สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีการขุดพบแหล่งร่อนทองที่ตำบลบางสะพาน เมืองกุยบุรีครับ ส่วนกลางเลยส่งคนเข้าไปร่อนทองใน พ.ศ.๒๒๙๐ ได้ทองมาถึง ๙๐ ชั่ง ทองที่ได้มาพระเจ้าบรมโกศโปรดให้เอาไปประดับมณฑปพระพุทธบาทสระบุรี และปิดทองที่นาค(เข้าใจว่าคือบันไดนาคที่นั่น) นอกจากนี้แล้วก็ยังมีหลักฐานของฝรั่งเศสระบุว่าทรงให้หล่อพระพุทธบาทจำลองกับดอกบัวทองขึ้นมาด้วย สันนิษฐานว่าคงเอาไปใช้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามอีกหลายแห่ง บางสะพานจึงเป็นแหล่งร่อนทองชั้นดีมานับแต่นั้น
แต่ก็เข้าใจว่าอยุทธยาน่าจะมีแหล่งทองอื่นอยู่ก่อนแล้ว ดูจากเครื่องทองจำนวนมากที่พบในกรุวัดราชบูรณะ ที่สร้างสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราช(เจ้าสามพญา) สมัยอยุทธยาตอนต้น แต่จะอยู่ที่ไหนอันนี้ผมไม่ทราบครับ แต่เข้าใจว่าน่าจะมีอยู่มากพอดู
ส่วนที่ว่าวัดวังของอยุทธยาถูกหุ้มด้วยทองทั้งเมืองคงไม่จริงครับ น่าจะมีการปิดทองประดับเครื่องบนหลังคาเท่านั้นครับ แล้วก็นอกจากผนังด้านนอกอาคารสำคัญบางแห่ง ผนังอาคารอื่นๆส่วนใหญ่น่าจะเป็นผนังฉาบปูนธรรมดา หลังคาก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่าทำด้วยทอง โดยหลังคาพระมหาปราสาท ๔ องค์สมัยอยุทธยาทำจากดีบุก บางแห่งอย่างพระที่นั่งสุทธาสวรรค์มหาปราสาทที่ลพบุรีหลังคาเป็นกระเบื้องเคลือบสีเหลือง ซึ่งมีชาวฝรั่งเศสชื่อนิโกลาส์ แชรแวส(Nicolas Gervaise)ได้บันทึกไว้ว่า "คล้ายกับทองคำมาก ยามเมื่อต้องแสงตะวัน"
นอกจากนั้นแล้วก็น่าจะมีแค่การปิดทองหุ้มองค์พระเจดีย์หรือยอดพระปรางค์บางองค์
เรื่องการประดับผนังอาคารภายนอก ซิมง เดอ ลา ลูแบร์(Simon de la Loubère) ทูตฝรั่งเศสที่เข้ามาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์กล่าวว่า "แต่มาตรแม้นว่าภายนอกพระราชมณเฑียรสยามจะไม่มีเครื่องทาทองอย่างใดปรากฏให้เห็นและภายในก็มีเครื่องทาทองเพียงเล็กน้อยก็ยังไม่เว้นที่จะเรียกพระที่นั่งองค์นั้นว่า ปราสาททอง(Prassat-Tong) เพราะชาวสยามถนัดที่จะตั้งนามอันเลอเลิศให้แก่ทุกสิ่งที่เขายกย่องนั่นเอง")
แต่นิโกลาส์ แชร์แวสชาวฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาอยุทธยาสมัยสมเด็จพระนารายณ์เช่นกันได้บรรยายถึงพระที่นั่งองค์ใหม่ที่เพิ่งสร้าง(เข้าใจว่าคือพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์)ว่า "ทองคำที่ประดิดประดับไว้ให้รุ่งระยับอยู่ในที่ตั้งพันแห่งนั้นเป็นที่สังเกตได้โดยง่ายจากพระที่นั่งองค์อื่นๆ" นอกจากนี้ก็บรรยายถึงพระราชฐานชั้นที่สองในพระราชวังที่ลพบุรีว่า "ทองคำแพรวพราวไปทั่วทุกแห่งหน"
เรื่องการหุ้มด้านนอกของอาคารด้วยทองpy'มีปรากฏในจดหมายเหตุของไคสแบร์ต เฮ็ก(Gijsbert Heeck)ชาวฮอสันดาที่เข้ามาในกรุงศรีอยุทธยาในพ.ศ.๒๑๙๘ ปลายรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โดยเฮ็กได้กล่าวถึงการปิดทองนอกปราสาทว่า '...ในระหว่างทรงให้สร้างพระที่นั่งใหม่(ซึ่งน่าจะเป็นพระที่นั่งวิหารสมเด็จ)มีการระบุว่า อาคารจะต้องปกคลุมด้วยแผ่นทองหนาทุกด้านเพื่อให้มองเห็นคล้ายสวรรค์ที่เรืองอุไรข้อนี้สอดคล้องกับพระนามของพระองค์ดังที่กล่าวมาก่อนแล้ว...'
ส่วนในสมัยพระเจ้าอยู่บรมโกศ ปรากฏหลักฐานในเอกสารของราชทูตลังกาบรรยายพระราชวังสมัยนั้นว่า "แลเห็นปราสาทราชมณเฑียรล้วนแต่ปิดทองอร่าม...ที่ประตูก็ประดับประดาด้วยสีทองแลสีอื่นๆ เมื่อล่วงประตูชั้นที่ ๒ เจ้าไปก็ถึงพระที่นั่ง (สรรเพ็ชญ์ปราสาท) สองข้างฐานมุขเด็จพระที่นั่งมีรูปภาพต่างๆ ตั้งไว้ คือ รูปหมี รูปราชสีห์ รูปรากษส รูปโทวาริก รูปนาค รูปพิราวะยักษ์ รูปเหล่านี้ล้วนปิดทองตั้งอย่างละคู่...
...ข้างฝ่ายขวา (พระที่นั่งสรรเพ็ชญ์ปราสาท) มีโรงช้างปิดทอง มีพระยาช้างยืนแท่นปิดทอง ๑...มีโรงลายทองยืนม้าต้นหลายตัว...ประตูพระราชวังยอดปิดทองประดับด้วยดอกและเครือไม้ เมื่อแลดูกลับไปเห็นพระที่นั่งหลังคา ๕ ชั้น มียอดอันปิดทอง ต่อพระที่นั่งออกมาทั้ง ๔ มุมมีหอสูง ๕ ชั้น ล้วนมีหน้าต่างลูกกรง และยังพระราชมณเฑียรอีกหลายหลังล้วนปิดทองและทำหลังคาเป็น ๒ ชั้น"
การปิดทองประดับกระจกนอกพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
สมัยอยุทธยาอาจจะมีการปิดทองอาคารที่สำคัญแบบนี้ก็เป็นได้ครับ
การปิดทองนอกอาคารผมคิดว่าน่าจะเป็นการเขียนลายทองเป็นส่วนใหญ่มากกว่าจะปิดเป็นทองคำล้วนไปหมดครับ อาจจะมีอาคารบางแห่งที่ปิดทองประดับกระจกแบบอุโบสถวัดพระแก้วก็ได้(สันนิษฐานว่าผนังด้านนอกพระที่นั่งวิหารสมเด็จน่าจะใกล้เคียงกัน) ราชทูตลังกายังกล่าวถึงการปิดทองอีกหลายที่ เช่นการปิดทองเจดีย์ และรูปปั้นต่างๆในวัดมหาธาตุ แต่ไม่ได้กล่าวถึงการปิดทองพระปรางค์ประธาน กล่าวแค่ว่ายอดพระปรางค์(นพศูล)ทำด้วยทองคำเท่านั้น ขนาดวัดมหาธาตุซึ่งเป็นประธานของกรุงยังไม่ปรากฏการปิดทองที่องค์พระปรางค์ ผมเลยสันนิษฐานว่าสมัยอยุทธยาไม่น่าจะปิดทองที่พระปรางค์ครับ
เทียบจากหลักฐานของลา ลูแบร์กับราชทูตลังกามีความแตกต่างกันมาก เป็นไปได้ว่าในสมัยปลายอยุทธยาน่าจะมีแหล่งทองมากขึ้น อย่างที่บางสะพานที่ได้กล่าวมาแล้วจึงปรากฏการประดับประดาอาคารด้วยทองมากขึ้นมาก แต่ก็น่าจะจำกัดเฉพาะในวังหลวงและวัดสำคัญเท่านั้นครับ
แต่ก็เข้าใจว่าอยุทธยาน่าจะมีแหล่งทองอื่นอยู่ก่อนแล้ว ดูจากเครื่องทองจำนวนมากที่พบในกรุวัดราชบูรณะ ที่สร้างสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราช(เจ้าสามพญา) สมัยอยุทธยาตอนต้น แต่จะอยู่ที่ไหนอันนี้ผมไม่ทราบครับ แต่เข้าใจว่าน่าจะมีอยู่มากพอดู
ส่วนที่ว่าวัดวังของอยุทธยาถูกหุ้มด้วยทองทั้งเมืองคงไม่จริงครับ น่าจะมีการปิดทองประดับเครื่องบนหลังคาเท่านั้นครับ แล้วก็นอกจากผนังด้านนอกอาคารสำคัญบางแห่ง ผนังอาคารอื่นๆส่วนใหญ่น่าจะเป็นผนังฉาบปูนธรรมดา หลังคาก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่าทำด้วยทอง โดยหลังคาพระมหาปราสาท ๔ องค์สมัยอยุทธยาทำจากดีบุก บางแห่งอย่างพระที่นั่งสุทธาสวรรค์มหาปราสาทที่ลพบุรีหลังคาเป็นกระเบื้องเคลือบสีเหลือง ซึ่งมีชาวฝรั่งเศสชื่อนิโกลาส์ แชรแวส(Nicolas Gervaise)ได้บันทึกไว้ว่า "คล้ายกับทองคำมาก ยามเมื่อต้องแสงตะวัน"
นอกจากนั้นแล้วก็น่าจะมีแค่การปิดทองหุ้มองค์พระเจดีย์หรือยอดพระปรางค์บางองค์
เรื่องการประดับผนังอาคารภายนอก ซิมง เดอ ลา ลูแบร์(Simon de la Loubère) ทูตฝรั่งเศสที่เข้ามาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์กล่าวว่า "แต่มาตรแม้นว่าภายนอกพระราชมณเฑียรสยามจะไม่มีเครื่องทาทองอย่างใดปรากฏให้เห็นและภายในก็มีเครื่องทาทองเพียงเล็กน้อยก็ยังไม่เว้นที่จะเรียกพระที่นั่งองค์นั้นว่า ปราสาททอง(Prassat-Tong) เพราะชาวสยามถนัดที่จะตั้งนามอันเลอเลิศให้แก่ทุกสิ่งที่เขายกย่องนั่นเอง")
แต่นิโกลาส์ แชร์แวสชาวฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาอยุทธยาสมัยสมเด็จพระนารายณ์เช่นกันได้บรรยายถึงพระที่นั่งองค์ใหม่ที่เพิ่งสร้าง(เข้าใจว่าคือพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์)ว่า "ทองคำที่ประดิดประดับไว้ให้รุ่งระยับอยู่ในที่ตั้งพันแห่งนั้นเป็นที่สังเกตได้โดยง่ายจากพระที่นั่งองค์อื่นๆ" นอกจากนี้ก็บรรยายถึงพระราชฐานชั้นที่สองในพระราชวังที่ลพบุรีว่า "ทองคำแพรวพราวไปทั่วทุกแห่งหน"
เรื่องการหุ้มด้านนอกของอาคารด้วยทองpy'มีปรากฏในจดหมายเหตุของไคสแบร์ต เฮ็ก(Gijsbert Heeck)ชาวฮอสันดาที่เข้ามาในกรุงศรีอยุทธยาในพ.ศ.๒๑๙๘ ปลายรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โดยเฮ็กได้กล่าวถึงการปิดทองนอกปราสาทว่า '...ในระหว่างทรงให้สร้างพระที่นั่งใหม่(ซึ่งน่าจะเป็นพระที่นั่งวิหารสมเด็จ)มีการระบุว่า อาคารจะต้องปกคลุมด้วยแผ่นทองหนาทุกด้านเพื่อให้มองเห็นคล้ายสวรรค์ที่เรืองอุไรข้อนี้สอดคล้องกับพระนามของพระองค์ดังที่กล่าวมาก่อนแล้ว...'
ส่วนในสมัยพระเจ้าอยู่บรมโกศ ปรากฏหลักฐานในเอกสารของราชทูตลังกาบรรยายพระราชวังสมัยนั้นว่า "แลเห็นปราสาทราชมณเฑียรล้วนแต่ปิดทองอร่าม...ที่ประตูก็ประดับประดาด้วยสีทองแลสีอื่นๆ เมื่อล่วงประตูชั้นที่ ๒ เจ้าไปก็ถึงพระที่นั่ง (สรรเพ็ชญ์ปราสาท) สองข้างฐานมุขเด็จพระที่นั่งมีรูปภาพต่างๆ ตั้งไว้ คือ รูปหมี รูปราชสีห์ รูปรากษส รูปโทวาริก รูปนาค รูปพิราวะยักษ์ รูปเหล่านี้ล้วนปิดทองตั้งอย่างละคู่...
...ข้างฝ่ายขวา (พระที่นั่งสรรเพ็ชญ์ปราสาท) มีโรงช้างปิดทอง มีพระยาช้างยืนแท่นปิดทอง ๑...มีโรงลายทองยืนม้าต้นหลายตัว...ประตูพระราชวังยอดปิดทองประดับด้วยดอกและเครือไม้ เมื่อแลดูกลับไปเห็นพระที่นั่งหลังคา ๕ ชั้น มียอดอันปิดทอง ต่อพระที่นั่งออกมาทั้ง ๔ มุมมีหอสูง ๕ ชั้น ล้วนมีหน้าต่างลูกกรง และยังพระราชมณเฑียรอีกหลายหลังล้วนปิดทองและทำหลังคาเป็น ๒ ชั้น"
การปิดทองประดับกระจกนอกพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
สมัยอยุทธยาอาจจะมีการปิดทองอาคารที่สำคัญแบบนี้ก็เป็นได้ครับ
การปิดทองนอกอาคารผมคิดว่าน่าจะเป็นการเขียนลายทองเป็นส่วนใหญ่มากกว่าจะปิดเป็นทองคำล้วนไปหมดครับ อาจจะมีอาคารบางแห่งที่ปิดทองประดับกระจกแบบอุโบสถวัดพระแก้วก็ได้(สันนิษฐานว่าผนังด้านนอกพระที่นั่งวิหารสมเด็จน่าจะใกล้เคียงกัน) ราชทูตลังกายังกล่าวถึงการปิดทองอีกหลายที่ เช่นการปิดทองเจดีย์ และรูปปั้นต่างๆในวัดมหาธาตุ แต่ไม่ได้กล่าวถึงการปิดทองพระปรางค์ประธาน กล่าวแค่ว่ายอดพระปรางค์(นพศูล)ทำด้วยทองคำเท่านั้น ขนาดวัดมหาธาตุซึ่งเป็นประธานของกรุงยังไม่ปรากฏการปิดทองที่องค์พระปรางค์ ผมเลยสันนิษฐานว่าสมัยอยุทธยาไม่น่าจะปิดทองที่พระปรางค์ครับ
เทียบจากหลักฐานของลา ลูแบร์กับราชทูตลังกามีความแตกต่างกันมาก เป็นไปได้ว่าในสมัยปลายอยุทธยาน่าจะมีแหล่งทองมากขึ้น อย่างที่บางสะพานที่ได้กล่าวมาแล้วจึงปรากฏการประดับประดาอาคารด้วยทองมากขึ้นมาก แต่ก็น่าจะจำกัดเฉพาะในวังหลวงและวัดสำคัญเท่านั้นครับ
แสดงความคิดเห็น
สมัยอยุธยาไทยมีทองเยอะเเค่ไหนคะ ไปขุดทองจากตรงไหนกัน เเละจริงไหมคะที่เขาว่าวัด วังของไทยถูกหุ้มด้วยทองทั้งเมืองเลย