เรื่องอายุของคัมภีร์ต่างๆ ในพระไตรปิฎก
ไม่มีคัมภีร์พุทธศาสนาฉบับใดที่เชื่อได้ว่า เขียนขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรในครั้งพุทธกาล แต่ข้อความในคัมภีร์ที่ตกมาถึงเราก็ถือว่าเป็นพุทธวจนะ ซึ่งบรรดาพระสาวกรุ่นแรกๆ หลายองค์ที่มีความสามารถนำเอาพุทธวจนะมาจำแนกหมวดหมู่ และประพันธ์เป็นคาถาเพื่อให้ง่ายในการทรงจำ
ในการสังคายนาพระไตรปิฎกแต่ละครั้งจะปรากฏว่า พระพุทธศาสนาแตกแยกเป็นหลายนิกายเพิ่มขึ้น การสังคายนาครั้งที่ ๔ ในศรีลังกา จึงมีการบันทึกข้อธรรมะเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นภาษาบาลี ซึ่งใช้ในพุทธศาสนาเถรวาทเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
พระไตรปิฎกจำแนกออกเป็น ๓ ปิฎก คือ
-->> พระวินัยปิฎก ประกอบด้วย
ก. สุตตวิภังค์ (มหาวิภังค์, ภิกขุนีวิภังค์,) ถือเป็นรุ่นเก่าที่สุด
ข. ขันธกะ (มหาวรรค, จุลวรรค)
ค. ปริวาร หรือปริวารปาฐะ เชื่อกันว่ารวบรวมขึ้นในลังกา
ส่วนสำคัญที่สุดและเก่าที่สุด คือ พระปาติโมกข์ ในมหาวิภังค์ ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติสำหรับภิกษุสงฆ์
-->> พระสุตตันตปิฎก ประกอบด้วย
ก. ทีฆนิกาย
ข. มัชฌิมนิกาย
ค. สังยุตตนิกาย
ง. อังคุตตรนิกาย
จ. ขุททกนิกาย
พระสุตตันตปิฎกสี่นิกายแรก ประกอบด้วยพระสูตรต่างๆ เป็นพระธรรมเทศนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบ้าง พระสาวกบ้าง
ส่วนต้นของแต่ละพระสูตรมักจะเล่าถึงสาเหตุของการแสดงพระธรรมเทศนา บางทีก็เป็นบทสนทนา พระสูตรมักจะเป็นร้อยแก้ว มีบางพระสูตรเท่านั้นที่เป็นร้อยกรอง บางสูตรก็ปนร้อยกรองในระหว่างกลางด้วย
ทีฆนิกาย ประกอบด้วยพระสูตรขนาดยาว มักจะเป็นเรื่องโต้แย้งกับความคิดที่มีมาก่อนพุทธศาสนาจะอุบัติ แสดงให้เห็นว่าน่าจะเป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนในระยะต้นของการประดิษฐานพระพุทธศาสนา และเป็นพระสูตรที่เก่าแก่มาก (เว้นพระสูตรที่มีคำว่า “มหา” นำหน้า ซึ่งอยู่ในเล่มที่ ๒ คือ มหาวรรค บางสูตรเข้าใจว่าเติมเข้ามา)
มัชฌิมนิกาย ประกอบด้วยพระสูตรซึ่งมีความยาวปานกลาง ถือเป็นพระสูตรที่เก่าแก่มากเช่นเดียวกับทีฆนิกาย พระสูตรในมัชฌิมนิกายนี้มีทั้งพระธรรมเทศนาและบทสนทนาธรรม เนื้อหาจะเกี่ยวกับหลักพุทธปรัชญาที่สำคัญ ๆ เช่นเรื่องอริยสัจ เรื่องกรรม นิพพาน และยังมีการแก้ทิฏฐิที่มีมาก่อน หรือที่เกิดขึ้นในครั้งพุทธกาลด้วย
สังยุตตนิกาย ประกอบด้วยพระสูตรที่เรียงตามหมวดบุคคลหรือข้อธรรม มีเรื่องประกอบ น่าจะได้รวบรวมขึ้นในสมัยที่พระพุทธและพระธรรมตั้งมั่นแล้ว
อังคุตตรนิกาย ประกอบด้วยพระสูตรที่เรียงตามจำนวนข้อธรรม แต่ละพระสูตรเขียนอย่างสั้นๆ เข้าใจว่าอยู่ในสมัยใกล้เคียงกับสังยุตตนิกาย หรืออาจจะอยู่ในยุคหลังกว่าเล็กน้อย คือในช่วงที่มีการเริ่มนับถือว่าพระพุทธเจ้าเป็นพระสัพพัญญู ลักษณะการรวบรวมอังคุตตรนิกายคล้ายคลึงกับวิธีการรวบรวมพระอภิธรรม
ขุททกนิกาย เป็นนิกายสุดท้าย มีลักษณะที่ต่างออกไป คือ ประกอบด้วยคัมภีร์ต่างๆ ที่มีเนื้อหาต่างกัน ๑๕ คัมภีร์ ได้แก่ ขุททกปาฐะ, ธรรมบท, อุทาน, อิติวุตตกะ, สุตตนิบาต, วิมานวัตถุ, เปตวัตถุ, เถรคาถา, เถรีคาถา, ชาดก, นิทเทส, ปฏิสัมภิทามรรค, อปทาน, พุทธวงศ์ และจริยาปิฎก คัมภีร์เหล่านี้รจนาขึ้นในช่วงเวลาที่ต่างกัน กล่าวคือ สุตตนิบาตและธรรมบทเก่าที่สุดในขุททกนิกาย ในสุตตนิบาตถือว่าปารายนวรรค และอัฏฐกวรรคเป็นพระสูตรที่เก่าแก่ที่สุด อาจจะเขียนก่อนพระสูตรอื่นทั้งหมด(๑)
ทั้งนี้พิจารณาจากภาษาที่ใช้ รองลงมาได้แก่ อิติวุตตกะ อุทาน นิทเทส ขุททกปาฐะ เถร-เถรีคาถา ส่วน อปทาน พุทธวงศ์ และจริยาปิฎก นั้น เข้าใจว่าแต่งขึ้นหลังคัมภีร์อื่นๆ (๒) โดยทั่วไปเชื่อกันว่า แต่งในช่วงระยะเวลาระหว่างการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๒ และ ๓ ในสมัยพระเจ้าอโศก
-->> พระอภิธรรมปิฎก มีเนื้อหากล่าวถึงหลักธรรมคล้ายคลึงกับพระสุตตันตปิฎก แต่อธิบายละเอียดกว่า ไม่ได้ยกตัวอย่างประกอบธรรมะ มีลักษณะเป็นตำรา คือมีการอธิบายและจำแนกศัพท์คล้ายๆ พจนานุกรม ประกอบด้วยคัมภีร์ ๗ คัมภีร์ คือ ธรรมสังคณี วิภังค์ ธาตุกถา บุคคลบัญญัติ กถาวัต
มก ปัฏฐานปกรณ์ หรือมหาปกรณ์ เชื่อกันว่าพระอภิธรรมเกิดขึ้นภายหลังพระสูตร และพระวินัย เพราะเมื่อมีการสังคายนาครั้งแรกมีกล่าวถึงพระวินัยและพระสูตร แต่ไม่มีการกล่าวถึงพระอภิธรรม ในบรรดาพระอภิธรรมทั้งหมด ถือว่าบุคคลบัญญัติเก่าแก่ที่สุด
อ่านต่อได้ที่:
https://www.gotoknow.org/posts/215849
อายุของคัมภีร์ต่างๆ ในพระไตรปิฎก
ไม่มีคัมภีร์พุทธศาสนาฉบับใดที่เชื่อได้ว่า เขียนขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรในครั้งพุทธกาล แต่ข้อความในคัมภีร์ที่ตกมาถึงเราก็ถือว่าเป็นพุทธวจนะ ซึ่งบรรดาพระสาวกรุ่นแรกๆ หลายองค์ที่มีความสามารถนำเอาพุทธวจนะมาจำแนกหมวดหมู่ และประพันธ์เป็นคาถาเพื่อให้ง่ายในการทรงจำ
ในการสังคายนาพระไตรปิฎกแต่ละครั้งจะปรากฏว่า พระพุทธศาสนาแตกแยกเป็นหลายนิกายเพิ่มขึ้น การสังคายนาครั้งที่ ๔ ในศรีลังกา จึงมีการบันทึกข้อธรรมะเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นภาษาบาลี ซึ่งใช้ในพุทธศาสนาเถรวาทเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
พระไตรปิฎกจำแนกออกเป็น ๓ ปิฎก คือ
-->> พระวินัยปิฎก ประกอบด้วย
ก. สุตตวิภังค์ (มหาวิภังค์, ภิกขุนีวิภังค์,) ถือเป็นรุ่นเก่าที่สุด
ข. ขันธกะ (มหาวรรค, จุลวรรค)
ค. ปริวาร หรือปริวารปาฐะ เชื่อกันว่ารวบรวมขึ้นในลังกา
ส่วนสำคัญที่สุดและเก่าที่สุด คือ พระปาติโมกข์ ในมหาวิภังค์ ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติสำหรับภิกษุสงฆ์
-->> พระสุตตันตปิฎก ประกอบด้วย
ก. ทีฆนิกาย
ข. มัชฌิมนิกาย
ค. สังยุตตนิกาย
ง. อังคุตตรนิกาย
จ. ขุททกนิกาย
พระสุตตันตปิฎกสี่นิกายแรก ประกอบด้วยพระสูตรต่างๆ เป็นพระธรรมเทศนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบ้าง พระสาวกบ้าง
ส่วนต้นของแต่ละพระสูตรมักจะเล่าถึงสาเหตุของการแสดงพระธรรมเทศนา บางทีก็เป็นบทสนทนา พระสูตรมักจะเป็นร้อยแก้ว มีบางพระสูตรเท่านั้นที่เป็นร้อยกรอง บางสูตรก็ปนร้อยกรองในระหว่างกลางด้วย
ทีฆนิกาย ประกอบด้วยพระสูตรขนาดยาว มักจะเป็นเรื่องโต้แย้งกับความคิดที่มีมาก่อนพุทธศาสนาจะอุบัติ แสดงให้เห็นว่าน่าจะเป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนในระยะต้นของการประดิษฐานพระพุทธศาสนา และเป็นพระสูตรที่เก่าแก่มาก (เว้นพระสูตรที่มีคำว่า “มหา” นำหน้า ซึ่งอยู่ในเล่มที่ ๒ คือ มหาวรรค บางสูตรเข้าใจว่าเติมเข้ามา)
มัชฌิมนิกาย ประกอบด้วยพระสูตรซึ่งมีความยาวปานกลาง ถือเป็นพระสูตรที่เก่าแก่มากเช่นเดียวกับทีฆนิกาย พระสูตรในมัชฌิมนิกายนี้มีทั้งพระธรรมเทศนาและบทสนทนาธรรม เนื้อหาจะเกี่ยวกับหลักพุทธปรัชญาที่สำคัญ ๆ เช่นเรื่องอริยสัจ เรื่องกรรม นิพพาน และยังมีการแก้ทิฏฐิที่มีมาก่อน หรือที่เกิดขึ้นในครั้งพุทธกาลด้วย
สังยุตตนิกาย ประกอบด้วยพระสูตรที่เรียงตามหมวดบุคคลหรือข้อธรรม มีเรื่องประกอบ น่าจะได้รวบรวมขึ้นในสมัยที่พระพุทธและพระธรรมตั้งมั่นแล้ว
อังคุตตรนิกาย ประกอบด้วยพระสูตรที่เรียงตามจำนวนข้อธรรม แต่ละพระสูตรเขียนอย่างสั้นๆ เข้าใจว่าอยู่ในสมัยใกล้เคียงกับสังยุตตนิกาย หรืออาจจะอยู่ในยุคหลังกว่าเล็กน้อย คือในช่วงที่มีการเริ่มนับถือว่าพระพุทธเจ้าเป็นพระสัพพัญญู ลักษณะการรวบรวมอังคุตตรนิกายคล้ายคลึงกับวิธีการรวบรวมพระอภิธรรม
ขุททกนิกาย เป็นนิกายสุดท้าย มีลักษณะที่ต่างออกไป คือ ประกอบด้วยคัมภีร์ต่างๆ ที่มีเนื้อหาต่างกัน ๑๕ คัมภีร์ ได้แก่ ขุททกปาฐะ, ธรรมบท, อุทาน, อิติวุตตกะ, สุตตนิบาต, วิมานวัตถุ, เปตวัตถุ, เถรคาถา, เถรีคาถา, ชาดก, นิทเทส, ปฏิสัมภิทามรรค, อปทาน, พุทธวงศ์ และจริยาปิฎก คัมภีร์เหล่านี้รจนาขึ้นในช่วงเวลาที่ต่างกัน กล่าวคือ สุตตนิบาตและธรรมบทเก่าที่สุดในขุททกนิกาย ในสุตตนิบาตถือว่าปารายนวรรค และอัฏฐกวรรคเป็นพระสูตรที่เก่าแก่ที่สุด อาจจะเขียนก่อนพระสูตรอื่นทั้งหมด(๑)
ทั้งนี้พิจารณาจากภาษาที่ใช้ รองลงมาได้แก่ อิติวุตตกะ อุทาน นิทเทส ขุททกปาฐะ เถร-เถรีคาถา ส่วน อปทาน พุทธวงศ์ และจริยาปิฎก นั้น เข้าใจว่าแต่งขึ้นหลังคัมภีร์อื่นๆ (๒) โดยทั่วไปเชื่อกันว่า แต่งในช่วงระยะเวลาระหว่างการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๒ และ ๓ ในสมัยพระเจ้าอโศก
-->> พระอภิธรรมปิฎก มีเนื้อหากล่าวถึงหลักธรรมคล้ายคลึงกับพระสุตตันตปิฎก แต่อธิบายละเอียดกว่า ไม่ได้ยกตัวอย่างประกอบธรรมะ มีลักษณะเป็นตำรา คือมีการอธิบายและจำแนกศัพท์คล้ายๆ พจนานุกรม ประกอบด้วยคัมภีร์ ๗ คัมภีร์ คือ ธรรมสังคณี วิภังค์ ธาตุกถา บุคคลบัญญัติ กถาวัตมก ปัฏฐานปกรณ์ หรือมหาปกรณ์ เชื่อกันว่าพระอภิธรรมเกิดขึ้นภายหลังพระสูตร และพระวินัย เพราะเมื่อมีการสังคายนาครั้งแรกมีกล่าวถึงพระวินัยและพระสูตร แต่ไม่มีการกล่าวถึงพระอภิธรรม ในบรรดาพระอภิธรรมทั้งหมด ถือว่าบุคคลบัญญัติเก่าแก่ที่สุด
อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/215849