นักเตะยุคเก่าเก่งกว่ายุคใหม่?

วงการฟุตบอล มีอยู่ประเด็นหนึ่งที่ผู้คนมักนำมาพูดว่า “นักฟุตบอลสมัยนี้ทำไม ไม่เก่งเหมือนสมัยก่อนที่มีนักเตะพรสวรรค์มากมาย” ไม่ต้องย้อน   ไปไกลมาก แค่ยุค 90 คำว่าเก่งยังน้อยไป พวกเขาทั้งโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว แฟนบอลยังตราตรึงใจถึงยอดเหล่านักเตะยุค90 นั้นได้ดี ไม่ต้องไปพูดถึง ระดับ โรนัลโด้แห่งบราซิล ซีเนอดีนซีดานแห่งฝรั่งเศส พวกที่โดดเด่นรองลงมาเมื่อเทียบกับสมัยนี้เหล่าแฟนบอลต่างบอกว่า พวกเขาสุดยอดกว่าอยู่ดี สมัยนี้ที่โดดเด่นถึงที่สุดเห็นจะมีแค่ สองคนคือ เมซซี่และคริสเตียโน่โรนัลโด้ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น นอกนั้นหละเหล่านักเตะสมัยนี้ต่างเทียบนักเตะระดับท็อปในอดีตไม่ได้เลย ??
          ในความเป็นจริงแล้ว สิ่งที่ผมจะกล่าวถึงในมุมมองของผมคือ แทคติกฟุตบอลพัฒนาไปตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นระบบการเล่น แทคติกยิบๆย่อยๆเช่นเทคนิคในเกมรับ วิทยาศาสตร์การกีฬา สิ่งเหล่านี้ถูกพัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ระบบการเล่นไม่ว่าจะระบบ 3-5-2 จนเปลี่ยนมาเป็น4-4-2ที่ยืดหยุ่นกว่าถูกนำมาใช้แทน หรือบางทีมมีแผนเป็นเอกลักษณ์อย่าง4-3-3 ,4-5-1 ยุคนั้นแทกติคการเล่นเกมรับ ยังไม่พัฒนาเหมือนปัจจุบัน หลังจากเยอรมันในบอลโลกปี2006 เริ่มนำแผน4-2-3-1 มาใช้ หลังจากนั้นมาแผนนี้ก็ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เกมรับแน่นหนาขึ้น เกมรุกก็ยืดหยุ่นขึ้น จนถึงบอลโลกปี2014 เราจะเห็นได้ว่านำมาผสานกับแทกติคเกมรับแบบ"โซนเพรสซิ่ง" หรือเรียกสั้นๆว่า "เพรซซิ่ง" ใช้ผู้เล่นหลายคนวิ่งบีบพื้นที่อย่างมีระบบและถูกพัฒนาไปมาก มากกว่ายุคยิ่งใหญ่ของ อาริคโก้ ซาคคี่ที่นำระบบนี้มาใช้ในอดีตอีก (เพราะนำมาผสานกับ Total football พร้อมแทคติกต่างๆ) อีกเหตุผลที่สำคัญคือมีช่วงหนึ่งที่ความยิ่งใหญ่ในระบบ Tiki Taka ระบบการจ่ายบอลทั้งสนามรูปสามเหลี่ยมของบาร์เซโลน่าและทีมชาติสเปนนั้นมีศักยภาพและลือลั่นทั่วโลก จนกดดันให้ผู้จัดการทีมต้องคิดและพัฒนาแผนเพรซซิ่งเพื่อนำมาใช้ต่อกรกับTiki Taka ให้ได้ ว่ากันว่าแผนโซนเพรซซิ่งสมัยใหม่เป็นแผนทำลายเกมรุกของ Tiki Taka ที่ดีทีสุด นักเตะตำแหน่งปีกยังช่วยวิ่งเกมรับ ต้องฟิต ต้องรับได้รุกได้จะชักช้าไม่ได้ ส่งผลให้นักเตะต้องเล่นตามแทคติกให้ได้ บอลจังหวะเดียวต้องไปข้างหน้าให้ไวที่สุด
          โมเดลนี้ถูกหลอหลอมไปจนถึงเยาวชน เพราะมันเป็นโมเดลแบบแผนยอดฮิตที่สามารถรับมือกับทีมที่มีนักเตะเทคนิคสูงได้ เหล่านักเตะทีเล่นด้วยความสวยงาม คลาสสิค มีพื้นที่ในการเล่น จึงน้อยลงทุกวันๆ ทีมชาติบราซิลที่เล่นด้วยทักษะก็น้อยลงในชุดใหญ่ รอยต่อระหว่างยุคคลาสสิคกับสมัยใหม่ โรนัลดิญโญ่อาจเป็นคนล่าสุดที่เรานึกถึงยอดนักเตะในยุคคลาสสิค มุมมองผมจึงอยากสื่อว่า นักเตะยุคนี้ก็เก่งเช่นกัน แต่ด้วยแทคติกของบอลสมัยใหม่ที่ทีมใหญ่ทีมเล็กเริ่มจะรู้ทันกันหมดแล้วในเกมรับ ผจก.ทีมจะให้พวกเขาพลาดไม่ได้ ทักษะหลายๆคนที่มีในเมื่อไม่ได้ถูกนำมาใช้บ่อยครั้งในการเล่นจริง มันก็ไม่พัฒนาเท่าที่ควร ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ได้หล่อหลอมให้พวกเขาเป็นนักเตะที่เก่งในอีกรูปแบบหนึ่ง ส่วนรูปแบบที่เลี้ยงๆเลาะไปยิงหลบทีหละ3-4 เหมือนยุคก่อนเราจึงเห็นได้น้อยเต็มที บางทีถ้าเขาไปอยู่ในยุคที่เกมรับไม่พัฒนาขนาดนี้ เราอาจเห็นเขาโดดเด่นสวยงามเหมือนยุค90ก็เป็นได้ จริงอยู่ยุค90 มีกองหลังที่โดดเด่นมากกว่ายุคนี้ อาทิเนสต้า ยาปสตัม มัลดินี่ บารเรซี่ เดอไซยี่ โคหเลอร์และอีกหลายๆคน แต่จะโดดเด่นเป็นคนๆ เกมรับยังไม่ช่วยกันทั้งทีมจนเป็นแบบแผนยอดฮิตเหมือนสมัยนี้ และมีอีกหลายวิธีในวิทยาศาสตร์การกีฬาในยุคนี้ที่ทำให้นักเตะฟิตอย่างกับม้าเมื่อเล่นในสนาม

          เรื่องทั้งหมด ก็เปรียบเสมือนยอดนักรบในแต่ละยุค ยากจะเปรียบได้ว่า ยุคไหนคือที่สุด เช่นเราเอาเล็กซานเดอร์มหาราช กับเจงกีสข่าน มาให้เทียบกัน เถียงกันอย่างไรไม่ก็สิ้นสุดว่าใครเก่งกว่า มันมีตัวแปรในหลายๆเรื่องมาเกี่ยวข้อง สำหรับผมแล้วการที่แทคติกในเกมรับพัฒนาขนาดนี้ ถือเป็นเรืองสนุก ทีมเล็กสามารถพลิคล็อค โค่นทีมใหญ่ได้เสมอ

          สรุปคือ มุมมองของผม นักเตะยุคก่อนกับนักเตะยุคปัจจุบันยุคไหนเก่งกว่ากัน ผมว่าเอามาเทียบไม่ได้ เพราะมันมีปัจจัยของยุค แต่แน่นอนความคลาสสิคของผู้เล่น มันยากที่จะเปรียบเทียบกับนักเตะยุคเก่าๆได้ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือความชอบส่วนตัวของบุคคล และมุมมองของแต่ละคน ยังไงก็ขอบคุณที่เสียสละเวลาอ่านมุมมองในประเด็นนี้ของผมจนจบนะครับ ว่างๆ ไว้จะเขียนบทความใหม่มาให้อ่านกันอีกครับ

                                                                                                                                                 จ้าวแห่งพิชัยยุทธลูกหนัง
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่