(อาจมีการเปิดเผยเนื้อหาบางส่วนของหนัง)
เมื่อวานเป็นรอบสุดท้ายของหนังเรื่อง “อนธการ”
ผมไปดูหนังเรื่องนี้มาสองรอบ...
ส่วนตัว...ผมยกให้หนังเรื่องนี้
เป็นหนังไทยที่ดี และน่าดูที่สุดอีกเรื่องหนึ่ง
ความดีความชอบของหนังเรื่องนี้คงต้องยกให้เป็นของผู้กำกับ "อนุชา บุญยวรรธนะ"
ที่กับกำหนังเรื่องนี้ด้วยความตั้งใจ และใส่ใจ ในรายละเอียด ที่ปรากฏในทุกๆภาพที่เราได้เห็น
ทุกๆสีที่ถูกหยิบมาใช้ ทุกๆบทพูด ทุกๆเสียงที่เราได้ยิน ทุกๆสถานที่ที่หนังพาเราไป
มันล้วนแล้วแต่ถูกคิด และออกแบบมาอย่างดี
ความน่าสนใจของหนังอยู่ที่การใช้ตัวแสดงหลักเพียงแค่สองคน
ในการดำเนินเรื่องราวที่มีความยาวเกือบสองชั่วโมง
ซึ่งทุกๆคน ที่ได้ดูอนธการคงรู้สึกชื่นชม ในฝีมือการแสดงของนักแสดงนำทั้งสองคน
"กัน – อรรถพันธ์ และ โอบ – โอบนิธิ" เหมือนๆกับผม
ที่สามารถดึงเราให้จมดิ่งลงไปสู่เรื่องราวอันแสนหดหู่ เศร้าหมอง
ที่สอดแทรกไปด้วยความระทึกขวัญ น่ากลัว ชวนค้นหา ก่อนที่จะลงท้ายด้วยความน่าสะเทือนใจ
กับอารมณ์หน่วงๆที่ติดตัวเราออกมาจากโรงหนัง
แต่สำหรับผม ผมมองว่านอกจากนักแสดงนำทั้งสองคนแล้ว
ผู้กำกับยังได้หยิบเอาองค์ประกอบอื่นๆที่อยู่ในหนัง ทั้งภาพ สี เสียง สถานที่ หรือแม้กระทั่งสิ่งของต่างๆ
เข้ามามีร่วมในการเล่าเรื่องราว และเฉลยปมปริศนาต่างๆ ที่ซ่อนเอาไว้ได้อย่างแยบยล สวยงาม และชาญฉลาด
ซึ่งนั่นก็เป็นเหตุผล ที่ทำให้ผมตัดสินใจกลับมาดูหนังเรื่องนี้ซ้ำอีก เป็นครั้งที่สอง
ผมตั้งใจกลับมาเพื่อดูการแสดง ของฉาก สี เสียง และสิ่งของต่างๆที่เหมือนจะถูกจัดวางไว้
เพื่อประกอบฉาก แต่จริงๆแล้ว มันถูกกำกับให้ทำหน้าที่มากกว่านั้น
ด้วยความที่หนังทิ้งปม และประเด็นปัญหาเอาไว้แบบไม่ได้ให้คำตอบอะไรที่ชัดเจน
หลายคน รวมถึงผมด้วยจึงเดินออกมาจากโรงหนังพร้อมกับคำถาม ความสงสัย และความไม่แน่ใจมากมาย
ว่าทำไมตัวละครถึงเลือกทำแบบนั้น ทำไมถึงต้องมีฉากนั้น หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในหนัง
เรื่องไหนเป็นเรื่องจริง หรือเร่องไหนเป็นแค่สิ่งที่ตัวละครสมมุติขึ้นมา
และนั่นอาจเป็นสิ่งที่ผู้กำกับตั้งใจที่จะให้เกิดขึ้นกับหนัง คือการตั้งคำถาม และตีความที่แตกต่างกันไป
หนังบางเรื่อง ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อตอบคำถามบางอย่างของคนดู
ในขณะที่หนังบางเรื่อง ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อตั้งคำถามอะไรบางอย่างกับคนดู
และในขณะที่คนดูอย่างเราๆตั้งคำถามมากมายกับอนธการ
หนังเองก็ตั้งคำถามกลับมาหาเราเช่นกัน
สำหรับผม “อนธการ” ยิงคำถามหนึ่งใส่ผมเข้าอย่างจัง
คำถามที่เกิดกับชีวิตของวัยรุ่นธรรมดาๆคนหนึ่ง ที่เกิดมาเป็นเกย์ ชอบถูกเพื่อนๆรังแก พ่อแม่ไม่ยอมรับ
และมักจะตกเป็นจำเลยของความผิดแทบทุกอย่างที่เกิดขึ้นในบ้าน
อะไร...เป็นสาเหตุที่ทำให้ให้ตัวละครตัวนี้ ตัดสินใจทำความผิดบาปที่ใหญ่หลวงที่สุด
เท่าที่มนุษย์คนหนึ่งจะทำได้ นั่นก็คือการฆ่าพ่อ แม่ และพี่ชายของตัวเอง คำถามที่เกิดขึ้นกับผมขณะที่นั่งอยู่ในโรงหนังก็คือ
หิริโอตัปปะ ของตัวละครตัวนี้หายไปไหน ?
เราคงคุ้นหูกับคำว่าหิริโอตัปปะกันมาบ้าง จากวิชาพระพุทธศาสนาที่เรียนกันตอนเด็กๆ
แม้จะไม่แน่ใจในความหมายแท้จริง แต่หิริโอตัปปะ ก็คือการละอาย และเกรงกลัวต่อบาป
หิริโอตัปปะ คือเครื่องมือ ที่ช่วยป้องกันให้เราไม่ทำบาป
แล้วหิริโอตัปปะของตัวละครตัวนี้ หายไปไหน ทำไมเขาถึงได้ละทิ้งความละอาย และเกรงกลัวต่อบาปไปได้
โดยเฉพาะเมื่อบาปนั้น หนักหนา และสาหัสถึงขั้นเป็นการฆ่าบุพการี
เราทุกคนล้วนเคยทำบาป และมีสิทธิที่จะทำบาป
เราอาจมีสิทธิที่จะพูดโกหก หรือหลอกลวงคนอื่น
เราอาจมีสิทธิที่จะลักขโมยของๆคนอื่น หรือทำเรื่องทุจริต
แต่เราคงนึกไม่ออกเลย ว่าเราจะมีสิทธิ หรือมีความคิดที่จะฆ่าพ่อ แม่ของตัวเองได้อย่างไร?
สำหรับตัวละครในเรื่อง...มันอาจเริ่มต้นมาจากความชินชา ที่ค่อยๆเปลี่ยนไปเป็นความเฉยชา
ที่ต้องตกเป็นจำเลยของความผิดทุกอย่างในบ้าน ถูกตราหน้าว่าเป็นคนเลว จนเขาสรุปเอาเองด้วยตรระกะง่ายๆ
แบบวัยรุ่นว่า "ในเมื่อสุดท้าย ไม่ว่ายังไงคนที่บ้านก็มองว่าเขาเป็นคนผิด คนเลว
การที่เขาจะทำ หรือไม่ทำความเลว มันก็คงไม่มีอะไรที่แตกต่างกัน"
และตรรกะ ความเชื่อนั้นก็อาจเป็นตัวแปรสำคัญที่ดึงให้ตัวละครจมดิ่งลงไปในห้วงของความโกรธแค้น ชิงชัง
ในความหมางเมิน ความไม่ยุติธรรม และความไม่เข้าใจที่คนในบ้านหยิบยื่นให้อยู่ตลอดเวลา
ฉากที่แม่เบือนหน้าหนีจากตัวละคร ในตอนที่เขาพยายามยืนกรานความถูกต้อง และปฏิเสธข้อกล่าวหา
ว่าขโมยปืนของพ่อไปขาย อาจเป็นความพยายามว่ายกลับเข้าหาฝั่งเป็นครั้งสุดท้าย
แต่ในเมื่อไม่มีใครเลยที่เชื่อในความถูกต้องของเขา ในเมื่อทุกๆคนต่างมอง และตัดสินไปแล้วว่าเขาเป็นคนผิด
เป็นคนเลว ทุกคนจึงเลือกที่จะหันหลังให้กับเขา และไม่มีใครยื่นมือไปฉุดเขาขึ้นมาจากน้ำ จนในที่สุด
เมื่อความพยายามไร้ผล เขาจึงปล่อยให้ตัวเองจมหายลงไปในน้ำ ที่เต็มไปด้วยความมืดมน
และนั่นอาจเป็นคำตอบที่ว่า หิริโอตัปปะ หายไปไหน มันอาจจมหายไปในสายน้ำ
พร้อมๆกันกับตัวละครในหนัง ที่รู้สึกเหมือนตัวเองถูกทอดทิ้งให้อยู่คนเดียวบนโลก
บนฝั่งนั้น เขาไม่มีที่พอจะให้ยืน หรือไม่มีใครเลยที่จะรับฟัง และเข้าใจ
บนฝั่งนั้น ไม่ว่าทำอะไร เขาก็คือคนที่ถูกตราหน้าว่าเป็นคนผิด คนเลว
เขาจึงตัดสินใจที่จะเดินลงไปในน้ำ ปล่อยให้ตัวเองจมลงสู่ห้วงของความมืดมิด และไม่คิดที่จะลอยกลับขึ้นมาอีกเลย
จริงๆแล้ว อาจไม่มีใครที่อยากเป็นคนเลว
แต่ในเมื่อไม่มีใคร ยอมให้เขามายืนรวมกลุ่มอยู่กับคนดี
คนเหล่านั้น ก็อาจจำใจต้องไปยืนต่อหลังอยู่ในแถวของคนเลว
บางที..เราอาจต้องกลับมานั่งตั้งคำถาม ถึงความเลวร้ายที่เกิดขึ้นในหนัง
อะไรเป็นตัวแปรที่ทำให้ตัวละครละทิ้งหิริโอตัปปะ และดึงให้จมดิ่งลงไปสู่การกระทำสิ่งที่ผิดบาปอย่างใหญ่หลวง
มันอาจเป็นตรรกะง่ายๆ ของวัยรุ่นคนหนึ่ง ที่ถูกทำให้คิดว่า
“ในเมื่อยังไงเราก็เป็นคนเลวในสายตาของเขาอยู่แล้ว ก็สู้ทำตัวเป็นคนเลวจริงๆไปเลยก็แล้วกัน”
ความคิดปแบบนี้อาจเป็นความคิดที่แปลกสำหรับหลายคน แต่มันอาจไม่แปลกสำหรับวัยรุ่นคนหนึ่ง
ที่เติบโตขึ้นมาในบ้านที่พ่อแม่ ยอมรับไม่ได้ว่าเขาเป็นเกย์
และความผิดหวัง ไม่เข้าใจ ค่อยๆลุกลามบานปลายไปเป็นความเกลียดชัง จนทำให้คนๆหนึ่งดูเป็นคนเลว
และคนบาปในสายตาของพ่อแม่ จนนำมาซึ่งความขัดแย้ง และความรุนแรงที่เกิดขึ้นในบ้าน
ที่เขาเองก็ไม่ได้อยากเลือก หรืออยากให้ตัวเองเกิดมาเป็นแบบนั้น
บางที เราอาจชิน และมองข้ามไป แต่ถ้าลองหยุดคิด และตั้งคำถามดูสักนิด
ว่าเรากำลังใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางสังคม และคนที่ชอบตัดสิน แบ่งแยก ตีตราความดี ความเลว
หรือคุณค่าของใคร ด้วยมุมมอง บรรทัดฐาน และความเชื่อของตัวเองเพียงฝ่ายเดียวอยู่รึเปล่า
บางครั้ง ก็อาจเป็นเราเองนั่นแหละ ที่ไปตัดสิน หรือวิพากย์ วิจารณ์ใคร โดยที่เราอาจมองว่า
มันเป็นแค่การแสดงความคิดเห็นเห็นส่วนตัวธรรมดาๆ แต่ใครจะรู้ สำหรับคนๆนั้น มันอาจเป็นเสียงตะโกนด่า
ขับไล่ ไสส่งให้เขาถอยหลังไปสู่ความชั่วร้าย และความมืดบอดก็ได้
ผมคงไม่สรุปว่าสุดท้ายแล้ว..
หิริโอตัปปะของตัวละครในหนัง มันหายไปไหน
แต่ถ้ามันจะจมหายไปในสายน้ำจริงๆอย่างที่ผมเข้าใจ
"ความเข้าใจ" หรือ"ความพยายามที่จะเข้าใจ"
ของคนรอบข้าง ก็อาจเป็นเหมือนไม้ท่อนสุดท้าย ที่จะช่วยดึงหิริโอตัปปะ
ให้กลับขึ้นมาได้อีกครั้ง..
ก่อนที่ท้องฟ้าจะมืดสนิท อย่านิ่งเฉย หันหลัง ผลักไส หรือปล่อยให้ใครจมหายลงไปในสายน้ำอีกเลย
อนธการ...ก่อนที่ฟ้าจะมืดสนิท และ หิริโอตัปปะ ที่จมมิดไปกับสายน้ำ
(อาจมีการเปิดเผยเนื้อหาบางส่วนของหนัง)
เมื่อวานเป็นรอบสุดท้ายของหนังเรื่อง “อนธการ”
ผมไปดูหนังเรื่องนี้มาสองรอบ...
ส่วนตัว...ผมยกให้หนังเรื่องนี้
เป็นหนังไทยที่ดี และน่าดูที่สุดอีกเรื่องหนึ่ง
ความดีความชอบของหนังเรื่องนี้คงต้องยกให้เป็นของผู้กำกับ "อนุชา บุญยวรรธนะ"
ที่กับกำหนังเรื่องนี้ด้วยความตั้งใจ และใส่ใจ ในรายละเอียด ที่ปรากฏในทุกๆภาพที่เราได้เห็น
ทุกๆสีที่ถูกหยิบมาใช้ ทุกๆบทพูด ทุกๆเสียงที่เราได้ยิน ทุกๆสถานที่ที่หนังพาเราไป
มันล้วนแล้วแต่ถูกคิด และออกแบบมาอย่างดี
ความน่าสนใจของหนังอยู่ที่การใช้ตัวแสดงหลักเพียงแค่สองคน
ในการดำเนินเรื่องราวที่มีความยาวเกือบสองชั่วโมง
ซึ่งทุกๆคน ที่ได้ดูอนธการคงรู้สึกชื่นชม ในฝีมือการแสดงของนักแสดงนำทั้งสองคน
"กัน – อรรถพันธ์ และ โอบ – โอบนิธิ" เหมือนๆกับผม
ที่สามารถดึงเราให้จมดิ่งลงไปสู่เรื่องราวอันแสนหดหู่ เศร้าหมอง
ที่สอดแทรกไปด้วยความระทึกขวัญ น่ากลัว ชวนค้นหา ก่อนที่จะลงท้ายด้วยความน่าสะเทือนใจ
กับอารมณ์หน่วงๆที่ติดตัวเราออกมาจากโรงหนัง
แต่สำหรับผม ผมมองว่านอกจากนักแสดงนำทั้งสองคนแล้ว
ผู้กำกับยังได้หยิบเอาองค์ประกอบอื่นๆที่อยู่ในหนัง ทั้งภาพ สี เสียง สถานที่ หรือแม้กระทั่งสิ่งของต่างๆ
เข้ามามีร่วมในการเล่าเรื่องราว และเฉลยปมปริศนาต่างๆ ที่ซ่อนเอาไว้ได้อย่างแยบยล สวยงาม และชาญฉลาด
ซึ่งนั่นก็เป็นเหตุผล ที่ทำให้ผมตัดสินใจกลับมาดูหนังเรื่องนี้ซ้ำอีก เป็นครั้งที่สอง
ผมตั้งใจกลับมาเพื่อดูการแสดง ของฉาก สี เสียง และสิ่งของต่างๆที่เหมือนจะถูกจัดวางไว้
เพื่อประกอบฉาก แต่จริงๆแล้ว มันถูกกำกับให้ทำหน้าที่มากกว่านั้น
ด้วยความที่หนังทิ้งปม และประเด็นปัญหาเอาไว้แบบไม่ได้ให้คำตอบอะไรที่ชัดเจน
หลายคน รวมถึงผมด้วยจึงเดินออกมาจากโรงหนังพร้อมกับคำถาม ความสงสัย และความไม่แน่ใจมากมาย
ว่าทำไมตัวละครถึงเลือกทำแบบนั้น ทำไมถึงต้องมีฉากนั้น หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในหนัง
เรื่องไหนเป็นเรื่องจริง หรือเร่องไหนเป็นแค่สิ่งที่ตัวละครสมมุติขึ้นมา
และนั่นอาจเป็นสิ่งที่ผู้กำกับตั้งใจที่จะให้เกิดขึ้นกับหนัง คือการตั้งคำถาม และตีความที่แตกต่างกันไป
หนังบางเรื่อง ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อตอบคำถามบางอย่างของคนดู
ในขณะที่หนังบางเรื่อง ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อตั้งคำถามอะไรบางอย่างกับคนดู
และในขณะที่คนดูอย่างเราๆตั้งคำถามมากมายกับอนธการ
หนังเองก็ตั้งคำถามกลับมาหาเราเช่นกัน
สำหรับผม “อนธการ” ยิงคำถามหนึ่งใส่ผมเข้าอย่างจัง
คำถามที่เกิดกับชีวิตของวัยรุ่นธรรมดาๆคนหนึ่ง ที่เกิดมาเป็นเกย์ ชอบถูกเพื่อนๆรังแก พ่อแม่ไม่ยอมรับ
และมักจะตกเป็นจำเลยของความผิดแทบทุกอย่างที่เกิดขึ้นในบ้าน
อะไร...เป็นสาเหตุที่ทำให้ให้ตัวละครตัวนี้ ตัดสินใจทำความผิดบาปที่ใหญ่หลวงที่สุด
เท่าที่มนุษย์คนหนึ่งจะทำได้ นั่นก็คือการฆ่าพ่อ แม่ และพี่ชายของตัวเอง คำถามที่เกิดขึ้นกับผมขณะที่นั่งอยู่ในโรงหนังก็คือ
หิริโอตัปปะ ของตัวละครตัวนี้หายไปไหน ?
เราคงคุ้นหูกับคำว่าหิริโอตัปปะกันมาบ้าง จากวิชาพระพุทธศาสนาที่เรียนกันตอนเด็กๆ
แม้จะไม่แน่ใจในความหมายแท้จริง แต่หิริโอตัปปะ ก็คือการละอาย และเกรงกลัวต่อบาป
หิริโอตัปปะ คือเครื่องมือ ที่ช่วยป้องกันให้เราไม่ทำบาป
แล้วหิริโอตัปปะของตัวละครตัวนี้ หายไปไหน ทำไมเขาถึงได้ละทิ้งความละอาย และเกรงกลัวต่อบาปไปได้
โดยเฉพาะเมื่อบาปนั้น หนักหนา และสาหัสถึงขั้นเป็นการฆ่าบุพการี
เราทุกคนล้วนเคยทำบาป และมีสิทธิที่จะทำบาป
เราอาจมีสิทธิที่จะพูดโกหก หรือหลอกลวงคนอื่น
เราอาจมีสิทธิที่จะลักขโมยของๆคนอื่น หรือทำเรื่องทุจริต
แต่เราคงนึกไม่ออกเลย ว่าเราจะมีสิทธิ หรือมีความคิดที่จะฆ่าพ่อ แม่ของตัวเองได้อย่างไร?
สำหรับตัวละครในเรื่อง...มันอาจเริ่มต้นมาจากความชินชา ที่ค่อยๆเปลี่ยนไปเป็นความเฉยชา
ที่ต้องตกเป็นจำเลยของความผิดทุกอย่างในบ้าน ถูกตราหน้าว่าเป็นคนเลว จนเขาสรุปเอาเองด้วยตรระกะง่ายๆ
แบบวัยรุ่นว่า "ในเมื่อสุดท้าย ไม่ว่ายังไงคนที่บ้านก็มองว่าเขาเป็นคนผิด คนเลว
การที่เขาจะทำ หรือไม่ทำความเลว มันก็คงไม่มีอะไรที่แตกต่างกัน"
และตรรกะ ความเชื่อนั้นก็อาจเป็นตัวแปรสำคัญที่ดึงให้ตัวละครจมดิ่งลงไปในห้วงของความโกรธแค้น ชิงชัง
ในความหมางเมิน ความไม่ยุติธรรม และความไม่เข้าใจที่คนในบ้านหยิบยื่นให้อยู่ตลอดเวลา
ฉากที่แม่เบือนหน้าหนีจากตัวละคร ในตอนที่เขาพยายามยืนกรานความถูกต้อง และปฏิเสธข้อกล่าวหา
ว่าขโมยปืนของพ่อไปขาย อาจเป็นความพยายามว่ายกลับเข้าหาฝั่งเป็นครั้งสุดท้าย
แต่ในเมื่อไม่มีใครเลยที่เชื่อในความถูกต้องของเขา ในเมื่อทุกๆคนต่างมอง และตัดสินไปแล้วว่าเขาเป็นคนผิด
เป็นคนเลว ทุกคนจึงเลือกที่จะหันหลังให้กับเขา และไม่มีใครยื่นมือไปฉุดเขาขึ้นมาจากน้ำ จนในที่สุด
เมื่อความพยายามไร้ผล เขาจึงปล่อยให้ตัวเองจมหายลงไปในน้ำ ที่เต็มไปด้วยความมืดมน
และนั่นอาจเป็นคำตอบที่ว่า หิริโอตัปปะ หายไปไหน มันอาจจมหายไปในสายน้ำ
พร้อมๆกันกับตัวละครในหนัง ที่รู้สึกเหมือนตัวเองถูกทอดทิ้งให้อยู่คนเดียวบนโลก
บนฝั่งนั้น เขาไม่มีที่พอจะให้ยืน หรือไม่มีใครเลยที่จะรับฟัง และเข้าใจ
บนฝั่งนั้น ไม่ว่าทำอะไร เขาก็คือคนที่ถูกตราหน้าว่าเป็นคนผิด คนเลว
เขาจึงตัดสินใจที่จะเดินลงไปในน้ำ ปล่อยให้ตัวเองจมลงสู่ห้วงของความมืดมิด และไม่คิดที่จะลอยกลับขึ้นมาอีกเลย
จริงๆแล้ว อาจไม่มีใครที่อยากเป็นคนเลว
แต่ในเมื่อไม่มีใคร ยอมให้เขามายืนรวมกลุ่มอยู่กับคนดี
คนเหล่านั้น ก็อาจจำใจต้องไปยืนต่อหลังอยู่ในแถวของคนเลว
บางที..เราอาจต้องกลับมานั่งตั้งคำถาม ถึงความเลวร้ายที่เกิดขึ้นในหนัง
อะไรเป็นตัวแปรที่ทำให้ตัวละครละทิ้งหิริโอตัปปะ และดึงให้จมดิ่งลงไปสู่การกระทำสิ่งที่ผิดบาปอย่างใหญ่หลวง
มันอาจเป็นตรรกะง่ายๆ ของวัยรุ่นคนหนึ่ง ที่ถูกทำให้คิดว่า
“ในเมื่อยังไงเราก็เป็นคนเลวในสายตาของเขาอยู่แล้ว ก็สู้ทำตัวเป็นคนเลวจริงๆไปเลยก็แล้วกัน”
ความคิดปแบบนี้อาจเป็นความคิดที่แปลกสำหรับหลายคน แต่มันอาจไม่แปลกสำหรับวัยรุ่นคนหนึ่ง
ที่เติบโตขึ้นมาในบ้านที่พ่อแม่ ยอมรับไม่ได้ว่าเขาเป็นเกย์
และความผิดหวัง ไม่เข้าใจ ค่อยๆลุกลามบานปลายไปเป็นความเกลียดชัง จนทำให้คนๆหนึ่งดูเป็นคนเลว
และคนบาปในสายตาของพ่อแม่ จนนำมาซึ่งความขัดแย้ง และความรุนแรงที่เกิดขึ้นในบ้าน
ที่เขาเองก็ไม่ได้อยากเลือก หรืออยากให้ตัวเองเกิดมาเป็นแบบนั้น
บางที เราอาจชิน และมองข้ามไป แต่ถ้าลองหยุดคิด และตั้งคำถามดูสักนิด
ว่าเรากำลังใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางสังคม และคนที่ชอบตัดสิน แบ่งแยก ตีตราความดี ความเลว
หรือคุณค่าของใคร ด้วยมุมมอง บรรทัดฐาน และความเชื่อของตัวเองเพียงฝ่ายเดียวอยู่รึเปล่า
บางครั้ง ก็อาจเป็นเราเองนั่นแหละ ที่ไปตัดสิน หรือวิพากย์ วิจารณ์ใคร โดยที่เราอาจมองว่า
มันเป็นแค่การแสดงความคิดเห็นเห็นส่วนตัวธรรมดาๆ แต่ใครจะรู้ สำหรับคนๆนั้น มันอาจเป็นเสียงตะโกนด่า
ขับไล่ ไสส่งให้เขาถอยหลังไปสู่ความชั่วร้าย และความมืดบอดก็ได้
ผมคงไม่สรุปว่าสุดท้ายแล้ว..
หิริโอตัปปะของตัวละครในหนัง มันหายไปไหน
แต่ถ้ามันจะจมหายไปในสายน้ำจริงๆอย่างที่ผมเข้าใจ
"ความเข้าใจ" หรือ"ความพยายามที่จะเข้าใจ"
ของคนรอบข้าง ก็อาจเป็นเหมือนไม้ท่อนสุดท้าย ที่จะช่วยดึงหิริโอตัปปะ
ให้กลับขึ้นมาได้อีกครั้ง..
ก่อนที่ท้องฟ้าจะมืดสนิท อย่านิ่งเฉย หันหลัง ผลักไส หรือปล่อยให้ใครจมหายลงไปในสายน้ำอีกเลย