต้การดูแลของอาจารย์รังสีวินิจฉัย ทำงานวิจัยแล้วจึงไปสอบบอร์ดพร้อมกับรุ่นน้อง
เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา และกลับมาทำงานในฐานะอาจารย์กายวิภาคทุกวันนี้
ผมได้เรียนรู้อะไรจากประสบการณ์หนึ่งปีเก้าเดือนที่เป็นโรคซึมเศร้าบ้าง ?
1. คนที่เป็นโรคซึมเศร้าไม่มีใครอยากเป็น ไม่มีใครอยากทรมาน ไม่มีใครอยากฆ่าตัวตาย
ที่เขามีความคิดแบบนี้เพราะความผิดปรกติของสารเคมีในสมอง ดังนั้นอย่าตำหนิ หรือกล่าวโทษเขา
2. คนหลาย ๆ คนพยายามช่วยคนที่เป็นโรคซึมเศร้าด้วยเจตนาดี แต่อาจจะไม่เข้าใจเลยทำให้เขาแย่ลงไปอีก
เปรียบเสมือนคนเป็นโรคซึมเศร้าเป็นปลาที่อยู่ใต้ทะเลลึก การพาเขาขึ้นมาบนผิวน้ำก็ทำให้เขาตายได้
ดังนั้นวิธีการที่ดีกว่าคือ การเข้าไปอยู่ข้าง ๆ เขาโดยที่ไม่พาเขาออกมาบนผิวน้ำ
3. คนหลาย ๆ คนวางตัวกับคนที่เป็นโรคซึมเศร้าไม่ถูก ว่าควรจะวางตัวอย่างไร ผมอยากแนะนำให้วางตัวตามปกติ
อย่ามองว่าเขาเป็นโรค ต้องปฏิบัติต่อเขาต่างจากคนอื่น เพราะยิ่งปฏิบัติต่อเขาผิดจากปฏิบัติต่อคนอื่นมากเท่าไร
เขาจะยิ่งรู้สึกว่าตัวเองอ่อนแอและคุณค่าน้อยกว่าคนอื่นมากยิ่งขึ้น
4. สำหรับคนที่เป็นโรคซึมเศร้า เมื่อดีขึ้นจากผลของยาแล้ว ต้องพยายามปรับพฤติกรรมด้วย
พยายามแบ่งเวลา หากิจกรรมที่ทำแล้วมีความสุข ออกกำลังกาย อ่านหนังสือ ฯลฯ
เพราะการทำกิจกรรมที่ง่าย ๆ แล้วประสบความสำเร็จ ทำให้เรามี self esteem เพิ่มขึ้น
5. ประการที่สำคัญ ต้องกินยาและไปติดตามการรักษาสม่ำเสมอ อย่าหยุดยาเอง อย่าขาดยา
เพื่อนผมคนหนึ่งเป็นโรคซึมเศร้าที่มี psychotic feature ร่วมด้วยก็ยังหายขาดได้ ดังนั้นอย่าขาดยาเด็ดขาด
สำหรับผมหวังว่าจะ full remission นะ จะได้ไม่ต้องกินยาอีก
Cr.Dr.Methee Ongsiriporn
ความคิดเห็นที่ 41
เราก็รู้สึกว่าจขกท.คอยตามจิกกัดตอบแทบจะทุกคห.เลย อยากจะตอบดีๆ แต่ก็เห็นแล้วว่าแม้แต่คห.ที่นำบทความที่ครอบคลุมชัดเจนจากประสบการณ์จริงมาให้ก็ยังมิวาย...
เอาเป็นว่าถ้าชีวิตคุณช่างสวยงามเกิดมาไม่เคยต้องเผชิญปัญหา ไม่เคยเครียดและกดดันสุดชีวิตถึงขนาดที่ตั้งคำถามกับตัวเอง "นี่เราจะมีชีวิตอยู่ไปทำไมวะถ้าต้องเจอแต่อะไรแบบนี้" เราก็ขอยินดีกับความโลกสวยนั้นด้วย เอาไว้วันไหนที่คุณมาถึงจุดนี้บ้าง ขอให้นึกถึงกระทู้นี้ว่าเคยทำพฤติกรรมน่ารังเกียจเอาไว้อย่างไรบ้างก็แล้วกันนะคะ
เอาเป็นว่าถ้าชีวิตคุณช่างสวยงามเกิดมาไม่เคยต้องเผชิญปัญหา ไม่เคยเครียดและกดดันสุดชีวิตถึงขนาดที่ตั้งคำถามกับตัวเอง "นี่เราจะมีชีวิตอยู่ไปทำไมวะถ้าต้องเจอแต่อะไรแบบนี้" เราก็ขอยินดีกับความโลกสวยนั้นด้วย เอาไว้วันไหนที่คุณมาถึงจุดนี้บ้าง ขอให้นึกถึงกระทู้นี้ว่าเคยทำพฤติกรรมน่ารังเกียจเอาไว้อย่างไรบ้างก็แล้วกันนะคะ
ความคิดเห็นที่ 26
อะไรก็ช่างนะครับ..แต่ขอแย้ง จขกท แค่เรื่องเดียว
ตรงที่บอกให้ไปบวชตลอดชีวิตอ่ะครับ
วัด..ไม่ใช่สถานที่ๆ เอาไว้หนีปัญหานะครับ
สมัยผมบวช พระอุปัชฌาย์ท่านเคยสอนไว้
คนที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนามีอยู่ 4 ประเภท
หลักลอย คอยงาน สังขารเสื่อม เลื่อมใสศรัทธา
จะดีที่สุดคือศรัทธาแล้วถึงบวชเข้ามาครับ
ไม่ใช่คิดอะไรไม่ออกก็บวชตลอดชีวิตจ้า
ตรงที่บอกให้ไปบวชตลอดชีวิตอ่ะครับ
วัด..ไม่ใช่สถานที่ๆ เอาไว้หนีปัญหานะครับ
สมัยผมบวช พระอุปัชฌาย์ท่านเคยสอนไว้
คนที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนามีอยู่ 4 ประเภท
หลักลอย คอยงาน สังขารเสื่อม เลื่อมใสศรัทธา
จะดีที่สุดคือศรัทธาแล้วถึงบวชเข้ามาครับ
ไม่ใช่คิดอะไรไม่ออกก็บวชตลอดชีวิตจ้า
ความคิดเห็นที่ 36
ความตายเป็นเรื่องธรรมดานะคะ
ถนนที่เจ้าของกระทู้ผ่านไปทำงาน ตึกทุกตึกที่เดินผ่าน มีคนตายทั้งนั้น
เราเป็นเอธิสนะคะ แต่ชอบ quote ของพระพุทธเจ้าอันนึง เราจำไม่ได้แล้วว่ามาจากชาดกเรื่องอะไร แต่คร่าว ๆ น่าจะประมาณว่ามีแม่คนหนึ่ง ซึ่งลูกตาย.. มั้ง เลยไปขอให้พระพุทธเจ้าช่วยชุบชีวิตลูก พระพุทธเจ้าก็บอกว่า ได้ แต่ต้องใช้วัตถุดิบ คือให้ไปขอเมล็ดผักอะไรสักอย่าง จากบ้านที่ไม่มีคนตาย ซึ่งพอแม่ไปถามบ้านไหน ๆ ทุกบ้านก็มีคนตายทั้งนั้น เลยเข้าใจว่าทุกคนเกิดมาก็ต้องตาย
อันนี้มันอาจจะไม่เกี่ยวกับที่เจ้าของกระทู้กลัวผีนะคะ แต่ตอนแรกเราก็กลัวเหมือนกัน ตอนเด็ก ๆ น่ะค่ะ โดนผู้ใหญ่ไซโคมาก ๆ ก็กลัว แต่พอโตมาแล้วก็เริ่มคิดได้ เรายังไม่เคยเห็นผีเลยอ่ะ ผีญาติสนิทมิตรสหายที่ตายไปก็ยังไม่เคยเห็น แล้วผีตามวัดตามถนนที่เราไม่เคยรู้จักมักคุ้น ไม่เคยพูดคุยหรือทำอะไรให้ (ถ้าผีมีจริงนะ) เราแค่ไปอยู่ที่เดียวกับเขา เขาจะมาอาฆาตมาดร้ายเราทำไม
ส่วนเรื่องที่ว่าฆ่าตัวตายน่ะค่ะ หลายคนก็ชอบไปด่าไปว่าเขาคิดสั้น แต่จริง ๆ คือเขาไม่คิดอะไรเลยต่างหาก ไม่ใช่ไม่คิด แต่เขาคิดไม่ได้ เพราะเขาอยู่ในภาวะที่จิตใจไม่ปกติ หรือที่เรียกว่าโรคซึมเศร้านั่นแหละ ไม่ใช่ทุกคนนะคะที่เข้มแข็ง เราอาจจะเคยเครียดเคยผ่านประสบการณ์ร้าย ๆ มา (เราก็เคย) แต่เรายังผ่านมันมาได้ ตอนแรก ๆ เราก็คิดเหมือนกันว่าทำไมคนพวกนั้นเขาถึงผ่านมันไม่ได้วะ เรายังทำได้เลย แต่เราไปตัดสินเขาไม่ได้หรอกค่ะ
ไม่ใช่ทุกคนที่ถูกเลี้ยงดูมาเหมือนกัน บางคนพ่อแม่ปล่อย ๆ อยู่กับเพื่อน ก็เป็นคนแกร่ง ๆ (แต่พอถูกเพื่อนหักหลัง มันก็เศร้านะ พ่อแม่ก็ไม่สนิท ไม่รู้จะไประบายกับใคร) หรือบางคนพ่อแม่เลี้ยงดูมาแบบประคยประหงม ไม่ค่อยได้ใช้ชีวิตกับเพื่อน ไม่มีเพื่อนสนิท ถ้าวันนึงพ่อแม่จากไปก็คงเศร้ามาก ๆ สถานการณ์ของแต่ละคนมันไม่เหมือนกันค่ะ เราไม่รู้ว่าเขาโตมายังไง เราไปคิดแทนเขาไม่ได้หรอก บางคนอาจจะไม่มีที่ไปจริง ๆ ความตายอาจเป็นทางเดียวที่จะทำให้เขาพ้นทุกข์ได้ มันก็มีนะคะ
เราอาจจะไม่เห็นด้วยกับการฆ่าตัวตาย (เราคนหนึ่งแหละที่มั่นใจว่าตัวเองจะไม่ฆ่าตัวตายเด็ดขาด) แต่เราก็อย่าไปตราหน้าคนที่เขาฆ่าตัวตายว่าเป็นพวกไสมอง คิดสั้น ไม่ใช้เหตุผลเลยค่ะ.. เขาอาจจะมีเหตุผลของเขาก็ได้
ถนนที่เจ้าของกระทู้ผ่านไปทำงาน ตึกทุกตึกที่เดินผ่าน มีคนตายทั้งนั้น
เราเป็นเอธิสนะคะ แต่ชอบ quote ของพระพุทธเจ้าอันนึง เราจำไม่ได้แล้วว่ามาจากชาดกเรื่องอะไร แต่คร่าว ๆ น่าจะประมาณว่ามีแม่คนหนึ่ง ซึ่งลูกตาย.. มั้ง เลยไปขอให้พระพุทธเจ้าช่วยชุบชีวิตลูก พระพุทธเจ้าก็บอกว่า ได้ แต่ต้องใช้วัตถุดิบ คือให้ไปขอเมล็ดผักอะไรสักอย่าง จากบ้านที่ไม่มีคนตาย ซึ่งพอแม่ไปถามบ้านไหน ๆ ทุกบ้านก็มีคนตายทั้งนั้น เลยเข้าใจว่าทุกคนเกิดมาก็ต้องตาย
อันนี้มันอาจจะไม่เกี่ยวกับที่เจ้าของกระทู้กลัวผีนะคะ แต่ตอนแรกเราก็กลัวเหมือนกัน ตอนเด็ก ๆ น่ะค่ะ โดนผู้ใหญ่ไซโคมาก ๆ ก็กลัว แต่พอโตมาแล้วก็เริ่มคิดได้ เรายังไม่เคยเห็นผีเลยอ่ะ ผีญาติสนิทมิตรสหายที่ตายไปก็ยังไม่เคยเห็น แล้วผีตามวัดตามถนนที่เราไม่เคยรู้จักมักคุ้น ไม่เคยพูดคุยหรือทำอะไรให้ (ถ้าผีมีจริงนะ) เราแค่ไปอยู่ที่เดียวกับเขา เขาจะมาอาฆาตมาดร้ายเราทำไม
ส่วนเรื่องที่ว่าฆ่าตัวตายน่ะค่ะ หลายคนก็ชอบไปด่าไปว่าเขาคิดสั้น แต่จริง ๆ คือเขาไม่คิดอะไรเลยต่างหาก ไม่ใช่ไม่คิด แต่เขาคิดไม่ได้ เพราะเขาอยู่ในภาวะที่จิตใจไม่ปกติ หรือที่เรียกว่าโรคซึมเศร้านั่นแหละ ไม่ใช่ทุกคนนะคะที่เข้มแข็ง เราอาจจะเคยเครียดเคยผ่านประสบการณ์ร้าย ๆ มา (เราก็เคย) แต่เรายังผ่านมันมาได้ ตอนแรก ๆ เราก็คิดเหมือนกันว่าทำไมคนพวกนั้นเขาถึงผ่านมันไม่ได้วะ เรายังทำได้เลย แต่เราไปตัดสินเขาไม่ได้หรอกค่ะ
ไม่ใช่ทุกคนที่ถูกเลี้ยงดูมาเหมือนกัน บางคนพ่อแม่ปล่อย ๆ อยู่กับเพื่อน ก็เป็นคนแกร่ง ๆ (แต่พอถูกเพื่อนหักหลัง มันก็เศร้านะ พ่อแม่ก็ไม่สนิท ไม่รู้จะไประบายกับใคร) หรือบางคนพ่อแม่เลี้ยงดูมาแบบประคยประหงม ไม่ค่อยได้ใช้ชีวิตกับเพื่อน ไม่มีเพื่อนสนิท ถ้าวันนึงพ่อแม่จากไปก็คงเศร้ามาก ๆ สถานการณ์ของแต่ละคนมันไม่เหมือนกันค่ะ เราไม่รู้ว่าเขาโตมายังไง เราไปคิดแทนเขาไม่ได้หรอก บางคนอาจจะไม่มีที่ไปจริง ๆ ความตายอาจเป็นทางเดียวที่จะทำให้เขาพ้นทุกข์ได้ มันก็มีนะคะ
เราอาจจะไม่เห็นด้วยกับการฆ่าตัวตาย (เราคนหนึ่งแหละที่มั่นใจว่าตัวเองจะไม่ฆ่าตัวตายเด็ดขาด) แต่เราก็อย่าไปตราหน้าคนที่เขาฆ่าตัวตายว่าเป็นพวกไสมอง คิดสั้น ไม่ใช้เหตุผลเลยค่ะ.. เขาอาจจะมีเหตุผลของเขาก็ได้
แสดงความคิดเห็น
ทำไมชอบฆ่าตัวตาย ที่คอนโด....คนอื่นเค้าลำบาก