จากมติชนออนไลน์
กำแพงแสนรามา อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
"โรงหนังสแตนอโลน" สถานบันเทิงที่เคยรุ่งเรืองในอดีต วันนี้เหลือเพียงตึกเก่ารกร้าง หลายแห่งถูกแทนที่ด้วยห้างสรรพสินค้าเมื่อความเจริญก้าวเข้ามา
ทว่าสำหรับ ฟิลลิป แจบลอน หนุ่มอเมริกันวัย 35 ปี เขามองว่าสิ่งเหล่านี้เป็นการสูญเสีย เพราะโรงหนังสแตนอโลนคือคุณค่าทางวัฒนธรรมที่สำคัญของประเทศ ดังนั้น แม้จะไม่เกี่ยวข้อง แต่คนต่างแดนอย่างเขาซึ่งหลงรักประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่ครั้งมาเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนเมื่อ14ปีก่อนจนตัดสินใจกลับมาเรียนต่อระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ต่อก็จัดทำโครงการ The Southeast Asia Movie Theater Project เพื่ออนุรักษ์โรงหนังสแตนอโลนให้คงอยู่
"สมัยก่อนโรงหนังเป็นเหมือนจุดนัดพบของชุมชน คนมาเพื่อดูหนัง เก็บความรู้สึกของภาพยนตร์ ของผู้กำกับ ของผู้สร้างหนัง"
สำหรับเมืองไทยนั้นจากการเก็บรวบรวมข้อมูลมาตลอด 6 ปี ตั้งแต่สมัยเป็นนักศึกษาปริญญาโท "คิดว่าเมืองไทยเคยมีประมาณ 700 โรง"
ซึ่ง "ตอนนี้มีเหลือเพียง 200 แห่ง ถ้านับเฉพาะตัวอาคาร แต่ที่ยังใช้ได้จริงเหลือประมาณ 5 แห่งเท่านั้น"
ที่สนใจโรงหนังสแตนอโลน ฟิลลิปว่า เป็นเพราะติดใจในเสน่ห์และเอกลักษณ์เฉพาะของโรง ที่โรงหนังในปัจจุบันไม่มี
และนอกจากประเทศไทยที่เขาบุกไปแล้วทุกจังหวัด เขายังไปพม่ามาแล้วครึ่งประเทศ รวมถึงไปลาวมาแล้วหลายแห่ง
"แต่ยังไม่เคยไปอีกหลายที่ ถ้ามีโอกาสก็อยากไปทุกที่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"
บูรพาเธียเตอร์ อ.บ้านฉาง จ.ระยอง
ไปเพื่อตามหาโรงหนังเก่าแบบสแตนอโลน แล้วพอเจอก็จะแบ่งปันข้อมูลผ่านบล็อก
http://www.seatheater.blogspot.com ที่ปัจจุบันเพิ่มอีกช่องทางผ่านแฟนเพจ The Southeast Asia Movie Theater Project
บอกอีกว่าเทียบกับไทย พม่ามีโรงหนังเก่าแบบนี้อยู่เกือบทุกเมือง และยังคงใช้งานกันอยู่ เหตุผลนั้นอาจเพราะที่นั่นยังไม่มีการลงทุนมากนัก ไม่เหมือนกับบ้านเราที่ "เจริญกว่า"
สกาลา
"อันนี้ตลกนะ ที่ถ้าเมืองหรือประเทศไม่ค่อยเจริญ ของเก่าจะอนุรักษ์ไว้ บางครั้งเราเห็นสถานการณ์แบบนั้น เราอาจจะคิดว่าเพราะที่นั่นยังไม่เจริญ ยังจน ไม่พัฒนา แต่ในบางด้านมันก็ดีด้วย เพราะเขายังอนุรักษ์ ยังมีความผูกพันกับสมัยก่อน"
"ในเมืองไทย ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตอนนี้พัฒนามาก หลายคนก็สร้างตึก สร้างห้างสรรพสินค้า แล้วทิ้งของเก่าเลย เพราะมันล้าสมัย"
"แต่ไม่ใช่เลย หลายอย่างก็ยังมีคุณค่า"
บอกอีกว่า ที่สหรัฐอเมริกาสมัยก่อนก็มีโรงหนังแบบนี้ แต่เมื่อเศรษฐกิจไม่ดีเจ้าของกิจการหลายก็ตัดสินใจทุบทิ้ง หากพอวันเวลาผ่านไปหลายคนถึงคิดได้ว่าน่าจะอนุรักษ์เอาไว้เสียตั้งแต่ตอนนั้น
แถมยังสามารถนำมาประยุกต์ให้มีประโยชน์มากกว่าเก่าแล้วเก็บไว้เฉยๆ
"เช่นถ้าช่วงนี้รายได้ไม่ดีเลยเพราะฉายหนังทั่วไปที่ก็สู้ในห้างไม่ได้เพราะในห้างสะดวกสบายแต่ถ้าเราปรับโปรแกรมที่จะฉาย เป็นฉายหนังพิเศษ ฉายหนังเก่า มันก็ขายได้ เพราะมันเป็นที่พิเศษ ฉายแต่โปรแกรมพิเศษ"
ยกตัวอย่างให้เห็นชัดว่า ดูอย่างเมื่อราว 2 เดือนที่ผ่านมา ที่โรงหนังสกาลาจัดเทศกาลหนังเงียบครั้งที่ 2 ในเมืองไทย ทุกรอบฉายก็เต็มหมด
"มีคน 800 คน ยืนคุยกันเพื่อรอดูหนัง นั่นเป็นตัวอย่างของสิ่งที่ทำรายได้" ฟิลลิปเล่าด้วยรอยยิ้ม
แต่กระนั้น "อนาคตของสกาลายังไม่แน่นอน" เขาว่า เพราะก่อนหน้านี้มีข่าวว่าอาจจะถูกทุบทิ้ง
Father and son edited
ซึ่ง "ถ้าทุบจริงจะเป็นการทำผิดใหญ่มาก เพราะสกาลาเป็นโรงหนังแบบมูฟวี่พาเลซ เป็นโรงหนังสแตนอโลนที่หรูหรา ที่เหลืออยู่ที่เดียวในประเทศไทย น่าจะอนุรักษ์ไว้เพื่อเพิ่มคุณค่าทางวัฒนธรรม"
"ตึกนี้เป็นคุณค่าทางวัฒนธรรมที่สำคัญมาก"
อย่างไรก็ดีการจะรักษาและชุบชีวิตโรงหนังเหล่านั้นให้คงอยู่ฟิลลิปว่าจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากชุมชนเป็นอันดับแรก
"ถ้าชุมชนมีความผูกพันกับโรงหนังเก่าเขาต้องแสดงพลังว่าอยากอนุรักษ์ไว้ หลังจากนั้นต้องหาทุน ดูว่ารัฐบาลมีทุนไหม ถ้ารวมพลังหลายๆ ที่ คิดว่ารัฐบาลจะฟัง แล้วด้านเอกชน คนไทยมีคนรวยเยอะนะ คิดว่าถ้าคนรวยอยากเก็บสิ่งที่สำคัญไว้ ก็เอาเงินมาสนับสนุนดีกว่า"
ซึ่งในส่วนหลังนี้เขาเองก็จะลงมือทำแบบไม่รอใคร ด้วยการทำสารคดีเกี่ยวกับโรงหนังเหล่านี้ออกเผยแพร่ และหากใครอยากร่วมสนับสนุนก็สามารถสมทบทุน
"แล้วถ้าได้ถึงเป้าหมายก็เอามาชุบชีวิตโรงหนัง"
ถ้าเป็นไปได้ฟิลลิปบอกว่า The Southeast Asia Movie Theater Project จะพยายามรณรงค์และหาทุนให้ทุกเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีโรงหนังลักษณะนี้เก็บไว้อย่างน้อยเมืองละแห่งโดยที่ผ่านมาเขาให้วิธีใช้เงินตัวเองรวมถึงทุนจากมูลนิธิต่างๆดำเนินการและล่าสุดก็นำ"ขายตั๋วเก่า" จากโรงหนังสกาลา จ.สุราษฎร์ธานี มาจำหน่าย เพื่อให้ผู้สนใจเก็บเป็นที่ระลึก
"แต่ผมไม่รู้ว่ามีคนอยากได้ของที่ระลึกแบบนี้หรือเปล่า" เขาถาม หลังผลตอบรับไม่เป็นอย่างใจคิด
"ไม่รู้ทำไมไม่มีใครซื้อ อาจจะแพง แล้วต้องอ่านข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น"
แต่ไม่เป็นไร เพราะถึงอย่างไรเขาก็ต้องพยายามหาวิธีการผลักดันต่อ
"ผมรักโครงการนี้จริงๆ พยายามหาทุน นำเสนอหลายๆ ที่ ถ้าหาไม่ได้ก็ต้องกลับไปทำงานก่อน แต่ไม่อยากเลิกเลย หวังว่าจะมีคนให้ทุนสนับสนุน" เขาเล่าด้วยนัยน์ตาแฝงความหวัง
นิวเฉลิมอุทัย จ.อุทัย
"อยากให้คนคิดถึงอดีต วิถีชีวิตเมื่อก่อนเป็นยังไงบ้าง แล้วเมื่อก่อนเรามีสิ่งที่สำคัญไหม สิ่งที่เราน่าจะเก็บไว้เพื่อใช้ในปัจจุบันหรืออนาคต ไม่จำเป็นต้องทิ้งทุกอย่างเพราะว่ามันเก่าแล้ว เพราะแม้ว่ามันเก่าแต่หลายอย่างก็มีคุณค่า"
"โรงหนังเก่ามันมีประโยชน์มากกว่าแค่เงิน แต่หลายคนมองไม่เห็น"
"แน่นอนว่าถ้าเราทุบโรงหนังแล้วสร้างห้าง มันได้เงินมากกว่า แต่มันทำลายเมืองกรุงเทพฯ"
"ทำลายสิ่งที่หลายคนในเมืองไทยรักมาก"
และที่สำคัญที่สุดคือเป็นการทำลายคุณค่าทางวัฒนธรรม
อย่างน่าเสียดายยิ่ง
"โรงหนังสแตนอโลน"ความรุ่งเรืองที่ถูกลืม...จาก 700 เหลือแค่ 5 โรง
กำแพงแสนรามา อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
"โรงหนังสแตนอโลน" สถานบันเทิงที่เคยรุ่งเรืองในอดีต วันนี้เหลือเพียงตึกเก่ารกร้าง หลายแห่งถูกแทนที่ด้วยห้างสรรพสินค้าเมื่อความเจริญก้าวเข้ามา
ทว่าสำหรับ ฟิลลิป แจบลอน หนุ่มอเมริกันวัย 35 ปี เขามองว่าสิ่งเหล่านี้เป็นการสูญเสีย เพราะโรงหนังสแตนอโลนคือคุณค่าทางวัฒนธรรมที่สำคัญของประเทศ ดังนั้น แม้จะไม่เกี่ยวข้อง แต่คนต่างแดนอย่างเขาซึ่งหลงรักประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่ครั้งมาเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนเมื่อ14ปีก่อนจนตัดสินใจกลับมาเรียนต่อระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ต่อก็จัดทำโครงการ The Southeast Asia Movie Theater Project เพื่ออนุรักษ์โรงหนังสแตนอโลนให้คงอยู่
"สมัยก่อนโรงหนังเป็นเหมือนจุดนัดพบของชุมชน คนมาเพื่อดูหนัง เก็บความรู้สึกของภาพยนตร์ ของผู้กำกับ ของผู้สร้างหนัง"
สำหรับเมืองไทยนั้นจากการเก็บรวบรวมข้อมูลมาตลอด 6 ปี ตั้งแต่สมัยเป็นนักศึกษาปริญญาโท "คิดว่าเมืองไทยเคยมีประมาณ 700 โรง"
ซึ่ง "ตอนนี้มีเหลือเพียง 200 แห่ง ถ้านับเฉพาะตัวอาคาร แต่ที่ยังใช้ได้จริงเหลือประมาณ 5 แห่งเท่านั้น"
ที่สนใจโรงหนังสแตนอโลน ฟิลลิปว่า เป็นเพราะติดใจในเสน่ห์และเอกลักษณ์เฉพาะของโรง ที่โรงหนังในปัจจุบันไม่มี
และนอกจากประเทศไทยที่เขาบุกไปแล้วทุกจังหวัด เขายังไปพม่ามาแล้วครึ่งประเทศ รวมถึงไปลาวมาแล้วหลายแห่ง
"แต่ยังไม่เคยไปอีกหลายที่ ถ้ามีโอกาสก็อยากไปทุกที่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"
บูรพาเธียเตอร์ อ.บ้านฉาง จ.ระยอง
ไปเพื่อตามหาโรงหนังเก่าแบบสแตนอโลน แล้วพอเจอก็จะแบ่งปันข้อมูลผ่านบล็อก http://www.seatheater.blogspot.com ที่ปัจจุบันเพิ่มอีกช่องทางผ่านแฟนเพจ The Southeast Asia Movie Theater Project
บอกอีกว่าเทียบกับไทย พม่ามีโรงหนังเก่าแบบนี้อยู่เกือบทุกเมือง และยังคงใช้งานกันอยู่ เหตุผลนั้นอาจเพราะที่นั่นยังไม่มีการลงทุนมากนัก ไม่เหมือนกับบ้านเราที่ "เจริญกว่า"
สกาลา
"อันนี้ตลกนะ ที่ถ้าเมืองหรือประเทศไม่ค่อยเจริญ ของเก่าจะอนุรักษ์ไว้ บางครั้งเราเห็นสถานการณ์แบบนั้น เราอาจจะคิดว่าเพราะที่นั่นยังไม่เจริญ ยังจน ไม่พัฒนา แต่ในบางด้านมันก็ดีด้วย เพราะเขายังอนุรักษ์ ยังมีความผูกพันกับสมัยก่อน"
"ในเมืองไทย ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตอนนี้พัฒนามาก หลายคนก็สร้างตึก สร้างห้างสรรพสินค้า แล้วทิ้งของเก่าเลย เพราะมันล้าสมัย"
"แต่ไม่ใช่เลย หลายอย่างก็ยังมีคุณค่า"
บอกอีกว่า ที่สหรัฐอเมริกาสมัยก่อนก็มีโรงหนังแบบนี้ แต่เมื่อเศรษฐกิจไม่ดีเจ้าของกิจการหลายก็ตัดสินใจทุบทิ้ง หากพอวันเวลาผ่านไปหลายคนถึงคิดได้ว่าน่าจะอนุรักษ์เอาไว้เสียตั้งแต่ตอนนั้น
แถมยังสามารถนำมาประยุกต์ให้มีประโยชน์มากกว่าเก่าแล้วเก็บไว้เฉยๆ
"เช่นถ้าช่วงนี้รายได้ไม่ดีเลยเพราะฉายหนังทั่วไปที่ก็สู้ในห้างไม่ได้เพราะในห้างสะดวกสบายแต่ถ้าเราปรับโปรแกรมที่จะฉาย เป็นฉายหนังพิเศษ ฉายหนังเก่า มันก็ขายได้ เพราะมันเป็นที่พิเศษ ฉายแต่โปรแกรมพิเศษ"
ยกตัวอย่างให้เห็นชัดว่า ดูอย่างเมื่อราว 2 เดือนที่ผ่านมา ที่โรงหนังสกาลาจัดเทศกาลหนังเงียบครั้งที่ 2 ในเมืองไทย ทุกรอบฉายก็เต็มหมด
"มีคน 800 คน ยืนคุยกันเพื่อรอดูหนัง นั่นเป็นตัวอย่างของสิ่งที่ทำรายได้" ฟิลลิปเล่าด้วยรอยยิ้ม
แต่กระนั้น "อนาคตของสกาลายังไม่แน่นอน" เขาว่า เพราะก่อนหน้านี้มีข่าวว่าอาจจะถูกทุบทิ้ง
Father and son edited
ซึ่ง "ถ้าทุบจริงจะเป็นการทำผิดใหญ่มาก เพราะสกาลาเป็นโรงหนังแบบมูฟวี่พาเลซ เป็นโรงหนังสแตนอโลนที่หรูหรา ที่เหลืออยู่ที่เดียวในประเทศไทย น่าจะอนุรักษ์ไว้เพื่อเพิ่มคุณค่าทางวัฒนธรรม"
"ตึกนี้เป็นคุณค่าทางวัฒนธรรมที่สำคัญมาก"
อย่างไรก็ดีการจะรักษาและชุบชีวิตโรงหนังเหล่านั้นให้คงอยู่ฟิลลิปว่าจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากชุมชนเป็นอันดับแรก
"ถ้าชุมชนมีความผูกพันกับโรงหนังเก่าเขาต้องแสดงพลังว่าอยากอนุรักษ์ไว้ หลังจากนั้นต้องหาทุน ดูว่ารัฐบาลมีทุนไหม ถ้ารวมพลังหลายๆ ที่ คิดว่ารัฐบาลจะฟัง แล้วด้านเอกชน คนไทยมีคนรวยเยอะนะ คิดว่าถ้าคนรวยอยากเก็บสิ่งที่สำคัญไว้ ก็เอาเงินมาสนับสนุนดีกว่า"
ซึ่งในส่วนหลังนี้เขาเองก็จะลงมือทำแบบไม่รอใคร ด้วยการทำสารคดีเกี่ยวกับโรงหนังเหล่านี้ออกเผยแพร่ และหากใครอยากร่วมสนับสนุนก็สามารถสมทบทุน
"แล้วถ้าได้ถึงเป้าหมายก็เอามาชุบชีวิตโรงหนัง"
ถ้าเป็นไปได้ฟิลลิปบอกว่า The Southeast Asia Movie Theater Project จะพยายามรณรงค์และหาทุนให้ทุกเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีโรงหนังลักษณะนี้เก็บไว้อย่างน้อยเมืองละแห่งโดยที่ผ่านมาเขาให้วิธีใช้เงินตัวเองรวมถึงทุนจากมูลนิธิต่างๆดำเนินการและล่าสุดก็นำ"ขายตั๋วเก่า" จากโรงหนังสกาลา จ.สุราษฎร์ธานี มาจำหน่าย เพื่อให้ผู้สนใจเก็บเป็นที่ระลึก
"แต่ผมไม่รู้ว่ามีคนอยากได้ของที่ระลึกแบบนี้หรือเปล่า" เขาถาม หลังผลตอบรับไม่เป็นอย่างใจคิด
"ไม่รู้ทำไมไม่มีใครซื้อ อาจจะแพง แล้วต้องอ่านข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น"
แต่ไม่เป็นไร เพราะถึงอย่างไรเขาก็ต้องพยายามหาวิธีการผลักดันต่อ
"ผมรักโครงการนี้จริงๆ พยายามหาทุน นำเสนอหลายๆ ที่ ถ้าหาไม่ได้ก็ต้องกลับไปทำงานก่อน แต่ไม่อยากเลิกเลย หวังว่าจะมีคนให้ทุนสนับสนุน" เขาเล่าด้วยนัยน์ตาแฝงความหวัง
นิวเฉลิมอุทัย จ.อุทัย
"อยากให้คนคิดถึงอดีต วิถีชีวิตเมื่อก่อนเป็นยังไงบ้าง แล้วเมื่อก่อนเรามีสิ่งที่สำคัญไหม สิ่งที่เราน่าจะเก็บไว้เพื่อใช้ในปัจจุบันหรืออนาคต ไม่จำเป็นต้องทิ้งทุกอย่างเพราะว่ามันเก่าแล้ว เพราะแม้ว่ามันเก่าแต่หลายอย่างก็มีคุณค่า"
"โรงหนังเก่ามันมีประโยชน์มากกว่าแค่เงิน แต่หลายคนมองไม่เห็น"
"แน่นอนว่าถ้าเราทุบโรงหนังแล้วสร้างห้าง มันได้เงินมากกว่า แต่มันทำลายเมืองกรุงเทพฯ"
"ทำลายสิ่งที่หลายคนในเมืองไทยรักมาก"
และที่สำคัญที่สุดคือเป็นการทำลายคุณค่าทางวัฒนธรรม
อย่างน่าเสียดายยิ่ง