เรียนเล่นกินเที่ยว “อะราวยูเค” อีพี 1: จัดการชีวิตให้ได้เรียนนอกและจัดการคอร์สเรียนและตรวจ IOM

สวัสดีค่ะ จขกท. เขียนกระทู้นี้ขึ้นมาเพราะอยากแบ่งปันและแชร์ประสบการณ์ต่างๆที่ได้เจอะเจอมากับการเตรียมตัวไปเรียนปริญญาโทที่อังกฤษ เพื่อเป็นแนวทางให้สำหรับคนที่สนใจ อย่างแรกขอแทนตัวเองว่า "เรา" ขอบอกก่อนนะคะ เราเองยังไม่ได้ใช้ชีวิตหรือเรียนอยู่ที่อังกฤษในขณะที่เขียนตัวเราเองอยู่ในขั้นตอนการเตรียมตัว ที่เขียนกระทู้นี้ขึ้นมาเพราะไม่อยากปล่อยไว้นานเดี๋ยวจะลืมขั้นตอนต่างๆซะหมด มาเริ่มกันเลยนะคะ ^^

ตอนที่ 1 : จัดการชีวิตให้ได้เรียนนอก
        หลังจากเรียนจบปริญญาตรี นั่งๆนอนๆช่วยที่บ้านทำงานได้สักระยะ เราก็มีความฝันอยากจะไปเรียนนอก  อยากลองไปใช้ชีวิตคนเดียว เรียน เที่ยวแบกเป้ เป็นประสบการณ์ที่หาได้ยาก อย่างแรก…เราต้องจัดการชีวิตตัวเองด้วยการเริ่มศึกษาหาข้อมูลและเตรียมการเพื่อสมัครเรียน เรามาดูเอกสารต่างๆที่เราต้องจัดการก่อนเลยนะคะ
•    ใบรายงานผลการศึกษา (Transcript)
•    ใบรับรองการจบการศึกษา (Certificate) *กรณียังไม่ได้ใบจบจากสภานะคะ
•    ผลสอบภาษาอังกฤษ (IELTS)
•    จดหมายรับรอง 2 ฉบับ จากอาจารย์มหาวิทยาลัย (Recommendation letters) กรณีทำงานขอจากบริษท์ค่ะ
•    Statement of purpose (SOP) ให้เขียนแนะนำตัวเอง บอกเล่าถึงประสบการณ์ต่างๆและระบุสาขาที่เราอยากเรียน เพราะอะไร แรงบันดาลใจต่างๆ อย่างน้อย 1 หน้ากระดาษเลยค่ะ โฮกๆๆๆ
•    หนังสือเดินทาง (Passport)

     ต่อจากนี้เราก็เลือกเอเจนดีๆสักที่ เพื่อทำการขอข้อมูลหลักสูตรและมหาวิทยาลัยที่เราสนใจ แนะนำว่าดูมหาวิทยาลัยที่เราสนใจก่อนแล้วค่อยเลือกเอเจนว่าเอเจนนั้นมีข้อมูลมหาวิทยาลัยที่เราสนใจหรือเปล่า หลังจากติดต่อเอเจนผ่านไปไม่นานเราก็ได้พี่ๆที่คอยให้ข้อมูลเรื่องมหาวิทยาลัยกับเรา เพราะว่าเพื่อนเราก็ติดต่อที่นี่เหมือนกัน ทุกอย่างๆเลยดูง่ายและราบรื่นมากๆๆ
     ขอแนะนำนะคะ การเลือกมหาวิทยาลัยให้เลือกจากโครงสร้างหลักสูตร เนื้อหาของวิชาและเมืองหรือสิ่งแวดล้อมต่างๆประกอบด้วยค่ะ ไม่ใช่เราเลือกเพราะความดังหรือชื่อเสียงเพียงอย่างเดียวน้า เราต้องใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นแรมปีเลยนะคะ   ส่วนตัวเราก็ใช้เวลาเลือกหลายเดือนที่เดียว ตอนแรกคาดว่าจะสมัครเรียนให้ทันช่วงเดือนกันยายน 2558 แต่แล้วเมื่อต้นปีที่ผ่านมาก็ได้เกิดการเปลี่ยนกฎวีซ่าและระบบการสอบไอเอลต่างๆทำให้ไม่สามารถที่จะไปเรียนในรอบกันยายน 2558 ได้ทัน เราเศร้าใจมาก!!!! เพราะเราเสียโอกาสทั้งมหาวิทยาลัยที่เราอยากเข้าเพราะมหาวิทยาลัยนี้ไม่เปิดรับสมัครในรอบมกราคม 2559 (จากข้อมูลที่เช็คตอนนั้น)
     วันเวลาผ่านไปเร็วอย่างกับโกหกเราได้ออฟเฟอร์จากมหาวิทยาลัยแห่งนึงที่เราเองก็สนใจไว้แต่แรกแล้วรู้สึกดีใจมากที่จะได้ไปซักที (ไม่ใช่แหระ555) มหาวิทยาลัยแห่งนั้นก็คือ “Bournemouth University” ฮู่เล่!!!!อย่าพึ่งดีใจไปค่ะ เรื่องยังไม่จบหรือง่ายดายอย่างที่คิด ขอเกริ่นเกี่ยวกับตัวมหาวิทยาลัยแห่งนี้ก่อนนะคะ ต่อไปจะขอเรียกสั้นๆว่า BU ที่เราตัดสินใจเลือกที่จะไปเรียนที่นี่เพราะเหตุผลหลายๆข้อ ข้อแรก BU ค่อนข้างมีชื่อเสียงและเก่งในด้านนี้ เอ๊ะ!อย่าพึ่งเข้าใจผิดนะคะ ไหนบอกว่าอย่าเลือกมหาวิทยาลัยจากชื่อเสียงใช่มั้ยคะ เหตุผลของเราก็คือ BU มีชื่อเสียงด้านนี้ แต่เป็นมหาวิทยาลัยกลางๆที่เด็กๆพี่ๆน้องๆบางคนเกรดเฉลี่ยไม่สูงนักก็ยังพอลุ้นที่จะได้เรียนกับมหาวิทยาลัยดีๆการเรียนการสอนที่ดังในสาขาที่เราต้องการเรียนค่ะ ข้อสอง BU มีให้เลือกทำ placement หรือการฝึกงานจำนวน 30 สัปดาห์ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเลยค่ะ ดีใช่ไหมล่ะ มาดูข้อสุดท้าย บอร์นมัธเป็นเมืองทางใต้ที่ติดกับทะเลและเป็นเมืองท่องเที่ยว อากาศค่อนข้างอบอุ่นและเหมาะสมสุดๆกับหลักสูตรที่เราจะไปเรียน เหตุผลแค่สามข้อ ก็เพียงพอแล้วเนอะ มาดูกันว่าตอนหน้า เราจะต้องจัดการกับชีวิตอะไรอีก

Credit by Bournemouth University Department of Tourism and Hospitality


ตอนที่ 2 : จัดการชีวิตกับคอร์สเรียนและตรวจ IOM

      กลับมาต่อกับวิธีการจัดการชีวิตและคอร์สเรียนต่อไป อย่างแรกการสมัครคอร์สเรียนที่เรียกว่า Pre-sessional course สำหรับคนที่สอบไอเอลไม่ถึงเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนดค่ะ

ตัวอย่างระยะเวลาเรียนตามผลสอบภาษาอังกฤษที่เราทำได้ค่ะ ระยะเวลาขึ้นอยู่กับทางมหาวิทยาลัยด้วยนะคะ



หลังจากปรึกษาพี่ๆที่คอยให้ข้อมูลและดูจากผลภาษาของเราเองนั้นก็ได้ทำการกรอกใบสมัครคอร์สพรีภาษากับทางมหาวิทยาลัย BU ได้ทำงานร่วมกับ Kaplan ค่ะ สำหรับคนที่ต้องปรับภาษาให้ถึงเกณฑ์ก่อนน้า มีตัวอย่างใบสมัครให้ดูค่ะ


ตรงนี้พี่ๆที่คอยดูแลจะเป็นคนกรอกรายละเอียดทั้งหมดให้นะคะและพี่ๆจะส่งให้เราตรวจดูรายละเอียดอีกครั้ง เราต้องเช็คอีกครั้งเพื่อความแน่ใจและถูกต้องครบถ้วนค่ะ หลังจากนั้นพี่ๆจะเป็นคนส่งใบสมัครให้เองค่ะ
เม่าออกรถ


มาต่อที่ขั้นตอนต่อไปนั่นคือการจองคิวตรวจปอดหรือ IOM น่านนเอง!!

การตรวจปอด ขั้นตอนแรกคือ โทรไปนัดตรวจปอดกับศูนย์ IOM  เบอร์โทรศัพท์ 02-2347950 – 5 หรือทำการจองออนไลน์ เริ่มต้นด้วยการเข้าเว็ป https://register-uktb.iom.int/uktbdp-register/login.jsp   จะขึ้นหน้าหน้าเว็ปตามรูปเลยนะคะ

ขั้นตอนแรกกด Register Now  หลังจากกดเข้ามาจะเจอกับหน้านี้

กรอกรายละเอียดให้ครบถ้วน ขอย้ำนิดนึ่งนะคะตรง Visa type ให้เลือกเป็น Student without scholarship สำหรับคนที่ไปด้วยทุนส่วนตัวค่ะ เสร็จแล้วกด Next เพื่อกรอกในหน้าถัดไปค่ะ

กรอกข้อมูลส่วนตัวให้ครบและถูกต้องนะคะ (ในรูปไม่ใช้ข้อมูลจริงค่ะ) ในขั้นตอนต่อไป

กรอกที่อยู่มหาวิทยาลัยที่เราจะเข้าเรียน ถ้าไม่รู้ที่อยู่กรอกแค่ชื่อมหาวิทยาลัยก็ได้ค่ะ ในขั้นตอนต่อไป

กรอกข้อมูลตามจริงค่ะ ขั้นตอนต่อไป

เลือกวันเวลาที่จะเข้าตรวจปอดค่ะ แนะนำให้เลือกเช้าหน่อยนะคะหรือเช้าสุดไปเลยดีที่สุดค่ะ เพราะอะไรอย่างนั้นหรือ เดี๋ยวเราจะมาเฉลยในตอนหน้า เลือกวันเวลาแล้ว กด Save และในขั้นตอนต่อไป

สังเกตุในช่องสีเหลืองนะคะ ให้เราเซฟรูปหรือจดหมายเลข Reference ID , Username and Password (ใช้ในการเข้าดูข้อมูลกรนัดตรวจค่ะ) หลังจากนั้นเรานำ User และ Password กรอกในช่อง Log in ได้เลยค่ะ

กดเลือกตรง Application Information ข้อมูลที่เรากรอกทั้งหมดจะปรากฏขึ้นในหน้านี้ค่ะ เน้นย้ำ!!!จด Reference ID วันเวลานัดหมายไว้ด้วยนะคะ เพราะเราต้องใช้ตอนไปตรวจปอดวันจริงค่ะ

เป็นไงบ้างคะ ขั้นตอนต่างๆสำหรับการจัดการชีวิตให้ได้ไปเรียนต่อ ไม่ง่ายเลยใช่ไหมละคะ เกือบตายกันก่อนได้ไปเลยทีเดียว สูดหายใจลึกๆค่ะในตอนหน้าเราจะพูดถึงการไปตรวจปอดหรือ IOM ในวันจริงกันค่ะ พร้อมมั้ยคะ????????
อัศวินขี่ม้าขาว


ตอนที่ 3: จัดการเดินทางไปตรวจปอดที่ศูนย์ IOM

          มาต่อกันด้วยจัดการสละเวลาไปตรวจปอดที่ศูนย์ IOM ซึ่งอยู่ที่ อาคารเกษมกิจ ชั้น 8
การเดินทางมี 2 ช่องทางที่สะดวกและแต่ตัวบุคคลไป
1.    เดินทางโดยรถไฟฟ้าลงสถานีศาลาแดง ศูนย์ IOM อยู่ฝั่งเดียวกับโรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน  (อาคารเกษมกิจอยู่ตรงข้ามตึกซีพี)
2.    รถยนต์ส่วนตัวสามารถจอดที่โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน (พร้อมเลือกตตรวจปอดที่นี่คะ)

            เมื่อถึงวันนัดควรไปก่อนเวลาประมาณ 10 นาที สิ่งที่ต้องนำติดตัวไปด้วยคือ
1.           บัตรประชาชนตัวจริง และ สำเนาบัตรประชาชน
2.           Passport ตัวจริง และ สำเนา
3.           รูปถ่ายฉากหลังสีขาว 2 นิ้ว 2 รูป (อาจจะได้ใช้หรือไม่ขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่)
4.           ค่าตรวจ 3300 บาท

   วันจริงมาถึงเรานำรถจอดที่โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน เดินจากลานจอดรถสู่ด้านหน้าของโรงพยาบาลเลี้ยวซ้ายเพื่อไปอาคารเกษมกิจเดินมาไม่ไกลอาคารเกษมกิจอยู่ตรงข้ามตึกซีพี ก่อนขึ้นลิฟต้องทำการแลกบัตรเพื่อเข้าสู่อาคารก่อน จากนั้นขึ้นมาชั้น 8 จะเจอกับศูนย์ IOM จะมีพี่ยามของศูนย์น่ารักคอยให้บริการอยู่ พี่ยามจะถามถึง Reference ID ที่เราได้จากการจองออนไลน์ทางเว็ปไซส์แล้วกดบัตรคิวให้ จากนั้นเราก็เข้ามานั่งรอคิวด้านในพร้อมทั้งเตรียมนำเอกสารต่างๆที่บอกไปข้างต้นออกมารอไว้ได้เลยค่ะ



เรานัดรอบเช้าสุดคือ 8.00 น. ไปถึงประมาณ 7โมงกว่าๆ ได้คิวที่ 2 ค่ะ มีคนไปเช้ากว่าเราอีกสุดยอดจริงๆค่ะ อิอิ ^^  รอไม่นาน เจ้าหน้าที่ก็เรียกคิวเราเข้าไป ยื่นเอกสารทั้งหมดให้กับเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่จะถามเราว่าจะไปตรวจปอดที่โรงพยาบาลไหนระหว่าโรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียนกับโรงพยาบาลพญาไทพร้อมทั้งชี้แจ้งรายละเอียดต่างๆอย่างละเอียดเลยค่ะ เราเลือกที่จะตรวจกับโรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียนเหตุผลเพราะสะดวกและใกล้ อีกอย่างเรายังต้องนำแผ่นฟิมล์มาให้หมอที่ศูนย์ IOM วินิจฉัยผลค่า หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะให้เซนเอกสารและจ่ายเงินจากตรงนี้เลยค่ะ ไม่ต้องจ่ายที่โรงพยาบาลแล้วนะคะ

จบขั้นตอนการยื่นเอกสารกับทางศูนย์เราก็มุ่งหน้าไปตรวจปอดที่โรงพยาบาล พยายามเลือกนัดเช้าๆเพราะคิวรอตรวจในช่วงเช้าจะน้อยกว่าช่วงสายๆมากค่ะ ….. ตรวจเสร็จเราก็นั่งรอฟิล์ม จากนั้นก็ไปกดบัตรคิว วางฟิล์มที่ได้มาลงในตะกร้าและรอเรียกคิวเข้าไปวินิจฉัยผลกับคุณหมอค่ะ หลังจากนั้นรอรับใบตรวจผล IOM ได้เลยค่ะ หน้าตาประมาณรูปด้านล่าง!



หลังจากได้ใบรับรองเรียบร้อยก็ถึงเวลากลับบ้าน ฮู่เล่!!! เสร็จประมาณ 10โมงกว่าๆค่ะ ใบนี้เราต้องรักษาให้ดีเพราะต้องใช้ยื่นขอวีซ่าและโชว์ตม.ด้วยนะคร้า สิ้นสุดภารกิจนี้ รอดูว่าภารกิจหน้าจะเป็นอะไร เตรียมตัวไว้จัดการชีวิตดีๆค่าาาา




ปล. ขั้นตอนทั้งหมดอาจจะไม่ถูกต้องตามขั้นตอนเป๊ะๆนะคะ เราเขียนเท่าที่จำได้ หากมีข้อผิดพลาดประการใดต้องขออภัยทุกคนด้วยนะคะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่