Part4 I don't want to be just a pilot. I want to be a good pilot.
“ภูมิ ทำไรอยู่อ่ะ” วิทย์ทักไลน์ไป
“เออ ว่าง”
“เมิงเคยบินกับครูสรรชัยใช่มะ”
“เออ เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว”
“ทำไมเหรอ”
“กรูเพิ่งบินกะครูแกมา”
“โดน-ยับ”
“บรึ้ย”
“ฝืด มากกก”
“มีโผบินกะแกป่ะวะ”
“ไม่มีว่ะ ส่วนใหญ่แกอยากทำไร ก็ปล่อยให้แกทำไป”
“แต่ก็บินตามหนังสือนะ”
“แต่ครูสรรชัยชอบลง manage”
“แล้วต้องเงยเร็วๆหน่อย แกเสียว”
“เด๋วมีคว้า”
“กรูแ_ม่_งโดนคว้าทั้งสองแลนด์เลย”
“ T T”
“แล้วก็อ่านหนังสือไปเยอะๆ”
“แกถามยับเลย”
“เรื่องความรู้ กรูพอได้อยู่”
“แต่เรื่องบิน เรื่อง voice เรื่องแลนด์”
“เศร้าๆ”
“สู้ๆ”
“ครูสรรชัยเนี่ยแหละ แกเคยบอกว่า”
“บินไปเรื่อยๆ ต่อไป skill ทุกคนก็จะเท่ากัน”
“แต่จะไปต่างกันที่ความรู้”
“กรูว่าเมิงจะเป็นนักบินที่ดีได้เพราะเมิงขยัน”
“แต่เค้าเพิ่งบอกกรูว่ากรูไม่เหมาะสมที่จะเป็นนักบิน”
"ร้องไห้หนักมาก"
“แกก็พูดไปงั้นแหละ เมิงอย่าเก็บเอามาคิดมาก”
“ทุกใจเปล่าๆ”
“แล้วเมิงว่ากุเป็นนักบินที่ดีหรือเปล่าวะ”
“กุว่า อยากแรกเมิงต้องเข้าใจว่า พวกเราได้รับการคัดเลือกเข้ามาบินโดย
นักจิตวิทยาที่เชียวชาญด้านการบินแล้ว แปลว่าพวกเราะเหมาะสมที่จะ
เป็นนักบิน”
“อย่างที่สอง ทุกกระบวนการทุกขั้นตอนที่เราผ่านกันมา ตั้งแต่ การสอบ
แข่งขัน ข้อเขียน สัมภาษณ์ เรียน CPL เรียนกราว ไม่ใช่ง่ายๆเลย แต่เรา
ก็ผ่านกันมาแล้ว ตอนนี้เมิงเหลืออีกนิดเดียว ถ้าเมิงเต็มที่เหมือนทุกครั้ง
ที่ผ่านมา กรุก็เชื่อว่าเมิงจะผ่านมาได้”
“และอีกอย่าง นอกจากเมิงจะขยันแล้ว ที่ทำให้เมิงเป็นนักบินที่ดีได้ จาก
ที่กรุสัมผัสได้เมิงเป็นคนมองโลกในแง่บวก เรื่องพวกนี้เมิงจะรู้ได้เองว่าทำ
ให้ตัวเมิงแข็งแกร่งขึ้น เมิงคงไม่ยอมแพ้ง่ายๆนะ”
“สุดท้ายที่กรุชอบมากๆที่ได้ยินจากปากเมิง”
“ที่เมิงรู้สึกภูมิใจทุกครั้งที่มองผ่านหน้าจอเห็นผู้โดยสารทุกคนเดินออกไป
อย่างปลอดภัย ไอ้ส่วนเนี้ยแหละที่จะเป็นพลังให้เมิงพัฒนาตนไปเรื่อยๆ
จนได้ชื่อว่าเป็นนักบินที่ดี”
“ไอ้เ_หี้_ย”
“เมิงด่ากรูทำไม่เนี่ย”
“กรูซึ้ง”
ศัพท์การบิน
“โผ” คือ แนวข้อสอบ ข้อปฏิบัติในการบิน รวมถึงลักษณะการบินกับกัปตัน ครูการบิน ซึ่งแต่ละคนจะมีสไตล์ที่แตกต่างกัน ซึ่งถ้าสามารถจับทางได้ ก็อาจจะทำให้บรรยากาศในการบินโดยรวมดีขึ้น ซึ่งอาจอยู่ในแบบกระดาษ หรือคำบอกเล่า
ไม่ใช่ โผลงไปหมอบแบบทหารนะครับ
“เงย” คือ จังหวะที่เครื่องบินจะลงสนาม นักบินจะต้องทำการเชิดหัวเครื่องบินขึ้นเพื่อลดอัตราการร่อน(sink rate) ให้สัมพันธ์กับระยะความสูงและพลังงานของเครื่องบินเพื่อให้ landing นิ่มนวลที่สุด
“คว้า” คือ จังหวะที่นักบินอีกคน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกัปตัน หรือครู เอาทำการควบคุมเครื่องบินเอง ทั้งที่ไฟล์ทนั้น เรามีหน้าเป็น PF เพราะได้ประเมินแล้วว่าอาจจะทำให้
การ landing ไม่ smooth หรืออาจจะเป็นอันตรายกับการบิน ส่วนใหญ่เกินขึ้นกับการ train หรือบินกับ co pilot ใหม่ๆ
Nice to know : บทความเกี่ยวกับลักษณะนิสัยของนักบินและเกณฑ์การตัดสิน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ หลายๆคนคงมองอาชีพนักบิน เป็นอาชีพที่รายได้สูง มีความมั่นคง คนที่เป็นต้องเก่งทางด้านวิชาการ มีบุคลิกภาพและทักษะที่ดี ทำให้เกิดคำถามว่าของคนที่สงสัย หรือมีความฝันที่จะเป็นว่า “นักบินควรมีลักษณะนิสัยเป็นอย่างไร” ผมขอยกลักษณะจากในหนังสือ CRM(Crew Resource Management) ซึ่งจัดทำโดย TFTA(Thai Flight Trainiing Acadamy) ว่าบุคคลที่เหมาะสมกับงานในอาชีพนักบินควรมีลักษณะดังนี้
1.ฉลาด อารมณ์มั่งคง
2.มีศีลธรรม ควบคุมตัวเองได้ดี
3.มีไหวพริบ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
4.มีเหตุผล ไม่ sensitive ง่ายๆ
5.ไว้ใจและเชื่อใจคนอื่นเป็น
6.มีความเป็นผู้นำ ตัดสินใจได้ดี
บางคนอ่านแล้ว ก็เก่งนั่นแหละ นักบินก็น่าจะเป็นอย่างนี้ แต่พอไปอยู่ในสถานการณ์ขับเครื่องบินจริงๆแล้ว ลักษณะนิสัยที่นักบินรู้ว่าควรจะเป็น เป็นยังไง ก็อาจจะนำมาปรับใช้ไม่ได้ทั้งหมด ต้องเลือกตัดสินใจ ซึ่งบางอย่างจะอยู่ใน grey zone อาจจะถูกต้องสำหรับเรื่องนี้ แต่ลำบากสำหรับเรื่องอื่น ส่วนใหญ่นักบินก็จะเลือกตัดสินใจตามประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้มา เพราะฉะนั้นเรื่องประสบการณ์จึงสำคัญมาก กัปตันจึงกำหนดคุณสมบัติต่างๆไว้มากมายขอยกตัวอย่างของการบินไทยคร่าวๆ
1. เป็น co-pilot มาแล้ว 4 ปี และเป็นนักบิน(หมายถึง บินที่อื่นมาก่อนก็เอามารวมด้วย) มาแล้ว 8 ปี
2. ผ่านการ training ที่นั่งซ้าย ทั้ง ground, sim, routrain etc.
จะเห็นได้ว่าต้องมีประสมการณ์อย่างน้อยถึง 8 ปี รวมชม.ก็อาจจะมากกว่า 4500 ชม. เพื่อการสอบเป็นนักบินพาณิชย์เอกหรือกัปตันนั่นเอง
จากที่เกริ่นมาเกี่ยวกับลักษณะนิสัยของนักบิน ผู้สนใจก็สามารถเข้าไปหาเพิ่มเติมในอากู๋ได้นะครับ มีหลายเว็บไซต์ที่แนะนำเพิ่มเติมไว้ แต่ผู้เขียนอยากจะเน้นประเด็นที่น่าสนใจว่า แต่ละสายการบิน เขาสามารถหาบุคคลที่เหมาะสมที่จะเป็นนักบิน นอกจากการสอบข้อเขียนแล้วก็คือการสัมภาษณ์ ที่จะหาตัวตนที่แท้จริงของบุคคลนั้นนั่นเอง
สำหรับการบินไทยแล้ว ในขั้นตอนหนึ่งของการสอบที่ คือการสัมภาษณ์โดยเชิญนักจิตวิทยาชาวต่างประเทศที่ได้รับการยอมรับ มาสัมภาษ์ณนักบินเพื่อค้นหาบุคคลที่สามารถที่จะเป็นนักบินและกัปตันได้ในอนาคต ในคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1. ความสามารถในการเรียนรู้
2. ทักษะพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง
3. ความสามารถในการรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉิน
4. บุคลิกลักษณะที่เหมาะสม
5. ทักษะทางสังคม
6. ศักยภาพในการเป็นผู้นำ
ซึ่งข้อมูลนี้เปิดเผยในเว็บไซต์ ของ SIAP(Scandinavian Institue of Aviation Psychology) แต่ผู้เขียนสนใจในประเด็นที่ว่า นักจิตวิทยาใช้หลักการหรือเกณฑ์อะไรในการค้นหา หรือจับผิด บุคคลนั้นจากการสัมภาษณ์เพียงแค่ไม่ถึงชม. ว่าเหมาะสมตามเกณฑ์จริงๆหรือเปล่า โดยหลักการทั่วไปที่สามารถสังเกตว่าผู้ถูกสัมภาษณ์พูดโกหกหรือเปล่า? เป็นการเตรียมตัวมาตอบหรือเปล่า? ใช่ตัวตัวของเขาจริงหรือเปล่า? แบ่งตามหลังการคร่าวๆได้ดังนี้
1. ลักษณะทางกายภาพ เอามือจับคางหรือจมูก, เลียปากบ่อย, กระดิกเท้า, กอดอก ไขว่ห้าง, ทำตัวนิ่ง น้ำเสียงนิ่งเกินไป, จ้องตาไม่กระพริบ โน้มน้าวให้เชื่อในสิ่งที่ทำ, ระดับเสียงสูง, เพิ่มหรือลดความเร็วของการพูด ตะคอก โมโห, พูดตะกุกตะกัก ขาดความมั่นใจ, ยิ้มแบบใช้กล้ามเนื้อรอบริมฝีปากยิ้ม หรือที่หลายๆคนเรียก ยิ้มแหยๆ
แน่นอนว่าลักษณะพวกนี้หลายคนรู้ๆ อาจเป็นลักษณะของคนกำลัง โกหก แต่ก็รวมไปถึงคนประหม่า, เขินอาย, ตื่นเต้นด้วย และบางคนที่ skill สูง ก็จะสามารถปกปิดอาการเหล่านี้ได้ระดับนึง เพราะได้เรียนรู้มาแล้วว่ามีอาการอะไรบ้าง รวมถึงบางคนที่ซ้ำซ้อนจัดอาจจะตั้งใจแสดงอาการเหล่านี้แสดงออกมาเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่าง “ใจคนนี้อย่างแท้หยั่งถึง”
แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าเรารู้จักกับคนนั้นดีพอ เราสามารถแยกแยะได้จากพฤติกรรมเดิมว่าเค้าเป็นคนอย่างไร ถ้าวันนี้แสดงพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปแปลว่าต้องมีอะไรที่ผิดปกติอย่างแน่นอน อย่างเช่น ปกติเป็นคนพูดเสียงเบา มาวันนี้พูดเสียงดัง แปลว่าอาจจะกำลังตื่นเต้น ถ้าปกติเป็นคนพูดดัง แล้วพูดเบา อาจจะมีเรื่องไม่สบายใจซ่อนอยู่เป็นต้น
2. ลักษณะทางกายภาพที่ควบคุมไม่ได้ การหายใจที่เปลี่ยนไป รวมถึงการเต้นของหัวใจ ความดันเลือดสูง, กระพริบตาเร็ว พอพูดโกหกเสร็จ กระพริบตาถี่กว่าเดิม เสมือนเป็นการระบายพลังงานทิ้งเพื่อความโล่งใจ, เหงื่อแตก, หน้าแดง, เกร็งๆ พฤติกรรมเหล่านี้น่าจะตั้งใจแสดงได้ยาก ถ้าเห็นน่าจะใช้แยกอาการที่ผิดปกติได้ทั้งอาการโกหก ตื่นเต้น ประหม่า
3. ลักษณะคำพูด ที่ส่อถึงการโกหก
-พูดคำเดิมๆซ้ำไปมา เหมือนเตรียมมาพูดแค่นี้ พยายามพูดให้อีกฝ่ายยอมเชื่อ ยิ่งเสียงดังยิ่งน่าสงสัย
-พูดเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้อง ตอบอ้อม อย่างเช่น “ท่านคิดว่าโครงการนี้จะทำสำเร็จหรือเปล่าครับ” “เราก็ทำตามหน้าที่เราอย่างสุดความสามารถ” ซึ่งไม่ตอบว่าสำเร็จหรือเปล่าเลย
-ถ้าเจอคำถามจี้ใจ คนโกหกจะเบือนหน้าหนี ปกป้องตัวเอง ตอบเลี่ยง
คนพูดจริงจะรุกกลับอย่างดุเดือด
-ตลก- เนียนไปเรื่อย พูดขำกลบเกลื่อน
-พลั้งปากพูดออกมา
-พยายามเปลี่ยนเรื่องพูดคุย เพื่อออกจากสถานการณ์ตรงนั้น
Trick เพิ่มเติม จับคนโกหก
-ลองทำเงียบ คนโกหกจะอึดอัด เขาจะพยายามหาเรื่องคุย ชวนทำนู้นนี่
-เปลี่ยนเรื่องคุย คนโกหกจะสบายใจที่ได้ออกจากสถานการณ์นั้น คนพูดจริงจะกลับมาเรื่องเดิม
ทั้งนี้ทั้งนั้น นักจิตวิทยาคงมีหลักการที่หลากหลาย รวมทั้งวิชาการที่ร่ำเรียนมา บวกกับประสบการณ์ที่สั่งสมจึงทำให้เขาสามารถจำแนกบุคคลที่เหมาะสมกับการบินได้เป็นอย่างดี จากประสบการณ์ที่พูดเขียนถูกสัมภาษณ์ นักจิตวิทยาจะพยายามให้ผู้ถูกสัมภาษณ์เป็นตัวของตัวเองที่สุด ไม่กดดัน ให้แสดงลักษณะที่แท้จริงออกมา ส่วนในเรื่องของทักษะ นักจิตวิทยาจะชี้ให้เห็นถึงส่วนบกพร่องและให้แก้ไข ณ ตอนนั้นเลย
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้แก่ผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะครับ
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างๆดังนี้
http://articles.spokedark.tv/2015/06/29/10-signs-someone-is-lying-to-y/#.VdQE8fmtYgo
http://www.oknation.net/blog/pakapoo/2009/04/19/entry-2
https://ac127.wordpress.com/2012/10/14/%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%9A-%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%81/
http://www.pattanakit.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538708281&Ntype=128
รูปภาพข้างบนมาจาก
http://www.keepcalm-o-matic.co.uk/p/keep-calm-and-be-a-good-pilot-1/
สามารถติดตามตอนต่างๆตามลิงค์ครับ->
http://ppantip.com/profile/2560955
และฝากติดตาม Facebook fanpage ->
https://www.facebook.com/pages/Safe-Flight-Always/689493954515912
จากใจนักเขียน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ สวัสดีครับท่านผู้โดยสารทุกท่าน เอ้ย! ผู้อ่านทุกท่าน ขอบคุณนะครับสำหรับการติดตาม เนื่องจากผู้เขียนมีความรู้ทางด้านการบินอยู่ประมาณหนึ่ง เลยอยากจะนำเสนอในภาษาที่เข้าใจง่ายผ่านตัวละครเพื่อให้คนทั่วไปเข้าถึงการบินมากขึ้นและมีความรู้ทางด้านการบินเพิ่มขึ้น รวมทั้งรับรู้ว่าทุกคนในสายอาชีพการบินเราทำงานอย่างตั้งใจ เป็นมืออาชีพ เพื่อเหตุผลทางด้านความปลอดภัยในการส่งผู้โดยสารให้ถึงจุดหมายปลายทาง อีกทั้งยังอยากเป็นแรงบันดาลใจให้หลายๆคนที่อยากเข้ามาในเส้นทางการบิน
ทั้งนี้ผู้เขียนไม่ได้เป็นผู้เชียวชาญในด้านการเขียนหรือรอบรู้ทางด้านการบินไปซะทั้งหมด มีการนำบทความหรือรูปภาพจากหลายๆแหล่งมาเพื่อใช้ประกอบ หากมีการผิดลิขสิทธิ์ประการใด โปรดแนะนำเพื่อจะนำไปแก้ไขได้อย่างทันท่วงที ในส่วนอื่นๆอาจมีข้อบกพร่องอยู่บ้าง แต่ก็จะพยายามทำให้อย่างเต็มที่ ขอกำลังใจให้ผู้เขียนโดยการติดตาม เสนอแนะ commentหรือโหวตได้นะครับ รวมถึงถ้าอยากรู้อะไรเกี่ยวกับการบินก็แนะนำกันได้ ผู้เขียนจะพยายามสอดแทรกลงไปในเนื้อเรื่องให้นะครับ
[Safe Flight Always: Prepare for Landing] I don't want to be just a pilot. I want to be a good pilot.
“ภูมิ ทำไรอยู่อ่ะ” วิทย์ทักไลน์ไป
“เมิงเคยบินกับครูสรรชัยใช่มะ”
“กรูเพิ่งบินกะครูแกมา”
“โดน-ยับ”
“ฝืด มากกก”
“มีโผบินกะแกป่ะวะ”
“กรูแ_ม่_งโดนคว้าทั้งสองแลนด์เลย”
“ T T”
“เรื่องความรู้ กรูพอได้อยู่”
“แต่เรื่องบิน เรื่อง voice เรื่องแลนด์”
“เศร้าๆ”
“แต่เค้าเพิ่งบอกกรูว่ากรูไม่เหมาะสมที่จะเป็นนักบิน”
"ร้องไห้หนักมาก"
“แล้วเมิงว่ากุเป็นนักบินที่ดีหรือเปล่าวะ”
นักจิตวิทยาที่เชียวชาญด้านการบินแล้ว แปลว่าพวกเราะเหมาะสมที่จะ
เป็นนักบิน”
แข่งขัน ข้อเขียน สัมภาษณ์ เรียน CPL เรียนกราว ไม่ใช่ง่ายๆเลย แต่เรา
ก็ผ่านกันมาแล้ว ตอนนี้เมิงเหลืออีกนิดเดียว ถ้าเมิงเต็มที่เหมือนทุกครั้ง
ที่ผ่านมา กรุก็เชื่อว่าเมิงจะผ่านมาได้”
ที่กรุสัมผัสได้เมิงเป็นคนมองโลกในแง่บวก เรื่องพวกนี้เมิงจะรู้ได้เองว่าทำ
ให้ตัวเมิงแข็งแกร่งขึ้น เมิงคงไม่ยอมแพ้ง่ายๆนะ”
“สุดท้ายที่กรุชอบมากๆที่ได้ยินจากปากเมิง”
อย่างปลอดภัย ไอ้ส่วนเนี้ยแหละที่จะเป็นพลังให้เมิงพัฒนาตนไปเรื่อยๆ
จนได้ชื่อว่าเป็นนักบินที่ดี”
“ไอ้เ_หี้_ย”
“กรูซึ้ง”
ศัพท์การบิน
“โผ” คือ แนวข้อสอบ ข้อปฏิบัติในการบิน รวมถึงลักษณะการบินกับกัปตัน ครูการบิน ซึ่งแต่ละคนจะมีสไตล์ที่แตกต่างกัน ซึ่งถ้าสามารถจับทางได้ ก็อาจจะทำให้บรรยากาศในการบินโดยรวมดีขึ้น ซึ่งอาจอยู่ในแบบกระดาษ หรือคำบอกเล่า
ไม่ใช่ โผลงไปหมอบแบบทหารนะครับ
“เงย” คือ จังหวะที่เครื่องบินจะลงสนาม นักบินจะต้องทำการเชิดหัวเครื่องบินขึ้นเพื่อลดอัตราการร่อน(sink rate) ให้สัมพันธ์กับระยะความสูงและพลังงานของเครื่องบินเพื่อให้ landing นิ่มนวลที่สุด
“คว้า” คือ จังหวะที่นักบินอีกคน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกัปตัน หรือครู เอาทำการควบคุมเครื่องบินเอง ทั้งที่ไฟล์ทนั้น เรามีหน้าเป็น PF เพราะได้ประเมินแล้วว่าอาจจะทำให้
การ landing ไม่ smooth หรืออาจจะเป็นอันตรายกับการบิน ส่วนใหญ่เกินขึ้นกับการ train หรือบินกับ co pilot ใหม่ๆ
Nice to know : บทความเกี่ยวกับลักษณะนิสัยของนักบินและเกณฑ์การตัดสิน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รูปภาพข้างบนมาจาก http://www.keepcalm-o-matic.co.uk/p/keep-calm-and-be-a-good-pilot-1/
สามารถติดตามตอนต่างๆตามลิงค์ครับ-> http://ppantip.com/profile/2560955
และฝากติดตาม Facebook fanpage -> https://www.facebook.com/pages/Safe-Flight-Always/689493954515912
จากใจนักเขียน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้